เธอคือผู้ชนะหนึ่งเดียวที่ถูกเลือกจากผู้เข้าประกวดทั้งหมด 5,800 ราย คือชาวต่างชาติรายแรกที่ได้รับการยอมรับให้ร่วมวงเกิร์ลกรุ๊ปสัญชาติญี่ปุ่น คือสาวไทยเพียงคนเดียวที่โกอินเตอร์จนโด่งดังในแดนอาทิตย์อุทัย...
เธอคือ “เลน่า(Lena)-ณัฐชากร สุขุมเจริญจิต” แร็ปเปอร์สุดเท่ประจำวง “CHERRSEE” วงเจป๊อปแนวใหม่ซึ่งเพลงกำลังฮิตติดชาร์ตอันดับหนึ่งและโด่งดังที่สุดอยู่ในขณะนี้!!
เซอร์ไพรส์! 1 ใน 5,800 รายที่ถูกเลือก!!
“หนูก็เหมือนเด็กที่ชอบ K-pop แล้วก็อยากเรียนเต้นทั่วๆ ไปเลยค่ะ” เด็กสาววัย 21 ตอบคำถามแรกกลับมาผ่านเสียงใสๆ สำเนียงของเธอไม่สู้จะชัดถ้อยชัดคำนัก แต่หนักไปในโทนญี่ปุ่นมากกว่า คงเพราะมันกลายเป็นภาษาหลักที่เธอใช้สื่อสารระหว่างใช้ชีวิตอยู่ที่นู่นไปแล้ว
รวมระยะเวลาตั้งแต่เดินทางไปฝึกฝน จนได้ออกอัลบั้มในฐานะศิลปินในสังกัดสไตล์ J-pop อยู่ทุกวันนี้ แม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แค่ 3 เดือน แต่มันก็บ่มเพาะประสบการณ์อะไรหลายๆ อย่างให้เธออย่างที่หลายคนคาดไม่ถึง
ชักสงสัย ทำไมเด็กที่คลั่งไคล้ความเป็น K-pop ดันเปลี่ยนไปนิยมแนว J-pop ไปได้... คนถูกถามจึงเริ่มเล่าถึงที่มาที่ไป พร้อมกับแนบเรื่องราวที่น่าประหลาดใจที่สุดครั้งหนี่งในชีวิตให้ฟัง
“คุณพ่อคุณแม่ชอบส่งเราเรียนด้านดนตรีมาตั้งแต่เด็กแล้วค่ะ ตอนแรกก็ไม่รู้จัก K-pop เหมือนกัน แล้วก็เรียนเต้นฮิปฮอปมาเรื่อยๆ จนเมื่อ 2-3 ปีที่แล้วที่ K-pop บูมๆ ก็เลยบอกคุณแม่ค่ะว่า อยากเรียนเต้นแบบ K-pop ดูนะ อยากรู้ว่าสไตล์แบบเกาหลีมันเป็นยังไง คุณแม่ก็เลยส่งไปเรียนที่เกาหลี หนูเลยไปลงเรียน Seoul International University ที่นั่นด้วยค่ะ
ความฝันในการเป็นศิลปินของเธอ ช่างพอเหมาะพอเจาะกับความต้องการของทาง “J Rock” ในญี่ปุ่นขณะนั้นพอดี ซึ่งกำลังปั้นโปรเจกต์ “เกิร์ลกรุ๊ปแนวใหม่” โดยจับมือกับค่าย “Brave Entertainment” ฝั่งเกาหลี เพื่อผลิตวงสาวสวยที่มิกซ์เอาความน่ารักแบบญี่ปุ่นและความมีเอกลักษณ์แบบเกาหลี มาไว้ในวงนี้เพียงวงเดียว วงที่มีชื่อว่า “เชียร์ซี (CHERRSEE)”
“ตอนที่ไปถึง มีคนเป็นพันๆ คนเลยค่ะที่เดินทางมาออดิชัน แล้วเราก็ยังพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้เลยด้วย พูดแต่ภาษาเกาหลีได้ แต่มีคนที่พูดภาษาเกาหลีได้ มาช่วยให้ข้อมูลเราว่า บริษัทนี้ทำร่วมกับเกาหลี ซึ่งจะให้คนเกาหลีมาเป็น choreographer (คนออกแบบท่าเต้น) รวมถึง stylist และผู้กำกับเอ็มวีให้ด้วยค่ะ ทุกอย่างเลย เลยคิดว่ามันก็น่าจะดีนะ
รอผลอยู่ประมาณอาทิตย์กว่าๆ เขาก็โทร.มาบอกว่า เลน่าช่วยไปฝึกที่ Brave Entertainment กับศิลปินฝึกหัดในสังกัด J Rock ของเขาที่อยู่ที่นั่นแล้วได้ไหม หนูก็ตกใจมาก เอ..เขาเลือกเราจริงๆ แล้วเหรอ แสดงว่าเราได้เข้ารอบที่ 3 แล้วใช่ไหมเนี่ย (ยิ้ม) ทั้งๆ ที่เราทั้งพูดทั้งร้องภาษาญี่ปุ่นไม่ได้เลยเนี่ยนะ
