กรณีธรรมกาย : มโน เลาหวณิช ประวัติเชิงลึก
มโน เลาหวณิช เข้ามาอบรมธรรมทายาท ที่วัดพระธรรมกาย รุ่น 3 ในช่วงที่ศึกษาอยู่มัธยมศึกษาตอนปลาย จากนั้นก็มาวัดโดยตลอดต่อเนื่อง ระหว่างเรียนเคยเป็น อาสาสมัคร ช่วยงานจราจรของทางวัด
และเป็นประธานชมรมพุทธศาสน์และประเพณี จุฬาฯ ปี 2521 เมื่อเรียนจบก็มาบวช โดยหลวงพ่อธัมมชโยเป็นคนบอกบุญใช้ทุนให้
มโน เลาหวณิช
อุปสมบท ในปี 2525 ที่พระอุโบสถวัดปากน้ำภาษีเจริญ โดยมี พระธรรมธีรราชมหามุนี (ตำแหน่งในขณะนั้น) เจ้าอาวาส วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์ แม้ว่าคุณยายมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงจะทัดทานว่าวันหนึ่งพระมโนนี้จะนำความเดือดร้อนมาสู่หมู่คณะ
เนื่องจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยและพระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตชีโวเห็นแววพระมโนมาตั้งแต่สมัยที่มาอบรมเป็นธรรมทายาทว่ามีความเฉลียวฉลาด พูดจาฉะฉาน กล้าซักถามแสดงความเห็น เลยคิดว่าหากส่งเสริมให้ได้เรียนรู้ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป คงจะเป็นประโยชน์กับพระศาสนาในภายหน้า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวบรวมรวมคำสอนโบราณของพระพุทธศาสนาที่กระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ หลังจากยุคล่าอาณานิคม โดยเฉพาะแหล่งที่เก็บคัมภีร์คำสอนเก่าๆ ทางพระพุทธศาสนาที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ที่มหาวิทยาลัย Oxford ประเทศอังกฤษ
จึงพยายามทำทุกอย่างเพื่อสนับสนุนให้ พระมโน เมตตานนฺโท(ฉายาในขณะนั้น) ได้เล่าเรียนศึกษาอย่างเต็มที่ โดยอาศัยเจ้าภาพของวัดเป็นคนดูแลเช่น คุณอาวัลลภา คุณอาสมถวิล บุนนาค และอีกหลายๆ ท่านซึ่งเต็มใจดูแลพระมโน
เนื่องจากเห็นว่าเป็นความประสงค์ของหลวงพ่อธัมมชโยเพื่อประโยชน์ของพระศาสนา โดยเฉพาะคุณอาวัลลภาที่ทุ่มเทเอาใจใส่ยิ่งกว่าลูกของตัวเอง
ได้มีการจัดหาครูฝรั่งที่เก่งที่สุดจากโรงเรียนจิตรลดามาสอนภาษาอังกฤษให้เป็นการส่วนตัว เพื่อปูพื้นฐานภาษาก่อนที่จะไปเรียนต่อยังประเทศอังกฤษ
จากนั้นคุณอาวัลลภา และคุณอาสมถวิลเป็นคนไปขอจดหมายรับรองจาก พณฯ ท่าน พลตรี มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ตามคำร้องขอของพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยเพื่อใช้ในการไปเข้าเรียนของพระมโนที่มหาวิทยาลัย Oxford สหราชอาณาจักร
ในระหว่างเรียนทางวัดพระธรรมกายได้รวบรวมปัจจัยส่งเสียให้ โดยขณะนั้นพระภิกษุทั้งวัดต้องยอมที่จะอยู่อย่างกระเบียดกระเสียรเพื่อรวบรวมปัจจัยส่งไปให้เป็นค่าใช้จ่ายในความเป็นอยู่และศึกษาเล่าเรียนของพระมโน
แม้อาหารการกินแทบจะไม่พอขบฉันแต่พระภิกษุของวัดพระธรรมกายทุกรูปในขณะนั้นต่างก็อดทน โดยเชื่อมั่นว่าพระมโนจะเรียนจบกลับมาทำประโยชน์ให้แก่พระศาสนา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรวบรวมตำราและเอกสารโบราณในทางพระพุทธศาสนาเอามาใช้งานศึกษาเปรียบเทียบคำสอนในยุคต่างๆ ให้คำสอนของพระพุทธศาสนาที่ถูกบันทึกไว้ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามดำริของพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย
