เมื่อปีที่แล้วซิกม่าเปิดตัวเซ็นเซอร์ Foveon เจเนอเรชั่นที่ 4 - Quattro พร้อมกับกล้องคอมแพ็กต์ในซีรี่ส์ dp แฟนๆ ซิกม่ารู้ดีว่าต่อจากซีรี่ส์ dp สิ่งที่ตามมาคือกล้องเปลี่ยนเลนส์ในซีรี่ส์ sd
หลังจากปล่อยกล้อง dpQ หน้าตาประหลาดออกมาครบ 4 รุ่น 4 ทางยาวโฟกัส ก็ได้เวลาของ Sigma sd Quattro หรือที่แฟนๆ เรียกว่า sdQ เสียที
สิ่งที่แปลกไปจาก sd รุ่นอื่นๆ ที่ผ่านมาก็คือคราวนี้ซิกม่าทำเป็นกล้อง mirrorless แทนที่จะเป็น DSLR เหมือนเคย
ประหลาดหนึ่งคือกล้องรุ่นนี้ มีเซ็นเซอร์ออกมา 2 ขนาด คือ APS-C ตัวคูณ 1.5 และ APS-H ตัวคูณ 1.3 ให้เลือกซื้อตามต้องการ
รุ่นที่ผมได้ทดลองใช้ (วันเดียว) ก็เป็นรุ่น APS-C นี่แหละ
ประหลาดสองคือ เป็น mirrorless แต่ดันใช้เม้าท์ DSLR
สรุปรวบตึง
- มันเป็นกล้องประหลาดก็จริง แต่ใช้ง่ายกว่ากล้องซิกม่าทุกรุ่นที่ผ่านมา
- ทำไฟล์ยาก แต่ก็ง่ายกว่า Foveon ทุกกล้องที่ผ่านมาเหมือนกัน
- บอดี้ใหญ่ เป็น mirrorless แต่ใช้เม้าท์ DSLR เดิม
- เหมาะกับมือใหม่หัดใช้ Foveon (แต่ก็ควรเป็นมือเก่าในการถ่ายภาพมาก่อน)
- กล้อง APS-C 20 ล้านพิกเซล ที่ให้รายละเอียดและความคมชัด เทียบได้กับกล้องฟูลเฟรม 36 ล้านพิกเซลที่จับคู่กับเลนส์ตัวท็อป
- ไดนามิคเรนจ์และความไวแสง ระดับกล้องคอมแพ็กต์กิ๊กก็อก หรือนึกว่ากำลังใช้ฟิล์มก็ได้
- สตูดิโอเหมาะสุด หรือสมัยฟิล์มเคยใช้ Technical Camera ยังไงก็ใช้ยังงั้นแหละ
โปรไฟล์สี Foveon Classic Blue
ไม่น่าเชื่อว่าซิกม่าจะทนทำเซ็นเซอร์โฟวีออนออกมาได้จนถึงเจเนอเรชั่นที่ 4 โดยไม่ยอมแพ้ไปเสียก่อน เซ็นเซอร์รุ่น Quattro ก็ยังคงเป็นเซ็นเซอร์แยกสีซ้อนกันสามเซ็นเซอร์ซ้อนกันเหมือนเดิม แต่ต่างจากเจเนอเรชั่น 3 (รุ่น Merrill) ตรงที่ลดความละเอียดของเซ็นเซอร์ 2 ชั้นล่างเหลือ 1 ใน 4 ของชั้นบน ยอมสละรายละเอียดสมบูรณ์แบบในเจเนอเรชั่น 3 แลกมาด้วยความไวแสงและไดนามิคเรนจ์ที่สูงขึ้น ...สต็อปนึง
ก่อนหน้านี้กล้องซี่รี่ส์ SD เป็นกล้อง DSLR ใช้เม้าท์ Sigma SA พอมาถึง sd Quattro ที่เป็นกล้อง mirrorless ซิกม่าก็ยังคงใช้เม้าท์เดิม ไม่ได้เปลี่ยนเม้าท์ ไม่ได้ลดระยะท้ายเลนส์ ข้อดีก็คือสามารถเอาเลนส์เดิมมาใช้ได้ทันทีเลย โดยไม่ต้องออกแบบเลนส์ใหม่ เพราะแฟนๆ โฟวีออน คงไม่ปลื้มแน่ถ้าต้องซื้อเลนส์ใหม่ยกชุด เรื่องความเร็วในการโฟกัสไม่ต้องห่วงซิกม่ารักษาความเร็วในการโฟกัสไว้ได้ดีมาก
..คือช้าเหมือนเดิม
ในตัวเดโมที่ได้ทดลองใช้นี่มีจังหวะหน่วงหลังกดชัตเตอร์อีกต่างหาก พอกดชัตเตอร์กล้องจะนิ่งคิดอยู่สักครู่ มันคงกำลังตัดสินใจว่ากรูจะทำยังไงกะชีวิตดี แล้วค่อยตกลงใจเริ่มการหาโฟกัส