พอไปถึง เขาก็บอกว่ามีสมาชิกในวงอยู่แล้ว 5 คนนะที่เขาซ้อมกันมานานแล้ว เตรียมตัวจะทำอัลบั้มแล้ว และเขาก็ถามเราว่า ถ้าเลน่าเข้าไปและได้เป็นสมาชิกคนที่ 6 จะทำได้ไหม หนูก็ตอบเลยว่าทำได้ค่ะ (น้ำเสียงหนักแน่น) พอซ้อมได้ประมาณ 2 อาทิตย์ ก่อนจะประกาศผลรอบสุดท้าย เขาถึงมาเฉลยว่า เขาจะตัดจาก 6 คนให้เหลือแค่ 5 คน เพราะ 6 คนทำเกิร์ลกรุ๊ปไม่ได้ เท่านั้นแหละ ทุกคนเครียดกันหมดเลย
ก่อนที่เขาจะคัดคนในทีมออก เขาก็ถามหนูนะคะว่า คุณคิดว่าคุณจะได้ไปต่อไหม หนูก็ตอบว่าหนูคิดว่าหนูได้ไปต่อค่ะ แต่ก็ขึ้นอยู่กับทางบริษัทด้วย ถ้าเลือกหนูแล้ว หนูก็จะไม่ท้อ หนูจะทำให้เต็มที่ และจะทำให้บริษัทคุณก้าวไปอีกอันดับหนึ่งให้ได้!! (น้ำเสียงเด็ดเดี่ยว) เขาก็พยักหน้ารับค่ะ
ตอนแรกคิดว่าตัวเองจะโดนคัดออกแล้วด้วยค่ะ (น้ำเสียงยังคงความตื่นเต้น เหมือนอยู่ในวินาทีประกาศผลอย่างไรอย่างนั้น) เพราะหนึ่ง ภาษาเราก็ไม่ได้ สอง มันก็ไม่ใช่บ้านเกิดเรา สาม เราเองก็ไม่รู้วัฒนธรรมอะไรของญี่ปุ่นเลยด้วยค่ะ แต่อยู่ดีๆ ผลมันก็พลิก!!
ที่น่าตกใจมากก็คือ ตอนแรกหนูคิดว่าสมาชิกในวงที่เขาจะปั้น จะมาจาก 5,800 คนที่ส่งคลิปมา แต่ไม่ใช่ค่ะ จริงๆ เขามี 4 คนที่เป็นศิลปินฝึกหัดของเขาอยู่แล้ว เราคือคนที่ถูกคัดจาก 5,800 คน และเป็นคนเดียวที่ถูกเลือก (พูดไปยิ้มไปด้วยน้ำเสียงตื่นเต้น) ก็ตกใจมากค่ะ รู้สึกว่าทำไมมันโหดสุดๆ อะไรอย่างนี้ (หัวเราะ)”
สตรองแค่ไหน แร็ปจนพี่ยุ่นมอบตำแหน่ง!!
ยัง..บทเรียนจากความโหดยังไม่จบลงเพียงแค่นั้น การได้ตำแหน่ง 1 ใน 5 สมาชิกวงเชียร์ซี (CHERRSEE) มาครอง เป็นเพียงแค่ปฐมบทแห่งความโหดเท่านั้นเอง เริ่มกันที่ปราการด่านแรกที่ต้องฝ่าไปให้ได้ก็คือ คลื่นใต้น้ำจากเพื่อนๆ ร่วมวงที่พูดกันคนละภาษา มาจากต่างวัฒนธรรม แถมยังปรับตัวไม่ทันกับโบกมือลาของสมาชิกคนเดิมที่ร่วมฟันฝ่ากันมา แล้วต้องมีสมาชิกหน้าใหม่อย่างเลน่าเข้าไปแทนที่อีกต่างหาก
“ก็คิดเหมือนกันนะคะว่าเขาอาจจะรู้สึกไม่ดีกับเรา แต่ก็ไม่ได้คิดว่าจะต้องทำให้คนในวงยอมรับนะคะ เราก็ทำให้มันดีที่สุดของเราไป แต่ก็แอบคิดๆ เหมือนกันว่าเขาจะแอบว่าอะไรเราหรือเปล่านะ เพราะตอนแรกที่ประกาศผล เขาก็ร้องไห้กันใหญ่เลย เพราะเขาอยู่ด้วยกันมานานแล้วด้วย และเขาก็พูดภาษาญี่ปุ่นกัน หนูก็ฟังไม่รู้เรื่อง (หัวเราะเบาๆ) ช่วงแรกๆ ก็เลยกลายเป็นตัวใครตัวมันไป ไม่ได้สื่อสารอะไรกันเท่าไหร่ เข้าไปใหม่ๆ ไม่มีใครคุยด้วยเลยค่ะ (ยิ้มบางๆ) หนูก็คิดในใจกับตัวเองว่า นี่เราอยู่ที่นี่ดีหรือเปล่าเนี่ย
เลน่านี่ดีจังเลยนะ ซ้อมมาแค่ 2 อาทิตย์ก็ได้เข้ากลุ่มเลย (ยิ้มเจื่อนๆ) ตอนแรกๆ เพื่อนในวงที่พูดภาษาอังกฤษได้ เดินมาบอกกับเราอย่างนี้ หนูก็ตอบเขาไปว่า ยังไงก็ฝากเนื้อฝากตัวด้วยแล้วกันนะ แต่มันก็เป็นความกดดันแค่ช่วงนึงค่ะ เพราะคนญี่ปุ่นเขาไม่ค่อยฟูมฟายอะไรนานค่ะ ด้วยวัฒนธรรมเขาแล้ว เขาจะเสียใจแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น แล้วจะไม่พูดเรื่องเก่าอีกเลย พอเวลาผ่านไป ก็ทำให้เรารู้สึกสบายใจขึ้น รู้สึกว่า เอ้อ..เราลืมเรื่องเก่าๆ ไปแล้วนะเนี่ย
