มาทำความรู้จักรถไฟฟ้าสายสีแดง โครงการที่จะพัฒนาพื้นฐานระบบรางของไทย

เชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้ว่ารถไฟฟ้าสายสีแดงคืออะไร ก็เป็นรถไฟฟ้าทั่วๆไปไม่มีอะไรสำคัญรึเปล่า
หรือบางคนได้ติดตามโครงการก็อาจจะพอทราบรายละเอียดของโครงการบ้าง แต่ไม่ทราบเหตุผลบางอย่างเช่น ทำไมใช้ทาง 1 เมตร ทำไมมีรถไฟดีเซลวิ่งด้วย
มาดูไปพร้อมๆกันเลยครับ




-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาเริ่มกันที่ปัญหาที่ทำให้เกิดโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้เห็นภาพไปเริ่มกันที่สถานีกรุงเทพกันเลยครับ
ปัญหารถไฟล่าช้าถึงปลายทางไม่ตรงเวลา มันเริ่มต้นที่สถานีกรุงเทพเลยครับ ผมจะพูดถึงแต่ต้นรถออกสถานี
ไม่พูดถึงว่าบางทีก็ช้าตั้งแต่ก่อนรถเข้ามารับคนในสถานี



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เมื่อขบวนรถไฟออกจากสถานีกรุงเทพ จุดตัดแรกที่จะมาเจอเเละเป็นจุดวิกฤติที่สุดก็คือจุดตัดยมราชครับ
จุดตัดนตรงนี้มีปัญหายังไง จุดตัดยมราชเป็นจุดที่รถไฟที่ขบวนที่เข้าออกสถานีกรุงเทพต้องผ่านครับ
และยังมีปริมาณการจราจรบนถนนที่หนาแน่นด้วย ดังนั้นช่วงเช้าเย็น รถไฟก็ต้องมาจอดรอการจราจรตรงนี้ บางครั้งก็ต้องมารอให้มีขบวนอื่นมารอเหมือนกัน จะได้ปิดทีเดียว เมื่อมาพร้อมหน้าแล้วก็รอสัญญาณไฟและเครื่องกั้นปิดการจราจรให้รถไฟผ่าน

นอกจากจุดตัดยมราชก็ยังมีอีกเกือบ 20 จุดในกรุงเทพ (สถานีกรุงเทพ-สถานีรังสิต)



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พอเครื่องกั้นลงให้สัญญาณรถไฟผ่านได้ ก็ไม่ใช่จะไปได้อย่างสบายใจ เพราะต้องมองซ้ายมองขวาจะมีรถฝ่าเครื่องกั้นหรือคนเดินข้ามไหม มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ และก็ทำให้การจราจรบนท้องถนนติดไประยะนึง
สรุปแล้วเรื่องการจราจรติดขัดบนถนนและบนราง วินวินทั้งคู่ครับ 555 พอฝั่งนึงไปได้อีกฝั่งก็ติด
จริงๆเรื่องนี้ตำรวจเขาเคยมีแนวคิดไม่ให้รถไฟเข้าสถานีกรุงเทพด้วยครับ 5555



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กว่าจะฝ่าฟันการจราจรออกมาจากกรุงเทพได้ และอาจจะเจออุปสรรครายทางอีก เช่นรอหลีก ทางลักผ่าน ฝ่าเครื่องกั้น มีคนซนเอาสิ่งของไปขวางราง
ก็ทำให้รถบางขบวนมาถึงปลายทางช้ากว่าเวลาที่กำหนด



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ก็ไม่ใช่ว่าเราปล่อยปัญหาไปเฉยๆนะครับ เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน เคยมีโครงการนึงมาแก้ปัญหาเรื่องนี้ครับ
แต่ก็....... RIP



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อดีตทิ้งไป มาดูปัจจุบันได้เกิดเป็นโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แล้วโครงการนี้มีอะไรบ้าง จะแก้ปัญหาอะไรบ้าง









-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

นอกจากย้ายสถานีหลักมาที่สถานีกลางบางซื่อ และแก้ปัญหาจุดตัดแล้ว
โครงการนี้ยังเปลี่ยนขบวนรถชานเมือง เป็นรถไฟฟ้าชานเมืองอีกด้วยครับ
วิ่งถี่ขึ้น มีตารางเวลาแน่นอน สะดวกสบายขึ้น วิ่งด้วยความเร็วที่สูงขึ้น
และเป็นขบวนที่จอดทุกสถานีในโครงการสายสีแดง รถไฟนอกเหนือจากนี้จะจอดเฉพาะสถานีใหญ่ครับ



