เที่ยวพังงาหน้าฝน ชิมลูกชกนายขนม
เรื่อง : TOM
ภาพ : TIME
สวัสดีครับ เรื่องของเรื่องวันนี้ผมจะพาคุณไปหาอะไรอร่อยๆกินกันครับ วันนี้ผมจะพาคุณไปกิน "ลูกชก" ของดีบ้านบางเตย จังหวัดพังงากันครับ
เกริ่นก่อนเดินทางกันก่อนนะครับ เราจะมาทำความรู้จักกันก่อนออกเดินทางกันครับ ซึ่งครั้งนี้ผมใช้เส้นทาง ภูเก็ต ผ่านพังงา เข้าสู่บ้านบางเตย
เส้นทางในฤดูฝนสวยครับ นับตั้งแต่ออกมาจากเมืองหนาแน่นอย่างภูเก็ต เราสามารถมองเห็น หมอกอยู่บนยอดเขา
ดูแล้วเย็นตา ชื่นใจดีนะครับ (เสียดายไม่ได้เก็บรูปมาฝาก) ความโชคดีของเมืองภูเก็ตคือ
คือไม่ว่ามุมไหนก็สามารถนั่งริมทะเลได้ไม่ไกลมาก
(.......) ระหว่างทาง ภูเก็ต-พังงา ก่อนถึงสะพานสารสิน ก็สวยไม่แพ้กันครับ
เพียงแต่ลงเล่นไม่ได้เท่านั้นเอง หาดทรายแก้ว มีชิงช้าชาลี ได้นั่งหย่อนขาเล่นบายใจดีครับ
เดินทางกันต่อเราก็เจอ สวนยางเรียงต้นเป็นระเบียบ
ต้นปาล์มต้นโตๆ ยืนต้นอวบมาไม่แน่ใจว่ากี่ปีแล้วครับ สลับกับหมอกฝนเย็นๆ ได้บรรยากาศไปอีกแบบครับ
จุดหมายปลายทางแรก วัดคูหาสวรรค์ ก่อนถึงจังหวัดพังงา
ผมเลือกเที่ยววันธรรมดา เพราะคนไม่เยอะมาก และไม่ร้อนเกินไป
ในวันฝนตกแบบนี้ ในวัดซึ่งเป็นถ้ำ อากาศยิ่งเย็นสบาย น้ำที่ไหลรั่วลงมาจากหลังคาะรรมชาติ
ได้ยินเสียง เปาะแปะ
ภายในวัด ไม่ได้เก็บค่าเข้าชมนะครับ
การทำบุญก็แล้วจิตศรัทธา ในการบูชา ธูปเทียน
บรรยากาศ แสง และ อากาศ มัดเอาใจให้นิ่งเป็นชั่วครู่
ภายใต้ความสงบนั้นมันนิ่งขึ้น 73.5 % ถึงแม้จะเป็นช่วงสั้นๆก็ตามครับ
ไม่แปลกที่คนไทยอย่างผม อย่างคุณ
เวลาเจอ พระปรมาภิไธยย่อ ของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดก็ตาม
มันมีความรู้สึกปลาบปลื้ม ที่ๆเรายืนอยู่นี้ คือที่ๆที่ พระองค์เคยเสด็จประพาส
ดูจาก พ.ศ ที่แต่ละพระองค์เสด็จฯ จะยากลำบากแค่ไหนหนอ?
