คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ผมว่า ไม่แค่อังกฤษหรอกครับ
อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียก็แบบนี้ทั้งนั้น
คงเป็นเพราะเรื่องอำนาจทางสิทธิและเสรีภาพ จนทำให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นความเคารพกฎเกณฑ์ขึ้นมา
เรียกว่า กลายเป็นวัฒนธรรมอันงดงามขึ้นมา
คือ ประชาชนด่ารัฐได้ ทวงรัฐได้ ชี้นิ้วสั่งรัฐได้ และรัฐรีบตอบสนอง
อย่างนี้ ประชาชนก็เกรงใจรัฐ ทำตามกฎระเบียบตามที่รัฐกำหนด (รัฐก็ออกกฎหมาย ระเบียบที่เป็นธรรม)
เป็นเรื่อง 50-50 สำหรับรัฐและประชาชน
สำหรับไทยเรา มันไม่ใช่งั้นสิครับ
ขนาดจ่ายค่าเก็บขยะ ยังไม่ได้รับบริการที่ดี ยังต้องเดินไปตั้งถังขยะที่ล้ม ยังต้องไปปิดฝาถัง หลังรถขยะเก็บแล้ว
ประเทศไทย หากรัฐทำให้ประชาชนก่อน ทำให้ประชาชนเกรงใจเพราะบริการดี
ความร่วมมือร่วมใจก็จะเกิด ทุกอย่างก็จะเข้ารูปเข้ารอย
แต่ที่เห็น มักเป็นฝ่ายรัฐที่ชี้นิ้วสั่งประชาชนมากกว่า
ดูบริการของเอกชนอย่างธนาคารก็ได้ครับ
เขาบริการดี เอาใจส่งลูกค้า ลูกค้าก็เคารพกฎของธนาคาร ไม่มีปัญหา กดบัตรคิวรอตามระเบียบ
เทียบกับของราชการ มีบัตรคิวเหมือนกัน แต่บริหารสุดห่วย ใครมันอยากรอคิว ใครมันอยากทำตามระบบระเบียบ
เป็นแค่ความคิดมุมมองครับ
อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียก็แบบนี้ทั้งนั้น
คงเป็นเพราะเรื่องอำนาจทางสิทธิและเสรีภาพ จนทำให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นความเคารพกฎเกณฑ์ขึ้นมา
เรียกว่า กลายเป็นวัฒนธรรมอันงดงามขึ้นมา
คือ ประชาชนด่ารัฐได้ ทวงรัฐได้ ชี้นิ้วสั่งรัฐได้ และรัฐรีบตอบสนอง
อย่างนี้ ประชาชนก็เกรงใจรัฐ ทำตามกฎระเบียบตามที่รัฐกำหนด (รัฐก็ออกกฎหมาย ระเบียบที่เป็นธรรม)
เป็นเรื่อง 50-50 สำหรับรัฐและประชาชน
สำหรับไทยเรา มันไม่ใช่งั้นสิครับ
ขนาดจ่ายค่าเก็บขยะ ยังไม่ได้รับบริการที่ดี ยังต้องเดินไปตั้งถังขยะที่ล้ม ยังต้องไปปิดฝาถัง หลังรถขยะเก็บแล้ว
ประเทศไทย หากรัฐทำให้ประชาชนก่อน ทำให้ประชาชนเกรงใจเพราะบริการดี
ความร่วมมือร่วมใจก็จะเกิด ทุกอย่างก็จะเข้ารูปเข้ารอย
แต่ที่เห็น มักเป็นฝ่ายรัฐที่ชี้นิ้วสั่งประชาชนมากกว่า
ดูบริการของเอกชนอย่างธนาคารก็ได้ครับ
เขาบริการดี เอาใจส่งลูกค้า ลูกค้าก็เคารพกฎของธนาคาร ไม่มีปัญหา กดบัตรคิวรอตามระเบียบ
เทียบกับของราชการ มีบัตรคิวเหมือนกัน แต่บริหารสุดห่วย ใครมันอยากรอคิว ใครมันอยากทำตามระบบระเบียบ
เป็นแค่ความคิดมุมมองครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
การเคารพ กฎ กติกา และความมีวินัย เป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ
ประเทศไทยดูไปแล้วประชาชนน่าจะต้องมีวินัยกันมากๆ ตั้งแต่เด็กไปโรงเรียนก็ต้องตัดผมทรงนักเรียน แต่งเครื่องแบบ เป๊ะทุกกระเบียดยังกับออกมาจากโรงงานเดียวกัน มีค่านิยมเด็กดี มีคำขวัญ มีสโลแกนโตไปไม่โกง ทำดีให้เด็กดู มีสารพัดกลุ่มคนดีที่จะมาปฏิรูปนั่นนี่ ฯลฯ
แต่ผลกลับกลายเป็นว่าคนไทยไร้ระเบียบวินัย มิหนำซ้ำยังขาดความคิดสร้างสรรค์ !!!