ที่สำคัญ leader (หัวหน้าวง) เขาดีมากเลยค่ะ เขาเดินมาบอกกับเราเลยว่า ในเมื่อเรามาได้อยู่กลุ่มเดียวกันแล้ว เราก็มาทำให้กลุ่มของเราดีขึ้นไปกว่านี้ดีกว่า ส่วนคนอื่นๆ ก็ใช้เวลานิดนึงค่ะกว่าจะได้คุยกันจริงๆ จากช่วงแรกๆ ที่อยู่กันแบบตัวใครตัวมัน ไม่ได้พูด ไม่ได้สื่อสารอะไรกัน
มีอยู่วันนึง ชั่วโมงซ้อมเต้นกันอยู่ ซายูริก็เดินเข้ามาถามหนูว่า เลน่า ท่าตรงนี้ ถ้าเต้นแบบเกาหลี เขาเต้นกันยังไงเหรอ หนูก็ทำท่าให้ดูค่ะว่าเขาจะเต้นกันแบบนี้ๆ นะ แล้วคนอื่นก็ทำตาม แล้วก็ถามเราเพิ่ม แล้วตรงนี้ล่ะต้องทำยังไง เขาก็ลองเต้นดู หนูก็ช่วยดูแล้วก็ติเขาไปตรงๆ ว่า เธอทำท่าแบบนี้เหมือนไม่มีคาแรกเตอร์ของตัวเองเลยนะ ตอนแรกเขาฟังแล้วเขาก็ดูโกรธๆ ค่ะ
พอครูสอนเต้นเข้ามา ครูก็ติเหมือนที่หนูติเลย บอกว่าคนนี้เต้นดูไม่มีสไตล์ของตัวเองเลยนะ ให้ไปหาสไตล์ของตัวเองมาใหม่ เขาก็เลยเข้าใจค่ะ แล้วก็รู้ว่าเลน่าเป็นคนพูดตรงๆ นะ ไม่โกหก เพราะเราพูดด้วยความเป็นห่วง ทีหลังเขาก็บอกขอบคุณเรา แล้วก็รู้ว่าที่เราพูดเพราะเป็นห่วงคนอื่น
มีอยู่ครั้งนึง เขาเคยถามหนูว่าใส่ชุดแบบนี้สวยไหม หนูก็ตอบไปตรงๆ เลยว่า ตัวนี้เธอใส่ไม่สวยเลยนะ มันไม่เข้าจริงๆ ไปเปลี่ยนเถอะ เขาก็ตกใจมากว่าทำไมเลน่าพูดแบบนี้ แรงจัง (ยิ้ม) เพราะคนญี่ปุ่นเขาจะไม่พูดตรงๆ ค่ะ จะพูดกันแบบอ้อมๆ ถ้าเห็นว่าไม่สวย เขาก็จะพูดอ้อมๆ ว่าแบบนี้ก็ดีนะ แต่อีกแบบจะดีกว่าไหม พออยู่ด้วยกันมากๆ เข้า ทางฝั่งเขาก็ได้เรียนรู้ไปด้วยค่ะว่า เอ้อ..เลน่าเป็นคนที่พูดตรงมากนะ แต่ก็พูดถูก ก็เลยทำให้เราสนิทกันเร็วขึ้น” เธอยิ้มบางๆ ปิดท้าย
ประสบการณ์ 2 ปี ที่เคยใช้มันไปกับการเป็นศิลปินฝึกหัดอยู่ในค่ายเพลงเกาหลี บอกเลยว่าไม่เสียเปล่า และในวันนี้เลน่าก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มันยิ่งช่วยส่งเสริมให้ไลน์การเต้นของเธอแข็งแกร่งและโดดเด่นมากขึ้นไปอีก ซึ่งตรงกับความต้องการของค่ายญี่ปุ่นที่ตั้งโจทย์เอาไว้ให้วงเกิร์ลกรุ๊ปแนวใหม่วงนี้พอดี และจุดแข็งข้อนี้เองที่ทำให้เพื่อนๆ ในวงยอมรับในความสามารถของเธอได้เร็วยิ่งขึ้น
“ถ้าเป็นสไตล์การเต้นของญี่ปุ่น เขาจะเน้นให้แต่ละคนเต้นเหมือนๆ กันหมด ไม่มีคาแรกเตอร์โดดเด่นของตัวเองออกมา พอมีทางเกาหลีมาคุม เขาเห็น เขาก็โมโหเลยค่ะ บอกเลยว่านี่ยังอยากจะเป็นนักร้องกันอยู่อีกหรือเปล่า ทำไมต้องให้เต้นออกมาไลน์เหมือนกันหมดเลย อย่างคนที่รับคาแรกเตอร์สวยๆ ก็ต้องทำหน้าสวยๆ ไป คนที่มีคาแรกเตอร์น่ารักๆ ก็ต้องอินไปกับมันสิ เลยทำให้แต่ละคนต้องซ้อมไลน์ของตัวเองหนักขึ้นไปอีก
พอซ้อมหนักๆ เข้า สมาชิกในวงก็ร้องไห้กันหนักมาก เพราะถูกกดดันว่า ถ้าใครทำไม่ได้ก็ให้ออกไปซะ ถึงจะบอกว่ากลุ่มนี้มี 5 คน แต่ถ้าไม่ได้จริงๆ ยังตัดให้เหลือ 4 คนก็ได้ โปรดิวเซอร์เกาหลีเขาพูดอย่างนี้เลยค่ะ ดูทุกคนท้อแท้กัน จนหนูต้องเดินไปบอกเขาว่า คุณน่ะเป็นคนญี่ปุ่นนะ ภาษาก็เป็นภาษาของคุณ ประเทศก็ประเทศคุณ คุณอย่ายอมแพ้สิ!!”
