พอมาถึงหน้าฝนคราวใด ชาวไร่ชาวสวนต่างใจจรดใจจ่อรอความชุ่มช่ำ แต่สำหรับคนบางคนแล้วกลับเป็นความกังวลที่จะย้อนกลับมาอีกครั้ง นอนไม่หลับแต่ฝันเปียกน้ำ (
หลังคา/ดาดฟ้ารั่ว) เคยผ่านพ้นมาแต่ก็ไม่ได้แก้ไขอย่างถาวร อาจจะเพราะ ความไม่พร้อมเรื่องกำลังทรัพย์ หรือไม่ทราบจุดต้นเหตุจริงๆ รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม บางทีก็ฟังจากเพื่อน / ญาติ / ช่าง ก็ไม่ตรงกัน ยิ่งทำให้สับสนเลยปล่อยปัญหาไปเป็นคราวๆ > เป็นปีๆไป แล้วก็ผลัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อย และส่วนใหญ่เมื่อคิดจะแก้ไข/ซ่อมแซม ก็มักจะไปแก้ที่ปลายเหตุ ที่ราคาประหยัดกว่า แต่ไม่นานปัญหาเดิมๆก็กลับมาซ้ำอีก > เรามาดูลักษณะปัญหาที่พบกันเสมอๆในบ้าน ในอาคารพาณิชย์กัน
>>
รั่วซึมจากดาดฟ้าคอนกรีต : ซึ่งมีมากในอาคารพาณิชย์ / ตึกแถวยุคก่อนๆ ที่นิยมทำดาดฟ้าไว้เผื่อต่อเติม และในบ้านบางรูปแบบก็มีบางส่วนที่เป็นพื้นดาดฟ้าร่วมกับหลังคามุงกระเบื้อง โดยช่วงปีแรกๆก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะไปเชื่อว่าได้ผสม “น้ำยากันซึม” ไว้ในเนื้อคอนกรีตเรียบร้อยแล้วระหว่างก่อสร้าง แต่พอผ่านไปนานปีปัญหาการรั่ว / การซึมก็ทะยอยมาทีละน้อย จนรบกวนการอยู่อาศัยและลุกลามจนทำลายโครงสร้างพื้นคอนกรีตในที่สุด รวมทั้งเกิดจากมีรอยแตกร้าวเกิดเพิ่มขึ้นที่พื้นดาดฟ้า จึงเป็นจุดอ่อนให้น้ำฝนเข้าสู่ชั้นล่างโดยตรง
หมายเหตุ : อนึ่ง ”น้ำยากันซึม” ไม่ใช่น้ำยาป้องกันการรั่วซึมโดยตรง การใช้ชื่อนี้จึงมักทำให้เข้าใจผิดกันไป > น้ำยาชนิดนี้ใช้ผสมกับคอนกรีตเพื่อให้เนื้อมวลของคอนกรีตลดการมีรูพรุน/ฟองอากาศ ทำให้เนื้อคอนกรีตแน่นขึ้น หากทำได้ดีก็ป้องกันการรั่วได้ค่อนข้างดี แต่ไม่สามารถป้องกันการซึมของความชื้นได้ อันเป็นสาเหตุให้เหล็กในพื้นเป็นสนิมได้ & บวมดันจนเนื้อพื้นคอนกรีตแตกกระเทาะล่อนออกมา และรุกลามจนพังถล่มมาในอนาคตได้
แนะนำดู
https://www.youtube.com/watch?v=1qasv013w1I
หมายเหตุ : อนึ่งพบเสมอว่าจะมีการเลือกฝาครอบปิดท่อระบายน้ำจากดาดฟ้าผิดประเภท โดยควรใช้เป็นชนิด Roof Drain
>>
รั่วซึมจากหลังคาที่มุงไว้ : ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องลอนซีเมนต์ กระเบื้องโมเนีย หรือแม้แต่แผ่นหลังคาเมทัธชีท (Metal Sheet) ซึ่งพบเสมอว่าเมื่อขึ้นไปดูสำรวจจุดแนวดิ่งตรงน้ำรั่วหยดก็ไม่พบเห็นอะไรผิดปกติ (
อันนี้เข้าใจผิดกันนะครับเพราะอาจจะมีจุดบกพร่องในจุดที่เหนือขึ้นไป แล้วน้ำที่รั่วค่อยๆไหลย้อยลงมาหยดอีกจุดหนึ่งแทน) ต้นเหตุของปัญหาก็มีอยู่หลายๆสาเหตุ กล่าวคือ
