ส่องอารมณ์คนกรุง วิจารณ์แซ่บ!! "น้ำรอระบาย”
“ขออย่าเรียกว่าน้ำท่วม ขอให้เรียกน้ำรอระบาย เพราะถ้าน้ำท่วมต้องเป็นเหมือนปี 2554” เสียงจากผู้ว่าฯกทม. ที่กลายเป็นประเด็นวิพากษ์ในสังคม : ธนัชพงศ์ คงสาย รายงาน
“ขออย่าเรียกว่าน้ำท่วม ขอให้เรียกน้ำรอระบาย เพราะถ้าน้ำท่วมต้องเป็นเหมือนปี 2554” สิ้นเสียงจากผู้ว่าฯกทม.“ สุขุมพันธุ์ บริพัตร” ต่อถ้อยแถลงหลังการประชุมเพื่อรับสถานการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพฯ เมื่อ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา
กลายเป็นประเด็นวิพากษ์ในสังคมอีกครั้ง สำหรับการเลือกคำจำกัดความมา“อธิบาย” สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ ระหว่าง“น้ำท่วม-น้ำรอระบาย” ที่ออกมาจากหน่วยงานกรุงเทพมหานคร(กทม.) ว่าควรสื่อสารกับสังคมด้วยภาษาลักษณะใด เพราะไม่ใช่ครั้งแรกที่“สุขุมพันธุ์” ได้อธิบายถึงบริบทของสภาพน้ำท่วมทุกครั้งว่าไม่ใช่น้ำท่วมขัง แต่เป็นน้ำที่ต้อง“รอเวลา”ระบายออกไป ตามศักยภาพการระบายน้ำที่กทม.มีแต่ละพื้นที่
จากนั้นวันที่ 23 มิถุนายน ทวิตเตอร์ “ทีมงานสุขุมพันธุ์” @TeamSukhumbhand ได้ออกอธิบายย้ำว่า 1) ข้อแตกต่าง #น้ำท่วม #น้ำรอระบาย ทางเทคนิคหน่วยงานต้องแยก 2 คำนี้ให้ชัดเจน เพราะมีความหมายในการปฏิบัติและการเตรียมการที่ต่างกัน 2) #น้ำรอระบาย ถ้าบอกว่าน้ำขังรอระบายคือสถานการณ์ที่ควบคุมได้ สามารถใช้เครื่องมือช่วยระบายน้ำต่างๆ ออกจากพื้นที่ได้ 3) แต่ถ้าหน่วยงานบอกว่า #น้ำท่วม นั้นคือสถานการณ์ที่เอาไม่อยู่ ต้องมีการประกาศเขตอุทกภัย ประกาศให้มีการอพยพ 4) ถ้าหน่วยงานไม่แยกคำสองคำนี้ออกให้ชัดเจน การปฏิบัติการจะเกิดการสับสนมาก #น้ำท่วม #น้ำรอระบาย
ประโยค“น้ำรอระบาย” ถูกส่งเป็นนโยบายหลักให้คนกทม. ใช้สื่อสารกับประชาชนทุกช่องทางเมื่อเกิดเหตุน้ำท่วม เพื่อให้เห็นว่าหาก “น้ำท่วม” ต้องเป็นสภาพระดับน้ำในลำคลองสูงกว่าตลิ่ง เป็นน้ำในแม่น้ำมาที่ไหลมาจำนวนมาก หรือไหลบ่าล้นตลิ่ง ส่วนประโยค“น้ำรอระบาย”นั้น เป็นลักษณะฝนตกหนัก มีน้ำขังบนผิวดิน ผิวจราจร น้ำไหลลงคลองไม่ทัน เป็นน้ำที่สูงกว่าระดับน้ำในลำน้ำ หรือคลองเท่านั้น
