เทยเที่ยวไทย The Route | ตอน 246 | ลัดเลาะตะวันออก จังหวัด ตราด
ขอฝากกระทู้เก่าด้วยนะคะ
ออกเดินทางสู่ปิล็อก สังขละ ทองผาภูมิ
http://ppantip.com/topic/34829509/comment54-1
ถึงเวลาชมพูพันธ์ทิพย์ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรกำแพงแสน 2559
http://ppantip.com/topic/34838119
แว้นไปดูดอกไม้ที่วังน้ำเขียว แล้วชม คอนเสิร์ต Chill Music On The Hill #6
http://ppantip.com/topic/34851109
ไปพักใจ ที่สีชัง
http://ppantip.com/topic/34853335
หนาวนี้ที่ขุนช่างเคี่ยน
http://ppantip.com/topic/34856586
ตะลุยคาเฟ่มะหมา แมวแมว ในกรุง
http://ppantip.com/topic/35014621
บินไปภูเก็ต แว้นไปเขาหลัก นั่งไปตาชัย
http://ppantip.com/topic/35017187
[SR]เมื่อโรซ่า เลือกฉันให้เป็นส่วนหนึ่งในการมอบความสุข(ในโครงการโฮมฮักรักลูกหลาน)
http://ppantip.com/topic/35120116
[SR]พลิกฟื้น คืนป่า ลดปัญหาภัยแล้ง เฉลิมพระเกียรติในหลวงครองราชย์ ครบ 70 ปี
http://ppantip.com/topic/35277097
สวัสดีเพื่อนๆๆชาวพันทิพย์ทุกท่านเลยนะค่ะ เจอกันอีกแล้วหลังจากเมื่อต้นเดือน บอมมิโกะได้ไปสร้างฝายที่จังหวัดตาก ณ เขื่อนภูมิพลปกติจะชอบขับมอเตอร์ไซด์เที่ยว แต่ช่วงนี้ขอพักก่อน เพราะอยากจะบอกว่าบอมทำจิตอาสามานานแล้วค่ะ แต่ระยะหลังๆๆทำแต่งานเลยไม่ค่อยมีเวลา แต่ช่วงนี้พอมีเวลาก็อยากจะกลับมาทำอีกครั้ง และถ้าหลายท่านอ่านหัวข้อของกระทู้นี้อาจจะสงสัยว่า
เที่ยวเมืองตราด สะหงาดสะเงย ท่องเที่ยวไปแบบวิถีชุมชน เที่ยวเมืองตรา สะหงาดสะเงย ไอคำว่าสหงายสะเงยคืออะไร
บอมมิโกะจะยกตัวอย่างให้ค่ะ เช่น บอมมิโกะสวยสะหงาดสะเงยจัง ก็แปลว่า บอมมิโกะสวยมากๆๆๆๆๆๆๆๆ สวยที่สุดดดดด ประมาณนี้ อุ้ยเขินเล่นเอง ชมเอง
แล้วท่องเที่ยวไปแบบวิถีชุมชน คืออะไร แน่นอนค่ะหลายๆๆถ้าพูดถึงจังหวัดตราด ก็จะนึกถึงเกาะช้าง เกาะที่ใหญ่เป็นอันดับที่2ของประเทศรองจากเกาะภูเก็ต ส่วนมากคนที่มาเที่ยวจังหวัดตราดก็มักจะข้ามไปเที่ยวหมู่เกาะช้าง เกาะหวาย เกาะหมาก เกาะกูดเป็นหลัก ไปดำน้ำดูปะการัง แต่การท่องแบบวิถีชุมชน เป็นการท่องเที่ยวดูชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนต่างๆๆนอนโฮมสเตย์ และใช้ชีวิตแบบง่ายๆๆ ซึ่งมันก็สนุกไปอีกแบบ และวันนี้ บอมมิโกะก็จะพาเพื่อนๆๆไปท่องเที่ยวแบบง่ายๆๆ พร้อมที่จะไปกันหรือยังค่ะ งั้นตามมาเลย
ทริปนี้เร่งด่วนจริงๆๆ รุ่นน้องของฉัน นางชื่อรีน่าโทรถามว่าศุกร์นี้ว่างไหม ไปตราดกัน ไป 3 วันนะพี่ ตัวเราเองก็ใจง่ายตอบตกลงไป ยังไม่ได้ถามสักคำว่าไปทำอะไร ไปทำไม เที่ยวที่ไหน พอถึงวันเดินทางเราก็นัดเจอกันที่ลานจอดรถ บีทีเอส หมอชิต ก็เดินทางมาถึง 05.30น. เค้านัด 06.00 น. หลังจากรอสมาชิคพร้อมเราก็ออกเดินทางกันได้เลย การเดินทางในครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัท Local Alike ซึ่งเป็นกิจกรรมเส้นทางท่องเที่ยวทดสอบ "เที่ยวเมืองตราด สะหงาดสะเงย" ณ ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว และชุมชนบ้านระวะ จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 24-26 มิถุนายนที่ผ่านมา"การท่องเที่ยวแบบใหม่ใส่ใจสังคม" โครงการพัฒนา และออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงรับผิดชอบต่อสังคม
https://www.facebook.com/LocalAlike/?fref=ts