ก็เพราะว่าระบบสองมาตรฐาน ระบบเส้นสาย เจ้าขุนมูลนาย คนรวยมีอิสิทธิ์มากกว่าคนจน คนบางพวกทำอะไรไม่ผิด มีพวกเจ้าเล่ห์หัวหมอหาช่องโหว่กฎหมายเพื่อเอาตัวรอดจากความผิด มีการประดิษฐ์คำว่า ...แบบไทยๆ เอาไว้รองรับการไม่เคารพกฎ กติกาสากล
การเรียนการสอนก็ให้เด็กท่องจำ ไม่ได้ให้เกิดจากความเข้าใจ ปิดกั้นสิ่งที่จะให้เด็กๆ หรือประชาชนได้แสดงออกอย่างเสรีเพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
ยกตัวอย่าง การปลูกจิตสำนึกเรื่องการทิ้งขยะ การแยกขยะ
เมืองไทย - ครูบอกเด็กว่า พรุ่งนี้ให้หาขยะหลายๆ ประเภทมาส่งคนละ 10 ชิ้นนะ ผลคือ เดือดร้อนผู้ปกครองไปหาขวดน้ำ กล่องขนม เศษกระดาษ ฯลฯ ให้เด็กเพื่อไปรับคะแนนวันรุ่งขึ้น เด็กก็ไม่ได้รู้สึกตระหนักอะไรนอกจากรู้ว่าขยะมีกี่ประเภท
เมืองนอก - ครูให้เด็กพกถุงดำไปโรงเรียน บอกว่าใครทานอะไร หรือทำให้เกิดขยะอะไรก็ทิ้งในถุงนี้และนำติดตัวไปด้วยทั้งบ้านและโรงเรียน เมื่อหลายวันผ่านไปครบกำหนด ก็มาอภิปรายกัน ผลคือ เด็กๆ เรียนรู้ว่าตัวเองทำให้เกิดขยะมากแค่ไหน คราวนี้จะกินอะไร จะใช้อะไรก็จะคิดก่อน และเกิดเข้าใจว่าคนเก็บขยะจะลำบากแค่ไหน แต่ละคนสร้างปัญหาเรื่องขยะแก่โลกแค่ไหน เขาก็เกิดจิตสำนึกจริงๆ โดยไม่ต้องมีสโลแกนใดๆ
ประเทศไทยดูไปแล้วประชาชนน่าจะต้องมีวินัยกันมากๆ ตั้งแต่เด็กไปโรงเรียนก็ต้องตัดผมทรงนักเรียน แต่งเครื่องแบบ เป๊ะทุกกระเบียดยังกับออกมาจากโรงงานเดียวกัน มีค่านิยมเด็กดี มีคำขวัญ มีสโลแกนโตไปไม่โกง ทำดีให้เด็กดู มีสารพัดกลุ่มคนดีที่จะมาปฏิรูปนั่นนี่ ฯลฯ
แต่ผลกลับกลายเป็นว่าคนไทยไร้ระเบียบวินัย มิหนำซ้ำยังขาดความคิดสร้างสรรค์ !!!
