บทความที่แล้วผลตอบรับดีเกินความคาดหมาย ... ขอแทนคำขอบคุณด้วยบทความต่อเนื่องบทนี้ครับ
ขอเกริ่นก่อนครับว่า บทความนี้ไม่เกี่ยวกับ ขายตรง หรือ MLM แต่อย่างใด เพราะ ผมกำลังจะเล่าถึง เรื่องราวของการทำธุรกิจ และ ธุรกิจแฟรนไชส์
บทนี้เป็นบทความต่อเนื่องจากบทที่แล้ว เรื่อง …
แชร์เรื่องราว 12 ปี ของการตามหา Passive Income!!! http://ppantip.com/topic/35305247
ในเนื้อหาของบทความดังกล่าวนั้นเป็นเพียงด้านเดียวของการของการหา Passive Income โดยเน้นไปที่การใช้
“เงินลงทุน” ซื้อทรัพย์สินที่สร้างรายได้ เช่น ลงทุนซื้อหุ้น ลงทุนซื้ออสังหาฯ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีการลงทุนและลงแรงอีกอย่างหนึ่งที่จะสามารถสร้าง Passive Income ได้เช่นกันซึ่งผมจะมาแชร์แนวคิดกันในบทนี้ ... (เป็นแค่แนวคิดนะครับ เพราะว่า ผมเองก็ยังทำไม่สำเร็จแต่กำลังพยายามครับ)
ธุรกิจแฟรนไชส์
ทำไมธุรกิจแฟรนไชส์ถึงเป็นการสร้างรายได้แบบ Passive Income ก็เพราะ การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ก็คล้ายๆกับการลงทุนในเครื่องผลิตเงินชนิดหนึ่ง(แต่ซื้อมาแล้วจะผลิตได้หรือไม่ได้นั้น ต้องว่าอีกเรื่องนะครับ) ถ้ามองในมุมการลงทุนก็คล้ายกับเราซื้ออสังหาฯมาปล่อยเช่า แต่ในกรณีนี้เปลี่ยนจากซื้ออสังหาฯมาเป็นซื้อธุรกิจแฟรนไชส์แทน
การทำธุรกิจแฟรนไชส์ทำได้ 2 กรณี
1. ซื้อระบบธุรกิจแฟรนไชส์มาทำ
2. สร้างระบบธุรกิจขึ้นมาแล้วขายแฟรนไชส์
ในบทความนี้ผมไม่ขอแจกแจงแบบละเอียดนะครับว่าการซื้อระบบแฟรนไชส์มาทำดีอย่างไร (เพราะสามารถหาอ่านได้ทั่วไปในอินเตอร์เน็ต) แต่โดยนัยยะแล้ว 2 กรณีนี้ต่างกันมากถึงแม้ว่าจะมีผลิตภัณฑ์ตัวเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการทำงาน ในแง่การบริหาร ในแง่ของรายได้ แต่ทั้งสองกรณีสามารถทำให้เป็น Passive Income ได้เช่นกัน (แต่ต้องให้ทำเป็นนะครับ เพราะถ้าวางแผนไม่ดีมันจะกลายเป็นว่าคุณทำธุรกิจแบบ Active Income)
เอาละมาเข้าเรื่องของผมกันบ้าง
ว่ากันตั้งแต่เริ่มเลยนะครับ ... ผมรู้จักคำๆนี้ครั้งแรกจากหนังสือชุดพ่อรวยสอนลูก ผมอ่านหนังสือชุดนี้ในช่วงที่ผมเรียนมหาวิทยาลัย ครั้งแรกที่อ่านนิยามและการทำเงินของธุรกิจแฟรนไชส์ ยอมรับเลยว่าน่าสนใจมาก ณ ตอนนั้น แต่ก็คิดว่ายังไกลตัวเกินไปเพราะยังเป็นแค่นักศึกษา แต่หลังจากผมเรียนจบได้ไม่นานก็ได้ศึกษาอย่างจริงจังครั้งหนึ่งเมื่อคุณแม่ผม อยากซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อชื่อด้งมาลงในตลาดแถวบ้าน ... แต่หลังจากผมศึกษาได้สักพักก็ต้องถอยทัพ เพราะว่า ผมไม่มีความพร้อมเรื่อง