เราออกเดินทางด้วยรถตู้จำนวน 2 คัน สมาชิคที่ร่วมเดินทางในครั้งนี้ประมาณ 16 ชีวิต เราทำความรู้จักกันบนรถ แต่ละท่านมาจากหลากหลายสายงานด้วยกัน โดยที่สถานที่แรกที่พวกเราจะไปเยือนในวันนี้ก็คือ พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด (Trat Museum) เราใช่เวลาเดินทางจาก กรุงเทพ มาถึงที่เมืองตราดประมาณ 4 ชั่วโมงนิดๆๆ หลังจากนั้นเราก็เข้าไปเยี่ยมชมที่พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด โดยที่เราจะมีเจ้าหน้าที่ของ อพท คอยต้อนรับ
พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด ตั้งอยู่ที่ถนนสันติสุข อำเภอเมือง จังหวัดตราด พิพิธภัณฑสถานประจำเมืองแห่งนี้ใช้อาคารศาลากลาง จังหวัดหลังเดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตเมืองตราด รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ส่งเสริม เผยแพร่มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรม โดยแต่เดิมอาคารหลังนี้ใช้เป็นสถานที่ราชการ ของจังหวัดตราด มีลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง มีความโดดเด่นชวนศึกษาโดยได้รักษาสถาปัตยกรรมรูปแบบเดิมที่สร้างขึ้นนับแต่พุทธศักราช 2465 ไว้ ลักษณะอาคารเป็นเรือนไม้ เสาปูน ยกพื้นใต้ถุนสูง หลังคาทรงปั้นหยา
พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด เปิดให้เข้าชมในวันอังคาร-วันศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.30-16.30 น. หยุดวันจันทร์ 1 วัน เสียค่าเข้าชมคนละ 10 บาท ซึ่งถามว่าคุ้มค่ามากๆๆกับความรู้ที่ได้รับ
ก่อนที่จะเข้าชทพิพิธภัณท์ เจ้าหน้าที่จาก อพท มาต้อนรับคณะเรา พวกเรานั่งล้อมวงเพื่อนทำความรุ้จักกันอีกครั้ง และเจ้าที่จาก อพท ก็เล่าประวัติความเป็นมา ของ อพท คืออะไร มีหน้าที่ทำอะไร
อพท หรือเรียกชื่อเต็มๆๆว่า องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มีหน้าที่เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยงานในการกำหนดนโยบาย และแผนการบริหารการพัฒนา ในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมถึงการประสานหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น และประชาชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม คงสภาพแหล่งท่องเที่ยวให้มีความงดงาม สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างความประทับใจ แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศให้ระลึกถึงและกลับมาท่องเที่ยวใหม่ โดยที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้และกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนท้องถิ่น โดยให้มีการบริหารและพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในเชิงบูรณาการ มีองค์การกลางทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ และประสานงานกับท้องถิ่น หรือพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือส่งเสริม และพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวให้มีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพ รวมทั้งสามารถระดมบุคลากร งบประมาณ และเครื่องมือเครื่องใช้มาใช้ในการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างมีเอกภาพ และแก้ไขปัญหาโดยรวดเร็ว ตลอดจนส่งเสริมให้มีการนำความรู้ด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่มาใช้ เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้
