หลายคนคงทราบเรื่องการจดเครื่องหมายการค้าว่า ยาก เสียค่าใช้จ่ายสูง และเสียเวลา แต่นั่นไม่เท่ากับหลักเกณฑ์ที่ดูไม่มีมาตรฐานของกรมทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อเทียบกับต่างประเทศ
จากประสบการณ์เกือบ 2 ปีที่พยายามจดเครื่องหมายการค้าแต่ไม่สำเร็จเลยอยากจะแชร์ครับ
1. คำสวยๆอย่าหวังจะได้
คำสวยๆคือ common word เช่น homecenter, businessguru หรือคำที่มีคำสามัญมาผสมกัน 2 คำขึ้นไป ไม่ต้องพูดถึงคำเดี่ยวๆเลย
ในขณะที่ต่างประเทศสามารถจดได้ง่ายๆเช่น 1989 ที่ Taylor Swift เพิ่งจดไป แต่ถ้าเมืองไทยอย่าได้หวัง ทำให้เราโดนยึดคำสวยๆไปโดยฝรั่ง เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจว่า ชื่อสวยๆเช่น พันธุ์ข้าว สมุนไพร โดยเฉพาะที่มีคำเหล่านี้ผสมจะตกเป็นของต่างชาติหมด
จะว่าไปแล้ว domainname ที่จดจะหายากยิ่งกว่าการขอจดเครื่องหมายการค้าอีก เพราะส่วนใหญ่ถูกจดเกือบหมดแล้ว จดนานเป็นสิบๆปี (พวกนี้ใช้โปรแกรมตั้งชื่อและไล่จด เพราะเป็นธุรกิจขายต่อโดเมนเนม) แต่ไม่ว่าจะยากยังไง มีคนไทยได้ domain สวยๆมาพอสมควร ซึ่งทำให้เราได้เปรียบในการทำ brand ดอทคอม เช่น สมมติว่า คนไทยเป็นเจ้าของโดเมนว่า diamondbusiness.com แต่ในความเป็นจริง การจดเครื่องหมายการค้าในไทยอาจจะเป็นไปไม่ได้เพราะ diamond และ business เป็นคำ common หรือมีคนจดคล้ายๆกันไปแล้ว นั่นหมายความว่า การมีโดเมนเนมที่หายากหรืออาจจะประมูลมาในราคาหลายแสนหรือล้านบาท แทบไม่ช่วยอะไร หรือเสียของ
มีการแนะนำให้ทำโลโก้ที่ทำให้แตกต่างออกไป ทางออกนี้ลองแล้ว ในครั้งแรก เจ้าหน้าที่บอกว่า เครื่องหมายการค้าคล้ายกับคนที่จดไปแล้ว ไม่เป็นไร
ผมเลยออกแบบใหม่ให้แตกต่าง ส่งเรื่องไปครั้งที่ 2 โดนตีกลับ โดยให้เหตุผลว่า โลโก้แตกต่างจากตอนที่ยื่นมาครั้งแรกมากเกินไป
อ้าว แบบนี้จะให้ทำยังไงครับ ครั้งแรกบอกคล้ายคนอื่น พอทำให้แตกต่างดันบอกว่า แตกต่างจากครั้งแรกเกินไป ถ้าให้คล้าย มันก็เข้าอีหรอบเดิมอีกกับที่โดนตีเรื่องกลับสิครับ
2. เมื่อยื่น 2 ครั้ง แล้วไม่ผ่าน คุณต้องทำเรื่องยื่นใหม่ทั้งหมด เสียเวลา 1-2 ปี (แค่ลิขสิทธิ์ครอบคลุมในประเทศเท่านั้น) เสียเงินอีกรอบ ถ้าจ้างจดก็หมื่นกว่าบาทแล้ว