“เงินทุน” เพราะ การลงทุนต้องใช้เงินหลักล้านและในบางกรณีต้องมีตึกมีอาคารในทำเลที่ดีเพื่อนำเสนอเจ้าของแฟรนไชส์เพื่อประกอบการพิจารณา ... จนเมื่อเร็วๆ ภรรยาผมมีแนวคิดที่อยากจะขายสินค้าบนห้างที่กำลังจะเปิดใหม่แถวบ้าน ผมจึงเริ่มศึกษาเรื่องนี้แบบจริงจังอีกครั้ง สิ่งที่ผมได้จากการศึกษานั้นมีประเด็นหลักๆดังนี้
ข้อดีหลักของการซื้อแฟรนไชส์มาทำคือ จะได้
“แบรนด์” ที่ติดตลาดแล้วมาทำโอกาสประสบความสำเร็จมีสูงกว่า ข้อดีหลักๆของการซื้อแฟรนไชส์มาทำอีกข้อที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้คือ
“เราจะได้ระบบ” ที่สมบูรณ์พร้อมใช้งานและผ่านการพิสูจน์แล้วมาใช้ ระบบในที่นี้คือ ระบบการขาย ระบบการผลิต ระบบการเงิน ระบบการความคุมคุณภาพ ระบบการตรวจสอบไม่ใช้เงินรั่วไหล แต่ข้อดีดังกล่าวก็ส่งผลถึงข้อเสียของมันเช่นกัน คือ
“ราคาสูง” ราคาสูงนี้รวมถึง
แฟรนไชส์แบรนด์ดังระดับโลก ว่ากันด้วยเงินลงทุน ...
หลักสิบล้าน
แฟรนไชส์แบรนด์ดังระดับรองลงมา ว่ากันด้วยเงินลงทุน ...
หลักล้าน
แฟรนไชส์แบรนด์ดังของไทย เริ่มว่ากันด้วยเงินลงทุน ...
หลักหลายแสน
ผมก็ถอยเช่นเคย ไม่ใช่ไม่สนใจซื้อ ผมสนใจมาก แต่ผมสนใจแบรนด์ใหญ่ที่ติดตลาด ซึ่งแบรนด์ดังเหล่านั้น ต้องใช้เงินทุนสูง ซึ่งผมมีเงินไม่มากพอที่จะซื้อแบรนด์ที่ผมสนใจ
จบ .... ยังยังไม่จบ แหม่ เขียนมาถึงขนาดนี้แล้ว อีกหน่อยเหอะ
“ข้อจำกัดนั้น มันจำกัดเราได้เพียงแค่ภายนอก แต่มันจำกัดภายในใจเราไม่ได้”
ถ้าบอกว่าไม่มีเงินซื้อแฟรนไชส์แล้วจบเลิกคิด เลิกสนใจ ก็ไม่ใช่ผมสิครับ ใจผมใหญ่กว่านั้น ในผมคิดว่าเมื่อผมไม่มีเงินพอที่จะซื้อ ผมก็จะใช้เงินทีมีอยู่
“ลองสร้างระบบ” ของตัวเองขึ้นมา สร้างผลิตภัณฑ์ของผมขึ้นมา สร้างระบบการขายของตัวเอง สร้างระบบการผลิต สร้างระบบการเงิน สร้างระบบการความคุมคุณภาพ สร้างระบบการตรวจสอบไม่ใช้เงินรั่วไหล ค่อยๆสร้างมันไปเรื่อยๆให้ครอบให้ครอบคลุมมากพอ
“ข้อจำกัดนั้น มันจำกัดเราได้เพียงแค่ภายนอก แต่มันจำกัดภายในใจเราไม่ได้”
ผมบอกเลยว่า ข้อจำกัดเรื่องเงิน มันหยุดให้ผมไม่ซื้อแฟรนไชส์ได้ แต่มันไม่สามารถหยุดให้ผมคิดที่จะสร้างระบบแฟรนไชน์ของตัวเองได้ เพราะด้วยเงินเพียงหลักแสน(ตามที่ผมคิด) น่าจะมากพอให้ผมสร้างร้านต้นแบบ ให้ผมทดลองระบบที่ผมคิดค้นได้