จากนั้นทางเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด ก็พาเราชมในส่วนต่างๆๆของพิพิธภัณฑ์ พี่ท่านนี้ชื่อพี่เหน่ง ขอบอกว่าเป็นคนที่เก่งมากและเป็นคนที่บรรยายได้น่าฟัง และทำให้เราอยากฟัง พี่เหน่งเล่าประวัติของที่นี้ให้เราฟังก่อนความเป็นมาอย่างไรก่อนมาเป็นพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด
อาคารหลังนี้เดิมทีเป็นศาลากลางจังหวัด แต่ต่อมาเมื่อศูนย์ราชการได้ย้ายไปที่ทำการใหม่ อาคารหลังนี้ก็ถูก ปล่อยให้ว่างเปล่าเป็นเวลานานจนสภาพอาคารเสื่อมโทรมไปหมดทั้งหลัง ต่อมากรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้ขึ้นทะเบียนศาลากลาง จังหวัดตราดหลังเก่าให้เป็นโบราณสถาน และเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2547 อาคารหลังนี้ถูกไฟไหม้เสียหายเกือบทั้งหลัง ประชาชนและข้าราชการจังหวัดตราดเห็นควรบูรณะอาคารขึ้นใหม่ เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถาน เทศบาลเมืองตราดจึงจัดสรรงบประมาณประจำปี 2548 เป็นเงิน 16,140,000 บาท เพื่อให้กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะซ่อมแซมอาคารตามรูปแบบเดิมพร้อมปรับสภาพภูมิทัศน์ จนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2549 หลังจากนั้นใน พ.ศ.2550 จังหวัดตราดขอความอนุเคราะห์กรมศิลปากรปรับปรุงอาคารแห่งนี้ให้เป็นพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจึงดำเนินการทางวิชาการและเทคนิคจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถาน ด้วยงบประมาณประจำปี 2553-2555 ของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นเงิน 19,700,000 บาท หลังจากเล่าความเป็นมาเสร็จพี่เหน่งก็พาเราเดินทางเข้าสู่บริเวณภายในอาคาร เพื่อเข้าชมนิทัศกาลที่จัดอยู่ภายใน
หลังจากเดินเข้ามาเราก็จะพบคำขวัญของ จ.ตราด เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีที่เกาะช้าง สุดทางบูรพา พี่เหน่งบอกว่าคำขวัญจังหวัดตราด จะเอาของดีแต่ละอำเภอมารวมกัน กลายมาเป็นคำขวัญจังหวัด จึงทำให้ แต่ละอำเภอไม่จำเป็นต้องมีความขวัญของใครของมันต่างจากจังหวัดอื่นๆๆ
ภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด จัดแบ่งห้องแสดงภาพถ่ายเหตุการณ์และวัตถุโบราณออกเป็น 6 โซนด้วยกันคือ
1. มรดกธรรมชาติและวัฒนธรรมแห่งชาติ
2. ผู้คนเมืองตราด
3. ลำดับทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์เมืองตราด
4. เหตุการณ์สำคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
5. เหตุการยุทธนาวีเกาะช้าง
6. ตลาดเมืองตราด
ในส่วนแรกพี่เหน่งให้พวกเราดูวีดีทัศน์ ใช้เวลาไม่กี่นาที ก็จะทำให้เรารู้จักเมืองตราดครบทุกอย่าง ภายในห้องเย็นสบาย พร้อมทั้งมีสื่อประกอบที่น่าสนใจ
เมืองตราดสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ที่เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาด ต้นไม้ชนิดนี้มีขึ้นอยู่รอบเมืองตราด ซึ่งในสมัยนั้นมีต้นกราดอยู่เป็นจำนวนมาก แต่พอถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองตราดมีชื่อในขณะนั้นว่า “บ้านบางพระ” จังหวัดตราด หรือเมืองทุ่งใหญ่ปรากฏชื่อในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2178) ว่าเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดฝ่ายการต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเล ที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือ เพื่อขนถ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เติมเสบียงอาหาร น้ำจืดบริเวณอ่าวเมืองตราด จึงเป็นแหล่งที่ตั้งชุมชนพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาค้าขาย ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา
จังหวัดตราด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 315 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 2,819 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ อำเภอเกาะกูด และอำเภอเกาะช้าง
สภาพภูมิอากาศ จังหวัดตราดมีอากาศไม่ ร้อนจัด หรือหนาวจนเกินไป แต่มีฝนตกชุกมาก เพราะมีพื้นที่ติดทะเลและภูเขาโอบล้อม จึงทำให้รับอิทธิพลของลมมรสุม แบ่งออกเป็น 3 ฤดู
ฤดูหนาว เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ช่วงเดือนพ.ย.-ก.พ. อากาศไม่หนาวมากนัก อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน เป็นช่วงระหว่างเดือน มี.ค.-เม.ย. อุณหภูมิโดยเฉลี่ยไม่เกิน 34 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เกิดจากอิทธิพลลมมรสุมตัวันตกเฉียงใต้พัดผ่านทะเลอ่าวไทย ในช่วงเดือน พ.ค.-ต.ค ของทุกปี ทำให้มีฝนตกชุกในเกือบทุกพื้นที่ โดยเฉลี่ยจะมีปริมาณน้ำฝน 4,000 มม.ต่อปี
[SR] เที่ยวเมืองตราด สะหงาดสะเงย ท่องเที่ยวไปแบบวิถีชุมชน
เทยเที่ยวไทย The Route | ตอน 246 | ลัดเลาะตะวันออก จังหวัด ตราด
ขอฝากกระทู้เก่าด้วยนะคะ
ออกเดินทางสู่ปิล็อก สังขละ ทองผาภูมิ
http://ppantip.com/topic/34829509/comment54-1
ถึงเวลาชมพูพันธ์ทิพย์ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรกำแพงแสน 2559
http://ppantip.com/topic/34838119
แว้นไปดูดอกไม้ที่วังน้ำเขียว แล้วชม คอนเสิร์ต Chill Music On The Hill #6
http://ppantip.com/topic/34851109
ไปพักใจ ที่สีชัง
http://ppantip.com/topic/34853335
หนาวนี้ที่ขุนช่างเคี่ยน
http://ppantip.com/topic/34856586
ตะลุยคาเฟ่มะหมา แมวแมว ในกรุง
http://ppantip.com/topic/35014621
บินไปภูเก็ต แว้นไปเขาหลัก นั่งไปตาชัย
http://ppantip.com/topic/35017187
[SR]เมื่อโรซ่า เลือกฉันให้เป็นส่วนหนึ่งในการมอบความสุข(ในโครงการโฮมฮักรักลูกหลาน)
http://ppantip.com/topic/35120116
[SR]พลิกฟื้น คืนป่า ลดปัญหาภัยแล้ง เฉลิมพระเกียรติในหลวงครองราชย์ ครบ 70 ปี
http://ppantip.com/topic/35277097
สวัสดีเพื่อนๆๆชาวพันทิพย์ทุกท่านเลยนะค่ะ เจอกันอีกแล้วหลังจากเมื่อต้นเดือน บอมมิโกะได้ไปสร้างฝายที่จังหวัดตาก ณ เขื่อนภูมิพลปกติจะชอบขับมอเตอร์ไซด์เที่ยว แต่ช่วงนี้ขอพักก่อน เพราะอยากจะบอกว่าบอมทำจิตอาสามานานแล้วค่ะ แต่ระยะหลังๆๆทำแต่งานเลยไม่ค่อยมีเวลา แต่ช่วงนี้พอมีเวลาก็อยากจะกลับมาทำอีกครั้ง และถ้าหลายท่านอ่านหัวข้อของกระทู้นี้อาจจะสงสัยว่า เที่ยวเมืองตราด สะหงาดสะเงย ท่องเที่ยวไปแบบวิถีชุมชน เที่ยวเมืองตรา สะหงาดสะเงย ไอคำว่าสหงายสะเงยคืออะไร