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสาวน้อยสุดแกร่ง ที่ทำหน้าที่คอยพูดปลุกใจเพื่อนๆ ในวงอย่างเธอคนนี้จะไม่มีมุมท้อแท้เอาเสียเลย เลน่าเองก็เคยผ่านจุดกดดันที่สุดในชีวิตมาแล้วเหมือนกัน นั่นคือช่วงที่ยังสื่อสารความคิดความรู้สึกผ่านภาษาญี่ปุ่นออกมาไม่ได้เลย
“ตอนนั้นรู้สึกอึดอัดมาก เพราะเราไม่รู้ว่าคำนี้ออกเสียงยังไง จะถามใครก็ไม่ได้ เพราะแต่ละคนก็จะมุ่งสนใจแต่การท่องท่อนร้องของตัวเอง หนูอึดอัดมากจนต้องโทร.ไปหาทีมงานคนญี่ปุ่นที่พูดภาษาเกาหลีสื่อสารกับหนูได้ ขอให้เขาช่วยหาครูมาสอนภาษาญี่ปุ่นให้เราหน่อยได้ไหม เพราะถ้าไม่มีใครสอนหนูว่ามันต้องสำเนียงแบบไหน หนูจะร้องได้ยังไง
เขาก็ตอบกลับมาว่า ที่บริษัทไม่มีการส่งครูมาสอนให้นะ ในเมื่อคุณเลือกแล้วว่าคุณจะอยู่ในกลุ่มนี้ คุณก็ต้องพยายามเอาเองสิ หนูก็เลยกลับมาเปิดยูทิวบ์ เรียนทางเน็ตเอาเองเลยค่ะ พูดตามฝึกสำเนียงไปเรื่อยๆ เป็นช่วงที่เครียดมากๆ เครียดที่สุดแล้วจริงๆ ค่ะ แต่ก็ช่วยไม่ได้เพราะว่าเราเลือกเองที่จะอยู่ตรงนี้ หนูก็ได้แต่คิดว่าหนูจะไม่ยอมแพ้ หนูยังไม่ยอมกลับบ้าน!!”
แต่แล้วเลน่าก็เอาชนะทุกข้อจำกัดด้านภาษา จนคว้าตำแหน่ง “แร็ปเปอร์” ประจำวงเอามาไว้ในมือได้ ลองคิดดูว่าแค่จะให้แร็ปในภาษาแม่ของตัวเองก็ลำบากจะแย่แล้ว นี่ถึงกับต้องแร็ปในภาษาที่ยังพูดไม่คล่อง ฟังไม่ค่อยออกอีกต่างหาก แต่เธอก็ทำได้ และทำได้ดีจนเหมาะสมกับตำแหน่งนี้ที่สุดแล้วในสายตาผู้อำนวยการผลิต
“ก่อนที่จะเลือกว่าใครจะได้คาแรกเตอร์ไหน ใครจะได้เป็นแร็ปเปอร์ มันจะมีคลาสให้ลองร้องกันดูค่ะ แบ่งออกเป็นคลาสเลยว่า คลาสนี้ร้องบัลลาร์ดนะ คือทดสอบคนที่ร้องเสียงสูงเสียงเพราะๆ ได้ แล้วดูว่าใครเหมาะสุด แล้วก็มีคลาสเพลงแนวน่ารักๆ ใครเหมาะที่สุด แล้วก็มีคลาสเรียนแร็ปด้วย ดูว่าใครแร็ปได้เท่มากที่สุด ก่อนที่จะคัดเลือก วางตัว แล้วก็มาทำอัลบั้มกัน ส่วนที่เขาเลือกหนูเป็นแร็ปเปอร์ ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะตอนที่หนูส่งคลิปไปออดิชัน หนูก็ส่งแบบที่เป็นแร็ปไปเหมือนกัน แล้วก็มีท่อนร้องปกติด้วยค่ะ เขาเลยรู้ว่าเราแร็ปได้ แต่ตอนนั้นหนูแร็ปเกาหลีนะ
ก็ถือว่ายังดีค่ะที่ช่วงหลังเขามีครูมาร้องไกด์ให้ด้วย ถึงจะต้องแร็ป แต่คราวนี้หนูมีต้นฉบับสำเนียงที่ถูกต้องให้เอาไว้ทำตามได้ เลยจะง่ายกว่าช่วงที่ต้องหัดเรียนภาษาเองแรกๆ เยอะหน่อย ส่วนที่ต้องให้ครูมาร้องไกด์ เพราะแต่ละคนสำเนียงอาจจะมีเหน่อๆ บ้างอยู่แล้วค่ะ ถึงจะเป็นคนญี่ปุ่นเองก็อาจจะมีสำเนียงเหนือหรือใต้มาปน ครูเขาก็จะช่วยไกด์ เลยเป็นผลดีกับเราที่ได้เช็กสำเนียงไปด้วย”
อ่านต่อได้ที่
http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000068289
หนึ่งเดียวในญี่ปุ่น! สาวไทยคนแรกแห่ง “เกิร์ลกรุ๊ป” ที่บูมที่สุดในตอนนี้!!