ผมจะกำลังสร้างโมเดลต้นแบบของผมจากข้างบ้านผมนี่ล่ะ แบบร่างงานออกแบบร้านผม (ไม่ขอเปิดเผยสถานที่และขอลบชื่อแบรนด์ออกนะครับ เพื่อความสบายใจของผม)
กว่าระบบนี้จะใช้งานได้ผมว่าน่าจะใช้เวลาทดลองอีกนับปี ณ ตอนนี้ผมต้องทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาร้านต้นแบบ แน่นอนว่าสิ่งที่ผมกำลังทำนี้คือ Active Income แต่เมื่อ ระบบของผมเสร็จสมบูรณ์และใช้งานได้ มันจะสร้าง Passive Income ให้ผมได้อีกทางหนึ่งแน่นอน ส่วนคำถามว่า มันจะไปรอด มันจะใช้งานได้หรือไม่ อันนี้ผมไม่ทราบ มันจะสำเร็จหรือเปล่าผมไม่แน่ใจ แต่ผมมั่นใจมากๆว่า ผมจะทำมันให้เต็มความสามารถที่ผมมีแน่นอน
สรุปส่งท้าย
จากที่กล่าวมาทั้งบทความนี้และบทความก่อน Passive Income นั้นสามารถทำได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งในแต่ละรูปแบบ เนื้อหานั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ถ้าสำเร็จผลปลายทางนั้นจะเหมือนกันคือ Passive Income ซึ่งเส้นทางนี้จะนำไปสู่อิสรภาพทางการเงิน .... เส้นทางนี้ไม่เคยง่ายและจะไม่ง่ายไปตลอดชีวิตของเรา ... จะมีก็แต่ความพยายามและความมุ่งมั่นที่แท้จริงเท่านั้นที่จะพาเราไปหามันได้ ... โชคดีร่ำรวยครับ
จบบริบูรณ์ครับ
…[^_^]…
ปล. ติดตามผลงานผมได้ในเพจนี้ครับ ... เพจคุยเรื่อยเปื่อยครับ
https://www.facebook.com/creativeshooter/
[แชร์แนวคิด] ... อีกทางเลือกของ Passive income!!!
ขอเกริ่นก่อนครับว่า บทความนี้ไม่เกี่ยวกับ ขายตรง หรือ MLM แต่อย่างใด เพราะ ผมกำลังจะเล่าถึง เรื่องราวของการทำธุรกิจ และ ธุรกิจแฟรนไชส์
บทนี้เป็นบทความต่อเนื่องจากบทที่แล้ว เรื่อง … แชร์เรื่องราว 12 ปี ของการตามหา Passive Income!!! http://ppantip.com/topic/35305247
ในเนื้อหาของบทความดังกล่าวนั้นเป็นเพียงด้านเดียวของการของการหา Passive Income โดยเน้นไปที่การใช้ “เงินลงทุน” ซื้อทรัพย์สินที่สร้างรายได้ เช่น ลงทุนซื้อหุ้น ลงทุนซื้ออสังหาฯ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีการลงทุนและลงแรงอีกอย่างหนึ่งที่จะสามารถสร้าง Passive Income ได้เช่นกันซึ่งผมจะมาแชร์แนวคิดกันในบทนี้ ... (เป็นแค่แนวคิดนะครับ เพราะว่า ผมเองก็ยังทำไม่สำเร็จแต่กำลังพยายามครับ)
ธุรกิจแฟรนไชส์
ทำไมธุรกิจแฟรนไชส์ถึงเป็นการสร้างรายได้แบบ Passive Income ก็เพราะ การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ก็คล้ายๆกับการลงทุนในเครื่องผลิตเงินชนิดหนึ่ง(แต่ซื้อมาแล้วจะผลิตได้หรือไม่ได้นั้น ต้องว่าอีกเรื่องนะครับ) ถ้ามองในมุมการลงทุนก็คล้ายกับเราซื้ออสังหาฯมาปล่อยเช่า แต่ในกรณีนี้เปลี่ยนจากซื้ออสังหาฯมาเป็นซื้อธุรกิจแฟรนไชส์แทน
