ขอคารวะโค้ชอ๊อด ... อีกครั้ง

กระทู้สนทนา
ผมแปลบทความนี้เมื่อสามปีก่อนเป็นการให้ความคารวะกับคุณเกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร และตั้งความหวังไว้สำหรับโอลิมปิก 2016 โอเค ปีนี้ยังไม่ได้ไป ยังมีปี 2020

ต่อไปนี้คือที่ผมแปลไว้

นอกเหนือจากความอิ่มเอมใจของการได้เห็นความสมหวังของทีมวอลล่ย์บอลหญิงของไทยในการได้เป็นผู้ชนะเลิศแห่งเอเซียในการแข่งขันครั้งที่ 17 สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นว่าผมพอจะช่วยได้ก็คือการนำเสนอรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโค้ชอ๊อดให้หลายๆคนที่ผมเชื่อว่ายังไม่รับทราบโดยเฉพาะท่านที่อาจยังใหม่ต่อการติดตามกีฬานี้

ผมเองก็ใหม่ ติดตามดูได้สักสองปี ได้เห็นพัฒนาการที่น่าชื่นใจเป็นลำดับของทีมชาติไทยและโค้ชอ๊อด มีคนเขาเห็นบทความต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษ ขออภัยที่ผมจำต้นตอไม่ได้ ผมเห็นว่ามีสาระที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งและเป็นการแนะนำบุคคลที่สร้างคุณูปการแก่ประเทศชาติอย่างเอนกอนันต์มากว่าทศวรรษ ผมจึงแปลให้และนำเสนอในเว็บบอร์ดนี้แหละเมื่อ 18/11/2555 มีสาระที่สำคัญให้คนที่ยังไม่รู้ได้เข้าใจถึงแนวความคิดในการทำทีมไทยของโค้ชอ๊อด จึงขออนุญาตมานำเสนอซ้ำ ณ ที่นี้ แม้จะปีหนึ่งมาแล้วก่อนจะเกิดเหตุการณ์สำคัญๆอีกหลายอยาง แต่ผมเชื่อว่าสาระของมันน่าจะเป็นประโยชน์กับหลายคน จะได้เข้าใจว่า เราชนะครั้งนี้ได้อย่างไร มันมีหลายปัจจัย

ขอเชิญติดตามทำความรู้จักกับผู้ฝึกสอนทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย คุณเกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร ..... โค้ชอ๊อดของเรา บุคคลที่ผมเรียกว่าลูกผู้ชายตัวจริงได้อย่างเต็มใจ

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Coach Kiattipong Radchatagriengkai deserves a lot of credit and love for what he’s done with Thailand’s women’s volleyball team. From being the top team in Southeast Asia to becoming one of the world’s best teams from Asia.
>> ผู้ฝึกสอน เกียรติพงษ์  รัชตเกรียงไกร สมควรได้รับคำยกย่องนับถือและความรักใคร่เป็นอันมากเป็นการตอบแทนสิ่งที่เขาได้ทุ่มเททำให้กับทีมกีฬาวอลเลย์บอลหญิงของไทย ตั้งแต่การได้เป็นสุดยอดทีมในเอเซียอาคเณย์ไปจนกระทั่งเป็นทีมดีที่สุดในโลกทีมหนึ่งจากเอเซีย

The 46 year old has accomplished a lot for Thailand Volleyball over the last decade like winning the Asian Championship Crown in 2009, Asian Women’s Club title three times in succession from 2009 to 2011 and finishing 4th at this year’s 2012 Grand Prix In addition, he has also introduced world class players like Tomkom, Onuma, Pleumjit and Wilavan.
>> ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา บุรุษอายุสี่สิบหกปีผู้นี้ได้สร้างความสำเร็จให้กับวงการวอลเลย์บอลของไทยเป็นอันมาก อาทิ ชัยชนะ Asian Championship Crown ในปี 2009, ชัยชนะ Asian Women's Club สามครั้งต่อเนื่องจาก 2009-2011 และการคว้าตำแหน่งที่สี่ในการแข่งขัน Grand Prix 2012 ในปีนี้ นอกจากนั้น เขายังเผยให้ชาวโลกได้รู้จักผู้เล่นระดับโลกเช่น ต้อมคำ, อรอุมา, ปลื้มจิต และ วิลาวรรณ

The Journey เส้นทางที่ผ่านมา

His coaching career started back in 1986 with the Kasetsart University team.
อาชีพการเป็นผู้ฝึกสอนของเขาย้อนหลังไปเมื่อปี 1986 กับการร่วมทีมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