บอมมิโกะจะยกตัวอย่างให้ค่ะ เช่น บอมมิโกะสวยสะหงาดสะเงยจัง ก็แปลว่า บอมมิโกะสวยมากๆๆๆๆๆๆๆๆ สวยที่สุดดดดด ประมาณนี้ อุ้ยเขินเล่นเอง ชมเอง แล้วท่องเที่ยวไปแบบวิถีชุมชน คืออะไร แน่นอนค่ะหลายๆๆถ้าพูดถึงจังหวัดตราด ก็จะนึกถึงเกาะช้าง เกาะที่ใหญ่เป็นอันดับที่2ของประเทศรองจากเกาะภูเก็ต ส่วนมากคนที่มาเที่ยวจังหวัดตราดก็มักจะข้ามไปเที่ยวหมู่เกาะช้าง เกาะหวาย เกาะหมาก เกาะกูดเป็นหลัก ไปดำน้ำดูปะการัง แต่การท่องแบบวิถีชุมชน เป็นการท่องเที่ยวดูชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนต่างๆๆนอนโฮมสเตย์ และใช้ชีวิตแบบง่ายๆๆ ซึ่งมันก็สนุกไปอีกแบบ และวันนี้ บอมมิโกะก็จะพาเพื่อนๆๆไปท่องเที่ยวแบบง่ายๆๆ พร้อมที่จะไปกันหรือยังค่ะ งั้นตามมาเลย
ทริปนี้เร่งด่วนจริงๆๆ รุ่นน้องของฉัน นางชื่อรีน่าโทรถามว่าศุกร์นี้ว่างไหม ไปตราดกัน ไป 3 วันนะพี่ ตัวเราเองก็ใจง่ายตอบตกลงไป ยังไม่ได้ถามสักคำว่าไปทำอะไร ไปทำไม เที่ยวที่ไหน พอถึงวันเดินทางเราก็นัดเจอกันที่ลานจอดรถ บีทีเอส หมอชิต ก็เดินทางมาถึง 05.30น. เค้านัด 06.00 น. หลังจากรอสมาชิคพร้อมเราก็ออกเดินทางกันได้เลย การเดินทางในครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัท Local Alike ซึ่งเป็นกิจกรรมเส้นทางท่องเที่ยวทดสอบ "เที่ยวเมืองตราด สะหงาดสะเงย" ณ ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว และชุมชนบ้านระวะ จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 24-26 มิถุนายนที่ผ่านมา"การท่องเที่ยวแบบใหม่ใส่ใจสังคม" โครงการพัฒนา และออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงรับผิดชอบต่อสังคม
https://www.facebook.com/LocalAlike/?fref=ts
เราออกเดินทางด้วยรถตู้จำนวน 2 คัน สมาชิคที่ร่วมเดินทางในครั้งนี้ประมาณ 16 ชีวิต เราทำความรู้จักกันบนรถ แต่ละท่านมาจากหลากหลายสายงานด้วยกัน โดยที่สถานที่แรกที่พวกเราจะไปเยือนในวันนี้ก็คือ พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด (Trat Museum) เราใช่เวลาเดินทางจาก กรุงเทพ มาถึงที่เมืองตราดประมาณ 4 ชั่วโมงนิดๆๆ หลังจากนั้นเราก็เข้าไปเยี่ยมชมที่พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด โดยที่เราจะมีเจ้าหน้าที่ของ อพท คอยต้อนรับ
พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด ตั้งอยู่ที่ถนนสันติสุข อำเภอเมือง จังหวัดตราด พิพิธภัณฑสถานประจำเมืองแห่งนี้ใช้อาคารศาลากลาง จังหวัดหลังเดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตเมืองตราด รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ส่งเสริม เผยแพร่มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรม โดยแต่เดิมอาคารหลังนี้ใช้เป็นสถานที่ราชการ ของจังหวัดตราด มีลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง มีความโดดเด่นชวนศึกษาโดยได้รักษาสถาปัตยกรรมรูปแบบเดิมที่สร้างขึ้นนับแต่พุทธศักราช 2465 ไว้ ลักษณะอาคารเป็นเรือนไม้ เสาปูน ยกพื้นใต้ถุนสูง หลังคาทรงปั้นหยา
พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด เปิดให้เข้าชมในวันอังคาร-วันศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.30-16.30 น. หยุดวันจันทร์ 1 วัน เสียค่าเข้าชมคนละ 10 บาท ซึ่งถามว่าคุ้มค่ามากๆๆกับความรู้ที่ได้รับ