:- กระเบื้องมุงมีการแตกร้าว หรืออุปกรณ์ติดยึดเริ่มเสื่อมมีปัญหา หรือแม้แต่โครงหลังคาเริ่มมีการทรุดเอียง หรือแอ่นตัว
:- ความลาดเอียงของหลังคาน้อยไป หรือระยะทาบปิดระหว่างกระเบื้องที่ซ้อนกันน้อยไปกว่ามาตรฐาน ซึ่งปัญหานี้จะมีตอนที่ฝนตกหนักหรือมีลมพัดแรงร่วมด้วย
:- ครอบสันหลังคา หรือแนวตะเข้หลังคา ที่มีการนำปูนทรายไปอัดปิดไว้ใต้ครอบกระเบื้อง เริ่มเสื่อมสภาพมีการแตกร้าว หรือกระเทาะแตกหลุดล่อนไป
:- ปีกนกคอนกรีตหรือปูน ส่วนที่เป็นปีกคลุมแนวกระเบื้องแถวแรกที่มาชนบรรจบกับตัวบ้าน มีการแตกร้าว
ถึงแม้ปัญหาการรั่วซึมจะมีจากหลายๆสาเหตุ แต่การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ “
กันซึมไร้รอยต่อ ชนิดยืดหยุ่น” ก็สามารถครอบคลุมปัญหาดังกล่าวได้แทบทั้งหมด ซึ่งในตลาดก็มีอยู่ 2-3 ระบบ แต่ที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง เพราะใช้งานง่าย (
ช่างสีหรือพ่อบ้านที่มีทักษะทางช่างบ้าง ก็ดำเนินการเองได้/ไม่ยากซับซ้อน) ราคาไม่สูงเกินไป แต่ก็ให้ประสิทธิภาพและความคงทนกับแดด/ฝนได้นานปี คือ ระบบ “
รูฟซีล / Roof Seal” ซึ่งเป็นสีอะครีลิคพิเศษ ที่มีการยึดเกาะดีกับพื้นปูนคอนกรีต ให้ฟิล์มที่หนา & ยืดหยุ่นมาก ทนทานต่อการเหยียบย่ำ/ใช้สอยได้ดี อาทิ Sika : RoofTile, TOA : 201 Roof Seal, Sista : D-150 หรือ Lanko 451 เป็นต้น
>>
กรณีดาดฟ้า กันสาด ระเบียง ที่มีการรั่วซึม ก็ต้องมีการทำความสะอาดก่อน โดยหากมีเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ก็จะสามารถช่วยทุ่นเวลาและแรงงานมากกว่าการใช้แปรง & แรงคนขัดมาก รวมทั้งได้คุณภาพงานที่ดีกว่าด้วย
:- กรณีที่มีรอยแตกร้าวเล็กๆน้อยๆ ก็ให้อุดโป๊วด้วยวัสดุประเภท Acrylic Filler และ Acrylic Sealant สำหรับร้อยร้าวที่เล็กกว่า 1 มม. & กว้างกว่า 1 มม. ตามลำดับ อาทิ TOA : Acrylic Filler & Acrylic Selant, แต่หากเป็นการแตกร้าวเป็นเส้นยาวต่อเนื่อง ก็ควรอุดโป๊วปิดด้วยประเภท Epoxy Putty อาทิ Sikadur-52Th หรือ Lanko 534
:- หากพื้นเดิมมีคราบเชื้อราและตะไคร่น้ำมาก ควรทา “
น้ำยากำจัดเชื้อราและตะไคร่น้ำ” ก่อนเริ่มงานสีระบบกันซึม อาทิ TOA : 113 MicroKill, ICI : Dulux Weathershield Mold Wash, Captain : Mold Killer หรือ Jotun : Fungicidal Wash เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจสีใหม่จะยึดเกาะได้ดี และไม่กลับมามีปัญหาคราบเชื้อรา & ตะไคร่น้ำอีก
:- ทาเคลือบพื้นดาดฟ้าทั้งหมด รวมทั้งผนังด้านข้างสูงขึ้นมาเป็นบัวสูงประมาณ 10-15 ซม. ทารวมจำนวน 3 เที่ยว โดยควรมีการเสริมปูแผ่นตาข่ายไฟเบอร์เมธ (