“I learned all about coaching during my time at Kasetsart. At that time, I was a national spiker and also studying there. No coach was available in my university so I decided to help coach my varsity team. After I graduated, I continued to coach the team. My life revolved around volleyball. Aside from Kasetsart University, I also coached the Royal Thai Air Force, Benjamarachanusorn School, Thai Namtip and Bangkok Bank teams.
"ผมได้เรียนรู้ทุกสิ่งเรื่องการเป็นผู้ฝึกสอนระหว่างที่ตอนอยู่ที่เกษตรฯ ตอนนั้นผมเป็นผู้เล่นทีมชาติตำแหน่งตัวตบแล้วก็เป็นนักศึกษาอยู่ที่นั่นด้วย หาผู้ฝึกสอนไม่ได้เลยที่มหาวิทยาลัย ผมก็เลยตัดสินใจช่วยลงมือฝึกสอนให้ทีมของมหาวิทยาลัยด้วย เมื่อจบการศึกษาแล้ว ผมก็ยังคงฝึกสอนให้ทีมต่อไป ชีวิตผมก็วนเวียนอยู่กับวอลเลย์บอลนี่แหละ นอกเหนือจากที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว ผมก็ยังเป็นผู้ฝึกสอนให้กับทีมของ กองทัพอากาศ โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ บ.ไทยน้ำทิพ และ ธ.กรุงเทพ

Five years later and having played in the South East Asian (SEA) Games on five occasions, I decided to call it a day. I changed his mind when I was asked to play again to compete in the 1995 SEA Games hosted by Thailand.
อีกห้าปีต่อมาหลังจากที่ได้เข้าแข่งขันใน SEA Games มาแล้วห้าครั้ง ผมก็ตัดสินใจว่าพอกันเสียทีแต่ก็ต้องเปลี่ยนใจเมื่อถูกขอร้องให้เล่นเพื่อชาติไทยอีกครั้งในการแข่งขัน SEA Games ปี 1995

Finally in 1997, I said goodbye to the national team. I was ready to start my permanent career with the Aeronautical Radio of Thailand.
ในที่สุดเมื่อปี 1997 ผมก็โบกมืออำลาทีมชาติ ตอนนั้นผมต้องเริ่มการงานถาวรกับวิทยุการบินแห่งประเทศไทย

Post-Retirement หลังอำลาทีมชาติ

“Then the Thailand Volleyball Association had offered me a four-year contract to coach the national youth girls team under the National Team for 2001 Scheme. Coaching a national team is very challenging and I accepted without hesitation.
"แล้วสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยได้เสนอจ้างผมเป็นเวลาสี่ปีให้ทำการฝึกสอนนักกีฬาเยาวชนทีมชาติหญิงตามแผนงานปี 2001 การเป็นผู้ฝึกสอนให้กับทีมระดับชาติเป็นงานที่ท้าทายมาก ผมตอบรับโดยไม่รีรอ

My girls are young and small-built, while our rivals are always tall and much stronger. Sports science is required to improve our physical fitness and our strength. Psychology is also important, while volleyball data software plus new tactics and techniques are also necessary. To match those rivals competitively, we need speed and a variety of tactics.
เด็กผู้หญิงที่ผมฝึกยังอายุน้อยและตัวเล็ก ทว่าคู่แข่งของเรานั้นสูงกว่าเสมอและแข็งแรงกว่าเรามาก เราต้องการวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาช่วยพัฒนาความแข็งแรงของร่างกายและพละกำลัง สภาพทางจิตวิทยาก็มีความสำคัญเช่นกัน นอกจากนั้นสิ่งที่จำเป็นต้องมีก็คือซอฟท์แวร์บันทึกข้อมูลการเล่นวอลเลย์บอลรวมทั้งกลยุทธ์และวิธีการใหม่ๆ การจะต่อสู้ให้ทัดเทียมกันได้กับคู่แข่งเหล่านั้นเราต้องการความรวดเร็วและกลยุทธที่หลากหลาย

I think coaching is an art as well as a science and a great coach needs to learn all aspects. Much of the improvement that comes with a coach is the level of confidence. I taught them my girls to play confidently. They did well and finished in fifth place at the 1997 World Girls’ Youth Championship in Chiang Mai.”
ผมคิดว่าการเป็นผู้ฝึกสอนนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ผู้ฝึกสอนจะเก่งได้จะตัองเรียนรู้ทุกแง่มุม สิ่งหนึ่งที่ช่วยพัฒนาผู้ฝึกสอนได้เป็นอันมากก็คือการเสริมสร้างระดับความมั่นใจ ผมสอนให้เด็กๆของผมเล่นด้วยความมั่นใจ เขาทำกันได้ดีและลงเอยด้วยการได้ตำแหน่งที่ห้าในการแข่งขันเยาวชนหญิงชิงชนะเลิศของโลกเมื่อปี 1997 ที่เชียงใหม่"

