สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
การออกแบบอาคารนั้น การที่จะออกแบบได้ต้องมีองค์ความรู้ ดังนี้
1. วัสดุในการก่อสร้าง เช่น คอนกรีต, เหล็ก, ไม้ เป็นต้น จะต้องเรียนคุณสมบัติทางกลต่างๆ ของวัสดุ เช่น Stress, Strain, Elongation, Tensile stress, compression stress และอื่นๆ
2. แรงที่กระทำต่อโครงสร้าง
จะต้องทำความรู้จักแรงชนิดต่างๆ เช่น point load, Uniform load และนำมาคำนวณเพื่อนำมาคำนวณแรงที่กระทำต่อโครงสร้าง เช่น น้ำหนักบรรทุกคงที่, น้ำหนักบรรทุกจร, แรงลม, แรงเนื่องจากการเปลี่ยนอุณหภูมิ, แรงเนื่องจากแผ่นดินไหว, แรงเนื่องจากการแอ่นตัวของเสาทำให้เกิด P-Delta effect ฯลฯ
แรงแต่ละชนิดส่งผลต่อโครงสร้างอย่างไร
3. โครงสร้าง
ต้องเรียนรู้เรื่องโครงสร้างว่ามีอะไรบ้าง เช่น 1D member = Beam, Column 2D member = Slab 3D member เช่น Pedesal
โครงสร้างแต่ละชนิดรับแรงชนิดใด มีความสามารถในเรื่องใด
ต้องเรียนเรื่องที่รองรับ (Support) เช่น Pin, Roller, Spring, fix, Partialy fix
4. การวิเคราะห์แรงที่กระทำต่อโครงสร้าง
ต้องเรียนว่าแรงในข้อ 2 เมื่อมากระทำต่อโครงสร้างในข้อ 3 จะคำนวณหาแรงต่างๆ ส่งผลต่อโครงสร้างอย่างไร มีแรงอะไรบ้าง ได้แก่ Bending, Shear, torsion, Axial load, Deflection
5. การออกแบบชิ้นส่วนของโครงสร้าง
เมื่อได้แรงในข้อ 4 ก็ออกแบบชิ้นส่วนโครงสร้าง ว่าจะให้มีขนาดหน้าตัดเท่าใด ออกแบบโดยใช้มาตรฐานอะไร เช่น ACI, BS, EURO Code, DIN, วสท., AISC, ASD, PCI, AASHTO และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งแต่ละ Code ก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไป
ปล. ยังไม่ไดพูดถึงการออกแบบอาคาร ซึ่งเกี่ยวกับการเลือกแบบของอาคาร, การวางผังโครงสร้าง, การเลิกรูปแบบขององค์อาคาร
ที่พิมพ์มาซะยืดยาวนั้น ตั้งใจจะบอกว่าการจะออกแบบอาคารได้นั้น ต้องใช้องค์ความรู้มากมายหลายวิชามากถึงจะออกแบบได้ ต้องใช้เวลาในการศึกษา ทำความเข้าใจ และมีประสบการณ์ในการออกแบบพอสมควร จึงจะออกแบบโครงสร้างได้ดี
อนึ่ง ขอฝากท่านเจ้าของบ้านหลายๆ ท่านว่า เรื่องของงานโครงสร้างนั้นควรจะให้ความไว้วางใจวิศวกรในการออกแบบให้ท่าน พึงระลึกว่าผ็รับเหมาทั่วไปใช้การเดา (พูดตรงๆ คือ มั่ว) ทั้งนั้นในการทำโครงสร้างให้ท่าน ถ้าโชคดีก็จะได้โครงสร้างที่ปลอดภัย แข็งแรง และประหยัด ถ้าโชคร้าย (ส่วนมากจะเป็นโชคร้ายมากกว่า) ก็จะได้โครงสร้างที่ไม่แข็งแรง หรือแข็งแรงแต่ไม่ประหยัด ดังนั้น ถ้ามีข้อสงสัยในเรื่องของงานโครงสร้างขอให้ท่านปรึกษาวิศวกรเถอะครับเพื่อความปลอดภัยของท่านเอง
ผมอยากให้ประเทศไทยไม่มีคำพูดแบบนี้อีกต่อไป "ผมรับเหมามาหลายปี ทำมาหลายหลังรับรองไม่พังแน่นอน ไม่ต้องมีวิศวกรคำนวณ" "บ้านชั้นเดียว ใส่ๆ ไปเถอะ อะไรก็ได้ รับรองไม่พัง" "วิศวกรออกแบบโอเว่อร์" ฯลฯ เพราะคำพูดเหล่านี้มักจะเป็นคำพูดที่อวดอ้างของคนที่ไม่มีความรู้ และไม่มีความรับผิดชอบต่อเจ้าของบ้าน เพราะพูดเอามันส์ ไม่ได้พูดด้วยหลักการใดๆ เลย สุดท้ายเมื่อเกิดปัญหามาเจ้าของบ้านรับอยู่คนเดียว