โดยมีคุณอาสมถวิลเป็นผู้จัดหาสิ่งของที่พระมโนต้องการรวมไปถึงการโอนเงินข้ามประเทศไปให้ใช้แม้ว่าจะต้องเดินทางไปกลับเพื่อมารับปัจจัยถึงที่วัดจากกรุงเทพฯ ทุกครั้งที่พระมโนแจ้งมาก็ตามที
พระมโนเป็นพระที่ค่อนข้างเอาแต่ใจ ไม่ค่อยทำตามกฎตามเกณฑ์ของหมู่คณะมากนัก โดยมีความเป็นอยู่แปลกแยก ตัวอย่างเช่นไม่ฉันรวมกับผู้อื่นแม้ว่ากฎระเบียบของวัดพระธรรมกายจะให้พระฉันรวมกันที่หอฉันก็ตาม
เนื่องจากว่าการที่ออกไปอยู่คนเดียวเป็นเวลานานๆ จากต่างประเทศความคุ้นเคยกับพระรูปอื่นจึงมีน้อย หลังจากเรียบจบกลับมาก็ให้ความเห็นว่าระบบของวัดพระธรรมกายน่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพราะการดูแลปกครองของวัดพระธรรมกายในยุคก่อนจะใช้วิธีดูแลกันตามอายุการบวช
เมื่องานขยายตัวมากขึ้นตามจำนวนคนที่เข้ามาวัด พระมโนจึงมีความเห็นว่าควรที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารเลยเสนอแนวทางปรับเปลี่ยนจากระบบเดิมมาเป็นสภาธรรมกายสากล มีการแบ่งงานดูแลเป็นหน่วยงานต่างๆ แล้วก็ทิ้งให้พระที่อยู่ประจำหาผู้ที่เชี่ยวชาญมาช่วยกันคิด
โดยได้คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมาช่วยในการเปลี่ยนโครงสร้าง จนทำให้การบริหารของวัดพระธรรมกายดูไม่เหมือนวัดอื่นนัก แต่ในความเป็นจริงระบบที่วางก็ตรงตามคำสอนในพระไตรปิฎกที่จะมีพระผู้เป็นใหญ่ในด้านต่างๆ เป็นคนรับผิดชอบตามงานที่แตกต่างกันไป
แม้ว่าไม่เคยลงมือช่วยคิดการวางโครงสร้างการบริหาร
แต่ทว่าแม้ถึงวันนี้นายมโนก็ยังแอบอ้างเครดิตตรงนี้
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นผู้ออกความคิดเห็นเพียงเท่านั้น
แล้วไม่เคยอยู่จำพรรษาที่วัดพระธรรมกายเลยแม้แต่พรรษาเดียว
หลังจากกลับมาแล้วก็ไม่เคยที่จะเข้าไปขอบคุณหรือข้องเกี่ยวกับผู้ที่เคยมีบุญคุณ
เมื่อความเป็นอยู่เข้ากับผู้อื่นไม่ได้ประกอบกับมานะที่มีมาแต่เดิมทำให้พระมโนหลงในตนรู้สึกว่าตัวเองฉลาดกว่าผู้อื่นรวมไปถึงเจ้าอาวาสและรองเจ้าอาวาสซึ่งมีพระคุณกับเค้าเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ไม่ยอมรับระบบที่ตนเองได้มีส่วนออกความคิดเห็นเอาไว้
จนกระทบกระทั่งกับพระรูปอื่นๆ แทบทุกรูปที่อยู่ใกล้ๆ เนื่องจากนิสัยยกตนข่มท่านที่มีอยู่ จนเป็นที่เอือมระอาจากพระรูปอื่นๆ ที่อยู่ในวัดพระธรรมกาย จนท้ายที่สุดผลของการกระทบกระทั่งทำให้ต้องทนอยู่กับระบบของสภาธรรมกายสากลไม่ได้
อีกทั้งได้ไปเกี่ยวข้องกับคดีความที่เกี่ยวกับเหตุฆาตกรรมที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นข่าวโด่งดังโดยไม่ฟังเสียงทัดทานจากพระภาวนาวิริยคุณ หลวงพ่อทัตตชีโวซึ่งได้ตักเตือนไว้
(อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก กรณีนายมโน เลาหวณิช เกี่ยวกับเหตุการณ์ฆาตกรรม)
รวมไปถึงการที่ท่านไม่อนุญาตให้พระมโนเดินทางไปสัมมนาที่ประเทศอียิปต์ด้วยเกรงว่าจะไปกระทบกับเพื่อนศาสนิกของศาสนาอื่นทำให้
พระมโนไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง จึงทำจดหมายลาออกจากองค์กร(สภาธรรมกายสากล)ในปี 2537
จากนั้นไม่นานก็ขอให้คุณหญิงท่านหนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนกับโยมแม่ของพระมโนในขณะนั้นมาขอให้ทางวัดรับกลับเข้าสังกัดอีกทีซึ่ง พระภาวนาวิริยคุณ(หลวงพ่อทัตตชีโว)ได้ปฏิเสธไปเนื่องจากเกรงว่าจะเสียระบบการปกครอง
พระมโนได้ไปขออาศัยอยู่ที่วัดราชโอรสารามซึ่งพระธรรมกิตติวงศ์(พระมหาโพธิวงศาจารย์)ก็ได้รับไว้ โดยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยก็ยังมอบหมายให้โยมอุปัฏฐากมาช่วยดูแลอยู่เช่นเดิม
ซึ่งในระหว่างที่พักอยู่ที่วัดราชโอรสารามนั้นก็เข้ากับใครไม่ได้เช่นเคย จนมาวันหนึ่งได้เขียนหนังสือที่ชื่อว่าเหตุเกิด พศ.๑ ขึ้น จนทำให้พระภิกษุหลายต่อหลายรูปออกมาตำหนิในงานเขียน ซึ่งดูเหมือนประหนึ่งจะหมิ่นพระพุทธองค์
ทำให้เจ้าคุณพระธรรมกิตติวงศ์ท่านต้องออกมาตักเตือนโดยยื่นคำขาดว่าหากกระทำเช่นนั้นอีกจะให้ออกจากวัด จนท้ายที่สุดก็ออกงานเขียนมาอีกหนึ่งเล่มซึ่งก็เกิดผลกระทบในลักษณะเช่นเดิมทำให้พระธรรมกิตติวงศ์ท่านต้องทวงสัญญาที่เคยให้ไว้ ทำให้พระมโนจำต้องย้ายออกจากวัดราชโอรสารามไป
แล้วก็ไปอยู่ที่วัดนาคปรกโดยอาศัยเครดิตของวัดพระธรรมกายให้เจ้าอาวาสท่านรับไว้
ขณะที่อยู่วัดนาคปรกพระมโนก็ได้มีกิริยาท่าทีที่ล่วงเกินสมเด็จพระมหาธีราจารย์(วัดชนะสงคราม)เจ้าคณะใหญ่หนกลาง จนเจ้าคณะผู้ปกครองชั้นรองๆ ลงมาตามเจ้าอาวาสวัดนาคปรกไปตักเตือนเนื่องจากไม่ดูแลพระที่อยู่ในสังกัด
อีกทั้งพระมโนทำผิดกฎของวัดนาคปรกโดยไม่ยอมไปลงปาฏิโมกข์กับหมู่สงฆ์ของวัดนาคปรกเกิน ๓ ครั้ง ทำให้ต้องถูกให้ออกจากวัด เลยให้โยมที่สนิทฟ้องเจ้าอาวาสวัดนาคปรกในข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบซึ่งมาแพ้คดีในช่วงปีที่ผ่านมานี้เอง
หลังจากที่ออกมาจากวัดนาคปรกทราบข่าวว่าพระมโนได้ไปอาศัยในอพาทเม้นท์แห่งหนึ่งซึ่งได้จัดไว้สำหรับอาจารย์ของสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงย่านปทุมวันที่เค้าได้ไปเป็นอาจารย์พิเศษ เนื่องจากไม่มีวัดไหนยอมรับเข้า
พระมโนได้เคยไปขออาศัยที่วัดชีไหลซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาของวัดฝอกวงซันอันเป็นวัดพี่วัดน้องกับวัดพระธรรมกายก็ถูกปฏิเสธเนื่องจากไม่มีจดหมายรับรองจากทางต้นสังกัดเดิมคือวัดพระธรรมกาย แล้วก็ได้ลาสิกขาไปจะด้วยเหตุผลใดไม่ทราบแน่ชัด
จากนั้นก็เสนอชื่อตัวเองเข้าเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคชาติไทย ซึ่งก็ไม่ได้รับการรับเลือก และได้เข้าไปทำงานในหนังสือพิมพ์เครือ MGR อยู่ช่วงหนึ่ง จากนั้นก็ไม่ปรากฎว่าไปอยู่ที่ไหนอีกพักใหญ่
ทราบข่าวว่าเคยไปทำงานที่มหาวิทยาลัยใหญ่แห่งหนึ่งย่านบางนาซึ่งทางภราดาที่ดูแลก็เมตตาช่วยแนะนำให้ได้ไปสอนในมหาวิทยาลัยสงฆ์จนไปกระทบกับทีมงานคณาจารย์ที่สอนอยู่ก่อนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง
ซึ่งทางภราดาผู้นั้นก็ได้เดินทางมาที่วัดพระธรรมกายเพื่อให้ข้อมูล พร้อมทั้งเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทางวัดในกรณีนายมโน
จากนั้นมโน เลาหวณิชก็เข้ามาสมัครเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่สถาบันปรีดีฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ซึ่งต่อมานายมโนได้ขอให้ทางมหาวิทยาลัยอนุมัติสั่งซื้อหนังสือประกอบการเรียนการสอนของเขาซึ่งเป็นหนังสือที่ห้ามจำหน่ายในประเทศไทย
จนทำให้สถาบันปรีดีฯ รู้สึกและรับทราบถึงความไม่ชอบมาพากลของนายมโน โดยมีการติดต่อมาขอข้อมูลเพิ่มเติมจากวัดพระธรรมกายเพื่อประกอบการพิจารณา
หลังจากนั้นประวัติก็ไม่แน่ชัดว่าเขาไปทำอะไรที่ไหนต่อ มาปรากฎเป็นข่าวอีกทีเมื่อมาแถลงข่าวโดยใช้สถานที่ของโรงพยาบาลกรุงเทพซึ่งทางโรงพยาบาลได้ออกมาประกาศว่านายมโมไม่ได้เป็นนายแพทย์ของโรงพยาบาล
ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่านายมโนไปทำงานที่ไหนอย่างชัดเจน มีข่าวคราวปรากฏเป็นระยะเพื่อโจมตีใส่ร้ายวัดพระธรรมกาย รวมไปถึงการที่จะฟ้องพระภาวนาวิริยคุณ(หลวงพ่อทัตตชีโว)อีกด้วยแต่ก็เงียบหายไป
ซึ่งจะว่าไปประวัติในช่วงนี้ของนายมโนจะคลุมเครือมากๆ หากพิจารณากันตรงตามจริงแล้วจะน่าสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่าบุคคลผู้นี้ทำมาหากินอะไรกันแน่
ทราบข่าวจากบุคคลที่เชื่อถือได้ว่านายมโนชอบไปร่วมงานสังสรรค์ต่างๆ ที่มีบุคคลที่มีชื่อเสียงไปรวมตัวกันเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างเครดิตให้กับตัวเอง แม้ว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานนั้นก็ตามที
อีกทั้งยังชอบไปตามงานสัมมนาทางพระพุทธศาสนาต่างๆ โดยมักจะแอบอ้าวว่าตัวเองเป็นตัวแทนวัดพระธรรมกายอยู่เสมอแม้ว่าจะออกจากวัดมาได้เกือบยี่สิบปีแล้วก็ตาม
มาปรากฎตัวอีกครั้งโดยการเข้ามาร่วมเป็นสภาปฏิรูปเข้ามามีบทบาทในการปฏิรูปพระพุทธศาสนาร่วมกับนายไพบูลย์ นิติตะวัน ซึ่งแนวทางของทั้งนายมโนและนายไพบูลย์ นิติตะวัน หากว่ากันโดยหลักการแล้วเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณกับพระพุทธศาสนาในภาพรวม
โดยเฉพาะประเด็นที่จะเข้ามาควบคุมการเงินของวัดและพระภิกษุ แล้วก็มาเดินเรื่องเพื่อกล่าวหาโจมตีใส่ร้ายพระเทพญาณมหามุนี หลวงพ่อธัมมชโย เจ้าอาวาสและวัดพระธรรมกาย รวมไปถึงสมเด็จวัดปากน้ำอย่างต่อเนื่องมากระทั่งถึงปัจจุบัน
จากการสอบถามบุคคลที่เคยได้ใกล้ชิดและมีพระคุณกับนายมโน ทุกท่านมีความเห็นตรงกันว่า บุคคลคนนี้มีพฤติกรรมที่เรียกได้ว่าจะทรยศทุกคนที่เคยมีพระคุณและไม่เคยคิดว่าทุกคนที่คอยช่วยเหลือจะมีพระคุณอะไร
แต่ต้องทำเพราะเป็นหน้าที่ซึ่งต้องดูแลตัวเขา โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ยังบวชเป็นพระภิกษุอยู่ ซึ่งในประเด็นนี้ก็ไม่ขอยืนยันว่ามีสาเหตุมาจากปัญหาในครอบครัวของเขาในวัยเด็กหรือไม่
อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมของมโน เลาหวณิช
หมอมโน คือใคร : มโน เลาหวณิช ผู้ทำ “สังฆเภท”!?!
กรณีธรรมกาย : 3 ความลับ ที่มโน เลาหวาณิช ไม่เคยบอกใคร!!!
