เห็นคำตอบแบบนี้ ยิ่งไม่มีความจำเป็นที่จะยกเลิกเลย
สารเสพติดที่เอามาใช้ในทางการแพทย์ ปกติหมอเค้าก็ใช้กันอยู่แล้ว อย่างเช่นมอร์ฟีน
ถ้าจะทำเป็นยาสำหรับผู้ป่วย โรคสมาธิสั้น ก็ทำไป เวลาซื้อก็ต้องมีใบรับจากแพทย์ถึงซื้อได้
ไม่เห็นมีความจำเป็นต้องถอดออกจากบัญชียาเสพติตเลย มีวิธีเยอะแยะที่จะเอาใช้ในทางการแพทย์
และเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นสุดๆ คือ ให้เด็กได้อ่านหนังสือสอบได้นานๆ ให้เกษตรกรหรือผู้ใช้แรงงาน มีแรงทำงานหรือขยันมากขึ้น
ตายๆๆสนับสนุนให้เด็กอ่านหนังสือเยอะ เพิ่มผลผลิตการเกษตรด้วยการกินยาบ้า เอาอะไรคิด
จะยกตัวอย่างก็เอาให้มันดีหน่อยๆครับ เหตุผลแบบนี้มันไม่ใช่ละ
ยังไม่เริ่มต้นก็ใช้ผิดทางซะแล้ว
นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการสารเสพติด ภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนำสารเมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า ออกจากบัญชีสารเสพติดให้โทษว่า จะได้สามารถนำสารชนิดนี้มาใช้ในทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น หรือใช้ในทางที่เกิดประโยชน์ เช่น
เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยวผลผลิตของเกษตรกร หรือการอ่านหนังสือสอบของนักศึกษา โดยในช่วงที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกก็ไม่ได้สนับสนุนให้ประเทศไทยห้ามการใช้ยาประเภทนี้ เพราะมองว่ามีประโยชน์
นพ.อภินันท์ กล่าวอีกว่า การแก้กฎหมาย จะจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ค้ารายใหญ่ กลุ่มผู้ใช้ยา และกลุ่มเหยื่อ ซึ่งกลุ่มผู้ค้ายารายใหญ่ จะมีการปราบปรามให้หมดเหมือนเดิม ส่วนกลุ่มผู้ใช้ยาจะมีการกำหนดบทลงโทษที่นอกเหนือจากการจำคุก โดยจะให้ศาลเป็นผู้พิจารณาในแต่ละกรณี ขณะที่กลุ่มเหยื่อคือ กลุ่มที่เสพยาเสพติดจำนวนน้อยจะต้องมีการทบทวนใหม่ เพราะที่ผ่านมาได้แต่ดำเนินคดี และลงโทษด้วยการจำคุก แต่พบว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง และจากการศึกษาผลวิจัยพบว่า การแก้ปัญหายาเสพติด ไม่สามารถแก้ได้ด้วยกฎหมายอย่างเดียว เพราะมีสาเหตุหลักจากปัญหาทางสังคมด้วย นอกจากนี้ ผลการวิจัย ยังพบว่า ในสังคมที่มีทางเลือกจะมีอัตราของคนที่เสพยาน้อยกว่าสังคมที่ไม่มีทางเลือก ดังนั้น จึงต้องเปลี่ยนแนวทางการแก้ปัญหาด้วยการลดความเหลื่อมล้ำ และยกระดับบริการสาธารณสุขให้เข้าถึงผู้เสพสารเสพติดได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนกรณีที่มีการกังวลว่า จะเกิดการเสพติดยาบ้าอย่างเสรี เหมือนการสูบบุหรี่ตามท้องถนน นั้น นพ.อภินันท์ กล่าวว่า ไม่ได้มีเจตนาที่เปิดเสรี และจะไม่มีภาพแบบนั้นเกิดขึ้นแน่นอน ส่วนรายละเอียดการควบคุมใช้ยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากกฎหมายยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในเร็วๆนี้แน่นอน เพราะยังต้องมีการศึกษาต่อในอีกระยะหนึ่ง โดยยังบอกไม่ได้ว่านานเท่าไหร่ และก่อนหน้านี้ มีการศึกษาข้อมูลมาแล้วเป็นเวลากว่า 3 ปี ทั้งจากประเทศที่มีการแก้ปัญหาในแนวทางนี้โดยตรง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นพ.อภินันท์ ยังกล่าวถึงประวัติของสารเสพติดชนิดนี้ ว่า นักวิชาการชาวตะวันตกเป็นผู้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในทางการทหาร และเมื่อสิ้นสุดสงครามก็นำมาใช้ในทางการแพทย์จนถึงปัจจุบัน โดยต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/703098