เก็บเอาความภาคภูมิใจนั้นไว้ให้หัวใจได้ปีติต่อไป แล้วเดินทางต่อ
ใกล้กันจะมีน้ำตก ชื่อว่า "น้ำตกรามัญ"
ช่วงฤดูฝน จะมีป้ายติดว่า ห้ามเข้าในขณะที่ฝนตกหนัก
ผมมาที่นี่หลายครั้งแล้วครับ ชอบที่สุดคือตอนน้ำเยอะๆ
ได้ยินเสียงน้ำตกใกล้ๆ มันก็หวั่นใจว่าน้ำจะมาไหม 5555
คือชอบน้ำตกนะครับ แต่ยังไงๆผมก็รู้สึกกลัวอยู่ดี
น้ำตกชั้นแรก (เอาแค่ชั้นเดียวพอนะครับอย่างที่บอกไปผมกลัว 555)
ฝนก็เริ่มจากเบาๆและมากๆขึ้นๆ แต่ไม่พอเปียก แต่เกรงว่ามันจะทะลักลงมา
กลัวจริงๆ
ใช้เวลาไม่นานนักกับ น้ำตกรามัญ
พอออกมาแล้วรู้สึกปลอดภัยเจออากาศบริสุทธิ์กันต่อ
นี่ครับตลอดทางหลังจากเริ่มเข้าเขตพังงาจะเป็นบบนี้
ผมเคยมาบวชที่ วัดประชาสันติ หลังเทคนิคจังหวัดพังงา
ตอนเช้าๆ ไม่ว่าฤดูไหนจะสัมผัสกับอากาศเย็นๆติดหนาว
สมฉายา เมืองในหมอก ผมเดินทางต่อตามนัด กับ พี่ชีพ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องของลูกชก
16.30 น เวลาเหลือเยอะพอสมควร เลยต้องขอแวะ เติมพลังเพราะตอนนี้ เริ่มหิว
แวะกันที่บางพัฒน์ (ลืมเอาเมมกล้องลง เหลือแต่กล้องมือถือ)
ความน่ารัของที่นี่ คือต่อให้ฝนตกแค่ไหน ครัวบังหมาด จะมีร่มไว้คอยบริการครับ
แต่ฝนของพังงา ฟ้าภูเก็ต ร่มใหญ่แค่ไหนก็เอาไม่อยู่ครับ
ในราคา 250 บาท ต่อหัวไปเถอะคุ้มครับ
เร็วๆนี้จะมี คณะ นางสาวไทย จะมาที่นี่ด้วยนะครับ
รอจนฝนหยุดตก แล้วค่อยเดินทางต่อ เพื่อไปพบลูกชก คนสำคัญของเราในทริปนี้
และแล้วเราก็ได้พบกันอีกครั้ง ถึงแม้จะเป็นลูกอ่อนๆ ยังไม่โตเต็มที่
ต้นที่โตเต็มที่กว่าที่เราจะได้เค้าออกลูกขนาดนี้ได้ ต้องใช้เวลามากพอๆกับวัยรุ่น 1 คน (ใครทายถูกผมมี ลูกชกลอยแก้วให้ 3 กระปุกฟรีนะครับ)
และการที่เค้าออกลูกมาได้นั้น ใช่ว่าที่เห็นตรงหน้า กินได้หรือยังก็ไม่รู้
ลูกชกส่วนใหญ่เติบโตในพื้นที่ภูเขา ลักษณะต้นสูงใหญ่
ลูกผลให้เรากินได้เพียง 1 ครั้งและค่อยๆยืนต้นตาย
แต่ละต้นต้องใช้เวลาในการเจริญเติบโต ค่อนข้างมาก
และไม่สามารถปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจได้ เพราะต้องอาศัยระยะเวลาในการปลูกนานนั่นเอง
วันนีผมมีนัดกับ พี่ชีพ เรียกได้ว่าเป้น ปรมจารย์ลูกชกที่คลุกคลีกว่า 20 ปีเป็นอย่างน้อยละครับ
โดยการนัดหมายจาก พี่กำนันพงษ์วัฒน์ ซึ่งผมไม่เคยเห็นกำนันหนุ่ม ไฟแรงขนาดนี้มาก่อน
ว่างเมื่อไหร่ผมจะลองสัมภาษณ์ดูนะครับ
พี่ชีพ น้าชีพ ลุงชีพ แล้วแต่จะเรียกครับ
เรานั่งคุยกันได้สักพักว่า เดี๋ยวนี้ "ลูกชก" ถุกเปลี่ยนแปลงไป
จนจำเค้าโครงเดิมไม่ได้ เพราะความเข้าใจของแต่ละคนคลาดเคลื่อน
ส่วนตัวแล้วผมเองก็เช่นกัน เพราะความอยากรู้ผมจึงดั้นด้นมาถึงพังงา เพื่อให้รู้ให้ได้
พี่ชีพเล่าให้ฟังว่า ลูกชก มี 2 สายพันธุ์ คือ ลูกชกบ้าน (ซึ่งหาทานยากมาก) และ ลูกชกหนู (ลูกชกป่าดงดิบ)
เจ้าลูกชก 2 ชนิดนี้ จะมีความแตกต่างอย่างเห้นได้ชัด คือ
1. ลูกชกบ้าน เนื้อจะนุ่ม สีจะขุ่นไม่อกใสมาก ลูกขนาดเล็ก
2. ลูกชกหนู เนื้อจะเเข็ง สีขาว เม็ดโต
พอหอมปาก หอมคอ ใครถูกปากรสชาติแบบไหน ก็ทานแบบนั้นเถอะครับ
