เจาะประเด็น: ทีมวอลเล่ยบอลรัสเซีย Clean & Clear แค่ไหน ? /ควรไม่ควรไป OG2016/และอื่นๆอีกหลายประเด็น..ยาวๆกันไป

กระทู้สนทนา
จากข่าวล่าสุดวันที่ 27/7/2016
ทีมวอลเล่ยบอลรัสเซียทั้งในร่มและชายหาดได้รับการอนุมัติให้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิคครั้งนี้เรียบร้อยแล้ว

โดยทาง Fivb ได้ส่งชื่อให้ทาง IOC และ CAS เพื่อขออนุมัติ และ Fivb ได้พิจารณาอย่างละเอียดต่อนักกีฬาแต่ละคนที่ส่งมา
จากสมาพันธ์วอลเล่ยบอลรัสเซียและสอดคล้องกับมติของ IOC เมื่อวันที่ 24 ก.ค.2016 ซึ่ง Fivb ก็ให้ความสำคัญกับนโยบาย
ต่อต้านการใช้สารกระตุ้นพร้อมจะปกป้องนักกีฬาที่ใสสะอาดและจะแบนนักกีฬาที่ละเมิดกฎการต่อต้านการใช้สารกระตุ้นทันที

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จากข่าวดังกล่าวก็เป็นอันสรุปว่าทีมวอลเล่ยบอลของรัสเซียก็ได้ไปโอลิมปิค 2016 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แต่จากเหตุการณ์อื้อฉาวที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นในวงการกีฬาของรัสเซีย ก็ส่งผลกระทบและสร้างความสงสัยไม่ไว้ใจ
ในความใสสะอาดของนักกีฬารัสเซียในเรื่องการใช้สารกระตุ้นตามรายงานของ Mclaren ลุกลามไปในกีฬาทุกชนิดของรัสเซีย
ซึ่งก็รวมถึงกีฬาวอลเล่ยบอลด้วย งั้นเราก็ลองมาวิเคราะห์เจาะประเด็นกันว่า..

ทีมและนักกีฬาวอลเล่ยบอลของรัสเซียมีความใสสะอาดหรือว่า Clean แค่ไหนในการใช้สารกระตุ้นตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันนี้
และมีส่วนเกี่ยวข้องกันเหตุการณ์อื้อฉาวจากรายงานของ Mclarenด้วยหรือเปล่า
มีการใช้สารกระตุ้นทำผิดกฎกติกามารยาทและเอาเปรียบนักกีฬาประเทศอื่นๆหรือไม่
สุดท้ายสมควรจะได้ไปโอลิมปิค2016หรือไม่


คำเตือนจากจขกท. : ข้อมูลต่างๆตลอดจนความคิดเห็นต่างๆที่ จขกท.นำเสนอในกระทู้นี้ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
เพราะจขกท.เป็นแฟนคลับวอลเล่ยบอลรัสเซีย ไม่รับรองความเป็นกลางและความถูกต้องของข้อมูล 100 %



เริ่มเจาะประเด็นจากอีเว้นท์การแข่งขันที่ระบุในรายงานของ Mclaren

อ้างอิงจากรายงาน Mclaren : https://wada-main-prod.s3.amazonaws.com/resources/files/20160718_ip_report_final3.pdf

จากรายงานนี้ที่เปิดโปงคดีอื้อฉาวในการใช้สารกระตุ้นกันมากมายในหมู่นักกีฬารัสเซีย จนไปถึงข่าวที่ว่า..
ทาง Fivb ได้มีการขอรายชื่อ 10 นักวอลเล่ยบอลของรัสเซีย ซึ่งเป็นนักวอลเล่ยบอลชายหาด 2 คนและ ในร่ม 8 คน
ที่พบว่ามีการตรวจโด๊ปเจอสารกระตุ้นในการแข่งขันช่วงปี 2012-2015 จากทางวาด้า
แต่ณ.เวลานี้ทาง Fivb ก็ยังไม่ประกาศรายชื่อออกมาว่ามีใครบ้าง มาจากทัวร์นาเม้นท์ใดในช่วงเวลาดังกล่าว

เริ่มที่ประเด็นแรก..การแข่งขันโอลิมปิคฤดูหนาว2014ที่โซชิ

จากรายงานที่ระบุว่ามีการสับเปลี่ยนปัสสาวะของนักกีฬารัสเซียเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจพบสารกระตุ้น
โดยมี FSB (Russian Federal Security Service)เข้ามาร่วมดำเนินการด้วย
แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดในช่วงการแข่งขันโอลิมปิคฤดูหนาวในเมืองโซชิที่ประเทศรัสเซียเป็นเจ้าภาพในปี2014
และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ The Sochi Laboratory ในประเทศรัสเซีย
ซึ่งตามความจริงการแข่งขันในอีเว้นท์นี้ไม่มีการแข่งขันประเภทกีฬาวอลเล่ยบอลรวมอยู่ด้วย
เมื่อไม่มีการแข่งขันกีฬาวอลเล่ยบอลรวมอยู่ด้วย ก็ย่อมไม่มีการตรวจโด๊ปนักกีฬาวอลเล่ยบอลคนใด
แล้วจะเอาปัสสาวะจากนักกีฬาวอลเล่ยบอลคนไหนมาให้สับเปลี่ยนกันเล่า

รายละเอียดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคฤดูหนาว 2014 ที่โซชิประเทศรัสเซีย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

The London 2012 Olympic Games
จากรายงานของ Maclaren มีการระบุถึง the London 2012 Olympic Games บอกว่ามีการผสมสูตรสารกระตุ้น
Oral Turinabol (Dehydrochloromethyl-testosterone), Oxandrolone and Methasterone ในCocktail
แล้วมีการแจกให้นักกีฬารัสเซียดื่มเพื่อเพิ่มสมรรถภาพในการแข่งขันและสามารถหลีกเลี่ยงการตรวจพบได้ง่าย
โดย Dr. Rodchenkov เป็นผู้คิดสูตรแต่ผู้ที่นำไปแจกจ่ายให้กับนักกีฬาคือ Irina Rodionova เจ้าหน้าที่ CSP
(Center of Sports Preparation of National Teams of Russia)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
และจากรายงานในประเด็นนี้ทาง IOC ก็มีการ Re-Testing of Results of the London 2012 Olympic Games
ในเดือนมิถุนายน 2016 ผลก็คือมีนักกีฬารัสเซีย 8 เคสที่ตรวจเจอสารกระตุ้นแต่ในรายงานก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นกีฬาประเภทใดบ้าง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
และล่าสุดจากการเสนอข่าวของ BBC เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2016 ที่ผ่านมาได้ระบุว่า
ทาง IOC ได้มีการ Retest การตรวจสารกระตุ้นอีกครั้งในการแข่งขันโอลิมปิคที่ลอนดอน2012 และปักกิ่ง 2008
โดยผลการ Retest ปรากฏตามนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สรุปหลังจากมีการ Retest อีกครั้งจากตัวอย่างในโอลิมปิคปี 2008 และ 2012
ทั้งหมดมีจำนวน 98 คนที่ไม่ผ่านการตรวจโด๊ป โดยมี 45 คนไม่ผ่านในขั้นการ second wave of retesting


แต่จากข่าวว่าเมื่อวันที่ 20 ก.ค.2016 ทาง Fivb ได้ขอรายชื่อนักกีฬาวอลเล่ยบอล 10 คน
เป็นประเภทในร่ม 8 คนและชายหาด 2 คนที่ไม่ผ่านการตรวจโด๊ปในช่วงปี 2012-2015 จากวาด้า
ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นใคร และจากทัวร์นาเม้นท์ใด แต่ข่าวล่าสุดทาง Fivb ได้ประกาศออกมาแล้วว่า
จะไม่อนุญาตให้นักวอลเล่ยบอลคนใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้สารกระตุ้นไม่ว่ากรณีใดๆ
เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิคเกมส์ในครั้งนี้ตามมติของ IOC ที่ออกมาล่าสุดวันที่ 24 ก.ค.2016

http://goo.gl/WZdJvL

แต่เดิมตามหลักโดยปกติ ถ้าพบว่ามีนักวอลเล่ยบอลคนไหนตรวจเจอโด๊ปขั้นตอนต่อไปทาง Fivb ก็ต้องแจ้งไปทางบุคคลนั้น
ให้โอกาสนักกีฬารายนั้นยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของ Fivb ไปยัง ศาลอนุญาโตตุลาการกีฬา  (the Court of Arbitration for Sport (CAS) )
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ความคิดเห็นส่วนตัว : แต่ในกรณีนี้เนื่องจากเวลามีน้อยและเป็นมติของ IOC ที่ไม่ยอมรับนักกีฬาที่เกี่ยวข้องกับสารกระตุ้นไม่ว่ากรณีใดๆ
เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคในครั้งนี้แน่นอน Fivb ก็ต้องตอบสนองนโยบายนี้ไปด้วยถ้าเจอใครโด๊ปผิดไม่ผิดไม่รอพิจารณา
แบนไม่ให้เข้าร่วมโอลิมปิคครั้งนี้ทันทีอย่างเคสของมาคิน (ซึ่งเราจะเปิดประเด็นเรื่องนี้ต่อในหัวข้อถัดไป)

(มีต่อ..อย่าเพิ่งปาดนะจ๊ะ เดี๋ยวข้อมูลไม่ต่อเนื่อง เดี๋ยวเราลงข้อมูลครบแล้วจะส่งสัญญาณให้ปาดได้นะ)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่