Fiber Mesh) ร่วมด้วยในระหว่างการทาเที่ยวแรก เพื่อเสริมความแกร่งของฟิล์มสี
>>
กรณีหลังคามุงกระเบื้อง ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องซีเมนต์ (
ลอนคู่ หรือซีแพคโมเนีย) หรือแม้แต่เมทัลชีท (
Metal Sheet Roof) ก็ใช้การฉีดด้วย Polyurethane Sealant ร่วมกับการทาอะครีลิครูฟซีลทับบริเวณแนวรอยต่อของกระเบื้องหลังคา ทั้งในแนวแถวกระเบื้องทั้งบนล่าง & ด้านข้าง รวมทั้งกรณีบริเวณหัวน๊อต / สกรูหรือตะขอยึดกระเบื้อง (
ถ้ามี) ที่เริ่มเสื่อมสภาพไปตามอายุขัยด้วย โดยคงแนะนำทาสีรูฟซีลครอบคลุมไปให้ทั่วๆหรือทั้งหมดของจุดอ่อนบนหลังคา (
เพราะอย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้นว่าจุดรั่วหยดอาจจะไม่ใช่จุดแนวเดียวกันกับจุดรั่วซึมด้านบนหลังคา)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
>> กรณีครอบสันหลังคา ตะเข้ราง หรือปีกนก ก็เช่นเดียวกัน โดยหากปูนทรายใต้ครอบกระเบื้องแตกกระเทาะแล้ว ก็ให้แซะออกแล้วอุดฉาบปิดแทนด้วยปูนทรายใหม่ แต่หากเพียงแค่แตกร้าวก็ให้อุดโป๊วด้วยวัสดุประเภท “
Acrylic Filler” หรือ “
Acrylic Sealant” สำหรับรอยร้าวเล็กกว่า 1 มม. & กว้างกว่า 1 มม.ตามลำดับ > แล้วจึงค่อยทาอะครีลิครูฟซีลต่อไป
หมายเหตุ : อนึ่งกรณีทาซ่อมปิดจุดรั่วซึมได้เรียบร้อยดีแล้ว หากต้องการให้หลังคาไม่มีตำหนิร่องรอยจากอะครีลิครูฟซีลดังกล่าว เจ้าของบ้านก็สามารถเลือกใช้ “
สีทาหลังคา / Roof Paint” ทาหลังคาทั้งผืนให้ได้เฉดสีที่สวยงามตามต้องการได้ อาทิ TOA Roof Paint, Captain : Roof Paint, Beger : Synotex Roof Paint หรือ TOA Roof Paint Sun Block เป็นต้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การเขียน / อ่าน อาจจะทำให้เข้าใจได้ไม่เคลียร์ มาดูคลิปการทำงานกันดีกว่าจะกระจ่างแล้วเข้าใจชัดเจนขึ้น
แนะนำดูคลิปการทำงาน >
https://www.youtube.com/watch?v=LklS7TxP6dY
อนึ่งในบางยี่ห้อยังมี
อะครีลิครูฟซีลชนิดที่มีประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ด้วย ที่ทำให้สะดวกต่อการใช้สอยบนพื้นดาดฟ้า และยังทำให้ลดความร้อนอบอ้าวของห้องใต้ดาดฟ้าได้ด้วย
แนะนำดู
http://www.toagroup.com/th/product/66/192-ทีโอเอ-รูฟซีล-ซันบล็อก.html และ
http://captaincoating.com/th/product_detail.asp?f_index=10192
และกรณีหากต้องการช่างฝีมือมาตรฐาน ผ่านการอบรมอย่างดีจากผู้ผลิต/จำหน่าย มีการรับประกันงานที่เชื่อถือได้ สามารถเลือกใช้ศูนย์บริการที่ครบวงจร อาทิ ในห้างโมเดิร์นเทรด หรือผู้ผลิต/จำหน่ายสีบางรายได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[SR] หน้าฝนมาแล้ว ดาดฟ้า & หลังคารั่วซึม ปีที่แล้วยังไม่ได้ซ่อมเลย