The Women’s National Team ทีมชาติหญิง

Kiattingpong, who at 196cm tall towers above his charges, had another daunting challenge ahead: coaching the national women’s team for the first time in 2001. A year later, his team contested two major tournaments – the FIVB World Championship in Germany and the World Grand Prix.
นอกจากตัวของเกียรติพงษ์เองจะสูงตั้ง 196 ซ.ม. ดูอย่างกับหอคอยสูงกว่าลูกศิษย์ที่รายล้อมอยู่ เขาก็ยังมีสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่งรออยู่ข้างหน้า นั่นคือการเป็นผู้ฝึกสอนให้กับทีมชาติหญิงเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2001 อีกปีหนึ่งต่อมา ทีมของเขาก็ต้องเข้าแข่งขันในกีฬาใหญ่ๆสองครั้ง นั่นคือการแข่งขัน FIVB World Championship ที่เยอรมนี และ World Grand Prix

“To prepare for any world-class tournament, we have to improve four factors. Firstly, physical fitness. We can’t make our players tall as the Europeans, so we have to be faster to cope with the rivals’ fierce attack. Secondly, high-class techniques. We need to reach similar standard as other world-class teams.
"การเตรียมตัวเข้าร่วมการแข่งขันระดับโลกนั้นเราต้องพัฒนาปัจจัยสี่อย่าง อย่างแรกคือ ความแข็งแกร่งของร่างกาย เราไม่สามารถสร้างให้นักกีฬาของเรานั้นตัวสูงเท่ากับชาวยุโรปได้ ดังนั้นเราต้องทำให้เราเร็วขึ้นเพื่อให้สามารถรับมือได้กับการโจมตีอย่างรุนแรงจากคู่แข่ง อย่างที่สองคือการพัฒนาวิธีการระดับสูง เราจำเป็นต้องบรรลุมาตรฐานในระดับเดียวกันกับทีมระดับโลกทีมอื่นๆ

Thirdly, psychological training skills. My players must be confident so I taught them to boost their teammates’ morale boost.
อย่างที่สาม ทักษะในการฝึกซ้อมทางจิตวิทยา ผู้เล่นของผมจะต้องมีความมั่นใจ ดังนั้นผมจึงสอนให้เขาช่วยกันเสริมสร้างกำลังขวัญซึ่งกันและกันระหว่างเพื่อนร่วมทีม

Fourthly, hard training. The harder you train, the better the chances you will succeed. More importantly, have fun with the training, but don’t make fun out of it. They have to give it their all when it comes to any competition.”
อย่างที่สี่ การฝึกซ้อมอย่างหนัก ยิ่งซ้อมหนักขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสจะประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น ที่สำคัญที่สุดก็คือ ฝึกไปสนุกไปแต่อยาล้อเล่นเวฃาฝึก เขาจะต้องทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างเมื่อถึงเวลาไม่ว่าจะแข่งขันอะไร"

Training With Male Athletes การฝึกร่วมกับนักกีฬาชาย

“We have been doing this since 2009. They are women and if they think they are ordinary women, they will play at levels 5 to 7, the levels at which a women’s team always plays. But if you have to play much stronger rivals such as China, you have to come out in full force at levels of 8 to 10. To be that aggressive, you have to train with the male players.”
"เราทำอยางนี้มาตั้งแต่ปี 2009 นักกีฬาของผมเป็นผู้หญิงและถ้าเขาคิดว่าเขาเป็นผู้หญิงธรรมดา เขาก็จะเล่นที่ระดับ 5-7 ซึ่งเป็นระดับที่ทีมผู้หญิงปกติจะเล่นกัน แต่ถ้าจะต้องปะทะกับคู่แข่งที่แข็งแกร่งกว่านั้นเช่นนักกีฬาจีน เราจะต้องทุ่มเทเต็มกำลังที่ระดับ 8-10 การจะฝึกให้ทุ่มเทได้โหดขนาดนั้นจะต้องฝึกกับนักกีฬาชาย"

Our top priority is a once-in-lifetime experience in the Olympics. I want that to happen while I am still at the helm of the national women’s team.”
ความเร่งด่วนอันดับหนึ่งของเราก็คือการได้มีประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตในการลงสนามแข่งขันโอลิมปิก ผมอยากให้สิ่งนี้ได้บังเกิดในตอนที่ผมยังคุมบังเหียนทีมชาติหญิงอยู่"

Thailand might have failed to compete at the 2012 London Olympics BUT we’re hoping and we REALLY REALLY REALLY want to see them flashing their improving volleyball skills and SMILES at the 2016 Olympics in Brazil.
ประเทศไทยอาจจะไม่สำเร็จในการเข้าแข่งขันที่กีฬาโอลิมปิกกรุงลอนดอนปี 2012 แต่เราหวังและเราอยากจริงๆๆๆๆๆอยากจะได้เห็นชาวไทยได้ไปแสดงฝีมือวอลเล่ย์บอลของตนที่พัฒนารุดหน้าไปเรื่อยๆพร้อมทั้งประกาศรอยยิ้มสยาม ณ กีฬาโอลิมปิกบราซิลเมื่อปี 2016



แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  วอลเลย์บอล
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่