ในวิทยานิพนธ์ระดับป.โทจะมีการอ้างTheoryในช่วงแรก อ้างเพื่ออะไรครับ และการreview literatureไม่ใช่ review theory หรอครับ

ในวิทยานิพนธ์ระดับป.โทจะมีการอ้างTheoryในช่วงแรก อ้างเพื่ออะไรครับ และการreview literatureไม่ใช่ review theory หรอครับ

- theory ต่างจากหนังสือ thesis เล่มก่อนๆที่เขาเขียนหรอครับ ถ้ายังงั้น theory คืออะไรครับ
- ใน thesis หลายเล่มจะมีการอ้างถึง theory   ไม่ทราบว่าอ้างเพื่อเอา theoryนั้นมาอธิบายเหตุผลของสิ่งที่เกิดขึ้นหรือเปล่า
คือเห็นหลายเล่มอ้างถึง แต่ไม่เห็นเอามาอธิบายใช้งานใดๆเวลาพูดถึงเนื้อหาตนเองครับ
- การที่จะอธิบายเหตุผลใดๆ  ปรากฎการณ์ใดๆ ต้องมี theory หรือ literature มาอิง ทุกๆครั้งเลยหรือเปล่า แล้วถ้าเราไม่สามารถหา theory หรือ literature  มาอธิบายได้แล้วจะทำไงครับ
- ถ้า theory ที่หามา มันไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นได้  แล้วเราสามารถใช้ประโยชน์อะไรกับหนังสือเรื่องนั้นบ้าง เช่น เอามาบอกว่า ที่มันไม่เป็นแบบนี้เพราะ.......  แล้วหาtheory อื่นที่อธิบายได้มาใช้แทนหรอครับ

ขออภัยนะครับ ที่มหา สอนน้อยมากก กำลังศึกษาอยู่น่ะครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
-ในวิทยานิพนธ์ระดับป.โทจะมีการอ้างTheoryในช่วงแรก อ้างเพื่ออะไรครับ และการreview literatureไม่ใช่ review theory หรอครับ
การทบทวนวรรณกรรม คือ การทำความรู้จักสิ่งที่เราศึกษาครับ ในการทำความรู้จักนี้ เรามักจะหา 5 สิ่งต่อไปนี้ ครับ
ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร พบอะไร

ใคร คือ เรื่องที่เราศึกษา ใครเป็น คนศึกษาที่มีชื่อเสียง ใครเป็นต้นคิด theory มีไหม มีใครทำคล้ายๆเราบ้าง

อะไร คือ สิ่งที่เราศึกษา มันเป็นยังไง มีคุณลักษณะอย่างไร ความเป็นมาในการศึกษามันละ เป็นยังไง