ก็เพราะว่าระบบสองมาตรฐาน ระบบเส้นสาย เจ้าขุนมูลนาย คนรวยมีอิสิทธิ์มากกว่าคนจน คนบางพวกทำอะไรไม่ผิด มีพวกเจ้าเล่ห์หัวหมอหาช่องโหว่กฎหมายเพื่อเอาตัวรอดจากความผิด มีการประดิษฐ์คำว่า ...แบบไทยๆ เอาไว้รองรับการไม่เคารพกฎ กติกาสากล
การเรียนการสอนก็ให้เด็กท่องจำ ไม่ได้ให้เกิดจากความเข้าใจ ปิดกั้นสิ่งที่จะให้เด็กๆ หรือประชาชนได้แสดงออกอย่างเสรีเพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
ยกตัวอย่าง การปลูกจิตสำนึกเรื่องการทิ้งขยะ การแยกขยะ
เมืองไทย - ครูบอกเด็กว่า พรุ่งนี้ให้หาขยะหลายๆ ประเภทมาส่งคนละ 10 ชิ้นนะ ผลคือ เดือดร้อนผู้ปกครองไปหาขวดน้ำ กล่องขนม เศษกระดาษ ฯลฯ ให้เด็กเพื่อไปรับคะแนนวันรุ่งขึ้น เด็กก็ไม่ได้รู้สึกตระหนักอะไรนอกจากรู้ว่าขยะมีกี่ประเภท
เมืองนอก - ครูให้เด็กพกถุงดำไปโรงเรียน บอกว่าใครทานอะไร หรือทำให้เกิดขยะอะไรก็ทิ้งในถุงนี้และนำติดตัวไปด้วยทั้งบ้านและโรงเรียน เมื่อหลายวันผ่านไปครบกำหนด ก็มาอภิปรายกัน ผลคือ เด็กๆ เรียนรู้ว่าตัวเองทำให้เกิดขยะมากแค่ไหน คราวนี้จะกินอะไร จะใช้อะไรก็จะคิดก่อน และเกิดเข้าใจว่าคนเก็บขยะจะลำบากแค่ไหน แต่ละคนสร้างปัญหาเรื่องขยะแก่โลกแค่ไหน เขาก็เกิดจิตสำนึกจริงๆ โดยไม่ต้องมีสโลแกนใดๆ
แสดงความคิดเห็น
...สัพเพเหระวันเสาร์ ความรับผิดชอบและการเคารพ กฏ ระเบียบ วินัยของคนอังกฤษ...by วัชรานนท์
เรื่องของเรื่องก็คือ หลังจากทานอาหารว่างเสร็จเศษอาหารและพลาสติกที่เหลือก็ต้องทิ้ง ไม่ใช่เฉพาะผม...เพื่อนๆ ร่วมงานคนอังกฤษด้วยกันก็เดินหาถังขยะที่จะทิ้งอยู่พักหนึ่ง เพื่อนคนหนึ่งถึงกับเปรยว่า เห็นทีว่าจะต้องเขียนจดหมายร้องเรียนไปถึงเทศบาล(council)แล้วล่ะ ทีแรกนึกว่าหมอนี่พูดเล่นๆ....ทีไหนได้?? พอกลับมาถึงที่ทำงานได้แกก็จัดการร่างจดหมายร้องเรียน เสร็จแล้วก็เอามาวางแหมะบนโต๊ะทำงานผมบอกว่าช่วยเซ็นให้ด้วยว่าผมก็อยู่ในเหตุการณ์(ที่หาถังขยะไม่เจอในรัศมีที่ควรจะมีถังขยะ) เห็นลายเซ็นต์คนอื่นอีกสองสามคนผมก็เซ็นต์กำชับชื่อไป (ปล. จริงๆ จะอีเมล์ส่งไปก็ได้ แต่มันไม่หนักแน่นเท่าเขียนจดหมายพร้อมลายเซ็นต์กำกับ)
