Figure 4. One of the personal hygiene sticks found in the latrine at the Xuanquanzhi site.
The stick is wrapped with cloth at one end and there are traces of brown material, human faeces.
มีการสันนิษฐานกับตั้งข้อสงสัยมานานมากแล้วว่า
เส้นทางการค้าจะมีการส่งผ่าน/แลกเปลี่ยนโรคพยาธินอกเหนือจากสินค้า
โดยเฉพาะเส้นทางสายไหม
Silk Road
ที่เป็นเส้นทางการค้าสายหลักระหว่างยุโรปกับเอเซียตะวันออก
นักวิทยาศาสตร์ได้ทดสอบแนวคิด/สมมุติฐานนี้
ด้วยการตรวจสอบไข่พยาธิจากไม้เช็ดอุจจาระกับเศษผ้าชิ้นเล็ก ๆ
วัสดุเหล่านี้ถูกทิ้งไว้ในห้องส้วมที่จุดพักกลางทางของเส้นทางสายไหม
ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนราว 100 ปีก่อนคริสตศักราช
และมันกลายเป็นข้อมูลชิ้นสำคัญมากในการตอบโจทย์ดังกล่าว
เพราะตรวจสอบพบไข่พยาธิ Liver-flukes Tapeworms Roundworms และ Whipworm
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางบนเส้นทางสายไหม
ไข่พยาธิอายุกว่า 2000 ปียังทิ้งร่องรอยไว้ในไม้เช็ดอุจจาระ/เศษผ้าชิ้นเล็ก ๆ
ที่ห้องส้วมจุดพักกลางทาง Xuanquanzhi Relay Station ในจีน
เส้นทางสายไหมมักจะตกเป็นจำเลยในเรื่องการแพร่ระบาดเชื้อโรคในอดีต
ระหว่างเอเซียตะวันออก เอเซียตอนกลาง และยุโรป
แม้ว่า
ข้อสันนิษฐานนี้จะถูกต้อง แต่ไม่มีพยานหลักฐาน/ข้อมูลยืนยันในเรื่องนี้
ว่าพวกมันมาจากการเดินทางติดต่อของผู้คนจากที่ต่าง ๆ กันมาพบกันที่จุดพักกลางทาง
Extent of Silk Route/Silk Road. Red is land route and the blue is the sea/water route. NASA/wikimedia
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ การค้นหาไข่พยาธิจากไม้/เศษผ้าเช็ดอุจจาระ
ในห้องส้วมรวมที่จุดพักเส้นทางสายไหมที่ Xuanquanzhi (111 BCE–CE 109)
ทางสายตะวันออกของ Tarim Basin ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
นักวิทยาศาสตร์พบไข่ของพยาธิถึง 4 สายพันธุ์ ในไม้/เศษผ้าเช็ดอุจจาระ มี
1. Chinese liver fluke (Clonorchis sinensis)
2. Taenia sp. tapeworm (likely Taenia asiatica, Taenia solium or Taenia saginata)
3. Roundworm (Ascaris lumbricoides)
4. Whipworm (Trichuris trichiura)
พยาธิใบไม้ในตับ Chinese liver fluke
วงจรชีวิตของพวกมันต้องการพื้นที่ในเขตที่ชุ่มชื้น
มีมากแถบเขต Guandong Province ที่ไกลถึง 2,000 กิโลเมตร
และรอบ ๆ Dunhuang ที่อยู่ห่างไปถึง 1,500 กิโลเมตร
ทำให้มันสูญพันธุ์ในเขตพื้นที่แห้งแล้งแถบนี้ไม่ขยายพันธุ์ไปไกลอีก
พยาธิสายพันธุ์นี้ที่พบในหลุมขุดค้นโบราณคดีแห่งนี้ยืนยันข้อสันนิษฐานว่า
" ผู้คนจากพื้นที่มีน้ำใช้อย่างอุดมสมบูรณ์ทางภาคตะวันออกหรือภาคใต้ของจีน
