ลูกของแม่บ้าน เรียนอยู่อนุบาล 2 ค่ะ อายุ 5 ขวบ
ช่วงนี้คุณครูให้การบ้านมาทำ คือ ให้ผู้ปกครองอ่านหนังสือนิทานให้ฟังทุกวัน โดยหนังสือนิทาน จะยืมมาจากที่โรงเรียน
เราเลยต้องอ่านให้เค้าฟัง เพราะแม่บ้านเราเป็นคนพม่าค่ะ
หนังสือนิทานสมัยนี้ เค้าพยายามแต่งให้มันเป็นกลอน แต่คำที่ใช้มันเป็นคำแปลกๆ อ่านออกเสียงก็ยาก ไม่มีความหมาย เช่น "อีล่อยป่อยแอ" "อีโล้งโพ้งเพ้ง" หรือคำสร้อยแปลกๆ คือ ถ้าเราอ่านตามหนังสือไปเรื่อยๆ มันก็ฟังเพราะดี แต่เด็กฟังไม่รู้เรื่องเลย พออ่านจบ ถามน้องว่า เข้าใจมั๊ย น้องไม่เข้าใจอะไรเลย คำศัพท์ที่ใช้ก็ยากเกินเด็ก 5 ขวบจะเข้าใจ แล้วนิทานก็ไม่ได้มีคติสอนใจแบบนิทานอีสปอะไรแบบนั้นด้วย เราเลยไม่เข้าใจว่า หนังสือนิทานพวกนี้ เค้าเขียนเพื่อจุดประสงค์ให้เด็กเรียนรู้อะไรเหรอคะ
ทุกวันนี้เราอาศัยอ่านเป็นร้อยแก้ว แปลงคำมาเป็นคำพูดเราเอง เราว่า ถ้าเราเรื่องให้เด็กฟังแล้วรู้เรื่องมันน่าจะสนุกกว่าไม่ใช่หรือคะ
อยากได้ความเห็นคนอื่นว่า คิดเห็นอย่างไรกันบ้างคะ
ทำไมหนังสือเด็กสมัยนี้อ่านยากจังคะ
ช่วงนี้คุณครูให้การบ้านมาทำ คือ ให้ผู้ปกครองอ่านหนังสือนิทานให้ฟังทุกวัน โดยหนังสือนิทาน จะยืมมาจากที่โรงเรียน
เราเลยต้องอ่านให้เค้าฟัง เพราะแม่บ้านเราเป็นคนพม่าค่ะ
หนังสือนิทานสมัยนี้ เค้าพยายามแต่งให้มันเป็นกลอน แต่คำที่ใช้มันเป็นคำแปลกๆ อ่านออกเสียงก็ยาก ไม่มีความหมาย เช่น "อีล่อยป่อยแอ" "อีโล้งโพ้งเพ้ง" หรือคำสร้อยแปลกๆ คือ ถ้าเราอ่านตามหนังสือไปเรื่อยๆ มันก็ฟังเพราะดี แต่เด็กฟังไม่รู้เรื่องเลย พออ่านจบ ถามน้องว่า เข้าใจมั๊ย น้องไม่เข้าใจอะไรเลย คำศัพท์ที่ใช้ก็ยากเกินเด็ก 5 ขวบจะเข้าใจ แล้วนิทานก็ไม่ได้มีคติสอนใจแบบนิทานอีสปอะไรแบบนั้นด้วย เราเลยไม่เข้าใจว่า หนังสือนิทานพวกนี้ เค้าเขียนเพื่อจุดประสงค์ให้เด็กเรียนรู้อะไรเหรอคะ
ทุกวันนี้เราอาศัยอ่านเป็นร้อยแก้ว แปลงคำมาเป็นคำพูดเราเอง เราว่า ถ้าเราเรื่องให้เด็กฟังแล้วรู้เรื่องมันน่าจะสนุกกว่าไม่ใช่หรือคะ
อยากได้ความเห็นคนอื่นว่า คิดเห็นอย่างไรกันบ้างคะ