ส่วนผม ถูกปาก ถูกใจ "ลูกชกบ้าน" เพราะนุ่ม ละมุนลิ้นกว่าเยอะครับ ^^
กว่าจะได้กินลูกชกนั้น ก็ใช่ว่าจะได้กินกันง่ายๆนะครับ
เช่น ต้นนึงใช้เวลานานแล้วยังต้องรอจนครับ 3 รุ่น คือ เห็นออกลูกมาเยอะๆ อาจจะเป็น รุ่น 1 รุ่น 2 ซึ่งกินไม่ได้นะครับ
รุ่น 3 ถึงจะกินได้ วิธีดั้งเดิมนั้น ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาใช้วิธีการเผา แล้วค่อยแคว่กออก กลิ่นจะหอมแต่จะเสียมากกว่าได้
ต่อมาชาวบ้านใช้วิธีต้ม โดยใช้เตาธรรมดาๆ ใช้เวลาพอสมควรแต่สิ่งที่ได้มันคุ้มค่ามากๆครับ
กว่าจะได้มาแต่ละเม็ดนั้นต้องใช้ความอดทนกันจริงๆ วิธีการก็ธรรมชาติล้วนๆ
ต้มเสร็จอุปกรณ์การแงะก็มีแค่ช้อนธรรมดาๆเท่านั้น รวมกลุ่มกันทำ เล็กๆน้อยๆ
พอแงะออกมาแล้ว ก็สวยโดนใจ รสชาติก็อร่อยชื่นใจไม่แพ้กันนะครับ
ส่วนของรสชาตินั้นว่าเยี่ยม แต่กว่าจะได้กินยากกว่า
ให้เราได้กินแบบ หวาน หอม ชื่นใจ นั้นต้องเข้าใจเค้าจริงๆ
จะทำแบบ ดั้งเดิม ทำเป็นวุ้น เครื่องดื่ม น้ำตาล ได้หมดจริงๆครับ
พรุ่งนี้ลูกชกสดๆจะมาถึงที่นี่ 30 กิโล
นายขนมจะเปลี่ยนเป็น ลูกชกลอยแก้ว ด้วยสูตรเฉพาะตัว
แล้วพบกันเช้าพรุ่งนี้นครับ ^^
เที่ยวพังงาหน้าฝน ชวนชิมลูกชกลอยแก้วนายขนม
เรื่อง : TOM
ภาพ : TIME
สวัสดีครับ เรื่องของเรื่องวันนี้ผมจะพาคุณไปหาอะไรอร่อยๆกินกันครับ วันนี้ผมจะพาคุณไปกิน "ลูกชก" ของดีบ้านบางเตย จังหวัดพังงากันครับ
เกริ่นก่อนเดินทางกันก่อนนะครับ เราจะมาทำความรู้จักกันก่อนออกเดินทางกันครับ ซึ่งครั้งนี้ผมใช้เส้นทาง ภูเก็ต ผ่านพังงา เข้าสู่บ้านบางเตย
เส้นทางในฤดูฝนสวยครับ นับตั้งแต่ออกมาจากเมืองหนาแน่นอย่างภูเก็ต เราสามารถมองเห็น หมอกอยู่บนยอดเขา
ดูแล้วเย็นตา ชื่นใจดีนะครับ (เสียดายไม่ได้เก็บรูปมาฝาก) ความโชคดีของเมืองภูเก็ตคือ
คือไม่ว่ามุมไหนก็สามารถนั่งริมทะเลได้ไม่ไกลมาก
(.......) ระหว่างทาง ภูเก็ต-พังงา ก่อนถึงสะพานสารสิน ก็สวยไม่แพ้กันครับ
เพียงแต่ลงเล่นไม่ได้เท่านั้นเอง หาดทรายแก้ว มีชิงช้าชาลี ได้นั่งหย่อนขาเล่นบายใจดีครับ
เดินทางกันต่อเราก็เจอ สวนยางเรียงต้นเป็นระเบียบ
ต้นปาล์มต้นโตๆ ยืนต้นอวบมาไม่แน่ใจว่ากี่ปีแล้วครับ สลับกับหมอกฝนเย็นๆ ได้บรรยากาศไปอีกแบบครับ
จุดหมายปลายทางแรก วัดคูหาสวรรค์ ก่อนถึงจังหวัดพังงา
ผมเลือกเที่ยววันธรรมดา เพราะคนไม่เยอะมาก และไม่ร้อนเกินไป
ในวันฝนตกแบบนี้ ในวัดซึ่งเป็นถ้ำ อากาศยิ่งเย็นสบาย น้ำที่ไหลรั่วลงมาจากหลังคาะรรมชาติ
ได้ยินเสียง เปาะแปะ
ภายในวัด ไม่ได้เก็บค่าเข้าชมนะครับ
การทำบุญก็แล้วจิตศรัทธา ในการบูชา ธูปเทียน
บรรยากาศ แสง และ อากาศ มัดเอาใจให้นิ่งเป็นชั่วครู่
ภายใต้ความสงบนั้นมันนิ่งขึ้น 73.5 % ถึงแม้จะเป็นช่วงสั้นๆก็ตามครับ
ไม่แปลกที่คนไทยอย่างผม อย่างคุณ
เวลาเจอ พระปรมาภิไธยย่อ ของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดก็ตาม
มันมีความรู้สึกปลาบปลื้ม ที่ๆเรายืนอยู่นี้ คือที่ๆที่ พระองค์เคยเสด็จประพาส
ดูจาก พ.ศ ที่แต่ละพระองค์เสด็จฯ จะยากลำบากแค่ไหนหนอ?