เธอคือ “เลน่า(Lena)-ณัฐชากร สุขุมเจริญจิต” แร็ปเปอร์สุดเท่ประจำวง “CHERRSEE” วงเจป๊อปแนวใหม่ซึ่งเพลงกำลังฮิตติดชาร์ตอันดับหนึ่งและโด่งดังที่สุดอยู่ในขณะนี้!!
เซอร์ไพรส์! 1 ใน 5,800 รายที่ถูกเลือก!!
“หนูก็เหมือนเด็กที่ชอบ K-pop แล้วก็อยากเรียนเต้นทั่วๆ ไปเลยค่ะ” เด็กสาววัย 21 ตอบคำถามแรกกลับมาผ่านเสียงใสๆ สำเนียงของเธอไม่สู้จะชัดถ้อยชัดคำนัก แต่หนักไปในโทนญี่ปุ่นมากกว่า คงเพราะมันกลายเป็นภาษาหลักที่เธอใช้สื่อสารระหว่างใช้ชีวิตอยู่ที่นู่นไปแล้ว
รวมระยะเวลาตั้งแต่เดินทางไปฝึกฝน จนได้ออกอัลบั้มในฐานะศิลปินในสังกัดสไตล์ J-pop อยู่ทุกวันนี้ แม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แค่ 3 เดือน แต่มันก็บ่มเพาะประสบการณ์อะไรหลายๆ อย่างให้เธออย่างที่หลายคนคาดไม่ถึง
ชักสงสัย ทำไมเด็กที่คลั่งไคล้ความเป็น K-pop ดันเปลี่ยนไปนิยมแนว J-pop ไปได้... คนถูกถามจึงเริ่มเล่าถึงที่มาที่ไป พร้อมกับแนบเรื่องราวที่น่าประหลาดใจที่สุดครั้งหนี่งในชีวิตให้ฟัง
“คุณพ่อคุณแม่ชอบส่งเราเรียนด้านดนตรีมาตั้งแต่เด็กแล้วค่ะ ตอนแรกก็ไม่รู้จัก K-pop เหมือนกัน แล้วก็เรียนเต้นฮิปฮอปมาเรื่อยๆ จนเมื่อ 2-3 ปีที่แล้วที่ K-pop บูมๆ ก็เลยบอกคุณแม่ค่ะว่า อยากเรียนเต้นแบบ K-pop ดูนะ อยากรู้ว่าสไตล์แบบเกาหลีมันเป็นยังไง คุณแม่ก็เลยส่งไปเรียนที่เกาหลี หนูเลยไปลงเรียน Seoul International University ที่นั่นด้วยค่ะ
ความฝันในการเป็นศิลปินของเธอ ช่างพอเหมาะพอเจาะกับความต้องการของทาง “J Rock” ในญี่ปุ่นขณะนั้นพอดี ซึ่งกำลังปั้นโปรเจกต์ “เกิร์ลกรุ๊ปแนวใหม่” โดยจับมือกับค่าย “Brave Entertainment” ฝั่งเกาหลี เพื่อผลิตวงสาวสวยที่มิกซ์เอาความน่ารักแบบญี่ปุ่นและความมีเอกลักษณ์แบบเกาหลี มาไว้ในวงนี้เพียงวงเดียว วงที่มีชื่อว่า “เชียร์ซี (CHERRSEE)”
“ตอนที่ไปถึง มีคนเป็นพันๆ คนเลยค่ะที่เดินทางมาออดิชัน แล้วเราก็ยังพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้เลยด้วย พูดแต่ภาษาเกาหลีได้ แต่มีคนที่พูดภาษาเกาหลีได้ มาช่วยให้ข้อมูลเราว่า บริษัทนี้ทำร่วมกับเกาหลี ซึ่งจะให้คนเกาหลีมาเป็น choreographer (คนออกแบบท่าเต้น) รวมถึง stylist และผู้กำกับเอ็มวีให้ด้วยค่ะ ทุกอย่างเลย เลยคิดว่ามันก็น่าจะดีนะ
รอผลอยู่ประมาณอาทิตย์กว่าๆ เขาก็โทร.มาบอกว่า เลน่าช่วยไปฝึกที่ Brave Entertainment กับศิลปินฝึกหัดในสังกัด J Rock ของเขาที่อยู่ที่นั่นแล้วได้ไหม หนูก็ตกใจมาก เอ..เขาเลือกเราจริงๆ แล้วเหรอ แสดงว่าเราได้เข้ารอบที่ 3 แล้วใช่ไหมเนี่ย (ยิ้ม) ทั้งๆ ที่เราทั้งพูดทั้งร้องภาษาญี่ปุ่นไม่ได้เลยเนี่ยนะ
พอไปถึง เขาก็บอกว่ามีสมาชิกในวงอยู่แล้ว 5 คนนะที่เขาซ้อมกันมานานแล้ว เตรียมตัวจะทำอัลบั้มแล้ว และเขาก็ถามเราว่า ถ้าเลน่าเข้าไปและได้เป็นสมาชิกคนที่ 6 จะทำได้ไหม หนูก็ตอบเลยว่าทำได้ค่ะ (น้ำเสียงหนักแน่น) พอซ้อมได้ประมาณ 2 อาทิตย์ ก่อนจะประกาศผลรอบสุดท้าย เขาถึงมาเฉลยว่า เขาจะตัดจาก 6 คนให้เหลือแค่ 5 คน เพราะ 6 คนทำเกิร์ลกรุ๊ปไม่ได้ เท่านั้นแหละ ทุกคนเครียดกันหมดเลย