ทว่าความเห็นในโลกออนไลน์ตลอดสัปดาห์ มีการติดแฮชแท็ก #น้ำขังรอการระบาย ถูกหยิบมาแซวเล่นเต็มหน้าฟีด โดยเฉพาะเวทีทวิตเตอร์ได้สะท้อนความเห็นหลากหลาย อาทิ ผู้ใช้ทวิตเตอร์ ชื่อ @thefinixize ได้เสนอว่า “ก็เรียกน้ำท่วมเถอะ มันไม่เสียหาย ท่วมเยอะท่วมน้อย สังคมรู้เอง แต่มาประดิษฐ์คำใช้เอง มันก็สะท้อนการแก้ปัญหาของ กทม.” ส่วนทวิตเตอร์ชื่อ @teeteekrub ระบุว่า “สำหรับผมมันก็คือน้ำท่วมไม่ใช่หรอครับ ผมว่ามันดูแถ แบบข้างๆคูๆ” ด้าน @KarmLtrumpet บอกว่า “ขอให้แถลงแต่ข้อเท็จจริง ไม่โยกโย้ ไม่แว้ง เตรียมความพร้อม รีบดำเนินการ ก็คงดี...กว่านี้” หรือจาก @Natty_Kanyarath “ไม่ได้คิดยังไงค่ะ เพราะไม่ว่าจะเรียกอะไรสุดท้ายผลมันก็คือเดือดร้อนเหมือนกันค่ะ”
การประดิษฐ์คำลักษณะนี้ ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองว่า เป็นการใช้วาทกรรมเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความรู้สึกของคน อย่างเช่นที่ผ่านมาช่วงมีม็อบที่ต้องการเข้าไปเคลียร์ กลับใช้คำว่ากระชับพื้นที่ เพื่อให้ผู้รับสารไม่มีความรู้สึกเหมือนการใช้คำในลักษณะเดิม ซึ่งการใช้คำเหล่านี้ต้องดูบริบทว่าแทนความรู้สึกของผู้รับสาร ตามที่ผู้ส่งสารมีเจตนาได้หรือไม่ เพราะเมื่อใช้คำเหล่านี้ไปแล้วจะเป็นการตอกย้ำความรู้สึกทางลบให้กับผู้ใดที่ได้รับผลกระทบมากกว่า ขณะเดียวกันความเข้าใจทั่วกันกับผู้คน เกี่ยวกับเรื่องภาษาหรือคำพูดก็เป็นรูปแบบการสื่อสารหนึ่ง ซึ่งภาษาไทยมีความละเอียดอ่อนในการใช้ หากมีการตีความจากคนส่วนใหญ่ อาจจะไม่ถูกกับความรู้สึกของคนได้ ดังนั้นปัญหานี้ไม่เกี่ยวกับการใช้คำ แต่กทม.ควรออกมาชี้แจงและเร่งแก้ปัญหาว่าเป็นอย่างไร เกิดจากสาเหตุไหนมากกว่าการใช้คำพูด ที่เลี่ยงมาใช้คำว่าน้ำรอการระบาย
ขณะที่อาจารย์การดา ร่วมพุ่ม รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เห็นว่า ในขณะที่ประชาชนเดือดร้อนจากความรู้สึกว่าการเตรียมความพร้อมป้องกันน้ำท่วมยังไม่เกิดขึ้น เมื่อมาเจอคำลักษณะนี้เป็นเหมือนการไม่ยอมรับผิด อีกทั้งคำว่าน้ำรอการระบายที่กทม.สื่อสารออกมาเป็นคนละนัยยะที่สื่อสารกับฝ่ายปฏิบัติกับประชาชน ซึ่งเข้าใจว่าฝ่ายปฏิบัติจะเข้าใจได้เพราะเป็นคำเฉพาะที่สื่อสารกับภายใน แต่ประชาชนไม่ได้มีความเข้าใจกับคำลักษณะนี้ไปด้วย เพราะประชาชนกำลังเข้าใจอย่างเดียวว่ากำลังเดือดร้อน มีน้ำท่วมอยู่ ไม่ใช่น้ำรอการระบาย จากนั้นเมื่อคำนี้ถูกสื่อสารออกมา ความรู้สึกของคนจึงไม่เป็นทางบวก ทุกครั้งที่มีน้ำท่วมทุกคนก็คาดหวังว่ากทม.จะทำได้หรือไม่ แต่เมื่อทำไม่ได้จากทัศนคติที่เป็นลบอยู่แล้ว เมื่อมีคำนี้ขึ้นมาก็เป็นความรู้สึกในเชิงลบมากขึ้นไปอีก กับการเลี่ยงความรับผิดชอบด้วยคำว่าน้ำท่วมกับน้ำรอการระบาย