3. หลักเกณฑ์ไม่แน่นอน ตามที่อธิบายปัญหาต่างๆไปในข้อแรก ทำให้ต่างชาติทยอยจดเครื่องหมายการค้าที่มี common word สำคัญๆไปหมด และในที่สุดเขาก็เข้ามาจดเครื่องหมายการค้าในเมืองไทยด้วยคำที่กรมทรัพย์สินไม่ให้จดนั่นเอง
ผมเคยอ่าน บทความแนะนำการจดเครื่องหมายการค้าที่เอากรณีศึกษาต่างๆมาพูดถึง พบว่า subjective หรือไม่เป็นมาตรฐานมากๆ เรียกว่า ขึ้นอยู่กับผู้พิจารณาในช่วงนั้นๆเลยล่ะ (คล้ายกรณีจดนามสกุล คนธรรมดาไปจด เปิดพจนานุกรมแล้วเปิดอีกว่ามีความหมายไหม ถ้าไม่มีหรือแปลกๆจะไม่ให้จด แต่พอดาราไปจดชื่อ เฟี้ยวฟ้าว หรือ คักกิ่งรัก อะไรแปลกๆ คำที่คนธรรมดาไม่ใช้ กลับจดได้หน้าตาเฉย มาตรฐานอยู่ที่ไหนครับ แบบเดียวกันเลยกับจดเครื่องหมายการค้า)
ตอนนี้ผมยังไม่รู้จะทำยังไงต่อเลย domainname ที่ประมูลมา สวยๆทั้งนั้น บางโดเมนซื้อต่อมาจากบริษัทระดับโลกที่เขาไม่ทำตลาดแล้ว (เตรียมใช้แบรนด์ดังกล่าวทำตลาด แต่ยกเลิกแผนไปก่อน ซึ่งเป็นคำผสมที่สวยมากและครอบคลุมสินค้าเฉพาะกลุ่มได้กว้าง)
ไปไม่ถูกเลยตอนนี้ อยากให้กรมทรัพย์สินปรับปรุง สร้างมาตรฐานใหม่ให้เหมือนต่างประเทศ ไม่งั้นนักธุรกิจไทยจะเสียเปรียบเขา เพราะถ้าแบรนด์จำยาก ไม่มี keyword สำคัญๆ เราก็สู้ต่างชาติไม่ได้ โดยเฉพาะการตลาดออนไลน์ที่ใช้ keyword ที่เป็นคำ common ในการค้นหาบน google
กรมทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้เสียเปรียบต่างชาติในเรื่อง 'เครื่องหมายการค้า'
จากประสบการณ์เกือบ 2 ปีที่พยายามจดเครื่องหมายการค้าแต่ไม่สำเร็จเลยอยากจะแชร์ครับ
1. คำสวยๆอย่าหวังจะได้
คำสวยๆคือ common word เช่น homecenter, businessguru หรือคำที่มีคำสามัญมาผสมกัน 2 คำขึ้นไป ไม่ต้องพูดถึงคำเดี่ยวๆเลย
ในขณะที่ต่างประเทศสามารถจดได้ง่ายๆเช่น 1989 ที่ Taylor Swift เพิ่งจดไป แต่ถ้าเมืองไทยอย่าได้หวัง ทำให้เราโดนยึดคำสวยๆไปโดยฝรั่ง เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจว่า ชื่อสวยๆเช่น พันธุ์ข้าว สมุนไพร โดยเฉพาะที่มีคำเหล่านี้ผสมจะตกเป็นของต่างชาติหมด
จะว่าไปแล้ว domainname ที่จดจะหายากยิ่งกว่าการขอจดเครื่องหมายการค้าอีก เพราะส่วนใหญ่ถูกจดเกือบหมดแล้ว จดนานเป็นสิบๆปี (พวกนี้ใช้โปรแกรมตั้งชื่อและไล่จด เพราะเป็นธุรกิจขายต่อโดเมนเนม) แต่ไม่ว่าจะยากยังไง มีคนไทยได้ domain สวยๆมาพอสมควร ซึ่งทำให้เราได้เปรียบในการทำ brand ดอทคอม เช่น สมมติว่า คนไทยเป็นเจ้าของโดเมนว่า diamondbusiness.com แต่ในความเป็นจริง การจดเครื่องหมายการค้าในไทยอาจจะเป็นไปไม่ได้เพราะ diamond และ business เป็นคำ common หรือมีคนจดคล้ายๆกันไปแล้ว นั่นหมายความว่า การมีโดเมนเนมที่หายากหรืออาจจะประมูลมาในราคาหลายแสนหรือล้านบาท แทบไม่ช่วยอะไร หรือเสียของ