ก่อนที่เขาจะคัดคนในทีมออก เขาก็ถามหนูนะคะว่า คุณคิดว่าคุณจะได้ไปต่อไหม หนูก็ตอบว่าหนูคิดว่าหนูได้ไปต่อค่ะ แต่ก็ขึ้นอยู่กับทางบริษัทด้วย ถ้าเลือกหนูแล้ว หนูก็จะไม่ท้อ หนูจะทำให้เต็มที่ และจะทำให้บริษัทคุณก้าวไปอีกอันดับหนึ่งให้ได้!! (น้ำเสียงเด็ดเดี่ยว) เขาก็พยักหน้ารับค่ะ
ตอนแรกคิดว่าตัวเองจะโดนคัดออกแล้วด้วยค่ะ (น้ำเสียงยังคงความตื่นเต้น เหมือนอยู่ในวินาทีประกาศผลอย่างไรอย่างนั้น) เพราะหนึ่ง ภาษาเราก็ไม่ได้ สอง มันก็ไม่ใช่บ้านเกิดเรา สาม เราเองก็ไม่รู้วัฒนธรรมอะไรของญี่ปุ่นเลยด้วยค่ะ แต่อยู่ดีๆ ผลมันก็พลิก!!
ที่น่าตกใจมากก็คือ ตอนแรกหนูคิดว่าสมาชิกในวงที่เขาจะปั้น จะมาจาก 5,800 คนที่ส่งคลิปมา แต่ไม่ใช่ค่ะ จริงๆ เขามี 4 คนที่เป็นศิลปินฝึกหัดของเขาอยู่แล้ว เราคือคนที่ถูกคัดจาก 5,800 คน และเป็นคนเดียวที่ถูกเลือก (พูดไปยิ้มไปด้วยน้ำเสียงตื่นเต้น) ก็ตกใจมากค่ะ รู้สึกว่าทำไมมันโหดสุดๆ อะไรอย่างนี้ (หัวเราะ)”
สตรองแค่ไหน แร็ปจนพี่ยุ่นมอบตำแหน่ง!!
ยัง..บทเรียนจากความโหดยังไม่จบลงเพียงแค่นั้น การได้ตำแหน่ง 1 ใน 5 สมาชิกวงเชียร์ซี (CHERRSEE) มาครอง เป็นเพียงแค่ปฐมบทแห่งความโหดเท่านั้นเอง เริ่มกันที่ปราการด่านแรกที่ต้องฝ่าไปให้ได้ก็คือ คลื่นใต้น้ำจากเพื่อนๆ ร่วมวงที่พูดกันคนละภาษา มาจากต่างวัฒนธรรม แถมยังปรับตัวไม่ทันกับโบกมือลาของสมาชิกคนเดิมที่ร่วมฟันฝ่ากันมา แล้วต้องมีสมาชิกหน้าใหม่อย่างเลน่าเข้าไปแทนที่อีกต่างหาก
“ก็คิดเหมือนกันนะคะว่าเขาอาจจะรู้สึกไม่ดีกับเรา แต่ก็ไม่ได้คิดว่าจะต้องทำให้คนในวงยอมรับนะคะ เราก็ทำให้มันดีที่สุดของเราไป แต่ก็แอบคิดๆ เหมือนกันว่าเขาจะแอบว่าอะไรเราหรือเปล่านะ เพราะตอนแรกที่ประกาศผล เขาก็ร้องไห้กันใหญ่เลย เพราะเขาอยู่ด้วยกันมานานแล้วด้วย และเขาก็พูดภาษาญี่ปุ่นกัน หนูก็ฟังไม่รู้เรื่อง (หัวเราะเบาๆ) ช่วงแรกๆ ก็เลยกลายเป็นตัวใครตัวมันไป ไม่ได้สื่อสารอะไรกันเท่าไหร่ เข้าไปใหม่ๆ ไม่มีใครคุยด้วยเลยค่ะ (ยิ้มบางๆ) หนูก็คิดในใจกับตัวเองว่า นี่เราอยู่ที่นี่ดีหรือเปล่าเนี่ย
เลน่านี่ดีจังเลยนะ ซ้อมมาแค่ 2 อาทิตย์ก็ได้เข้ากลุ่มเลย (ยิ้มเจื่อนๆ) ตอนแรกๆ เพื่อนในวงที่พูดภาษาอังกฤษได้ เดินมาบอกกับเราอย่างนี้ หนูก็ตอบเขาไปว่า ยังไงก็ฝากเนื้อฝากตัวด้วยแล้วกันนะ แต่มันก็เป็นความกดดันแค่ช่วงนึงค่ะ เพราะคนญี่ปุ่นเขาไม่ค่อยฟูมฟายอะไรนานค่ะ ด้วยวัฒนธรรมเขาแล้ว เขาจะเสียใจแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น แล้วจะไม่พูดเรื่องเก่าอีกเลย พอเวลาผ่านไป ก็ทำให้เรารู้สึกสบายใจขึ้น รู้สึกว่า เอ้อ..เราลืมเรื่องเก่าๆ ไปแล้วนะเนี่ย