-NN-
1. วัสดุในการก่อสร้าง เช่น คอนกรีต, เหล็ก, ไม้ เป็นต้น จะต้องเรียนคุณสมบัติทางกลต่างๆ ของวัสดุ เช่น Stress, Strain, Elongation, Tensile stress, compression stress และอื่นๆ
2. แรงที่กระทำต่อโครงสร้าง
จะต้องทำความรู้จักแรงชนิดต่างๆ เช่น point load, Uniform load และนำมาคำนวณเพื่อนำมาคำนวณแรงที่กระทำต่อโครงสร้าง เช่น น้ำหนักบรรทุกคงที่, น้ำหนักบรรทุกจร, แรงลม, แรงเนื่องจากการเปลี่ยนอุณหภูมิ, แรงเนื่องจากแผ่นดินไหว, แรงเนื่องจากการแอ่นตัวของเสาทำให้เกิด P-Delta effect ฯลฯ
แรงแต่ละชนิดส่งผลต่อโครงสร้างอย่างไร
3. โครงสร้าง
ต้องเรียนรู้เรื่องโครงสร้างว่ามีอะไรบ้าง เช่น 1D member = Beam, Column 2D member = Slab 3D member เช่น Pedesal
โครงสร้างแต่ละชนิดรับแรงชนิดใด มีความสามารถในเรื่องใด
ต้องเรียนเรื่องที่รองรับ (Support) เช่น Pin, Roller, Spring, fix, Partialy fix
4. การวิเคราะห์แรงที่กระทำต่อโครงสร้าง
ต้องเรียนว่าแรงในข้อ 2 เมื่อมากระทำต่อโครงสร้างในข้อ 3 จะคำนวณหาแรงต่างๆ ส่งผลต่อโครงสร้างอย่างไร มีแรงอะไรบ้าง ได้แก่ Bending, Shear, torsion, Axial load, Deflection
5. การออกแบบชิ้นส่วนของโครงสร้าง
เมื่อได้แรงในข้อ 4 ก็ออกแบบชิ้นส่วนโครงสร้าง ว่าจะให้มีขนาดหน้าตัดเท่าใด ออกแบบโดยใช้มาตรฐานอะไร เช่น ACI, BS, EURO Code, DIN, วสท., AISC, ASD, PCI, AASHTO และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งแต่ละ Code ก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไป
ปล. ยังไม่ไดพูดถึงการออกแบบอาคาร ซึ่งเกี่ยวกับการเลือกแบบของอาคาร, การวางผังโครงสร้าง, การเลิกรูปแบบขององค์อาคาร
ที่พิมพ์มาซะยืดยาวนั้น ตั้งใจจะบอกว่าการจะออกแบบอาคารได้นั้น ต้องใช้องค์ความรู้มากมายหลายวิชามากถึงจะออกแบบได้ ต้องใช้เวลาในการศึกษา ทำความเข้าใจ และมีประสบการณ์ในการออกแบบพอสมควร จึงจะออกแบบโครงสร้างได้ดี
อนึ่ง ขอฝากท่านเจ้าของบ้านหลายๆ ท่านว่า เรื่องของงานโครงสร้างนั้นควรจะให้ความไว้วางใจวิศวกรในการออกแบบให้ท่าน พึงระลึกว่าผ็รับเหมาทั่วไปใช้การเดา (พูดตรงๆ คือ มั่ว) ทั้งนั้นในการทำโครงสร้างให้ท่าน ถ้าโชคดีก็จะได้โครงสร้างที่ปลอดภัย แข็งแรง และประหยัด ถ้าโชคร้าย (ส่วนมากจะเป็นโชคร้ายมากกว่า) ก็จะได้โครงสร้างที่ไม่แข็งแรง หรือแข็งแรงแต่ไม่ประหยัด ดังนั้น ถ้ามีข้อสงสัยในเรื่องของงานโครงสร้างขอให้ท่านปรึกษาวิศวกรเถอะครับเพื่อความปลอดภัยของท่านเอง
ผมอยากให้ประเทศไทยไม่มีคำพูดแบบนี้อีกต่อไป "ผมรับเหมามาหลายปี ทำมาหลายหลังรับรองไม่พังแน่นอน ไม่ต้องมีวิศวกรคำนวณ" "บ้านชั้นเดียว ใส่ๆ ไปเถอะ อะไรก็ได้ รับรองไม่พัง" "วิศวกรออกแบบโอเว่อร์" ฯลฯ เพราะคำพูดเหล่านี้มักจะเป็นคำพูดที่อวดอ้างของคนที่ไม่มีความรู้ และไม่มีความรับผิดชอบต่อเจ้าของบ้าน เพราะพูดเอามันส์ ไม่ได้พูดด้วยหลักการใดๆ เลย สุดท้ายเมื่อเกิดปัญหามาเจ้าของบ้านรับอยู่คนเดียว
-NN-
แสดงความคิดเห็น
อยากทราบอ่ะครับว่าเวลาวิศวกรโยธาออกแบบตึก บ้าน อาคาร ใช้หลักการออกแบบยังไงครับ