พอมาถึงหน้าฝนคราวใด ชาวไร่ชาวสวนต่างใจจรดใจจ่อรอความชุ่มช่ำ แต่สำหรับคนบางคนแล้วกลับเป็นความกังวลที่จะย้อนกลับมาอีกครั้ง นอนไม่หลับแต่ฝันเปียกน้ำ (หลังคา/ดาดฟ้ารั่ว) เคยผ่านพ้นมาแต่ก็ไม่ได้แก้ไขอย่างถาวร อาจจะเพราะ ความไม่พร้อมเรื่องกำลังทรัพย์ หรือไม่ทราบจุดต้นเหตุจริงๆ รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม บางทีก็ฟังจากเพื่อน / ญาติ / ช่าง ก็ไม่ตรงกัน ยิ่งทำให้สับสนเลยปล่อยปัญหาไปเป็นคราวๆ > เป็นปีๆไป แล้วก็ผลัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อย และส่วนใหญ่เมื่อคิดจะแก้ไข/ซ่อมแซม ก็มักจะไปแก้ที่ปลายเหตุ ที่ราคาประหยัดกว่า แต่ไม่นานปัญหาเดิมๆก็กลับมาซ้ำอีก > เรามาดูลักษณะปัญหาที่พบกันเสมอๆในบ้าน ในอาคารพาณิชย์กัน
>> รั่วซึมจากดาดฟ้าคอนกรีต : ซึ่งมีมากในอาคารพาณิชย์ / ตึกแถวยุคก่อนๆ ที่นิยมทำดาดฟ้าไว้เผื่อต่อเติม และในบ้านบางรูปแบบก็มีบางส่วนที่เป็นพื้นดาดฟ้าร่วมกับหลังคามุงกระเบื้อง โดยช่วงปีแรกๆก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะไปเชื่อว่าได้ผสม “น้ำยากันซึม” ไว้ในเนื้อคอนกรีตเรียบร้อยแล้วระหว่างก่อสร้าง แต่พอผ่านไปนานปีปัญหาการรั่ว / การซึมก็ทะยอยมาทีละน้อย จนรบกวนการอยู่อาศัยและลุกลามจนทำลายโครงสร้างพื้นคอนกรีตในที่สุด รวมทั้งเกิดจากมีรอยแตกร้าวเกิดเพิ่มขึ้นที่พื้นดาดฟ้า จึงเป็นจุดอ่อนให้น้ำฝนเข้าสู่ชั้นล่างโดยตรง
หมายเหตุ : อนึ่ง ”น้ำยากันซึม” ไม่ใช่น้ำยาป้องกันการรั่วซึมโดยตรง การใช้ชื่อนี้จึงมักทำให้เข้าใจผิดกันไป > น้ำยาชนิดนี้ใช้ผสมกับคอนกรีตเพื่อให้เนื้อมวลของคอนกรีตลดการมีรูพรุน/ฟองอากาศ ทำให้เนื้อคอนกรีตแน่นขึ้น หากทำได้ดีก็ป้องกันการรั่วได้ค่อนข้างดี แต่ไม่สามารถป้องกันการซึมของความชื้นได้ อันเป็นสาเหตุให้เหล็กในพื้นเป็นสนิมได้ & บวมดันจนเนื้อพื้นคอนกรีตแตกกระเทาะล่อนออกมา และรุกลามจนพังถล่มมาในอนาคตได้
แนะนำดู https://www.youtube.com/watch?v=1qasv013w1I
หมายเหตุ : อนึ่งพบเสมอว่าจะมีการเลือกฝาครอบปิดท่อระบายน้ำจากดาดฟ้าผิดประเภท โดยควรใช้เป็นชนิด Roof Drain
>> รั่วซึมจากหลังคาที่มุงไว้ : ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องลอนซีเมนต์ กระเบื้องโมเนีย หรือแม้แต่แผ่นหลังคาเมทัธชีท (Metal Sheet) ซึ่งพบเสมอว่าเมื่อขึ้นไปดูสำรวจจุดแนวดิ่งตรงน้ำรั่วหยดก็ไม่พบเห็นอะไรผิดปกติ (อันนี้เข้าใจผิดกันนะครับเพราะอาจจะมีจุดบกพร่องในจุดที่เหนือขึ้นไป แล้วน้ำที่รั่วค่อยๆไหลย้อยลงมาหยดอีกจุดหนึ่งแทน) ต้นเหตุของปัญหาก็มีอยู่หลายๆสาเหตุ กล่าวคือ