ที่สำคัญ leader (หัวหน้าวง) เขาดีมากเลยค่ะ เขาเดินมาบอกกับเราเลยว่า ในเมื่อเรามาได้อยู่กลุ่มเดียวกันแล้ว เราก็มาทำให้กลุ่มของเราดีขึ้นไปกว่านี้ดีกว่า ส่วนคนอื่นๆ ก็ใช้เวลานิดนึงค่ะกว่าจะได้คุยกันจริงๆ จากช่วงแรกๆ ที่อยู่กันแบบตัวใครตัวมัน ไม่ได้พูด ไม่ได้สื่อสารอะไรกัน
มีอยู่วันนึง ชั่วโมงซ้อมเต้นกันอยู่ ซายูริก็เดินเข้ามาถามหนูว่า เลน่า ท่าตรงนี้ ถ้าเต้นแบบเกาหลี เขาเต้นกันยังไงเหรอ หนูก็ทำท่าให้ดูค่ะว่าเขาจะเต้นกันแบบนี้ๆ นะ แล้วคนอื่นก็ทำตาม แล้วก็ถามเราเพิ่ม แล้วตรงนี้ล่ะต้องทำยังไง เขาก็ลองเต้นดู หนูก็ช่วยดูแล้วก็ติเขาไปตรงๆ ว่า เธอทำท่าแบบนี้เหมือนไม่มีคาแรกเตอร์ของตัวเองเลยนะ ตอนแรกเขาฟังแล้วเขาก็ดูโกรธๆ ค่ะ
พอครูสอนเต้นเข้ามา ครูก็ติเหมือนที่หนูติเลย บอกว่าคนนี้เต้นดูไม่มีสไตล์ของตัวเองเลยนะ ให้ไปหาสไตล์ของตัวเองมาใหม่ เขาก็เลยเข้าใจค่ะ แล้วก็รู้ว่าเลน่าเป็นคนพูดตรงๆ นะ ไม่โกหก เพราะเราพูดด้วยความเป็นห่วง ทีหลังเขาก็บอกขอบคุณเรา แล้วก็รู้ว่าที่เราพูดเพราะเป็นห่วงคนอื่น
มีอยู่ครั้งนึง เขาเคยถามหนูว่าใส่ชุดแบบนี้สวยไหม หนูก็ตอบไปตรงๆ เลยว่า ตัวนี้เธอใส่ไม่สวยเลยนะ มันไม่เข้าจริงๆ ไปเปลี่ยนเถอะ เขาก็ตกใจมากว่าทำไมเลน่าพูดแบบนี้ แรงจัง (ยิ้ม) เพราะคนญี่ปุ่นเขาจะไม่พูดตรงๆ ค่ะ จะพูดกันแบบอ้อมๆ ถ้าเห็นว่าไม่สวย เขาก็จะพูดอ้อมๆ ว่าแบบนี้ก็ดีนะ แต่อีกแบบจะดีกว่าไหม พออยู่ด้วยกันมากๆ เข้า ทางฝั่งเขาก็ได้เรียนรู้ไปด้วยค่ะว่า เอ้อ..เลน่าเป็นคนที่พูดตรงมากนะ แต่ก็พูดถูก ก็เลยทำให้เราสนิทกันเร็วขึ้น” เธอยิ้มบางๆ ปิดท้าย
ประสบการณ์ 2 ปี ที่เคยใช้มันไปกับการเป็นศิลปินฝึกหัดอยู่ในค่ายเพลงเกาหลี บอกเลยว่าไม่เสียเปล่า และในวันนี้เลน่าก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มันยิ่งช่วยส่งเสริมให้ไลน์การเต้นของเธอแข็งแกร่งและโดดเด่นมากขึ้นไปอีก ซึ่งตรงกับความต้องการของค่ายญี่ปุ่นที่ตั้งโจทย์เอาไว้ให้วงเกิร์ลกรุ๊ปแนวใหม่วงนี้พอดี และจุดแข็งข้อนี้เองที่ทำให้เพื่อนๆ ในวงยอมรับในความสามารถของเธอได้เร็วยิ่งขึ้น
“ถ้าเป็นสไตล์การเต้นของญี่ปุ่น เขาจะเน้นให้แต่ละคนเต้นเหมือนๆ กันหมด ไม่มีคาแรกเตอร์โดดเด่นของตัวเองออกมา พอมีทางเกาหลีมาคุม เขาเห็น เขาก็โมโหเลยค่ะ บอกเลยว่านี่ยังอยากจะเป็นนักร้องกันอยู่อีกหรือเปล่า ทำไมต้องให้เต้นออกมาไลน์เหมือนกันหมดเลย อย่างคนที่รับคาแรกเตอร์สวยๆ ก็ต้องทำหน้าสวยๆ ไป คนที่มีคาแรกเตอร์น่ารักๆ ก็ต้องอินไปกับมันสิ เลยทำให้แต่ละคนต้องซ้อมไลน์ของตัวเองหนักขึ้นไปอีก
พอซ้อมหนักๆ เข้า สมาชิกในวงก็ร้องไห้กันหนักมาก เพราะถูกกดดันว่า ถ้าใครทำไม่ได้ก็ให้ออกไปซะ ถึงจะบอกว่ากลุ่มนี้มี 5 คน แต่ถ้าไม่ได้จริงๆ ยังตัดให้เหลือ 4 คนก็ได้ โปรดิวเซอร์เกาหลีเขาพูดอย่างนี้เลยค่ะ ดูทุกคนท้อแท้กัน จนหนูต้องเดินไปบอกเขาว่า คุณน่ะเป็นคนญี่ปุ่นนะ ภาษาก็เป็นภาษาของคุณ ประเทศก็ประเทศคุณ คุณอย่ายอมแพ้สิ!!”