เวลาหาก็มีชักเข้าชักออกอยู่สักครู่แต่พอเข้าแล้วก็เป๊ะดีไม่มีปัญหา
ก็ต้องรอเฟิร์มแวร์แก้ไขปรับปรุงกันต่อไป ผมไม่ค่อยห่วงเรื่องนี้เท่าไหร่เพราะแก้ด้วยซอฟท์แวร์ได้ และมันยังมี PD-AF มาให้ ความเร็วก็ประมาณเดิมๆ ที่คนใช้โฟวีออนไม่เดือดร้อนอยู่แล้ว
แต่ข้อเสียของการใช้เม้าท์ DSLR คือระยะท้ายเลนส์ยังคงยาวยืดอยู่เช่นเดิม กล้องรุ่นนี้จึงต่อคอเม้าท์เลนส์ยื่นออกมาจากบอดี้เพื่อรับกับเลนส์เดิมที่มีระยะท้ายเลนส์ 44 มม. ทำให้ดูแล้วมันก็จะหน้าตาพิลึกๆ หน่อย
ที่พิลึกไปกว่านั้นคือมันดันวางสวิชท์เปิดปิดเอาไว้ตรงคอเม้าท์เลนส์ซะด้วย เป็นการเลือกวางตำแหน่งได้ประหลาดที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาเลย มันก็เปิดปิดได้ถนัดและรวดเร็วดีถ้าถือสองมือ
และเราไม่ควรหงุดหงิดว่าถ้าถือมือเดียวจะถ่ายยังไง กล้องซิกม่าไม่ใช่กล้องที่ออกแบบให้ถือถ่ายมือเดียว ที่จริงไม่ใช่แค่มือเดียว ถ้าไม่ได้ถ่ายกลางแดดเปรี้ยงๆ มันไม่ใช่กล้องที่ควรจะถือมือเปล่าด้วยซ้ำ น่าจะต้องขึ้นขาตั้งกล้องทุกครั้งเท่าที่เป็นไปได้
ดูภาพจากกล้องซิกม่าไม่ดูภาพขยายเต็มๆ มันจะไม่เห็นพลังที่แท้จริงของเซ็นเซอร์ Foveon ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการพิจารณาภาพ ผมจะแปะ 100% crop คู่กับภาพเต็มไว้เลย
[SR] Sigma sd Quattro ความแปลกประหลาดคุณที่สัมผัสได้
เมื่อปีที่แล้วซิกม่าเปิดตัวเซ็นเซอร์ Foveon เจเนอเรชั่นที่ 4 - Quattro พร้อมกับกล้องคอมแพ็กต์ในซีรี่ส์ dp แฟนๆ ซิกม่ารู้ดีว่าต่อจากซีรี่ส์ dp สิ่งที่ตามมาคือกล้องเปลี่ยนเลนส์ในซีรี่ส์ sd
หลังจากปล่อยกล้อง dpQ หน้าตาประหลาดออกมาครบ 4 รุ่น 4 ทางยาวโฟกัส ก็ได้เวลาของ Sigma sd Quattro หรือที่แฟนๆ เรียกว่า sdQ เสียที
สิ่งที่แปลกไปจาก sd รุ่นอื่นๆ ที่ผ่านมาก็คือคราวนี้ซิกม่าทำเป็นกล้อง mirrorless แทนที่จะเป็น DSLR เหมือนเคย
ประหลาดหนึ่งคือกล้องรุ่นนี้ มีเซ็นเซอร์ออกมา 2 ขนาด คือ APS-C ตัวคูณ 1.5 และ APS-H ตัวคูณ 1.3 ให้เลือกซื้อตามต้องการ
รุ่นที่ผมได้ทดลองใช้ (วันเดียว) ก็เป็นรุ่น APS-C นี่แหละ
ประหลาดสองคือ เป็น mirrorless แต่ดันใช้เม้าท์ DSLR
สรุปรวบตึง
- มันเป็นกล้องประหลาดก็จริง แต่ใช้ง่ายกว่ากล้องซิกม่าทุกรุ่นที่ผ่านมา
- ทำไฟล์ยาก แต่ก็ง่ายกว่า Foveon ทุกกล้องที่ผ่านมาเหมือนกัน
- บอดี้ใหญ่ เป็น mirrorless แต่ใช้เม้าท์ DSLR เดิม
- เหมาะกับมือใหม่หัดใช้ Foveon (แต่ก็ควรเป็นมือเก่าในการถ่ายภาพมาก่อน)
- กล้อง APS-C 20 ล้านพิกเซล ที่ให้รายละเอียดและความคมชัด เทียบได้กับกล้องฟูลเฟรม 36 ล้านพิกเซลที่จับคู่กับเลนส์ตัวท็อป