“ในเชิงการสื่อสาร หรือการกำหนดทางวัจนภาษา ต้องเป็นคำที่เข้าใจตรงกันทุกฝ่าย ไม่นั้นจะเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน แต่คำแบบนี้เป็นการพยายามลดกระแสของปัญหาที่กำลังเกิด แต่ความรู้สึกของประชาชนไม่ได้ลดลงด้วยเลย ยิ่งมีคำนี้ออกมาความรู้สึกยิ่งแย่ลง เพราะไปขัดกับความรู้สึกของคน และเป็นเหมือนการบิดเบือนความรู้สึกของประชาชนไปด้วย”
“ชัชวาลย์ เสียงสุทธิวงศ์” อายุ 33 ปี เจ้าของธุรกิจส่วนตัว ย่านเสาชิงช้า มองว่า คำว่าน้ำท่วมที่เข้าใจมาตั้งแต่เกิด คือน้ำที่มาจากเหตุฝนตกอย่างหนัก และน้ำป่าไหลหลาก ไม่สามารถรับมือได้ ถึงจะเรียกว่าน้ำท่วม ส่วนน้ำรอระบายเป็นคำพูดของผู้ว่าฯกทม.คนเดียว หรือเป็นศัพท์ทางวิชาการที่ทั่วโลกใช้กันหรือไม่ อาจทำให้ประชาชนมีความสับสนต่อการติดตามข่าวสาร จึงคิดว่าเป็นการเลี่ยงการใช้คำมากกว่า หากมีน้ำท่วมถึงแม้จะระบายได้ช้า แต่ใช้คำว่าน้ำท่วมก็จะมีความเข้าใจสถานการณ์มากกว่า เพราะคงไม่มีน้ำที่ไหนมันท่วมขังอยู่แล้ว ในเรื่องน้ำท่วมมีความเข้าใจว่า ผู้ว่าฯกทม.สมัยไหน ก็แก้ปัญหานี้ลำบาก แต่อยากให้การสื่อสารระหว่างกทม.กับประชาชนให้ตรงข้อเท็จจริง โดยไม่จำเป็นต้องใช้คำว่าน้ำรอระบาย เพราะเป็นคำที่ดูตลกมากกว่าคำอธิบายที่มาจากทางวิชาการด้วยซ้ำ
“ถ้าจะบอกว่าน้ำท่วมปี 2554 ก็ไม่ใช่น้ำท่วม แต่เป็นน้ำรอการระบายเช่นกัน เพราะถ้าไม่ระบายคงท่วมถึงทุกวันนี้ ฉะนั้นไม่เกี่ยวกับการใช้คำจำกัดความ แต่เกี่ยวกับเจตนาที่จะสื่อสารกับประชาชนอย่างจริงใจมากแค่ไหนเท่านั้น”ชัชวาลย์ระบุ
"ปภาณิน บุญหล้า” พนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เห็นว่า คำว่าน้ำรอระบายตามที่ผู้ว่าฯกทม.นำมาใช้ ในความคิดเห็นส่วนตัวมองว่าเป็นคำแก้ตัวมากกว่าการตั้งใจแก้ปัญหาด้วยความจริงใจ เพราะแค่เปลี่ยนคำจากน้ำท่วม เป็นน้ำรอระบาย ไม่ได้ช่วยให้ประชาชนรู้สึกดีขึ้น และปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ก็เป็นปัญหาที่คาราคาซังมาหลายสิบปีไม่ว่าจะผู้ว่าฯกทม.สมัยไหน ก็ไม่เคยแก้ปัญหาได้ถาวร เพราะฉะนั้น การสื่อสารที่แจ้งกับประชาชน ควรเป็นข้อมูลที่แท้จริง ไม่ใช่ใช้คำสวยหรูดูดี แต่ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข เพราะอย่างไรน้ำท่วมก็คือน้ำท่วม ซึ่งคนทุกระดับจะมีความเข้าใจตรงกันหมด