เดินทางมาพร้อมกับพยาธิในร่างกายแล้วแวะตามจุดพักต่าง ๆ บนเส้นทางสายไหม
เพื่อวัตถุที่ประสงค์ทางการค้าหรือปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ
นี่คือหลักฐานโบราณคดีชิ้นล่าสุดที่ยืนยันว่า
โรคพยาธิส่วนหนึ่งมาตามเส้นทางสายไหม " Piers Mitchell ให้ความเห็น
Hui-Yuan Yeh กับ Piers Mitchell นักวิจัยจาก
University of Cambridge’s Department of Archaeology and Anthropology
ใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อตรวจสอบอุจจาระของคนโบราณที่พบในไม้เช็ดก้น
บนจุดพักกลางทางเส้นทางสายไหม ที่ Tamrin Basin เขตพื้นที่ทะเลทราย Taklamakan
ส้วมที่จุดนี้คาดว่ามีการใช้งานตั้งแต่ 111 BC (Han Dynasty) จนกระทั่ง 109 AD
“ ตอนที่ผมส่องกล้องจุลทรรศน์เห็นไข่พยาธิใบไม้ในตับของจีน
ผมรู้ว่าพวกเราได้ค้นพบสิ่งที่สำคัญที่สุด
ผลการศึกษาของเราเป็นครั้งแรกที่ใช้หลักฐานทางโบราณคดี
จากแหล่งขุดค้นบนเส้นทางสายไหมที่บรรดานักเดินทางต่างพาโรคต่าง ๆ
มาพบกันที่นี่(ห้องส้วมสถานีพักกลางทาง) หลังจากการเดินทางที่ยาวไกล "
Hui-Yuan Yeh นักวิจัยคนหนึ่งระบุ
“ ที่ผ่านมายังไม่มีข้อพิสูจน์ยืนยันว่า เส้นทางสายไหมเป็นจำเลยของการแพร่กระจายโรค
เพราะมันอาจจะแพร่กระจายระหว่างจีนกับยุโรป ผ่านอินเดียไปทางซีกโลกตอนใต้
หรือผ่านทางมองโกเลียและรัสเซียไปทางซีกโลกตอนเหนือ " Piers Mitchell หัวหน้าทีมวิจัย
ทีมนักวิจัยจาก Cambridge ทำงานร่วมกับนักวิจัยชาวจีน Ruilin Mao กับ Hui Wang
จาก Gansu Institute for Cultural Relics and Archaeology
ที่ทำงานขุดค้นหลุมโบราณคดีพบห้องส้วมและจุดพักกลางทางที่เขต Ganzu
เป็นจุดพักที่นิยมกันมากแห่งหนึ่งบนเส้นทางสายไหม
เพราะนักเดินทาง/พ่อค้ารวมทั้งข้าราชการจะพักที่นี่ด้วย
พร้อมกับทำการค้าขาย จุดพักม้าหรือเปลี่ยนม้าเดินทางไกล
เป็นจุดที่รับส่งจดหมาย/เอกสารทางราชการ
หมายเหตุ
ผลการศึกษาเป็นการยืนยันสิ่งบ่งชี้เรื่องโรคกับบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้ชัดเจนว่า
ต้นตอของโรคพยาธิบางชนิดมีแหล่งกำเนิดจากที่ใดอย่างชัดเจน
รองลงมาอาจจะเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
หรือเป็นการเหยียดทางเชื้อชาติหรือประณามต้นตอของโรคในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ
เหมือนกับ โรคเอดส์ หนองใน ซิฟิลิส กาฬโรค อหิวาตกโรค ที่มีการศึกษาต้นตอ/ที่มาของโรค
เรียบเรียง/ที่มา
http://bit.ly/2a9fCdx
http://bit.ly/2anE0eF
http://bit.ly/2a8NUkE
http://bit.ly/2aaOYEl
เรื่องเล่าไร้สาระ
เมืองไทยสมัยก่อนก็ใช้ไม้เช็ดอุจจาระ