:- กระเบื้องมุงมีการแตกร้าว หรืออุปกรณ์ติดยึดเริ่มเสื่อมมีปัญหา หรือแม้แต่โครงหลังคาเริ่มมีการทรุดเอียง หรือแอ่นตัว
:- ความลาดเอียงของหลังคาน้อยไป หรือระยะทาบปิดระหว่างกระเบื้องที่ซ้อนกันน้อยไปกว่ามาตรฐาน ซึ่งปัญหานี้จะมีตอนที่ฝนตกหนักหรือมีลมพัดแรงร่วมด้วย
:- ครอบสันหลังคา หรือแนวตะเข้หลังคา ที่มีการนำปูนทรายไปอัดปิดไว้ใต้ครอบกระเบื้อง เริ่มเสื่อมสภาพมีการแตกร้าว หรือกระเทาะแตกหลุดล่อนไป
:- ปีกนกคอนกรีตหรือปูน ส่วนที่เป็นปีกคลุมแนวกระเบื้องแถวแรกที่มาชนบรรจบกับตัวบ้าน มีการแตกร้าว
ถึงแม้ปัญหาการรั่วซึมจะมีจากหลายๆสาเหตุ แต่การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ “กันซึมไร้รอยต่อ ชนิดยืดหยุ่น” ก็สามารถครอบคลุมปัญหาดังกล่าวได้แทบทั้งหมด ซึ่งในตลาดก็มีอยู่ 2-3 ระบบ แต่ที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง เพราะใช้งานง่าย (ช่างสีหรือพ่อบ้านที่มีทักษะทางช่างบ้าง ก็ดำเนินการเองได้/ไม่ยากซับซ้อน) ราคาไม่สูงเกินไป แต่ก็ให้ประสิทธิภาพและความคงทนกับแดด/ฝนได้นานปี คือ ระบบ “รูฟซีล / Roof Seal” ซึ่งเป็นสีอะครีลิคพิเศษ ที่มีการยึดเกาะดีกับพื้นปูนคอนกรีต ให้ฟิล์มที่หนา & ยืดหยุ่นมาก ทนทานต่อการเหยียบย่ำ/ใช้สอยได้ดี อาทิ Sika : RoofTile, TOA : 201 Roof Seal, Sista : D-150 หรือ Lanko 451 เป็นต้น
>> กรณีดาดฟ้า กันสาด ระเบียง ที่มีการรั่วซึม ก็ต้องมีการทำความสะอาดก่อน โดยหากมีเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ก็จะสามารถช่วยทุ่นเวลาและแรงงานมากกว่าการใช้แปรง & แรงคนขัดมาก รวมทั้งได้คุณภาพงานที่ดีกว่าด้วย
:- กรณีที่มีรอยแตกร้าวเล็กๆน้อยๆ ก็ให้อุดโป๊วด้วยวัสดุประเภท Acrylic Filler และ Acrylic Sealant สำหรับร้อยร้าวที่เล็กกว่า 1 มม. & กว้างกว่า 1 มม. ตามลำดับ อาทิ TOA : Acrylic Filler & Acrylic Selant, แต่หากเป็นการแตกร้าวเป็นเส้นยาวต่อเนื่อง ก็ควรอุดโป๊วปิดด้วยประเภท Epoxy Putty อาทิ Sikadur-52Th หรือ Lanko 534
:- หากพื้นเดิมมีคราบเชื้อราและตะไคร่น้ำมาก ควรทา “น้ำยากำจัดเชื้อราและตะไคร่น้ำ” ก่อนเริ่มงานสีระบบกันซึม อาทิ TOA : 113 MicroKill, ICI : Dulux Weathershield Mold Wash, Captain : Mold Killer หรือ Jotun : Fungicidal Wash เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจสีใหม่จะยึดเกาะได้ดี และไม่กลับมามีปัญหาคราบเชื้อรา & ตะไคร่น้ำอีก
:- ทาเคลือบพื้นดาดฟ้าทั้งหมด รวมทั้งผนังด้านข้างสูงขึ้นมาเป็นบัวสูงประมาณ 10-15 ซม. ทารวมจำนวน 3 เที่ยว โดยควรมีการเสริมปูแผ่นตาข่ายไฟเบอร์เมธ (Fiber Mesh) ร่วมด้วยในระหว่างการทาเที่ยวแรก เพื่อเสริมความแกร่งของฟิล์มสี