“การที่ใช้คำรอน้ำระบาย เป็นอะไรที่ไม่เมคเซ้นท์ ซึ่งทางกทม. ก็ควรยอมรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และรีบเร่งแก้ปัญหา เพราะปัญหาการระบายน้ำของกทม. ไม่ใช่เรื่องใหม่ อยากให้ท่านผู้ว่าฯกทม.คิดและทบทวนถึงต้นตอของปัญหา คิดกระบวนการแก้ไขที่ถูกทาง ในกรุงเทพฯจะได้ไม่เกิดวิกฤติเวลาฝนตก น้ำท่วมขัง และจะได้ไม่ต้องมีคำศัพท์ใหม่ๆ ที่ถูกสร้างสรรค์ออกมา นอกเหนือจากคำว่าน้ำรอการระบาย”
ทั้งหมดจึงเป็นเสียงสะท้อนจากผู้รับสารต่อวาทกรรม“น้ำรอการระบาย” ที่สื่อสารกลับไปยังกทม. ซึ่งเสียงสะท้อนทั้งหมด จะถูกส่งเป็นบรรทัดฐานให้ “ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่” ได้พิจารณาเดินหน้าหรือยกเลิกการใช้ภาษาลักษณะนี้ เพื่อแสดงเจตนาที่มีต่อประชาชนในการแก้ปัญหา“น้ำท่วม”นั่นเอง
http://www.komchadluek.net/news/regional/231110
ทำไมคนเสื้อแดง ประดิษประดอย คำพูดไม่เก่ง เหมือน วิษณุ และพรรคปชป
“ขออย่าเรียกว่าน้ำท่วม ขอให้เรียกน้ำรอระบาย เพราะถ้าน้ำท่วมต้องเป็นเหมือนปี 2554” เสียงจากผู้ว่าฯกทม. ที่กลายเป็นประเด็นวิพากษ์ในสังคม : ธนัชพงศ์ คงสาย รายงาน
“ขออย่าเรียกว่าน้ำท่วม ขอให้เรียกน้ำรอระบาย เพราะถ้าน้ำท่วมต้องเป็นเหมือนปี 2554” สิ้นเสียงจากผู้ว่าฯกทม.“ สุขุมพันธุ์ บริพัตร” ต่อถ้อยแถลงหลังการประชุมเพื่อรับสถานการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพฯ เมื่อ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา
กลายเป็นประเด็นวิพากษ์ในสังคมอีกครั้ง สำหรับการเลือกคำจำกัดความมา“อธิบาย” สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ ระหว่าง“น้ำท่วม-น้ำรอระบาย” ที่ออกมาจากหน่วยงานกรุงเทพมหานคร(กทม.) ว่าควรสื่อสารกับสังคมด้วยภาษาลักษณะใด เพราะไม่ใช่ครั้งแรกที่“สุขุมพันธุ์” ได้อธิบายถึงบริบทของสภาพน้ำท่วมทุกครั้งว่าไม่ใช่น้ำท่วมขัง แต่เป็นน้ำที่ต้อง“รอเวลา”ระบายออกไป ตามศักยภาพการระบายน้ำที่กทม.มีแต่ละพื้นที่
