“โรคติดหรู” ผลกระทบจากการเลี้ยงลูกแบบวัตถุนิยม

ทุกวันนี้การใช้ชีวิตของเด็ก ๆ ที่เติบโตมาสังคมวัตถุนิยมน่าเป็นห่วง สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีพัฒนามากขึ้น โลกของสังคมออนไลน์ที่เข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นทั้งต่อตัวเด็กเองรวมถึงคุณพ่อคุณแม่ด้วย จึงต้องหันกลับมาดูว่าปัจจุบันในโลกยุคใหม่นี้เราได้เลี้ยงลูกแบบวัตถุนิยมหรือเปล่า และผลกระทบจากการเลี้ยงลูกคืออะไร

มองดูให้ดี เด็กยุคใหม่ในทุกวันนี้กำลังอยู่ในสังคมวัตุนิยมที่คุณค่าของคนจาก วัตถุ เงินทอง หรือเปลือกนอกอยู่หรือเปล่า การสร้างภาพ การใช้ชีวิตให้เห็นว่าดูดี แล้วโพสต์ลงในสื่อโซเชียลมีเดียกำลังกลายเป็นกระแสที่กำลังทำให้ครอบครัวเสพติด “ความหรู” ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งครอบครัวคนรวย ปานกลาง และยากจน



สัญญาณที่บ่งบอกว่าพ่อแม่กำลังเลี้ยงลูกแบบวัตถุนิยม

- ยอมติดหนี้ กู้เงิน ยอมอดมื้อกินมื้อ เพื่อซื้อสมาร์ทโฟนสนองต่อความต้องการให้ลูก
- มีความคิดที่ว่าลูกฉันต้องมีของเล่นเหมือนเพื่อน
- ลูกต้องใช้ของแบรนด์เนมมียี่ห้อเหมือนเพื่อน
- ลูกต้องมีรถขับไปเรียน เพราะกลัวที่จะน้อยหน้า และอับอายคนอื่น


ผลกระทบจากการเลี้ยงลูกแบบวัตถุนิยม

การที่พ่อแม่เลี้ยงลูกด้วยวิธีคิดเหล่านี้ จะส่งผลกระทบกับลูกที่จะต้องเติบโตขึ้นในอนาคตได้ เพราะเด็กจะไม่พบกับความสุขที่แท้จริง และคอยเรียกร้องจากพ่อแม่ต้องได้ในสิ่งที่ต้องการ การตอบสนองความสุขของของเด็กจึงถูกแทนที่ด้วยวัตถุมากกว่าความรักจากพ่อแม่



ในโลกวัตถุนิยมที่เต็มไปด้วยสิ่งยั่วเย้ามากมาย การป้องกันให้เด็ก ๆ ห่างไกลจากโรคติดหรูไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเด็ก ๆ ยังไม่สามารถแยกแยะสิ่งต่าง ๆ หากไม่ได้รับคำแนะนำจากพ่อแม่ที่เหมาะสม พญ.รัตโนทัย พลับรู้การ จิตแพททย์เด็กและวัยรุ่น จากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี(รพ.เด็ก) กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำว่า

วิธีการเลี้ยงลูกเพื่อไม่หลงไปกับวัตถุนิยม

1. สอนให้ลูกรู้จักคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งต่างๆ เพื่อสร้างเกราะคุ้มกันจิตใจไม่ให้ลูกน้อยหลงใหลไปกับคำโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ
2. สอนให้ลูกเข้าใจความแตกต่างของสิ่งที่จำเป็นกับสิ่งที่อยากได้
3. สอนให้ลูกรู้จักพอเพียง และสอนให้ลูกรู้จักว่าคุณค่าของคนอยู่ที่ความดีงาม ไม่ใช่วัตถุสิ่งของ
4. พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างตั้งแต่ลูกยังเล็ก และเมื่อลูกโตขึ้นเข้าสู่วัยเรียน หรือ7 ปีขึ้นก็สามารถรับรู้และเข้าใจเหตุผลได้มากขึ้น
5. การชมเชยลูกเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง โดยไม่มีสิ่งของตอบแทนเป็นรางวัล แต่ให้เวลากับลูกมากขึ้น เช่น ไม่จำเป็นซื้อของใหม่ให้ลูกเมื่อลูกเรียนดี แต่พาลูกไปเที่ยวพักผ่อนตามธรรมชาติเพื่อใช้เวลาร่วมกันอย่างมีความสุข

การเลี้ยงลูกไม่ให้ติดหรู อยู่ที่พ่อแม่จะอธิบายให้ลูกเข้าว่า สิ่งที่มีค่าและทำให้มีความสุขในชีวิตได้นั้น ไม่ใช่สิ่งที่ซื้อหาด้วยเงิน หรือการมีของดี ๆ เพื่ออวดคนอื่น แต่เป็นการที่ครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสอนลูกในแง่การใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม และเปิดโอกาสรับฟังลูก สิ่งสำคัญคือ พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก เพราะการเรียนรู้มากกว่าครึ่งของเด็กๆ มาจากพ่อแม่นั่นเอง.

ที่มา
http://th.theasianparent.com/%E2%80%9C%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E2%80%9D-%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่