เรียกว่า ไม้แกงก้น หรือไม้แก้งขี้
มีตำนานว่า พระร่วงใช้ไม้ชนิดหนึ่งเช็ดก้นแล้ว
ทำให้ต้นไม้ชนิดนั้นมีกลิ่นเหม็น บางคนว่าเหมือนกลิ่นอุจจาระ
จึงมีบางท้องถิ่นเรียกว่า ไม้แก้งขี้พระร่วง
แก้ง เป็นคำโบราณหมายถึง การทำความสะอาด
แต่ก่อนชาวไทยในวันเข้าพรรษา
จะถวายไม้แกงก้นให้พระภิกษุจำนวนมาก
นอกเหนือจากการใช้ตามบ้านและในวัง
ชาวไทยสมัยก่อนไม่นิยมใช้น้ำล้างก้น
เพราะน้ำหายาก/ต้องหาบ/ต้องคอน มาใส่ไว้ในตุ่มใส่น้ำ
กอปรกับมักมีคนพิเรนทร์แกล้งโรยหมามุ่ย(ถูกแล้วคันมาก)ไว้ในตุ่มใส่น้ำ
หรือน้ำใช้มักจะดูสกปรกหรือดูเหมือนว่าปนเปื้อนบางอย่าง(สังเกตได้จากตามวัด/ตามปั้มน้ำมัน)
ต่อมาจึงมีการใช้กระดาษแบบราคาถูก ๆ ที่นำเข้าเรียกว่า เฉ่าจั้ว (เฉ่า=เลว/เหม็น จั้ว=กระดาษ)
แล้วค่อยหันมาใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ที่มีเหลือเฟือเหลือใช้
จนมีปัญหาสีดำของหมึกพิมพ์ติดตามก้น/ปนเปื้อนสารพิษจึงค่อย ๆ เลิกใช้
หันมาใช้กระดาษทิชชู่/กระดาษชำระในแบบปัจจุบัน
เมื่อระบบน้ำประปามีการแพร่หลายใช้งานสะดวกมากขึ้น
ชาวไทยจึงหันมานิยมใช้หัวฉีดทำความสะอาดก้นกันมากขึ้น
แต่ที่อากาศหนาวเย็น ถ้าไม่ใช่น้ำอุ่น การใช้กระดาษยังสะดวกกว่า
ข้อมูลเพิ่มเติม ไม้แก้งก้น http://bit.ly/2a16Y0Y
เส้นทางสายไหมแพร่กระจายโรคพยาธิ
Figure 4. One of the personal hygiene sticks found in the latrine at the Xuanquanzhi site.
The stick is wrapped with cloth at one end and there are traces of brown material, human faeces.
มีการสันนิษฐานกับตั้งข้อสงสัยมานานมากแล้วว่า
เส้นทางการค้าจะมีการส่งผ่าน/แลกเปลี่ยนโรคพยาธินอกเหนือจากสินค้า
โดยเฉพาะเส้นทางสายไหม Silk Road
ที่เป็นเส้นทางการค้าสายหลักระหว่างยุโรปกับเอเซียตะวันออก
นักวิทยาศาสตร์ได้ทดสอบแนวคิด/สมมุติฐานนี้
ด้วยการตรวจสอบไข่พยาธิจากไม้เช็ดอุจจาระกับเศษผ้าชิ้นเล็ก ๆ
วัสดุเหล่านี้ถูกทิ้งไว้ในห้องส้วมที่จุดพักกลางทางของเส้นทางสายไหม
ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนราว 100 ปีก่อนคริสตศักราช
และมันกลายเป็นข้อมูลชิ้นสำคัญมากในการตอบโจทย์ดังกล่าว
เพราะตรวจสอบพบไข่พยาธิ Liver-flukes Tapeworms Roundworms และ Whipworm
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางบนเส้นทางสายไหม
ไข่พยาธิอายุกว่า 2000 ปียังทิ้งร่องรอยไว้ในไม้เช็ดอุจจาระ/เศษผ้าชิ้นเล็ก ๆ
ที่ห้องส้วมจุดพักกลางทาง Xuanquanzhi Relay Station ในจีน
เส้นทางสายไหมมักจะตกเป็นจำเลยในเรื่องการแพร่ระบาดเชื้อโรคในอดีต
ระหว่างเอเซียตะวันออก เอเซียตอนกลาง และยุโรป
แม้ว่าข้อสันนิษฐานนี้จะถูกต้อง แต่ไม่มีพยานหลักฐาน/ข้อมูลยืนยันในเรื่องนี้