- ไดนามิคเรนจ์และความไวแสง ระดับกล้องคอมแพ็กต์กิ๊กก็อก หรือนึกว่ากำลังใช้ฟิล์มก็ได้
- สตูดิโอเหมาะสุด หรือสมัยฟิล์มเคยใช้ Technical Camera ยังไงก็ใช้ยังงั้นแหละ
โปรไฟล์สี Foveon Classic Blue
ไม่น่าเชื่อว่าซิกม่าจะทนทำเซ็นเซอร์โฟวีออนออกมาได้จนถึงเจเนอเรชั่นที่ 4 โดยไม่ยอมแพ้ไปเสียก่อน เซ็นเซอร์รุ่น Quattro ก็ยังคงเป็นเซ็นเซอร์แยกสีซ้อนกันสามเซ็นเซอร์ซ้อนกันเหมือนเดิม แต่ต่างจากเจเนอเรชั่น 3 (รุ่น Merrill) ตรงที่ลดความละเอียดของเซ็นเซอร์ 2 ชั้นล่างเหลือ 1 ใน 4 ของชั้นบน ยอมสละรายละเอียดสมบูรณ์แบบในเจเนอเรชั่น 3 แลกมาด้วยความไวแสงและไดนามิคเรนจ์ที่สูงขึ้น ...สต็อปนึง
ก่อนหน้านี้กล้องซี่รี่ส์ SD เป็นกล้อง DSLR ใช้เม้าท์ Sigma SA พอมาถึง sd Quattro ที่เป็นกล้อง mirrorless ซิกม่าก็ยังคงใช้เม้าท์เดิม ไม่ได้เปลี่ยนเม้าท์ ไม่ได้ลดระยะท้ายเลนส์ ข้อดีก็คือสามารถเอาเลนส์เดิมมาใช้ได้ทันทีเลย โดยไม่ต้องออกแบบเลนส์ใหม่ เพราะแฟนๆ โฟวีออน คงไม่ปลื้มแน่ถ้าต้องซื้อเลนส์ใหม่ยกชุด เรื่องความเร็วในการโฟกัสไม่ต้องห่วงซิกม่ารักษาความเร็วในการโฟกัสไว้ได้ดีมาก
..คือช้าเหมือนเดิม
ในตัวเดโมที่ได้ทดลองใช้นี่มีจังหวะหน่วงหลังกดชัตเตอร์อีกต่างหาก พอกดชัตเตอร์กล้องจะนิ่งคิดอยู่สักครู่ มันคงกำลังตัดสินใจว่ากรูจะทำยังไงกะชีวิตดี แล้วค่อยตกลงใจเริ่มการหาโฟกัส
เวลาหาก็มีชักเข้าชักออกอยู่สักครู่แต่พอเข้าแล้วก็เป๊ะดีไม่มีปัญหา
ก็ต้องรอเฟิร์มแวร์แก้ไขปรับปรุงกันต่อไป ผมไม่ค่อยห่วงเรื่องนี้เท่าไหร่เพราะแก้ด้วยซอฟท์แวร์ได้ และมันยังมี PD-AF มาให้ ความเร็วก็ประมาณเดิมๆ ที่คนใช้โฟวีออนไม่เดือดร้อนอยู่แล้ว
แต่ข้อเสียของการใช้เม้าท์ DSLR คือระยะท้ายเลนส์ยังคงยาวยืดอยู่เช่นเดิม กล้องรุ่นนี้จึงต่อคอเม้าท์เลนส์ยื่นออกมาจากบอดี้เพื่อรับกับเลนส์เดิมที่มีระยะท้ายเลนส์ 44 มม. ทำให้ดูแล้วมันก็จะหน้าตาพิลึกๆ หน่อย
ที่พิลึกไปกว่านั้นคือมันดันวางสวิชท์เปิดปิดเอาไว้ตรงคอเม้าท์เลนส์ซะด้วย เป็นการเลือกวางตำแหน่งได้ประหลาดที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาเลย มันก็เปิดปิดได้ถนัดและรวดเร็วดีถ้าถือสองมือ
และเราไม่ควรหงุดหงิดว่าถ้าถือมือเดียวจะถ่ายยังไง กล้องซิกม่าไม่ใช่กล้องที่ออกแบบให้ถือถ่ายมือเดียว ที่จริงไม่ใช่แค่มือเดียว ถ้าไม่ได้ถ่ายกลางแดดเปรี้ยงๆ มันไม่ใช่กล้องที่ควรจะถือมือเปล่าด้วยซ้ำ น่าจะต้องขึ้นขาตั้งกล้องทุกครั้งเท่าที่เป็นไปได้
ดูภาพจากกล้องซิกม่าไม่ดูภาพขยายเต็มๆ มันจะไม่เห็นพลังที่แท้จริงของเซ็นเซอร์ Foveon ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการพิจารณาภาพ ผมจะแปะ 100% crop คู่กับภาพเต็มไว้เลย