การทำธุรกิจแฟรนไชส์ทำได้ 2 กรณี
1. ซื้อระบบธุรกิจแฟรนไชส์มาทำ
2. สร้างระบบธุรกิจขึ้นมาแล้วขายแฟรนไชส์
ในบทความนี้ผมไม่ขอแจกแจงแบบละเอียดนะครับว่าการซื้อระบบแฟรนไชส์มาทำดีอย่างไร (เพราะสามารถหาอ่านได้ทั่วไปในอินเตอร์เน็ต) แต่โดยนัยยะแล้ว 2 กรณีนี้ต่างกันมากถึงแม้ว่าจะมีผลิตภัณฑ์ตัวเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการทำงาน ในแง่การบริหาร ในแง่ของรายได้ แต่ทั้งสองกรณีสามารถทำให้เป็น Passive Income ได้เช่นกัน (แต่ต้องให้ทำเป็นนะครับ เพราะถ้าวางแผนไม่ดีมันจะกลายเป็นว่าคุณทำธุรกิจแบบ Active Income)
เอาละมาเข้าเรื่องของผมกันบ้าง
ว่ากันตั้งแต่เริ่มเลยนะครับ ... ผมรู้จักคำๆนี้ครั้งแรกจากหนังสือชุดพ่อรวยสอนลูก ผมอ่านหนังสือชุดนี้ในช่วงที่ผมเรียนมหาวิทยาลัย ครั้งแรกที่อ่านนิยามและการทำเงินของธุรกิจแฟรนไชส์ ยอมรับเลยว่าน่าสนใจมาก ณ ตอนนั้น แต่ก็คิดว่ายังไกลตัวเกินไปเพราะยังเป็นแค่นักศึกษา แต่หลังจากผมเรียนจบได้ไม่นานก็ได้ศึกษาอย่างจริงจังครั้งหนึ่งเมื่อคุณแม่ผม อยากซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อชื่อด้งมาลงในตลาดแถวบ้าน ... แต่หลังจากผมศึกษาได้สักพักก็ต้องถอยทัพ เพราะว่า ผมไม่มีความพร้อมเรื่อง “เงินทุน” เพราะ การลงทุนต้องใช้เงินหลักล้านและในบางกรณีต้องมีตึกมีอาคารในทำเลที่ดีเพื่อนำเสนอเจ้าของแฟรนไชส์เพื่อประกอบการพิจารณา ... จนเมื่อเร็วๆ ภรรยาผมมีแนวคิดที่อยากจะขายสินค้าบนห้างที่กำลังจะเปิดใหม่แถวบ้าน ผมจึงเริ่มศึกษาเรื่องนี้แบบจริงจังอีกครั้ง สิ่งที่ผมได้จากการศึกษานั้นมีประเด็นหลักๆดังนี้
ข้อดีหลักของการซื้อแฟรนไชส์มาทำคือ จะได้ “แบรนด์” ที่ติดตลาดแล้วมาทำโอกาสประสบความสำเร็จมีสูงกว่า ข้อดีหลักๆของการซื้อแฟรนไชส์มาทำอีกข้อที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้คือ “เราจะได้ระบบ” ที่สมบูรณ์พร้อมใช้งานและผ่านการพิสูจน์แล้วมาใช้ ระบบในที่นี้คือ ระบบการขาย ระบบการผลิต ระบบการเงิน ระบบการความคุมคุณภาพ ระบบการตรวจสอบไม่ใช้เงินรั่วไหล แต่ข้อดีดังกล่าวก็ส่งผลถึงข้อเสียของมันเช่นกัน คือ “ราคาสูง” ราคาสูงนี้รวมถึง
แฟรนไชส์แบรนด์ดังระดับโลก ว่ากันด้วยเงินลงทุน ... หลักสิบล้าน
แฟรนไชส์แบรนด์ดังระดับรองลงมา ว่ากันด้วยเงินลงทุน ... หลักล้าน