เก็บเอาความภาคภูมิใจนั้นไว้ให้หัวใจได้ปีติต่อไป แล้วเดินทางต่อ
ใกล้กันจะมีน้ำตก ชื่อว่า "น้ำตกรามัญ"
ช่วงฤดูฝน จะมีป้ายติดว่า ห้ามเข้าในขณะที่ฝนตกหนัก
ผมมาที่นี่หลายครั้งแล้วครับ ชอบที่สุดคือตอนน้ำเยอะๆ
ได้ยินเสียงน้ำตกใกล้ๆ มันก็หวั่นใจว่าน้ำจะมาไหม 5555
คือชอบน้ำตกนะครับ แต่ยังไงๆผมก็รู้สึกกลัวอยู่ดี
น้ำตกชั้นแรก (เอาแค่ชั้นเดียวพอนะครับอย่างที่บอกไปผมกลัว 555)
ฝนก็เริ่มจากเบาๆและมากๆขึ้นๆ แต่ไม่พอเปียก แต่เกรงว่ามันจะทะลักลงมา
กลัวจริงๆ
ใช้เวลาไม่นานนักกับ น้ำตกรามัญ
พอออกมาแล้วรู้สึกปลอดภัยเจออากาศบริสุทธิ์กันต่อ
นี่ครับตลอดทางหลังจากเริ่มเข้าเขตพังงาจะเป็นบบนี้
ผมเคยมาบวชที่ วัดประชาสันติ หลังเทคนิคจังหวัดพังงา
ตอนเช้าๆ ไม่ว่าฤดูไหนจะสัมผัสกับอากาศเย็นๆติดหนาว
สมฉายา เมืองในหมอก ผมเดินทางต่อตามนัด กับ พี่ชีพ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องของลูกชก
16.30 น เวลาเหลือเยอะพอสมควร เลยต้องขอแวะ เติมพลังเพราะตอนนี้ เริ่มหิว
แวะกันที่บางพัฒน์ (ลืมเอาเมมกล้องลง เหลือแต่กล้องมือถือ)
ความน่ารัของที่นี่ คือต่อให้ฝนตกแค่ไหน ครัวบังหมาด จะมีร่มไว้คอยบริการครับ
แต่ฝนของพังงา ฟ้าภูเก็ต ร่มใหญ่แค่ไหนก็เอาไม่อยู่ครับ
ในราคา 250 บาท ต่อหัวไปเถอะคุ้มครับ
เร็วๆนี้จะมี คณะ นางสาวไทย จะมาที่นี่ด้วยนะครับ
รอจนฝนหยุดตก แล้วค่อยเดินทางต่อ เพื่อไปพบลูกชก คนสำคัญของเราในทริปนี้
และแล้วเราก็ได้พบกันอีกครั้ง ถึงแม้จะเป็นลูกอ่อนๆ ยังไม่โตเต็มที่
ต้นที่โตเต็มที่กว่าที่เราจะได้เค้าออกลูกขนาดนี้ได้ ต้องใช้เวลามากพอๆกับวัยรุ่น 1 คน (ใครทายถูกผมมี ลูกชกลอยแก้วให้ 3 กระปุกฟรีนะครับ)
และการที่เค้าออกลูกมาได้นั้น ใช่ว่าที่เห็นตรงหน้า กินได้หรือยังก็ไม่รู้
ลูกชกส่วนใหญ่เติบโตในพื้นที่ภูเขา ลักษณะต้นสูงใหญ่
ลูกผลให้เรากินได้เพียง 1 ครั้งและค่อยๆยืนต้นตาย
แต่ละต้นต้องใช้เวลาในการเจริญเติบโต ค่อนข้างมาก
และไม่สามารถปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจได้ เพราะต้องอาศัยระยะเวลาในการปลูกนานนั่นเอง