ตลอดระยะเวลาที่อาศัยอยู่อังกฤษมามากกว่ายี่สิบปี ผมค้นพบความเปลี่ยนแปลงในตัวเองหลายอย่าง เรื่องๆ หนึ่งที่ผมออกจะทึ่งตัวเองก็คือเรื่องการทิ้งขยะ สมัยก่อนผมอยู่เมืองไทย กินอะไรดื่มอะไรเสร็จแล้วก็โยนทิ้งเรี่ยราดไว้ตรงนั้น หรือดีไม่ดีเจอหมาเจอแมวเผอิญเดินผ่านมาตรงนั้นก็ปาใส่หัวมันเล่นๆ ด้วยซ้ำ ยิ่งอยู่ใกล้แม่น้ำ คูคลองยิ่งชอบโยนลงน้ำสะดวกสุดๆ ส่วนมันจะไปไหลไปบ้านใครหรืออุดตันตรงไหนก็ไม่เกี่ยวกับกรู(ฮา) เหตุการณ์เมื่อวานที่ผมและเพื่อนๆ เดินหาถังขยะสาธารณะอย่างหงุดหงิดทำให้ผมได้ฉุกคิดถึงความเปลี่ยนแปลงของตัวเองและ “จิตสำนึก” ที่รับผิดชอบต่อสาธารณะของคนอังกฤษโดยทั่วๆ ไป สำหรับเมืองไทยแล้วถือว่าเป็นเรื่องเล็กมาก คือกินเสร็จก็กองทิ้งไว้ตรงนั้นแหละ ไม่ใส่ใจที่จะหาถังขยะด้วยซ้ำ
ดูๆ แล้วอาจจะเป็นเหมือนเรื่องเล็กน้อย แต่....ลองให้เวลากับตัวเองแล้วนั่งตรึกพฤติกรรมตรงนี้ดูก็จะเห็นว่า พฤติกรรมตรงนี้สื่อให้ถึงการเคารพกฏ ระเบียบ วินัย และความรับผิดชอบต่อสาธารณะของชาวอังกฤษส่วนใหญ่(ส่วนพวกที่กินแล้วทิ้งเรี่ยราดก็ยังมีให้เห็นอยู่ ไม่ใช่ว่าจะไม่มีเลย แต่มีน้อยมากๆ) ตลอดระยะเวลาที่อาศัยอยู่ประเทศนี้มา ผมไม่เคยเห็นการโฆษณาให้ประชาชนทิ้งขยะให้ถูกที่ถูกทางเลย สมัยลูกผมเรียนอนุบาล เวลาน้ำเสื้อผ้าชุดนักเรียนเขาไปซัก ผมหรือภรรยาก็ต้องควักเอาเศษขยะในกระเป๋าเขาเอามาทิ้ง เศษพลาสติกเล็กๆ ที่ห่อลูกอม ห่อขนม เขาไม่ยอมทิ้งเรี่ยราด หาถังขยะไม่เจอก็เอาเก็บใส่กระเป๋าแล้วเอามาทิ้งในถังขยะที่บ้าน เด็กๆ นักเรียนในอังกฤษจะเป็นอย่างนี้เก้าสิบเก้าเปอร์เซ็นต์ เขาถูกปลูกฝังและทำให้เห็นเป็นตัวอย่างมาตั้งแต่เด็ก ในขณะที่เมืองไทยเรา ผมเห็นโฆษณา “อ๊ะ อ๊ะ อย่าทิ้งขยะ ตาวิเศษเห็นนะ” มาเป็นสามสิบปี จน “ตาวิเศษ”คู่นั้นฝ้าฝางโรยราไป นิสัยการทิ้งขยะของคนไทยแทบจะไม่กระเตื้องขึ้นเลย
เมื่อหลายปีก่อน ผมเห็นมีการรณรงค์เรื่องแยกขยะเปียกขยะแห้งแต่สุดท้ายก็ล้มไม่เป็นท่า(เสียดายงบประมาณจัง) นี่ก็พึ่งจะได้ข่าวว่าคนกทม. จะเสียค่าเก็บขยะเพิ่มขึ้นอีก ผมเองก็ยังแอบหวั่นๆ อยู่ว่า ถ้าเกิดมันแพงขึ้นๆ อย่างนี้ เกิดชาวบ้านเขาไม่อยากเสียแล้วทิ้งขยะเรี่ยราดหรือแอบขนใส่รถเอาไปทิ้งที่อื่นตอนกลางคืนมันก็จะยุ่งอีก
