การ์ตูนสรุปเข้าใจง่าย - Prompt Pay (พร้อมเพย์) คืออะไร

ว่าด้วยเรื่องของ Prompt Pay ...

Prompt Pay (พร้อมเพย์) คืออะไร ?

Prompt Pay เป็นระบบที่เราสามารถนำ
"บัตรประชาชน" หรือ "เบอร์โทรศัพท์"
นำมาผูกกับบัญชีธนาคาร แล้วสามารถโอนเงินได้เลย
สะดวกขึ้นตรงที่เราไม่ต้องจำเลขบัญชีธนาคารหลายบัญชี
รวมถึงเวลาโอนเงินให้เพื่อนก็สามารถโอนได้ง่ายขึ้น

โดยธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศออกอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้วว่า
จะเริ่มใช้ระบบ Prompt Pay ในวันที่ 31 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป
โดยที่เราสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฏาคม นี้

ประเด็นที่สำคัญ คือ เรื่องของ "ค่าธรรมเนียม" ที่ลดลงเวลาโอนเงิน
การเก็บค่าธรรมเนียมของบริการ พร้อมเพย์ จะคิดตามวงเงินที่ได้ทำการโอนในแต่ละครั้ง ดังนี้
•    โอนเงินไม่เกิน 5,000 บาท ไม่เสียค่าธรรมเนียม
•    โอนเงินระหว่าง 5,000 - 30,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 2 บาท
•    โอนเงินระหว่าง 30,000 - 100,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 5 บาท
•    โอนเงินมากกว่า 100,000 บาท ขึ้นไปจะเสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 10 บาท
**** โดยวงเงินขั้นสูงสุดขึ้นอยู่แต่ละธนาคาร ****

ข้อดีของระบบ Prompt Pay นี้ คือ ทำให้รัฐบาลสามารถเก็บภาษี
จากธุรกิจออนไลน์ที่โตแบบก้าวกระโดดในเมืองไทยได้
เนื่องจากสามารถเช็คธุรกรรมต่างๆได้ง่ายขึ้น

แต่ถ้าร้านค้าออนไลน์เหล่านั้นไม่สมัครก็เท่านั้น
เพราะพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็คงเห็นประโยชน์
เรื่องภาษีมากกว่าความสะดวกของลูกค้าแน่ๆ

ส่วนสิ่งที่จะกระทบกับประชาชนอย่างเราๆอีกเรื่องนึง
ก็คือ เรื่องของ "ค่าธรรมเนียม" เนี้ยแหละ
แน่นอนว่าเราจ่ายค่าธรรมเนียมถูกลง

แต่หลังจากนี้ไป เวลาที่เราเข้าธนาคารแต่ละแห่ง
เราจะเจอการ Hard Sale ของธนาคารมากขึ้นแน่ๆ

เพราะอะไร ?

สาเหตุก็เพราะว่า ...
รายได้หลักของธนาคารส่วนใหญ่มักจะมาจากค่าธรรมเนียม
แต่ด้วยปัจจุบันค่าธรรมเนียมของธนาคารได้รับน้อยลงมากๆ
ทำให้ธนาคารจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด
ธนาคารต่างๆจึงหันมาขาย "ประกัน"
หรือเปลี่ยนตัวเองเป็น Bancassurance มากขึ้น

โดยปกติตอนนี้เราเดินเข้าธนาคารก็โดยขายประกันแทบจะตลอดอยู่แล้ว
แล้วยิ่งค่าธรรมเนียมลดลงไปอีกแบบนี้
เราก็จะโดยขายประกันหนักเข้าไปอีกแน่ๆ

อ่านบทสรุปของ Prompt Pay (พร้อมเพย์) ว่ามันคืออะไร
แบบง่ายๆ ได้จากการ์ตูนด้านล่างนี้เลย ...

ติดตามเรื่องเล่าเข้าใจง่ายๆของ Money Buffalo ได้ที่
www.facebook.com/moneybuffalo









แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่