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สร้างสถานีรายทางใหม่เพื่อรองรับผู้ใช้งานทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นคนพิการ คนชราก็สามารถใช้งานได้
และในบางสถานีก็สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆได้



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สายสีแดงแบ่งออกเป็นสายย่อยสองสาย
1. สายสีเเดงเข้ม รังสิต-หัวลำโพง (เหนือ-ใต้)
2. สายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน-หัวหมาก (ตะวันตก-ตะวันออก



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

และตามแผนในระยะต่อๆไปจะต่อขยายดังนี้
1. สายสีแดงเข้ม
    - ขยายจากรังสิตถึงบ้านภาชี จังหวัดอยุธยา
    - ขยายจากหัวลำโพงถึงปากท่อ จังหวัดราชบุรี
2. สายสีแดงอ่อน
   - ขยายจากตลิ่งชันถึงนครปฐม
   - ขยายจากหัวหมากถึงฉะเชิงเทรา



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทางรถไฟระดับดินยังคงไว้สำหรับรถสินค้า (ซึ่งมีน้อยมากและส่วนใหญ่จัดให้วิ่งกลางคืน)
และขบวนพิเศษต่างๆครับ



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สายสีแดงกับ Airport Rail Link นี่มองๆมันก็เหมือนทับซ้อนนะครับ
แต่ให้บริการผู้โดยสารคนละกลุ่ม มีสถานีไม่ถี่เหมือนสายสีแดงทำให้วิ่งได้ไวกว่า ช่วยเสริมศักยภาพการเชื่อมต่อสองสนามบิน
ปริมาณผู้โดยสารสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ ปีที่แล้วรวมสองสนามบิน 80 กว่าล้านคน หารต่อวันแล้ววันละ 200,000 กว่าคน
การมีระบบรถไฟเชื่อมเข้าออกเมืองหรือเชื่อมสนามบินที่ดีก็จะไม่ทำให้ 200,000 กว่าคนต่อวันนี้อยู่บนท้องถนน
แล้วถ้าจะให้ 200,000 กว่าคนไปแออัดรวมกับสายสีแดงอีก คงไม่ใช่ภาพที่ดีเท่าไรนะครับ



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สรุปแล้วสายสีแดงจะเป็นการอัพเกรดทางรถไฟครั้งใหญ่ครับ และเป็นพื้นฐานของ "รถไฟฟ้าทางไกล"ในอนาคตด้วยครับ
เนื่องจากว่าเป็นการอัพเลเวลทางรถไฟ โครงการนี้ใช้ทาง 1 เมตร เท่าเดิมเพื่อให้รถเดิมสามารถวิ่งได้
หลายคนสงสัยว่าทำไมไม่เปลี่ยนเป็นทางขนาด 1.435 เลย คือทาง 1 เมตรยังพัฒนาได้อีกไกลมากครับ สามารถวิ่งได้ถึง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
และถ้าเปลี่ยนทางรถไฟทั่วประเทศเป็น 1.435 ทั่วประเทศนี่ใช้งบมหาศาลมาก มากกว่าความเร็วสูงทั้งประเทศอีกครับ อย่าลืมถ้าจะแก้ขนาดทาง ก็ต้องแก้สถานี แก้รัศมีโค้ง อุโมงค์ สะพานต่างๆอีก
ไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะลงทุนขนาดนั้นเพื่อให้รถมาวิ่งความเร็วเท่าเดิมครับ



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โครงการอัพเกรดทางรถไฟนี้ไม่ได้มีแค่ในกรุงเทพนะครับ ต่างจังหวัดก็มี
อย่างเช่นโครงการรถไฟทางคู่ จิระ-ขอนแก่น แก้ปัญหาจุดตัด และสร้างสถานีใหม่สวยๆเพียบเลยครับ และยังมีอีกหลายสายที่กำลังเตรียมประมูลก่อสร้างครับ



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ส่วนของสายสีแดงที่กำลังสร้างอยู่ก็นับถอยหลังไปอีก 4 ปี มีกำหนดเปิดปี 2563
งานก่อสร้างก็คืบหน้าไปเยอะครับ



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เป็นยังไงบ้างครับสายสีแดง น่าจะทำให้พอเข้าใจเห็นภาพชัดขึ้น
ถ้ามีตรงไหนสงสัยสอบถามได้เลยครับ

ขอบคุณภาพถ่าจากเพจ ข่าวรถไฟ ส่วนภาพจำลองผมทำเองครับ
และขอบคุณข้อมูลจากเพจ ทีมนั่งรถไฟ กับนายแฮมมึน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่