ที่ไหน คือ บริบทที่ทำการศึกษา คือที่ไหนบ้าง ในไทยมีใครทำไหม

เมื่อไร คือ นับจากวันที่คุณทำอยู่ มีคนทำวิจัยเมื่อไรบ้าง

ได้ผลอย่างไร คือ theory ว่างี้ ผลการวิจัยพบเหมือนกันกับที่ theory ว่าหรือไม่

- theory ต่างจากหนังสือ thesis เล่มก่อนๆที่เขาเขียนหรอครับ ถ้ายังงั้น theory คืออะไรครับ
theory คือ คำอธิบายสิ่งที่เราศึกษาครับ ว่า เป็นอย่างไร เกิดอะไรขึ้น อะไรเป็นสาเหตุ ให้เกิดผลแบบนี้ และกระบวนการของมันเป็นอย่างไร
theory เองยังมีความแตกต่าง อยู่ที่ระดับการอธิบาย สามารถจำแนกกว้างๆ เป็น 3 ประเภท
1. ในบริบท ใช้ได้แค่ วัฒนธรรม สังคมหนึ่งเท่านั้น ไปใช้ที่อื่นนอกจากนี้ ไม่ได้
2. ระดับกลาง (ลืมชื่อ ลองเปิด ไม่วิจัยคุณภาพก็ทฤษฎีสังคมวิทยา อ สุภางค์ดูชื่อที่ถูกต้อง) เป็นทฤษฎีที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว ระดับหนึ่ง มีสาเหตุ และ ผล สามารถอธิบายได้ระดับหนึ่ง ยังมีบางส่วนที่ยังอธิบายไม่ได้
3. ระดับมหภาค เป็นทฤษฎีที่ เน้น กระบวนการ
ว่า ตัวแปร หรือ อะไร ทำอะไรต่อกัน และออกมาเป็น อย่างที่เห็น ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยระบุตัวแปรต้น (ที่กล่าวมานี้ คือ ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ ถ้าทางสายวิมย์ แนวคิดจะอีกแบบครับ)
ส่วนใหญ่ วิจัยคุณภาพ ถ้าใช้ จะใช้ มหภาค มากกว่าครับ ไม่ก็คิด ในพื้นที่

- ใน thesis หลายเล่มจะมีการอ้างถึง theory   ไม่ทราบว่าอ้างเพื่อเอา theoryนั้นมาอธิบายเหตุผลของสิ่งที่เกิดขึ้นหรือเปล่า
คือเห็นหลายเล่มอ้างถึง แต่ไม่เห็นเอามาอธิบายใช้งานใดๆเวลาพูดถึงเนื้อหาตนเองครับ
theory ใช้เพื่ออธิบาย สร้างกรอบแนวคิด วิธีการวัด จนถึง ช่วยในการมองความสัมพันธ์ ของข้อมูลครับ
ในส่วนของคุณภาพจริงๆ คือ ช่วยประกอบข้อมูล ที่ได้จากสนามการวิจัย ว่า a กับ b น่าจะเกี่ยวข้องกัน จากนั้น ก็เอา ข้อมูล หลายๆอัน มาพิจารณาครับ
ที่เห็นบางทีเอาทฤษฎีมา แล้ว ไม่ได้พูดถึงมี 2 อย่างครับ คือ ถ้าเน้นกระบวนการ จะเป็นการช่วยประกอบข้อมูล อันนี้ต้องอ่านดีๆ กับ อันหลังคือ เวลา เอามาเขียน คือ ยกกะปิทั้งทฤษฎี จะเจอแบบนี้เยอะครับ ซึ่งจริงๆ คือ เอามาแค่บางส่วนของทฤษฎีครับ ในการทำวิจัย

- การที่จะอธิบายเหตุผลใดๆ  ปรากฎการณ์ใดๆ ต้องมี theory หรือ literature มาอิง ทุกๆครั้งเลยหรือเปล่า แล้วถ้าเราไม่สามารถหา theory หรือ literature  มาอธิบายได้แล้วจะทำไงครับ
ถ้าวิจัยคุณภาพ เน้นที่ข้อมูลในสนามการวิจัยครับ ทฤษฎีมีจะช่วย ให้เรามองอีกมุมได้ แต่ท้ายที่สุด ข้อมูลจากสนาม มีอิทธิพลมากที่สุดครับ มาจากกระบวนทัศน์ ฐานคติ ด้วยครับ

- ถ้า theory ที่หามา มันไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นได้  แล้วเราสามารถใช้ประโยชน์อะไรกับหนังสือเรื่องนั้นบ้าง เช่น เอามาบอกว่า ที่มันไม่เป็นแบบนี้เพราะ.......  แล้วหาtheory อื่นที่อธิบายได้มาใช้แทนหรอครับ
ได้ครับ คุณภาพ ยืดยุ่น ได้ครับ ขึ้นกับ ความไวในทฤษฎี ของผู้วิจัยครับ

ขออภัยนะครับ ที่มหา สอนน้อยมากก กำลังศึกษาอยู่น่ะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่