ก่อนที่จะเข้าชทพิพิธภัณท์ เจ้าหน้าที่จาก อพท มาต้อนรับคณะเรา พวกเรานั่งล้อมวงเพื่อนทำความรุ้จักกันอีกครั้ง และเจ้าที่จาก อพท ก็เล่าประวัติความเป็นมา ของ อพท คืออะไร มีหน้าที่ทำอะไร
อพท หรือเรียกชื่อเต็มๆๆว่า องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มีหน้าที่เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยงานในการกำหนดนโยบาย และแผนการบริหารการพัฒนา ในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมถึงการประสานหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น และประชาชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม คงสภาพแหล่งท่องเที่ยวให้มีความงดงาม สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างความประทับใจ แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศให้ระลึกถึงและกลับมาท่องเที่ยวใหม่ โดยที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้และกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนท้องถิ่น โดยให้มีการบริหารและพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในเชิงบูรณาการ มีองค์การกลางทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ และประสานงานกับท้องถิ่น หรือพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือส่งเสริม และพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวให้มีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพ รวมทั้งสามารถระดมบุคลากร งบประมาณ และเครื่องมือเครื่องใช้มาใช้ในการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างมีเอกภาพ และแก้ไขปัญหาโดยรวดเร็ว ตลอดจนส่งเสริมให้มีการนำความรู้ด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่มาใช้ เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้
จากนั้นทางเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด ก็พาเราชมในส่วนต่างๆๆของพิพิธภัณฑ์ พี่ท่านนี้ชื่อพี่เหน่ง ขอบอกว่าเป็นคนที่เก่งมากและเป็นคนที่บรรยายได้น่าฟัง และทำให้เราอยากฟัง พี่เหน่งเล่าประวัติของที่นี้ให้เราฟังก่อนความเป็นมาอย่างไรก่อนมาเป็นพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด
อาคารหลังนี้เดิมทีเป็นศาลากลางจังหวัด แต่ต่อมาเมื่อศูนย์ราชการได้ย้ายไปที่ทำการใหม่ อาคารหลังนี้ก็ถูก ปล่อยให้ว่างเปล่าเป็นเวลานานจนสภาพอาคารเสื่อมโทรมไปหมดทั้งหลัง ต่อมากรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้ขึ้นทะเบียนศาลากลาง จังหวัดตราดหลังเก่าให้เป็นโบราณสถาน และเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2547 อาคารหลังนี้ถูกไฟไหม้เสียหายเกือบทั้งหลัง ประชาชนและข้าราชการจังหวัดตราดเห็นควรบูรณะอาคารขึ้นใหม่ เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถาน เทศบาลเมืองตราดจึงจัดสรรงบประมาณประจำปี 2548 เป็นเงิน 16,140,000 บาท เพื่อให้กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะซ่อมแซมอาคารตามรูปแบบเดิมพร้อมปรับสภาพภูมิทัศน์ จนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2549 หลังจากนั้นใน พ.ศ.2550 จังหวัดตราดขอความอนุเคราะห์กรมศิลปากรปรับปรุงอาคารแห่งนี้ให้เป็นพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจึงดำเนินการทางวิชาการและเทคนิคจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถาน ด้วยงบประมาณประจำปี 2553-2555 ของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นเงิน 19,700,000 บาท หลังจากเล่าความเป็นมาเสร็จพี่เหน่งก็พาเราเดินทางเข้าสู่บริเวณภายในอาคาร เพื่อเข้าชมนิทัศกาลที่จัดอยู่ภายใน