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสาวน้อยสุดแกร่ง ที่ทำหน้าที่คอยพูดปลุกใจเพื่อนๆ ในวงอย่างเธอคนนี้จะไม่มีมุมท้อแท้เอาเสียเลย เลน่าเองก็เคยผ่านจุดกดดันที่สุดในชีวิตมาแล้วเหมือนกัน นั่นคือช่วงที่ยังสื่อสารความคิดความรู้สึกผ่านภาษาญี่ปุ่นออกมาไม่ได้เลย
“ตอนนั้นรู้สึกอึดอัดมาก เพราะเราไม่รู้ว่าคำนี้ออกเสียงยังไง จะถามใครก็ไม่ได้ เพราะแต่ละคนก็จะมุ่งสนใจแต่การท่องท่อนร้องของตัวเอง หนูอึดอัดมากจนต้องโทร.ไปหาทีมงานคนญี่ปุ่นที่พูดภาษาเกาหลีสื่อสารกับหนูได้ ขอให้เขาช่วยหาครูมาสอนภาษาญี่ปุ่นให้เราหน่อยได้ไหม เพราะถ้าไม่มีใครสอนหนูว่ามันต้องสำเนียงแบบไหน หนูจะร้องได้ยังไง
เขาก็ตอบกลับมาว่า ที่บริษัทไม่มีการส่งครูมาสอนให้นะ ในเมื่อคุณเลือกแล้วว่าคุณจะอยู่ในกลุ่มนี้ คุณก็ต้องพยายามเอาเองสิ หนูก็เลยกลับมาเปิดยูทิวบ์ เรียนทางเน็ตเอาเองเลยค่ะ พูดตามฝึกสำเนียงไปเรื่อยๆ เป็นช่วงที่เครียดมากๆ เครียดที่สุดแล้วจริงๆ ค่ะ แต่ก็ช่วยไม่ได้เพราะว่าเราเลือกเองที่จะอยู่ตรงนี้ หนูก็ได้แต่คิดว่าหนูจะไม่ยอมแพ้ หนูยังไม่ยอมกลับบ้าน!!”
แต่แล้วเลน่าก็เอาชนะทุกข้อจำกัดด้านภาษา จนคว้าตำแหน่ง “แร็ปเปอร์” ประจำวงเอามาไว้ในมือได้ ลองคิดดูว่าแค่จะให้แร็ปในภาษาแม่ของตัวเองก็ลำบากจะแย่แล้ว นี่ถึงกับต้องแร็ปในภาษาที่ยังพูดไม่คล่อง ฟังไม่ค่อยออกอีกต่างหาก แต่เธอก็ทำได้ และทำได้ดีจนเหมาะสมกับตำแหน่งนี้ที่สุดแล้วในสายตาผู้อำนวยการผลิต
“ก่อนที่จะเลือกว่าใครจะได้คาแรกเตอร์ไหน ใครจะได้เป็นแร็ปเปอร์ มันจะมีคลาสให้ลองร้องกันดูค่ะ แบ่งออกเป็นคลาสเลยว่า คลาสนี้ร้องบัลลาร์ดนะ คือทดสอบคนที่ร้องเสียงสูงเสียงเพราะๆ ได้ แล้วดูว่าใครเหมาะสุด แล้วก็มีคลาสเพลงแนวน่ารักๆ ใครเหมาะที่สุด แล้วก็มีคลาสเรียนแร็ปด้วย ดูว่าใครแร็ปได้เท่มากที่สุด ก่อนที่จะคัดเลือก วางตัว แล้วก็มาทำอัลบั้มกัน ส่วนที่เขาเลือกหนูเป็นแร็ปเปอร์ ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะตอนที่หนูส่งคลิปไปออดิชัน หนูก็ส่งแบบที่เป็นแร็ปไปเหมือนกัน แล้วก็มีท่อนร้องปกติด้วยค่ะ เขาเลยรู้ว่าเราแร็ปได้ แต่ตอนนั้นหนูแร็ปเกาหลีนะ
ก็ถือว่ายังดีค่ะที่ช่วงหลังเขามีครูมาร้องไกด์ให้ด้วย ถึงจะต้องแร็ป แต่คราวนี้หนูมีต้นฉบับสำเนียงที่ถูกต้องให้เอาไว้ทำตามได้ เลยจะง่ายกว่าช่วงที่ต้องหัดเรียนภาษาเองแรกๆ เยอะหน่อย ส่วนที่ต้องให้ครูมาร้องไกด์ เพราะแต่ละคนสำเนียงอาจจะมีเหน่อๆ บ้างอยู่แล้วค่ะ ถึงจะเป็นคนญี่ปุ่นเองก็อาจจะมีสำเนียงเหนือหรือใต้มาปน ครูเขาก็จะช่วยไกด์ เลยเป็นผลดีกับเราที่ได้เช็กสำเนียงไปด้วย”
อ่านต่อได้ที่ http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000068289