ว่าพวกมันมาจากการเดินทางติดต่อของผู้คนจากที่ต่าง ๆ กันมาพบกันที่จุดพักกลางทาง
Extent of Silk Route/Silk Road. Red is land route and the blue is the sea/water route. NASA/wikimedia
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ การค้นหาไข่พยาธิจากไม้/เศษผ้าเช็ดอุจจาระ
ในห้องส้วมรวมที่จุดพักเส้นทางสายไหมที่ Xuanquanzhi (111 BCE–CE 109)
ทางสายตะวันออกของ Tarim Basin ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
นักวิทยาศาสตร์พบไข่ของพยาธิถึง 4 สายพันธุ์ ในไม้/เศษผ้าเช็ดอุจจาระ มี
1. Chinese liver fluke (Clonorchis sinensis)
2. Taenia sp. tapeworm (likely Taenia asiatica, Taenia solium or Taenia saginata)
3. Roundworm (Ascaris lumbricoides)
4. Whipworm (Trichuris trichiura)
พยาธิใบไม้ในตับ Chinese liver fluke
วงจรชีวิตของพวกมันต้องการพื้นที่ในเขตที่ชุ่มชื้น
มีมากแถบเขต Guandong Province ที่ไกลถึง 2,000 กิโลเมตร
และรอบ ๆ Dunhuang ที่อยู่ห่างไปถึง 1,500 กิโลเมตร
ทำให้มันสูญพันธุ์ในเขตพื้นที่แห้งแล้งแถบนี้ไม่ขยายพันธุ์ไปไกลอีก
พยาธิสายพันธุ์นี้ที่พบในหลุมขุดค้นโบราณคดีแห่งนี้ยืนยันข้อสันนิษฐานว่า
ที่มา http://bit.ly/2a9fCdx
" ผู้คนจากพื้นที่มีน้ำใช้อย่างอุดมสมบูรณ์ทางภาคตะวันออกหรือภาคใต้ของจีน
เดินทางมาพร้อมกับพยาธิในร่างกายแล้วแวะตามจุดพักต่าง ๆ บนเส้นทางสายไหม
เพื่อวัตถุที่ประสงค์ทางการค้าหรือปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ
นี่คือหลักฐานโบราณคดีชิ้นล่าสุดที่ยืนยันว่า
โรคพยาธิส่วนหนึ่งมาตามเส้นทางสายไหม " Piers Mitchell ให้ความเห็น
Hui-Yuan Yeh กับ Piers Mitchell นักวิจัยจาก
University of Cambridge’s Department of Archaeology and Anthropology
ใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อตรวจสอบอุจจาระของคนโบราณที่พบในไม้เช็ดก้น
บนจุดพักกลางทางเส้นทางสายไหม ที่ Tamrin Basin เขตพื้นที่ทะเลทราย Taklamakan
ส้วมที่จุดนี้คาดว่ามีการใช้งานตั้งแต่ 111 BC (Han Dynasty) จนกระทั่ง 109 AD
“ ตอนที่ผมส่องกล้องจุลทรรศน์เห็นไข่พยาธิใบไม้ในตับของจีน
ผมรู้ว่าพวกเราได้ค้นพบสิ่งที่สำคัญที่สุด
ผลการศึกษาของเราเป็นครั้งแรกที่ใช้หลักฐานทางโบราณคดี
จากแหล่งขุดค้นบนเส้นทางสายไหมที่บรรดานักเดินทางต่างพาโรคต่าง ๆ
มาพบกันที่นี่(ห้องส้วมสถานีพักกลางทาง) หลังจากการเดินทางที่ยาวไกล "
Hui-Yuan Yeh นักวิจัยคนหนึ่งระบุ
“ ที่ผ่านมายังไม่มีข้อพิสูจน์ยืนยันว่า เส้นทางสายไหมเป็นจำเลยของการแพร่กระจายโรค