หลังจากเดินเข้ามาเราก็จะพบคำขวัญของ จ.ตราด เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีที่เกาะช้าง สุดทางบูรพา พี่เหน่งบอกว่าคำขวัญจังหวัดตราด จะเอาของดีแต่ละอำเภอมารวมกัน กลายมาเป็นคำขวัญจังหวัด จึงทำให้ แต่ละอำเภอไม่จำเป็นต้องมีความขวัญของใครของมันต่างจากจังหวัดอื่นๆๆ
ภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด จัดแบ่งห้องแสดงภาพถ่ายเหตุการณ์และวัตถุโบราณออกเป็น 6 โซนด้วยกันคือ
1. มรดกธรรมชาติและวัฒนธรรมแห่งชาติ
2. ผู้คนเมืองตราด
3. ลำดับทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์เมืองตราด
4. เหตุการณ์สำคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
5. เหตุการยุทธนาวีเกาะช้าง
6. ตลาดเมืองตราด
ในส่วนแรกพี่เหน่งให้พวกเราดูวีดีทัศน์ ใช้เวลาไม่กี่นาที ก็จะทำให้เรารู้จักเมืองตราดครบทุกอย่าง ภายในห้องเย็นสบาย พร้อมทั้งมีสื่อประกอบที่น่าสนใจ
เมืองตราดสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ที่เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาด ต้นไม้ชนิดนี้มีขึ้นอยู่รอบเมืองตราด ซึ่งในสมัยนั้นมีต้นกราดอยู่เป็นจำนวนมาก แต่พอถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองตราดมีชื่อในขณะนั้นว่า “บ้านบางพระ” จังหวัดตราด หรือเมืองทุ่งใหญ่ปรากฏชื่อในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2178) ว่าเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดฝ่ายการต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเล ที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือ เพื่อขนถ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เติมเสบียงอาหาร น้ำจืดบริเวณอ่าวเมืองตราด จึงเป็นแหล่งที่ตั้งชุมชนพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาค้าขาย ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา
จังหวัดตราด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 315 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 2,819 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ อำเภอเกาะกูด และอำเภอเกาะช้าง
สภาพภูมิอากาศ จังหวัดตราดมีอากาศไม่ ร้อนจัด หรือหนาวจนเกินไป แต่มีฝนตกชุกมาก เพราะมีพื้นที่ติดทะเลและภูเขาโอบล้อม จึงทำให้รับอิทธิพลของลมมรสุม แบ่งออกเป็น 3 ฤดู
ฤดูหนาว เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ช่วงเดือนพ.ย.-ก.พ. อากาศไม่หนาวมากนัก อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน เป็นช่วงระหว่างเดือน มี.ค.-เม.ย. อุณหภูมิโดยเฉลี่ยไม่เกิน 34 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เกิดจากอิทธิพลลมมรสุมตัวันตกเฉียงใต้พัดผ่านทะเลอ่าวไทย ในช่วงเดือน พ.ค.-ต.ค ของทุกปี ทำให้มีฝนตกชุกในเกือบทุกพื้นที่ โดยเฉลี่ยจะมีปริมาณน้ำฝน 4,000 มม.ต่อปี
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น