มีการแนะนำให้ทำโลโก้ที่ทำให้แตกต่างออกไป ทางออกนี้ลองแล้ว ในครั้งแรก เจ้าหน้าที่บอกว่า เครื่องหมายการค้าคล้ายกับคนที่จดไปแล้ว ไม่เป็นไร
ผมเลยออกแบบใหม่ให้แตกต่าง ส่งเรื่องไปครั้งที่ 2 โดนตีกลับ โดยให้เหตุผลว่า โลโก้แตกต่างจากตอนที่ยื่นมาครั้งแรกมากเกินไป
อ้าว แบบนี้จะให้ทำยังไงครับ ครั้งแรกบอกคล้ายคนอื่น พอทำให้แตกต่างดันบอกว่า แตกต่างจากครั้งแรกเกินไป ถ้าให้คล้าย มันก็เข้าอีหรอบเดิมอีกกับที่โดนตีเรื่องกลับสิครับ
2. เมื่อยื่น 2 ครั้ง แล้วไม่ผ่าน คุณต้องทำเรื่องยื่นใหม่ทั้งหมด เสียเวลา 1-2 ปี (แค่ลิขสิทธิ์ครอบคลุมในประเทศเท่านั้น) เสียเงินอีกรอบ ถ้าจ้างจดก็หมื่นกว่าบาทแล้ว
3. หลักเกณฑ์ไม่แน่นอน ตามที่อธิบายปัญหาต่างๆไปในข้อแรก ทำให้ต่างชาติทยอยจดเครื่องหมายการค้าที่มี common word สำคัญๆไปหมด และในที่สุดเขาก็เข้ามาจดเครื่องหมายการค้าในเมืองไทยด้วยคำที่กรมทรัพย์สินไม่ให้จดนั่นเอง
ผมเคยอ่าน บทความแนะนำการจดเครื่องหมายการค้าที่เอากรณีศึกษาต่างๆมาพูดถึง พบว่า subjective หรือไม่เป็นมาตรฐานมากๆ เรียกว่า ขึ้นอยู่กับผู้พิจารณาในช่วงนั้นๆเลยล่ะ (คล้ายกรณีจดนามสกุล คนธรรมดาไปจด เปิดพจนานุกรมแล้วเปิดอีกว่ามีความหมายไหม ถ้าไม่มีหรือแปลกๆจะไม่ให้จด แต่พอดาราไปจดชื่อ เฟี้ยวฟ้าว หรือ คักกิ่งรัก อะไรแปลกๆ คำที่คนธรรมดาไม่ใช้ กลับจดได้หน้าตาเฉย มาตรฐานอยู่ที่ไหนครับ แบบเดียวกันเลยกับจดเครื่องหมายการค้า)
ตอนนี้ผมยังไม่รู้จะทำยังไงต่อเลย domainname ที่ประมูลมา สวยๆทั้งนั้น บางโดเมนซื้อต่อมาจากบริษัทระดับโลกที่เขาไม่ทำตลาดแล้ว (เตรียมใช้แบรนด์ดังกล่าวทำตลาด แต่ยกเลิกแผนไปก่อน ซึ่งเป็นคำผสมที่สวยมากและครอบคลุมสินค้าเฉพาะกลุ่มได้กว้าง)
ไปไม่ถูกเลยตอนนี้ อยากให้กรมทรัพย์สินปรับปรุง สร้างมาตรฐานใหม่ให้เหมือนต่างประเทศ ไม่งั้นนักธุรกิจไทยจะเสียเปรียบเขา เพราะถ้าแบรนด์จำยาก ไม่มี keyword สำคัญๆ เราก็สู้ต่างชาติไม่ได้ โดยเฉพาะการตลาดออนไลน์ที่ใช้ keyword ที่เป็นคำ common ในการค้นหาบน google