เพราะมันอาจจะแพร่กระจายระหว่างจีนกับยุโรป ผ่านอินเดียไปทางซีกโลกตอนใต้
หรือผ่านทางมองโกเลียและรัสเซียไปทางซีกโลกตอนเหนือ " Piers Mitchell หัวหน้าทีมวิจัย
ทีมนักวิจัยจาก Cambridge ทำงานร่วมกับนักวิจัยชาวจีน Ruilin Mao กับ Hui Wang
จาก Gansu Institute for Cultural Relics and Archaeology
ที่ทำงานขุดค้นหลุมโบราณคดีพบห้องส้วมและจุดพักกลางทางที่เขต Ganzu
เป็นจุดพักที่นิยมกันมากแห่งหนึ่งบนเส้นทางสายไหม
เพราะนักเดินทาง/พ่อค้ารวมทั้งข้าราชการจะพักที่นี่ด้วย
พร้อมกับทำการค้าขาย จุดพักม้าหรือเปลี่ยนม้าเดินทางไกล
เป็นจุดที่รับส่งจดหมาย/เอกสารทางราชการ
หมายเหตุ
ผลการศึกษาเป็นการยืนยันสิ่งบ่งชี้เรื่องโรคกับบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้ชัดเจนว่า
ต้นตอของโรคพยาธิบางชนิดมีแหล่งกำเนิดจากที่ใดอย่างชัดเจน
รองลงมาอาจจะเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
หรือเป็นการเหยียดทางเชื้อชาติหรือประณามต้นตอของโรคในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ
เหมือนกับ โรคเอดส์ หนองใน ซิฟิลิส กาฬโรค อหิวาตกโรค ที่มีการศึกษาต้นตอ/ที่มาของโรค
เรียบเรียง/ที่มา
http://bit.ly/2a9fCdx
http://bit.ly/2anE0eF
http://bit.ly/2a8NUkE
http://bit.ly/2aaOYEl
ที่มา http://bit.ly/2aaTe6P
เรื่องเล่าไร้สาระ
เมืองไทยสมัยก่อนก็ใช้ไม้เช็ดอุจจาระ
เรียกว่า ไม้แกงก้น หรือไม้แก้งขี้
มีตำนานว่า พระร่วงใช้ไม้ชนิดหนึ่งเช็ดก้นแล้ว
ทำให้ต้นไม้ชนิดนั้นมีกลิ่นเหม็น บางคนว่าเหมือนกลิ่นอุจจาระ
จึงมีบางท้องถิ่นเรียกว่า ไม้แก้งขี้พระร่วง
แก้ง เป็นคำโบราณหมายถึง การทำความสะอาด
แต่ก่อนชาวไทยในวันเข้าพรรษา
จะถวายไม้แกงก้นให้พระภิกษุจำนวนมาก
นอกเหนือจากการใช้ตามบ้านและในวัง
ชาวไทยสมัยก่อนไม่นิยมใช้น้ำล้างก้น
เพราะน้ำหายาก/ต้องหาบ/ต้องคอน มาใส่ไว้ในตุ่มใส่น้ำ
กอปรกับมักมีคนพิเรนทร์แกล้งโรยหมามุ่ย(ถูกแล้วคันมาก)ไว้ในตุ่มใส่น้ำ
หรือน้ำใช้มักจะดูสกปรกหรือดูเหมือนว่าปนเปื้อนบางอย่าง(สังเกตได้จากตามวัด/ตามปั้มน้ำมัน)
ต่อมาจึงมีการใช้กระดาษแบบราคาถูก ๆ ที่นำเข้าเรียกว่า เฉ่าจั้ว (เฉ่า=เลว/เหม็น จั้ว=กระดาษ)
แล้วค่อยหันมาใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ที่มีเหลือเฟือเหลือใช้
จนมีปัญหาสีดำของหมึกพิมพ์ติดตามก้น/ปนเปื้อนสารพิษจึงค่อย ๆ เลิกใช้
หันมาใช้กระดาษทิชชู่/กระดาษชำระในแบบปัจจุบัน
เมื่อระบบน้ำประปามีการแพร่หลายใช้งานสะดวกมากขึ้น
ชาวไทยจึงหันมานิยมใช้หัวฉีดทำความสะอาดก้นกันมากขึ้น
แต่ที่อากาศหนาวเย็น ถ้าไม่ใช่น้ำอุ่น การใช้กระดาษยังสะดวกกว่า
ข้อมูลเพิ่มเติม ไม้แก้งก้น http://bit.ly/2a16Y0Y