จากนั้นวันที่ 23 มิถุนายน ทวิตเตอร์ “ทีมงานสุขุมพันธุ์” @TeamSukhumbhand ได้ออกอธิบายย้ำว่า 1) ข้อแตกต่าง #น้ำท่วม #น้ำรอระบาย ทางเทคนิคหน่วยงานต้องแยก 2 คำนี้ให้ชัดเจน เพราะมีความหมายในการปฏิบัติและการเตรียมการที่ต่างกัน 2) #น้ำรอระบาย ถ้าบอกว่าน้ำขังรอระบายคือสถานการณ์ที่ควบคุมได้ สามารถใช้เครื่องมือช่วยระบายน้ำต่างๆ ออกจากพื้นที่ได้ 3) แต่ถ้าหน่วยงานบอกว่า #น้ำท่วม นั้นคือสถานการณ์ที่เอาไม่อยู่ ต้องมีการประกาศเขตอุทกภัย ประกาศให้มีการอพยพ 4) ถ้าหน่วยงานไม่แยกคำสองคำนี้ออกให้ชัดเจน การปฏิบัติการจะเกิดการสับสนมาก #น้ำท่วม #น้ำรอระบาย
ประโยค“น้ำรอระบาย” ถูกส่งเป็นนโยบายหลักให้คนกทม. ใช้สื่อสารกับประชาชนทุกช่องทางเมื่อเกิดเหตุน้ำท่วม เพื่อให้เห็นว่าหาก “น้ำท่วม” ต้องเป็นสภาพระดับน้ำในลำคลองสูงกว่าตลิ่ง เป็นน้ำในแม่น้ำมาที่ไหลมาจำนวนมาก หรือไหลบ่าล้นตลิ่ง ส่วนประโยค“น้ำรอระบาย”นั้น เป็นลักษณะฝนตกหนัก มีน้ำขังบนผิวดิน ผิวจราจร น้ำไหลลงคลองไม่ทัน เป็นน้ำที่สูงกว่าระดับน้ำในลำน้ำ หรือคลองเท่านั้น
ทว่าความเห็นในโลกออนไลน์ตลอดสัปดาห์ มีการติดแฮชแท็ก #น้ำขังรอการระบาย ถูกหยิบมาแซวเล่นเต็มหน้าฟีด โดยเฉพาะเวทีทวิตเตอร์ได้สะท้อนความเห็นหลากหลาย อาทิ ผู้ใช้ทวิตเตอร์ ชื่อ @thefinixize ได้เสนอว่า “ก็เรียกน้ำท่วมเถอะ มันไม่เสียหาย ท่วมเยอะท่วมน้อย สังคมรู้เอง แต่มาประดิษฐ์คำใช้เอง มันก็สะท้อนการแก้ปัญหาของ กทม.” ส่วนทวิตเตอร์ชื่อ @teeteekrub ระบุว่า “สำหรับผมมันก็คือน้ำท่วมไม่ใช่หรอครับ ผมว่ามันดูแถ แบบข้างๆคูๆ” ด้าน @KarmLtrumpet บอกว่า “ขอให้แถลงแต่ข้อเท็จจริง ไม่โยกโย้ ไม่แว้ง เตรียมความพร้อม รีบดำเนินการ ก็คงดี...กว่านี้” หรือจาก @Natty_Kanyarath “ไม่ได้คิดยังไงค่ะ เพราะไม่ว่าจะเรียกอะไรสุดท้ายผลมันก็คือเดือดร้อนเหมือนกันค่ะ”
การประดิษฐ์คำลักษณะนี้ ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองว่า เป็นการใช้วาทกรรมเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความรู้สึกของคน อย่างเช่นที่ผ่านมาช่วงมีม็อบที่ต้องการเข้าไปเคลียร์ กลับใช้คำว่ากระชับพื้นที่ เพื่อให้ผู้รับสารไม่มีความรู้สึกเหมือนการใช้คำในลักษณะเดิม ซึ่งการใช้คำเหล่านี้ต้องดูบริบทว่าแทนความรู้สึกของผู้รับสาร ตามที่ผู้ส่งสารมีเจตนาได้หรือไม่ เพราะเมื่อใช้คำเหล่านี้ไปแล้วจะเป็นการตอกย้ำความรู้สึกทางลบให้กับผู้ใดที่ได้รับผลกระทบมากกว่า ขณะเดียวกันความเข้าใจทั่วกันกับผู้คน เกี่ยวกับเรื่องภาษาหรือคำพูดก็เป็นรูปแบบการสื่อสารหนึ่ง ซึ่งภาษาไทยมีความละเอียดอ่อนในการใช้ หากมีการตีความจากคนส่วนใหญ่ อาจจะไม่ถูกกับความรู้สึกของคนได้ ดังนั้นปัญหานี้ไม่เกี่ยวกับการใช้คำ แต่กทม.