วันนีผมมีนัดกับ พี่ชีพ เรียกได้ว่าเป้น ปรมจารย์ลูกชกที่คลุกคลีกว่า 20 ปีเป็นอย่างน้อยละครับ
โดยการนัดหมายจาก พี่กำนันพงษ์วัฒน์ ซึ่งผมไม่เคยเห็นกำนันหนุ่ม ไฟแรงขนาดนี้มาก่อน
ว่างเมื่อไหร่ผมจะลองสัมภาษณ์ดูนะครับ
พี่ชีพ น้าชีพ ลุงชีพ แล้วแต่จะเรียกครับ
เรานั่งคุยกันได้สักพักว่า เดี๋ยวนี้ "ลูกชก" ถุกเปลี่ยนแปลงไป
จนจำเค้าโครงเดิมไม่ได้ เพราะความเข้าใจของแต่ละคนคลาดเคลื่อน
ส่วนตัวแล้วผมเองก็เช่นกัน เพราะความอยากรู้ผมจึงดั้นด้นมาถึงพังงา เพื่อให้รู้ให้ได้
พี่ชีพเล่าให้ฟังว่า ลูกชก มี 2 สายพันธุ์ คือ ลูกชกบ้าน (ซึ่งหาทานยากมาก) และ ลูกชกหนู (ลูกชกป่าดงดิบ)
เจ้าลูกชก 2 ชนิดนี้ จะมีความแตกต่างอย่างเห้นได้ชัด คือ
1. ลูกชกบ้าน เนื้อจะนุ่ม สีจะขุ่นไม่อกใสมาก ลูกขนาดเล็ก
2. ลูกชกหนู เนื้อจะเเข็ง สีขาว เม็ดโต
พอหอมปาก หอมคอ ใครถูกปากรสชาติแบบไหน ก็ทานแบบนั้นเถอะครับ
ส่วนผม ถูกปาก ถูกใจ "ลูกชกบ้าน" เพราะนุ่ม ละมุนลิ้นกว่าเยอะครับ ^^
กว่าจะได้กินลูกชกนั้น ก็ใช่ว่าจะได้กินกันง่ายๆนะครับ
เช่น ต้นนึงใช้เวลานานแล้วยังต้องรอจนครับ 3 รุ่น คือ เห็นออกลูกมาเยอะๆ อาจจะเป็น รุ่น 1 รุ่น 2 ซึ่งกินไม่ได้นะครับ
รุ่น 3 ถึงจะกินได้ วิธีดั้งเดิมนั้น ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาใช้วิธีการเผา แล้วค่อยแคว่กออก กลิ่นจะหอมแต่จะเสียมากกว่าได้
ต่อมาชาวบ้านใช้วิธีต้ม โดยใช้เตาธรรมดาๆ ใช้เวลาพอสมควรแต่สิ่งที่ได้มันคุ้มค่ามากๆครับ
กว่าจะได้มาแต่ละเม็ดนั้นต้องใช้ความอดทนกันจริงๆ วิธีการก็ธรรมชาติล้วนๆ
ต้มเสร็จอุปกรณ์การแงะก็มีแค่ช้อนธรรมดาๆเท่านั้น รวมกลุ่มกันทำ เล็กๆน้อยๆ
พอแงะออกมาแล้ว ก็สวยโดนใจ รสชาติก็อร่อยชื่นใจไม่แพ้กันนะครับ
ส่วนของรสชาตินั้นว่าเยี่ยม แต่กว่าจะได้กินยากกว่า
ให้เราได้กินแบบ หวาน หอม ชื่นใจ นั้นต้องเข้าใจเค้าจริงๆ
จะทำแบบ ดั้งเดิม ทำเป็นวุ้น เครื่องดื่ม น้ำตาล ได้หมดจริงๆครับ
พรุ่งนี้ลูกชกสดๆจะมาถึงที่นี่ 30 กิโล
นายขนมจะเปลี่ยนเป็น ลูกชกลอยแก้ว ด้วยสูตรเฉพาะตัว
แล้วพบกันเช้าพรุ่งนี้นครับ ^^