>> กรณีหลังคามุงกระเบื้อง ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องซีเมนต์ (ลอนคู่ หรือซีแพคโมเนีย) หรือแม้แต่เมทัลชีท (Metal Sheet Roof) ก็ใช้การฉีดด้วย Polyurethane Sealant ร่วมกับการทาอะครีลิครูฟซีลทับบริเวณแนวรอยต่อของกระเบื้องหลังคา ทั้งในแนวแถวกระเบื้องทั้งบนล่าง & ด้านข้าง รวมทั้งกรณีบริเวณหัวน๊อต / สกรูหรือตะขอยึดกระเบื้อง (ถ้ามี) ที่เริ่มเสื่อมสภาพไปตามอายุขัยด้วย โดยคงแนะนำทาสีรูฟซีลครอบคลุมไปให้ทั่วๆหรือทั้งหมดของจุดอ่อนบนหลังคา (เพราะอย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้นว่าจุดรั่วหยดอาจจะไม่ใช่จุดแนวเดียวกันกับจุดรั่วซึมด้านบนหลังคา) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
>> กรณีครอบสันหลังคา ตะเข้ราง หรือปีกนก ก็เช่นเดียวกัน โดยหากปูนทรายใต้ครอบกระเบื้องแตกกระเทาะแล้ว ก็ให้แซะออกแล้วอุดฉาบปิดแทนด้วยปูนทรายใหม่ แต่หากเพียงแค่แตกร้าวก็ให้อุดโป๊วด้วยวัสดุประเภท “Acrylic Filler” หรือ “Acrylic Sealant” สำหรับรอยร้าวเล็กกว่า 1 มม. & กว้างกว่า 1 มม.ตามลำดับ > แล้วจึงค่อยทาอะครีลิครูฟซีลต่อไป
หมายเหตุ : อนึ่งกรณีทาซ่อมปิดจุดรั่วซึมได้เรียบร้อยดีแล้ว หากต้องการให้หลังคาไม่มีตำหนิร่องรอยจากอะครีลิครูฟซีลดังกล่าว เจ้าของบ้านก็สามารถเลือกใช้ “สีทาหลังคา / Roof Paint” ทาหลังคาทั้งผืนให้ได้เฉดสีที่สวยงามตามต้องการได้ อาทิ TOA Roof Paint, Captain : Roof Paint, Beger : Synotex Roof Paint หรือ TOA Roof Paint Sun Block เป็นต้น [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การเขียน / อ่าน อาจจะทำให้เข้าใจได้ไม่เคลียร์ มาดูคลิปการทำงานกันดีกว่าจะกระจ่างแล้วเข้าใจชัดเจนขึ้น
แนะนำดูคลิปการทำงาน > https://www.youtube.com/watch?v=LklS7TxP6dY
อนึ่งในบางยี่ห้อยังมีอะครีลิครูฟซีลชนิดที่มีประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ด้วย ที่ทำให้สะดวกต่อการใช้สอยบนพื้นดาดฟ้า และยังทำให้ลดความร้อนอบอ้าวของห้องใต้ดาดฟ้าได้ด้วย
แนะนำดู http://www.toagroup.com/th/product/66/192-ทีโอเอ-รูฟซีล-ซันบล็อก.html และ http://captaincoating.com/th/product_detail.asp?f_index=10192
และกรณีหากต้องการช่างฝีมือมาตรฐาน ผ่านการอบรมอย่างดีจากผู้ผลิต/จำหน่าย มีการรับประกันงานที่เชื่อถือได้ สามารถเลือกใช้ศูนย์บริการที่ครบวงจร อาทิ ในห้างโมเดิร์นเทรด หรือผู้ผลิต/จำหน่ายสีบางรายได้ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้