ควรออกมาชี้แจงและเร่งแก้ปัญหาว่าเป็นอย่างไร เกิดจากสาเหตุไหนมากกว่าการใช้คำพูด ที่เลี่ยงมาใช้คำว่าน้ำรอการระบาย
ขณะที่อาจารย์การดา ร่วมพุ่ม รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เห็นว่า ในขณะที่ประชาชนเดือดร้อนจากความรู้สึกว่าการเตรียมความพร้อมป้องกันน้ำท่วมยังไม่เกิดขึ้น เมื่อมาเจอคำลักษณะนี้เป็นเหมือนการไม่ยอมรับผิด อีกทั้งคำว่าน้ำรอการระบายที่กทม.สื่อสารออกมาเป็นคนละนัยยะที่สื่อสารกับฝ่ายปฏิบัติกับประชาชน ซึ่งเข้าใจว่าฝ่ายปฏิบัติจะเข้าใจได้เพราะเป็นคำเฉพาะที่สื่อสารกับภายใน แต่ประชาชนไม่ได้มีความเข้าใจกับคำลักษณะนี้ไปด้วย เพราะประชาชนกำลังเข้าใจอย่างเดียวว่ากำลังเดือดร้อน มีน้ำท่วมอยู่ ไม่ใช่น้ำรอการระบาย จากนั้นเมื่อคำนี้ถูกสื่อสารออกมา ความรู้สึกของคนจึงไม่เป็นทางบวก ทุกครั้งที่มีน้ำท่วมทุกคนก็คาดหวังว่ากทม.จะทำได้หรือไม่ แต่เมื่อทำไม่ได้จากทัศนคติที่เป็นลบอยู่แล้ว เมื่อมีคำนี้ขึ้นมาก็เป็นความรู้สึกในเชิงลบมากขึ้นไปอีก กับการเลี่ยงความรับผิดชอบด้วยคำว่าน้ำท่วมกับน้ำรอการระบาย
“ในเชิงการสื่อสาร หรือการกำหนดทางวัจนภาษา ต้องเป็นคำที่เข้าใจตรงกันทุกฝ่าย ไม่นั้นจะเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน แต่คำแบบนี้เป็นการพยายามลดกระแสของปัญหาที่กำลังเกิด แต่ความรู้สึกของประชาชนไม่ได้ลดลงด้วยเลย ยิ่งมีคำนี้ออกมาความรู้สึกยิ่งแย่ลง เพราะไปขัดกับความรู้สึกของคน และเป็นเหมือนการบิดเบือนความรู้สึกของประชาชนไปด้วย”
“ชัชวาลย์ เสียงสุทธิวงศ์” อายุ 33 ปี เจ้าของธุรกิจส่วนตัว ย่านเสาชิงช้า มองว่า คำว่าน้ำท่วมที่เข้าใจมาตั้งแต่เกิด คือน้ำที่มาจากเหตุฝนตกอย่างหนัก และน้ำป่าไหลหลาก ไม่สามารถรับมือได้ ถึงจะเรียกว่าน้ำท่วม ส่วนน้ำรอระบายเป็นคำพูดของผู้ว่าฯกทม.