“มะนาว The Series” เรื่องราว มโน เลาหวณิช ฉบับการ์ตูน
หมอมโน คือใคร : ป.อ.ปยุตฺโต เขียนถึงมโน เลาหวณิช
กรณีธรรมกาย : มโน เลาหวณิช ประวัติเชิงลึก
มโน เลาหวณิช ตีแผ่ข้อมูลที่ไม่เคยเปิดเผยที่ใดมาก่อน
มโน เลาหวณิช เข้ามาอบรมธรรมทายาท ที่วัดพระธรรมกาย รุ่น 3 ในช่วงที่ศึกษาอยู่มัธยมศึกษาตอนปลาย จากนั้นก็มาวัดโดยตลอดต่อเนื่อง ระหว่างเรียนเคยเป็น อาสาสมัคร ช่วยงานจราจรของทางวัด
และเป็นประธานชมรมพุทธศาสน์และประเพณี จุฬาฯ ปี 2521 เมื่อเรียนจบก็มาบวช โดยหลวงพ่อธัมมชโยเป็นคนบอกบุญใช้ทุนให้
มโน เลาหวณิช
อุปสมบท ในปี 2525 ที่พระอุโบสถวัดปากน้ำภาษีเจริญ โดยมี พระธรรมธีรราชมหามุนี (ตำแหน่งในขณะนั้น) เจ้าอาวาส วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์ แม้ว่าคุณยายมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงจะทัดทานว่าวันหนึ่งพระมโนนี้จะนำความเดือดร้อนมาสู่หมู่คณะ
เนื่องจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยและพระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตชีโวเห็นแววพระมโนมาตั้งแต่สมัยที่มาอบรมเป็นธรรมทายาทว่ามีความเฉลียวฉลาด พูดจาฉะฉาน กล้าซักถามแสดงความเห็น เลยคิดว่าหากส่งเสริมให้ได้เรียนรู้ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป คงจะเป็นประโยชน์กับพระศาสนาในภายหน้า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวบรวมรวมคำสอนโบราณของพระพุทธศาสนาที่กระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ หลังจากยุคล่าอาณานิคม โดยเฉพาะแหล่งที่เก็บคัมภีร์คำสอนเก่าๆ ทางพระพุทธศาสนาที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ที่มหาวิทยาลัย Oxford ประเทศอังกฤษ
จึงพยายามทำทุกอย่างเพื่อสนับสนุนให้ พระมโน เมตตานนฺโท(ฉายาในขณะนั้น) ได้เล่าเรียนศึกษาอย่างเต็มที่ โดยอาศัยเจ้าภาพของวัดเป็นคนดูแลเช่น คุณอาวัลลภา คุณอาสมถวิล บุนนาค และอีกหลายๆ ท่านซึ่งเต็มใจดูแลพระมโน
เนื่องจากเห็นว่าเป็นความประสงค์ของหลวงพ่อธัมมชโยเพื่อประโยชน์ของพระศาสนา โดยเฉพาะคุณอาวัลลภาที่ทุ่มเทเอาใจใส่ยิ่งกว่าลูกของตัวเอง
ได้มีการจัดหาครูฝรั่งที่เก่งที่สุดจากโรงเรียนจิตรลดามาสอนภาษาอังกฤษให้เป็นการส่วนตัว เพื่อปูพื้นฐานภาษาก่อนที่จะไปเรียนต่อยังประเทศอังกฤษ
จากนั้นคุณอาวัลลภา และคุณอาสมถวิลเป็นคนไปขอจดหมายรับรองจาก พณฯ ท่าน พลตรี มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ตามคำร้องขอของพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยเพื่อใช้ในการไปเข้าเรียนของพระมโนที่มหาวิทยาลัย Oxford สหราชอาณาจักร
ในระหว่างเรียนทางวัดพระธรรมกายได้รวบรวมปัจจัยส่งเสียให้ โดยขณะนั้นพระภิกษุทั้งวัดต้องยอมที่จะอยู่อย่างกระเบียดกระเสียรเพื่อรวบรวมปัจจัยส่งไปให้เป็นค่าใช้จ่ายในความเป็นอยู่และศึกษาเล่าเรียนของพระมโน
แม้อาหารการกินแทบจะไม่พอขบฉันแต่พระภิกษุของวัดพระธรรมกายทุกรูปในขณะนั้นต่างก็อดทน โดยเชื่อมั่นว่าพระมโนจะเรียนจบกลับมาทำประโยชน์ให้แก่พระศาสนา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรวบรวมตำราและเอกสารโบราณในทางพระพุทธศาสนาเอามาใช้งานศึกษาเปรียบเทียบคำสอนในยุคต่างๆ ให้คำสอนของพระพุทธศาสนาที่ถูกบันทึกไว้ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามดำริของพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย
โดยมีคุณอาสมถวิลเป็นผู้จัดหาสิ่งของที่พระมโนต้องการรวมไปถึงการโอนเงินข้ามประเทศไปให้ใช้แม้ว่าจะต้องเดินทางไปกลับเพื่อมารับปัจจัยถึงที่วัดจากกรุงเทพฯ ทุกครั้งที่พระมโนแจ้งมาก็ตามที
พระมโนเป็นพระที่ค่อนข้างเอาแต่ใจ ไม่ค่อยทำตามกฎตามเกณฑ์ของหมู่คณะมากนัก โดยมีความเป็นอยู่แปลกแยก ตัวอย่างเช่นไม่ฉันรวมกับผู้อื่นแม้ว่ากฎระเบียบของวัดพระธรรมกายจะให้พระฉันรวมกันที่หอฉันก็ตาม
เนื่องจากว่าการที่ออกไปอยู่คนเดียวเป็นเวลานานๆ จากต่างประเทศความคุ้นเคยกับพระรูปอื่นจึงมีน้อย หลังจากเรียบจบกลับมาก็ให้ความเห็นว่าระบบของวัดพระธรรมกายน่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพราะการดูแลปกครองของวัดพระธรรมกายในยุคก่อนจะใช้วิธีดูแลกันตามอายุการบวช
เมื่องานขยายตัวมากขึ้นตามจำนวนคนที่เข้ามาวัด พระมโนจึงมีความเห็นว่าควรที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารเลยเสนอแนวทางปรับเปลี่ยนจากระบบเดิมมาเป็นสภาธรรมกายสากล มีการแบ่งงานดูแลเป็นหน่วยงานต่างๆ แล้วก็ทิ้งให้พระที่อยู่ประจำหาผู้ที่เชี่ยวชาญมาช่วยกันคิด
โดยได้คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมาช่วยในการเปลี่ยนโครงสร้าง จนทำให้การบริหารของวัดพระธรรมกายดูไม่เหมือนวัดอื่นนัก แต่ในความเป็นจริงระบบที่วางก็ตรงตามคำสอนในพระไตรปิฎกที่จะมีพระผู้เป็นใหญ่ในด้านต่างๆ เป็นคนรับผิดชอบตามงานที่แตกต่างกันไป
แม้ว่าไม่เคยลงมือช่วยคิดการวางโครงสร้างการบริหาร
แต่ทว่าแม้ถึงวันนี้นายมโนก็ยังแอบอ้างเครดิตตรงนี้
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นผู้ออกความคิดเห็นเพียงเท่านั้น
แล้วไม่เคยอยู่จำพรรษาที่วัดพระธรรมกายเลยแม้แต่พรรษาเดียว
หลังจากกลับมาแล้วก็ไม่เคยที่จะเข้าไปขอบคุณหรือข้องเกี่ยวกับผู้ที่เคยมีบุญคุณ
เมื่อความเป็นอยู่เข้ากับผู้อื่นไม่ได้ประกอบกับมานะที่มีมาแต่เดิมทำให้พระมโนหลงในตนรู้สึกว่าตัวเองฉลาดกว่าผู้อื่นรวมไปถึงเจ้าอาวาสและรองเจ้าอาวาสซึ่งมีพระคุณกับเค้าเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ไม่ยอมรับระบบที่ตนเองได้มีส่วนออกความคิดเห็นเอาไว้
จนกระทบกระทั่งกับพระรูปอื่นๆ แทบทุกรูปที่อยู่ใกล้ๆ เนื่องจากนิสัยยกตนข่มท่านที่มีอยู่ จนเป็นที่เอือมระอาจากพระรูปอื่นๆ ที่อยู่ในวัดพระธรรมกาย จนท้ายที่สุดผลของการกระทบกระทั่งทำให้ต้องทนอยู่กับระบบของสภาธรรมกายสากลไม่ได้
อีกทั้งได้ไปเกี่ยวข้องกับคดีความที่เกี่ยวกับเหตุฆาตกรรมที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นข่าวโด่งดังโดยไม่ฟังเสียงทัดทานจากพระภาวนาวิริยคุณ หลวงพ่อทัตตชีโวซึ่งได้ตักเตือนไว้
(อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก กรณีนายมโน เลาหวณิช เกี่ยวกับเหตุการณ์ฆาตกรรม)
รวมไปถึงการที่ท่านไม่อนุญาตให้พระมโนเดินทางไปสัมมนาที่ประเทศอียิปต์ด้วยเกรงว่าจะไปกระทบกับเพื่อนศาสนิกของศาสนาอื่นทำให้
พระมโนไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง จึงทำจดหมายลาออกจากองค์กร(สภาธรรมกายสากล)ในปี 2537
จากนั้นไม่นานก็ขอให้คุณหญิงท่านหนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนกับโยมแม่ของพระมโนในขณะนั้นมาขอให้ทางวัดรับกลับเข้าสังกัดอีกทีซึ่ง พระภาวนาวิริยคุณ(หลวงพ่อทัตตชีโว)ได้ปฏิเสธไปเนื่องจากเกรงว่าจะเสียระบบการปกครอง
พระมโนได้ไปขออาศัยอยู่ที่วัดราชโอรสารามซึ่งพระธรรมกิตติวงศ์(พระมหาโพธิวงศาจารย์)ก็ได้รับไว้ โดยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยก็ยังมอบหมายให้โยมอุปัฏฐากมาช่วยดูแลอยู่เช่นเดิม
ซึ่งในระหว่างที่พักอยู่ที่วัดราชโอรสารามนั้นก็เข้ากับใครไม่ได้เช่นเคย จนมาวันหนึ่งได้เขียนหนังสือที่ชื่อว่าเหตุเกิด พศ.๑ ขึ้น จนทำให้พระภิกษุหลายต่อหลายรูปออกมาตำหนิในงานเขียน ซึ่งดูเหมือนประหนึ่งจะหมิ่นพระพุทธองค์
ทำให้เจ้าคุณพระธรรมกิตติวงศ์ท่านต้องออกมาตักเตือนโดยยื่นคำขาดว่าหากกระทำเช่นนั้นอีกจะให้ออกจากวัด จนท้ายที่สุดก็ออกงานเขียนมาอีกหนึ่งเล่มซึ่งก็เกิดผลกระทบในลักษณะเช่นเดิมทำให้พระธรรมกิตติวงศ์ท่านต้องทวงสัญญาที่เคยให้ไว้ ทำให้พระมโนจำต้องย้ายออกจากวัดราชโอรสารามไป
แล้วก็ไปอยู่ที่วัดนาคปรกโดยอาศัยเครดิตของวัดพระธรรมกายให้เจ้าอาวาสท่านรับไว้
ขณะที่อยู่วัดนาคปรกพระมโนก็ได้มีกิริยาท่าทีที่ล่วงเกินสมเด็จพระมหาธีราจารย์(วัดชนะสงคราม)เจ้าคณะใหญ่หนกลาง จนเจ้าคณะผู้ปกครองชั้นรองๆ ลงมาตามเจ้าอาวาสวัดนาคปรกไปตักเตือนเนื่องจากไม่ดูแลพระที่อยู่ในสังกัด
อีกทั้งพระมโนทำผิดกฎของวัดนาคปรกโดยไม่ยอมไปลงปาฏิโมกข์กับหมู่สงฆ์ของวัดนาคปรกเกิน ๓ ครั้ง ทำให้ต้องถูกให้ออกจากวัด เลยให้โยมที่สนิทฟ้องเจ้าอาวาสวัดนาคปรกในข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบซึ่งมาแพ้คดีในช่วงปีที่ผ่านมานี้เอง
หลังจากที่ออกมาจากวัดนาคปรกทราบข่าวว่าพระมโนได้ไปอาศัยในอพาทเม้นท์แห่งหนึ่งซึ่งได้จัดไว้สำหรับอาจารย์ของสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงย่านปทุมวันที่เค้าได้ไปเป็นอาจารย์พิเศษ เนื่องจากไม่มีวัดไหนยอมรับเข้า
พระมโนได้เคยไปขออาศัยที่วัดชีไหลซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาของวัดฝอกวงซันอันเป็นวัดพี่วัดน้องกับวัดพระธรรมกายก็ถูกปฏิเสธเนื่องจากไม่มีจดหมายรับรองจากทางต้นสังกัดเดิมคือวัดพระธรรมกาย แล้วก็ได้ลาสิกขาไปจะด้วยเหตุผลใดไม่ทราบแน่ชัด
จากนั้นก็เสนอชื่อตัวเองเข้าเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคชาติไทย ซึ่งก็ไม่ได้รับการรับเลือก และได้เข้าไปทำงานในหนังสือพิมพ์เครือ MGR อยู่ช่วงหนึ่ง จากนั้นก็ไม่ปรากฎว่าไปอยู่ที่ไหนอีกพักใหญ่
ทราบข่าวว่าเคยไปทำงานที่มหาวิทยาลัยใหญ่แห่งหนึ่งย่านบางนาซึ่งทางภราดาที่ดูแลก็เมตตาช่วยแนะนำให้ได้ไปสอนในมหาวิทยาลัยสงฆ์จนไปกระทบกับทีมงานคณาจารย์ที่สอนอยู่ก่อนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง
ซึ่งทางภราดาผู้นั้นก็ได้เดินทางมาที่วัดพระธรรมกายเพื่อให้ข้อมูล พร้อมทั้งเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทางวัดในกรณีนายมโน
จากนั้นมโน เลาหวณิชก็เข้ามาสมัครเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่สถาบันปรีดีฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ซึ่งต่อมานายมโนได้ขอให้ทางมหาวิทยาลัยอนุมัติสั่งซื้อหนังสือประกอบการเรียนการสอนของเขาซึ่งเป็นหนังสือที่ห้ามจำหน่ายในประเทศไทย
จนทำให้สถาบันปรีดีฯ รู้สึกและรับทราบถึงความไม่ชอบมาพากลของนายมโน โดยมีการติดต่อมาขอข้อมูลเพิ่มเติมจากวัดพระธรรมกายเพื่อประกอบการพิจารณา
หลังจากนั้นประวัติก็ไม่แน่ชัดว่าเขาไปทำอะไรที่ไหนต่อ มาปรากฎเป็นข่าวอีกทีเมื่อมาแถลงข่าวโดยใช้สถานที่ของโรงพยาบาลกรุงเทพซึ่งทางโรงพยาบาลได้ออกมาประกาศว่านายมโมไม่ได้เป็นนายแพทย์ของโรงพยาบาล
ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่านายมโนไปทำงานที่ไหนอย่างชัดเจน มีข่าวคราวปรากฏเป็นระยะเพื่อโจมตีใส่ร้ายวัดพระธรรมกาย รวมไปถึงการที่จะฟ้องพระภาวนาวิริยคุณ(หลวงพ่อทัตตชีโว)อีกด้วยแต่ก็เงียบหายไป
ซึ่งจะว่าไปประวัติในช่วงนี้ของนายมโนจะคลุมเครือมากๆ หากพิจารณากันตรงตามจริงแล้วจะน่าสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่าบุคคลผู้นี้ทำมาหากินอะไรกันแน่
ทราบข่าวจากบุคคลที่เชื่อถือได้ว่านายมโนชอบไปร่วมงานสังสรรค์ต่างๆ ที่มีบุคคลที่มีชื่อเสียงไปรวมตัวกันเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างเครดิตให้กับตัวเอง แม้ว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานนั้นก็ตามที
อีกทั้งยังชอบไปตามงานสัมมนาทางพระพุทธศาสนาต่างๆ โดยมักจะแอบอ้าวว่าตัวเองเป็นตัวแทนวัดพระธรรมกายอยู่เสมอแม้ว่าจะออกจากวัดมาได้เกือบยี่สิบปีแล้วก็ตามมาปรากฎตัวอีกครั้งโดยการเข้ามาร่วมเป็นสภาปฏิรูปเข้ามามีบทบาทในการปฏิรูปพระพุทธศาสนาร่วมกับนายไพบูลย์ นิติตะวัน ซึ่งแนวทางของทั้งนายมโนและนายไพบูลย์ นิติตะวัน หากว่ากันโดยหลักการแล้วเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณกับพระพุทธศาสนาในภาพรวม
โดยเฉพาะประเด็นที่จะเข้ามาควบคุมการเงินของวัดและพระภิกษุ แล้วก็มาเดินเรื่องเพื่อกล่าวหาโจมตีใส่ร้ายพระเทพญาณมหามุนี หลวงพ่อธัมมชโย เจ้าอาวาสและวัดพระธรรมกาย รวมไปถึงสมเด็จวัดปากน้ำอย่างต่อเนื่องมากระทั่งถึงปัจจุบัน
จากการสอบถามบุคคลที่เคยได้ใกล้ชิดและมีพระคุณกับนายมโน ทุกท่านมีความเห็นตรงกันว่า บุคคลคนนี้มีพฤติกรรมที่เรียกได้ว่าจะทรยศทุกคนที่เคยมีพระคุณและไม่เคยคิดว่าทุกคนที่คอยช่วยเหลือจะมีพระคุณอะไร
แต่ต้องทำเพราะเป็นหน้าที่ซึ่งต้องดูแลตัวเขา โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ยังบวชเป็นพระภิกษุอยู่ ซึ่งในประเด็นนี้ก็ไม่ขอยืนยันว่ามีสาเหตุมาจากปัญหาในครอบครัวของเขาในวัยเด็กหรือไม่
อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมของมโน เลาหวณิช
หมอมโน คือใคร : มโน เลาหวณิช ผู้ทำ “สังฆเภท”!?!
กรณีธรรมกาย : 3 ความลับ ที่มโน เลาหวาณิช ไม่เคยบอกใคร!!!
“มะนาว The Series” เรื่องราว มโน เลาหวณิช ฉบับการ์ตูน
หมอมโน คือใคร : ป.อ.ปยุตฺโต เขียนถึงมโน เลาหวณิช
กรณีธรรมกาย : มโน เลาหวณิช ประวัติเชิงลึก