น่าชื่นชมความมีระเบียบของคนอังกฤษและการดูบริหารเรื่องขยะของภาครัฐ คือทั้งสองฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันดี นอกจากถังขยะสาธารณะโดยเฉพาะในตัวเมืองที่มีอยู่ในรัศมีเกือบจะทุกๆ สิบเมตรแล้ว ถังขยะประจำบ้านเขาให้มาสี่ประเภท คือขยะเปียก ขยะแห้ง แก้ว และพืช(หญ้าหรือต้นไม้ที่ตัดจากสนามบ้าน) ทุกอย่างจะนำไปรีไซเคิลหมด นอกจากนั้นทางเทศบาลจะจัดนำตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ไปตั้งประจำไว้ตามจุดชุมชนต่างๆ หรือลานจอดรถขนาดใหญ่ และที่สุดทุกๆ เมืองจะมีที่ทิ้งขยะประจำเมืองขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านขนใส่รถนำไปทิ้งด้วยตัวเองได้ทุกวันและที่นั่นจะมีตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่สิบกว่าตู้เพื่อการแยกขยะอย่างชัดเจน เช่น เศษพลาสติค เศษแก้ว เศษไม้ เศษเหล็ก เศษเครื่องใช้ไฟฟ้า เศษน้ำมันเครื่อง เศษแบตเตอร์รี่ เศษซีเมนต์ เศษสารเคมี ขยะเหล่านี้จะต้องนำไปทิ้งให้ถูกตู้คอนเทนเนอร์โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยชี้บอกว่าอันไหนทิ้งตรงไหน? ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อสภาพแวดล้อม เช่นแบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉายเก่าจะเอาไปทิ้งรวมกับขยะอื่นไม่ได้ หรือแม้แต่เศษปูนซีเมนต์ที่ทุบทิ้งมีสารเคมีบางอย่างก็เอาไปทิ้งมั่วๆ ไม่ได้ แต่ต้องทำลายให้ถูกวิธี
สุดท้ายก็คือ อุจาระหมา...เจ้าของหมาเกือบทุกคนเวลาพาหมาออกไปเดินเล่นต้องพกถุงพลาสติคเพื่อเก็บอุจจาระของพวกมันด้วย นอกจากถังขยะเปียก ขยะแห้งที่ตั้งไว้ในสาธารณะแล้ว ก็ยังต้องตีถังขยะสำหรับใส่อุจจาระน้องหมาด้วยครับ
เมื่อวานนี้ ผมปั่นจักรยานเข้าตัวเมือง เผลอปั่นขึ้นบนวิถีฟุตบาท(ทางลัด) หญิงอังกฤษคนหนึ่งเจอ แกกระโดดกางแขนจังก้าขวางหน้าไม่ให้ผมไปตะโกนใส่ผมว่านี่เป็นฟุตบาทนะ ไม่ใช่ถนน..ผมรู้สึกผิดและอาย รีบลนลานลงจากจักรยานจูงเดินเอาเลย เรื่องการใช้ฟุตบาทที่อังกฤษแล้วเปรียบเทียบกับเมืองไทยก็เป็นอีกเรื่องที่พูดได้อีกยาวครับ ถ้ามีโอกาสจะมาเล่าสู่กันฟัง
ปล. ภรรยาผมเปรยว่าอยากจะกลับไปอยู่เมืองไทย ผมบอกว่าเธอต้องปรับตัวเป็นอย่างมากเลยล่ะถ้าจะไปอยู่จริงๆ อย่างเช่นเรื่องเธอลงทุนจอดรถกลางถนนลงไปต่อคนที่กำลังพูดโทรศัพท์มือถือขณะขับรถนั้น ถ้าไปทำอย่างนั้นในเมืองไทย เจอลูกเศรษฐีหรือนักเลงเข้า เขาอาจจะควักปืนออกมายิงกรอกปากเอาดื้อๆได้ ภรรยาแม่ยอดขมองอิ่มของผมถึงกับอุทานว่า ขนาดนั้นเลยหรือ?? ฮ่า ฮ่า ฮ่า รู้จักพี่ไทยน้อยไปแล้วเธอ