คนเดียว หรือเป็นศัพท์ทางวิชาการที่ทั่วโลกใช้กันหรือไม่ อาจทำให้ประชาชนมีความสับสนต่อการติดตามข่าวสาร จึงคิดว่าเป็นการเลี่ยงการใช้คำมากกว่า หากมีน้ำท่วมถึงแม้จะระบายได้ช้า แต่ใช้คำว่าน้ำท่วมก็จะมีความเข้าใจสถานการณ์มากกว่า เพราะคงไม่มีน้ำที่ไหนมันท่วมขังอยู่แล้ว ในเรื่องน้ำท่วมมีความเข้าใจว่า ผู้ว่าฯกทม.สมัยไหน ก็แก้ปัญหานี้ลำบาก แต่อยากให้การสื่อสารระหว่างกทม.กับประชาชนให้ตรงข้อเท็จจริง โดยไม่จำเป็นต้องใช้คำว่าน้ำรอระบาย เพราะเป็นคำที่ดูตลกมากกว่าคำอธิบายที่มาจากทางวิชาการด้วยซ้ำ
“ถ้าจะบอกว่าน้ำท่วมปี 2554 ก็ไม่ใช่น้ำท่วม แต่เป็นน้ำรอการระบายเช่นกัน เพราะถ้าไม่ระบายคงท่วมถึงทุกวันนี้ ฉะนั้นไม่เกี่ยวกับการใช้คำจำกัดความ แต่เกี่ยวกับเจตนาที่จะสื่อสารกับประชาชนอย่างจริงใจมากแค่ไหนเท่านั้น”ชัชวาลย์ระบุ
"ปภาณิน บุญหล้า” พนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เห็นว่า คำว่าน้ำรอระบายตามที่ผู้ว่าฯกทม.นำมาใช้ ในความคิดเห็นส่วนตัวมองว่าเป็นคำแก้ตัวมากกว่าการตั้งใจแก้ปัญหาด้วยความจริงใจ เพราะแค่เปลี่ยนคำจากน้ำท่วม เป็นน้ำรอระบาย ไม่ได้ช่วยให้ประชาชนรู้สึกดีขึ้น และปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ก็เป็นปัญหาที่คาราคาซังมาหลายสิบปีไม่ว่าจะผู้ว่าฯกทม.สมัยไหน ก็ไม่เคยแก้ปัญหาได้ถาวร เพราะฉะนั้น การสื่อสารที่แจ้งกับประชาชน ควรเป็นข้อมูลที่แท้จริง ไม่ใช่ใช้คำสวยหรูดูดี แต่ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข เพราะอย่างไรน้ำท่วมก็คือน้ำท่วม ซึ่งคนทุกระดับจะมีความเข้าใจตรงกันหมด
“การที่ใช้คำรอน้ำระบาย เป็นอะไรที่ไม่เมคเซ้นท์ ซึ่งทางกทม. ก็ควรยอมรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และรีบเร่งแก้ปัญหา เพราะปัญหาการระบายน้ำของกทม. ไม่ใช่เรื่องใหม่ อยากให้ท่านผู้ว่าฯกทม.คิดและทบทวนถึงต้นตอของปัญหา คิดกระบวนการแก้ไขที่ถูกทาง ในกรุงเทพฯจะได้ไม่เกิดวิกฤติเวลาฝนตก น้ำท่วมขัง และจะได้ไม่ต้องมีคำศัพท์ใหม่ๆ ที่ถูกสร้างสรรค์ออกมา นอกเหนือจากคำว่าน้ำรอการระบาย”
ทั้งหมดจึงเป็นเสียงสะท้อนจากผู้รับสารต่อวาทกรรม“น้ำรอการระบาย” ที่สื่อสารกลับไปยังกทม. ซึ่งเสียงสะท้อนทั้งหมด จะถูกส่งเป็นบรรทัดฐานให้ “ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่” ได้พิจารณาเดินหน้าหรือยกเลิกการใช้ภาษาลักษณะนี้ เพื่อแสดงเจตนาที่มีต่อประชาชนในการแก้ปัญหา“น้ำท่วม”นั่นเอง
http://www.komchadluek.net/news/regional/231110