แฟรนไชส์แบรนด์ดังของไทย เริ่มว่ากันด้วยเงินลงทุน ... หลักหลายแสน
ผมก็ถอยเช่นเคย ไม่ใช่ไม่สนใจซื้อ ผมสนใจมาก แต่ผมสนใจแบรนด์ใหญ่ที่ติดตลาด ซึ่งแบรนด์ดังเหล่านั้น ต้องใช้เงินทุนสูง ซึ่งผมมีเงินไม่มากพอที่จะซื้อแบรนด์ที่ผมสนใจ
จบ .... ยังยังไม่จบ แหม่ เขียนมาถึงขนาดนี้แล้ว อีกหน่อยเหอะ
ถ้าบอกว่าไม่มีเงินซื้อแฟรนไชส์แล้วจบเลิกคิด เลิกสนใจ ก็ไม่ใช่ผมสิครับ ใจผมใหญ่กว่านั้น ในผมคิดว่าเมื่อผมไม่มีเงินพอที่จะซื้อ ผมก็จะใช้เงินทีมีอยู่ “ลองสร้างระบบ” ของตัวเองขึ้นมา สร้างผลิตภัณฑ์ของผมขึ้นมา สร้างระบบการขายของตัวเอง สร้างระบบการผลิต สร้างระบบการเงิน สร้างระบบการความคุมคุณภาพ สร้างระบบการตรวจสอบไม่ใช้เงินรั่วไหล ค่อยๆสร้างมันไปเรื่อยๆให้ครอบให้ครอบคลุมมากพอ
ผมบอกเลยว่า ข้อจำกัดเรื่องเงิน มันหยุดให้ผมไม่ซื้อแฟรนไชส์ได้ แต่มันไม่สามารถหยุดให้ผมคิดที่จะสร้างระบบแฟรนไชน์ของตัวเองได้ เพราะด้วยเงินเพียงหลักแสน(ตามที่ผมคิด) น่าจะมากพอให้ผมสร้างร้านต้นแบบ ให้ผมทดลองระบบที่ผมคิดค้นได้
ผมจะกำลังสร้างโมเดลต้นแบบของผมจากข้างบ้านผมนี่ล่ะ แบบร่างงานออกแบบร้านผม (ไม่ขอเปิดเผยสถานที่และขอลบชื่อแบรนด์ออกนะครับ เพื่อความสบายใจของผม)
กว่าระบบนี้จะใช้งานได้ผมว่าน่าจะใช้เวลาทดลองอีกนับปี ณ ตอนนี้ผมต้องทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาร้านต้นแบบ แน่นอนว่าสิ่งที่ผมกำลังทำนี้คือ Active Income แต่เมื่อ ระบบของผมเสร็จสมบูรณ์และใช้งานได้ มันจะสร้าง Passive Income ให้ผมได้อีกทางหนึ่งแน่นอน ส่วนคำถามว่า มันจะไปรอด มันจะใช้งานได้หรือไม่ อันนี้ผมไม่ทราบ มันจะสำเร็จหรือเปล่าผมไม่แน่ใจ แต่ผมมั่นใจมากๆว่า ผมจะทำมันให้เต็มความสามารถที่ผมมีแน่นอน
สรุปส่งท้าย
จากที่กล่าวมาทั้งบทความนี้และบทความก่อน Passive Income นั้นสามารถทำได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งในแต่ละรูปแบบ เนื้อหานั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ถ้าสำเร็จผลปลายทางนั้นจะเหมือนกันคือ Passive Income ซึ่งเส้นทางนี้จะนำไปสู่อิสรภาพทางการเงิน .... เส้นทางนี้ไม่เคยง่ายและจะไม่ง่ายไปตลอดชีวิตของเรา ... จะมีก็แต่ความพยายามและความมุ่งมั่นที่แท้จริงเท่านั้นที่จะพาเราไปหามันได้ ... โชคดีร่ำรวยครับ
จบบริบูรณ์ครับ
…[^_^]…
ปล. ติดตามผลงานผมได้ในเพจนี้ครับ ... เพจคุยเรื่อยเปื่อยครับ
https://www.facebook.com/creativeshooter/