ระวังก้น กันมาก ๆ นะ

กระทู้สนทนา
“แมลงก้นกระดก” พิษร้ายแรง ระบาดช่วงหน้าฝน
ในโลกออนไลน์มีสมาชิกเว็บไซต์พันทิปรายหนึ่ง ได้โพสเตือนให้ประชาชนระมัดระวังแมลงตัวเล็กแต่พิษร้ายแรงอย่าง “แมลงก้นกระดก ”ลักษณะเป็นด้วงขนาดเล็ก ขนาด 6-8 มม. หรือ ไม่เกิน 1 ซม. ลำตัวเรียวยาว พบมากในช่วงฤดูฝนโดยระบุว่า ช่วงนี้มีผู้ป่วยเดินทางมารักษาอาการจากการถูกพิษของแมลงชนิดนี้เป็นจำนวนมาก
โดยรายล่าสุดเป็นเด็กน้อยคนหนึ่ง ได้ถูกพิษของแมลงชนิดนี้หลายที่ มีอาการเป็นแผลพุพองขนาดใหญ่ทั้งแผ่นหลังและก้น โดยช่วงแรกคุณแม่นึกว่าน้องแพ้ฝุ่น จึงปล่อยไว้หลายวัน แผลจึงลุกลาม ส่วนอีกรายเป็นเด็กน้อยโดนกัดเข้าที่ใบหน้า แต่โชคดีพามาหาหมอได้เร็วอาการจึงยังไม่ลุกลาม
แผลที่ถูกปล่อยไว้หลายวันจนลุกลาม
สำหรับแมลงก้นกระดก มักพบบ่อยในช่วงฤดูฝน มีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร พบได้ตลอดทั้งปีแต่จะเจอมากในช่วงฤดูฝน พบเจอได้ทั้งในป่าในเมืองและแมลงชนิดนี้ชอบไฟในเวลากลางคืน ดังนั้นไม่ควรเปิดไฟนอน เพราะแสงไฟจะล่อแมลงเข้ามาและควรทำความสะอาดผ้าปูที่นอนเป็นประจำ รวมทั้งตรวจตราตามฝาผนังและเพดานใกล้หลอดไฟ
ลักษณะของแมลงก้นกดก(Rove beetles)หรือที่เรียกว่า แมลงน้ำกรด
ส่วนผื่นที่เกิดจากแมลงชนิดนี้ไม่ได้เกิดจากการกัดหรือต่อยของตัวแมลง แต่เกิดจากการไปโดนหรือบี้ ทำให้สารเคมีที่อยู่ภายในตัวแมลงที่ชื่อว่า “เพเดอริน” สัมผัสกับผิวหนัง ทำให้มีอาการแสบ ไหม้ ตามจุดที่สัมผัสโดน อาจมีลักษณะรอยแผลเป็นเส้นทำให้คิดว่าเป็นงูสวัดหรือเริม หรือหากสัมผัสถูกดวงตาอาจติดเชื้อจนมีผลต่อการมองเห็นได้ ดังนั้นเมื่อพบแมลงชนิดนี้ห้ามบี้ตัวแมลงเด็ดขาด ให้ใช้วิธีปัดออก
สำหรับวิธีการปฐมพยาบาลเมื่อถูกพิษของแมลงก้นกระดกนั้น นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ รองผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง แนะนำให้ปฏิบัติตามดังนี้
1. ให้ล้างผิวหนังด้วยน้ำเปล่าทันทีตามด้วยสบู่หลายๆครั้ง ทั้งที่มือและบริเวณที่ถูกพิษ
2. ถ้ามีผื่นแดงขึ้นก็ให้ใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ชนิดเข้มข้น-ปานกลาง
3. แต่ถ้าพิษรุนแรงขนาดทำให้เกิดแผลที่มีน้ำเหลืองไหลออกมา ให้ประคบด้วยน้ำเกลือก่อนจะทายาสเตียรอยด์
4. หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์ทันที
#คำตอบของสุขภาพที่ดี
-------------------------------------------


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่