บ.รถยนต์ยักษ์ใหญ่ จัด ‘จากกันด้วยใจ’ ให้สมัครใจลาออก ลูกจ้างเหมาค่าแรงนับพัน

วันนี้ (5 ก.ค.) citizenthaipbs.net เปิดเผยว่า นักสื่อสารแรงงานรายงานผ่าน voicelabour.org ถึงความต่อเนื่องของสถานการณ์การเปิดโครงการสมัครใจลาออกในอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา มีการรายงานกรณีของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ค่ายยักษ์จากประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ชื่อโครงการวว่า ‘จากกันด้วยใจ’ รายงานข่าวระบุว่า โครงการดังกล่าวเปิดให้ลูกจ้างเหมาค่าแรงซึ่งมีอยู่ในกระบวนการผลิตประมาณร้อยละ 40 ของลูกจ้างทั้งหมด หรือราว 800-900 คน สมัครใจลาออก โดยกำหนดจำนวนแต่ละไลน์การผลิต และได้เปิดรับสมัครเข้าโครงการเป็นเวลา 1 อาทิตย์ นับตั้งแต่วันนี้ (4 ก.ค. 2559) เป็นต้นไป โดยผู้บริหารลงชี้แจงลูกจ้างเหมาค่าแรงพร้อมทั้งสัญญากับลูกจ้างเหมาค่าแรงว่า หากผลประกอบการดีขึ้นจะรับลูกจ้างเหมาค่าแรงกลับเข้ามาทำงานในอัตราค่าจ้างเดิมสวัสดิการเดิมและนับอายุงานต่อเนื่องด้วย

รายงานข่าวระบุอีกว่า ในการเปิดโครงการจากกันด้วยใจสำหรับลูกจ้างเหมาค่าแรงนั้น ทางบริษัทจะจ่ายเงินพิเศษและค่าชดเชยให้ตามอายุงาน พร้อมค่าจ้าง และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า การที่ไม่บอกคืนลูกจ้างเหมาค่าแรงเหมือนกับบริษัทอื่น ๆ นั้นเพราะเห็นว่า ลูกจ้างเหมาค่าแรงอยู่ด้วยกันมานาน และมีเรื่องของการทำงานดีจะมีการบรรจุให้เป็นลูกจ้างประจำด้วย ซึ่งมีการบรรจุเกือบทุกปี ซึ่งปีละหลายร้อยคน รายงานข่าวระบุด้วยว่า ขณะนี้คนที่สมัครใจลาออกมีจำนวนมาก โดยบริษัทเปิดรับสมัครใจลาออกในส่วนของลูกจ้างเหมาค่าแรงที่มีอายุงานต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งหลังจากครบกำหนดตามที่บริษัทเปิดโครงการฯ ทางบริษัทก็จะมีการใช้การประเมินดูเรื่องประสิทธิภาพการทำงานเพื่อเลิกจ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นขั้นตอนสุดท้าย อย่างไรก็ตามบริษัทต้องการที่จะใช้การลาออกโดยสมัครใจก่อน

ล่าสุดแหล่งข่าวรายงานว่า ทางผู้บริหารบริษัทได้มีการจัดประชุมเพื่อชี้แจงกับลูกจ้างเหมาค่าแรง และได้มีการร่วมส่งลูกจ้างเหมาค่าแรงขึ้นรถกลับบ้านด้วย

ด้านนายวิสุทธิ์ เรืองฤทธิ์ รองประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทยกล่าวว่า ในฐานะการทำงานในประเภทกิจการยานยนต์คงต้องคอยจับตาดูเรื่องการปฏิบัติของนายจ้างในประเภทกิจการรถยนต์ ซึ่งขณะนี้มีปรากฏการณ์การเปิดโครงการสมัครใจลาออกทั้งส่วนของลูกจ้างประจำและพนักงานเหมาค่าแรง โดยจะดูเรื่องสิทธิของลูกจ้างเรื่องสิทธิแรงงาน และความเป็นธรรม ซึ่งกรณีดังกล่าวมีการจ่ายค่าจ้างและค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าที่เรียกว่าเงินพิเศษให้ด้วย แทนการที่จะส่งลูกจ้างเหมาค่าแรงให้กับทางบริษัทต้นสังกัด

ทั้งนี้ ได้มีลูกจ้างเหมาค่าแรงของบริษัทดังกล่าวออกมาโพสต์เรื่องราวชีวิตการทำงานในบริษัทดังกล่าวด้วยความผูกพัน เพื่อเป็นการบอกลาในโซเชียลมีเดียอีกด้วย

http://www.matichon.co.th/news/200624

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
โครงการที่ 2 ... อยู่ต่อหรือจะไป
โครงการที่ 3 ... มุงไม่ไป กุไป

55555555 ตลกสลัดมากครับ ค่ายยักษ์ใหญ่ ยังสะบักสะบอมขนาดนี้ SME นี่คงจะใกล้เดี้ยงเต็มที่ละ

...เดี๋ยวต้องมีคนมาบอกว่า "ให้รู้จักปรับตัว" ......
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่