กลุ่มเป้าหมายหลักของการยกเลิก ยาบ้าจากบัญชียาเสพติต ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น เกษตรกร การอ่านหนังสือสอบนักศึกษา
สารเสพติดที่เอามาใช้ในทางการแพทย์ ปกติหมอเค้าก็ใช้กันอยู่แล้ว อย่างเช่นมอร์ฟีน
ถ้าจะทำเป็นยาสำหรับผู้ป่วย โรคสมาธิสั้น ก็ทำไป เวลาซื้อก็ต้องมีใบรับจากแพทย์ถึงซื้อได้
ไม่เห็นมีความจำเป็นต้องถอดออกจากบัญชียาเสพติตเลย มีวิธีเยอะแยะที่จะเอาใช้ในทางการแพทย์
และเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นสุดๆ คือ ให้เด็กได้อ่านหนังสือสอบได้นานๆ ให้เกษตรกรหรือผู้ใช้แรงงาน มีแรงทำงานหรือขยันมากขึ้น
ตายๆๆสนับสนุนให้เด็กอ่านหนังสือเยอะ เพิ่มผลผลิตการเกษตรด้วยการกินยาบ้า เอาอะไรคิด
จะยกตัวอย่างก็เอาให้มันดีหน่อยๆครับ เหตุผลแบบนี้มันไม่ใช่ละ
ยังไม่เริ่มต้นก็ใช้ผิดทางซะแล้ว
นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการสารเสพติด ภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนำสารเมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า ออกจากบัญชีสารเสพติดให้โทษว่า จะได้สามารถนำสารชนิดนี้มาใช้ในทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น หรือใช้ในทางที่เกิดประโยชน์ เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยวผลผลิตของเกษตรกร หรือการอ่านหนังสือสอบของนักศึกษา โดยในช่วงที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกก็ไม่ได้สนับสนุนให้ประเทศไทยห้ามการใช้ยาประเภทนี้ เพราะมองว่ามีประโยชน์
นพ.อภินันท์ กล่าวอีกว่า การแก้กฎหมาย จะจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ค้ารายใหญ่ กลุ่มผู้ใช้ยา และกลุ่มเหยื่อ ซึ่งกลุ่มผู้ค้ายารายใหญ่ จะมีการปราบปรามให้หมดเหมือนเดิม ส่วนกลุ่มผู้ใช้ยาจะมีการกำหนดบทลงโทษที่นอกเหนือจากการจำคุก โดยจะให้ศาลเป็นผู้พิจารณาในแต่ละกรณี ขณะที่กลุ่มเหยื่อคือ กลุ่มที่เสพยาเสพติดจำนวนน้อยจะต้องมีการทบทวนใหม่ เพราะที่ผ่านมาได้แต่ดำเนินคดี และลงโทษด้วยการจำคุก แต่พบว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง และจากการศึกษาผลวิจัยพบว่า การแก้ปัญหายาเสพติด ไม่สามารถแก้ได้ด้วยกฎหมายอย่างเดียว เพราะมีสาเหตุหลักจากปัญหาทางสังคมด้วย นอกจากนี้ ผลการวิจัย ยังพบว่า ในสังคมที่มีทางเลือกจะมีอัตราของคนที่เสพยาน้อยกว่าสังคมที่ไม่มีทางเลือก ดังนั้น จึงต้องเปลี่ยนแนวทางการแก้ปัญหาด้วยการลดความเหลื่อมล้ำ และยกระดับบริการสาธารณสุขให้เข้าถึงผู้เสพสารเสพติดได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนกรณีที่มีการกังวลว่า จะเกิดการเสพติดยาบ้าอย่างเสรี เหมือนการสูบบุหรี่ตามท้องถนน นั้น นพ.อภินันท์ กล่าวว่า ไม่ได้มีเจตนาที่เปิดเสรี และจะไม่มีภาพแบบนั้นเกิดขึ้นแน่นอน ส่วนรายละเอียดการควบคุมใช้ยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากกฎหมายยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในเร็วๆนี้แน่นอน เพราะยังต้องมีการศึกษาต่อในอีกระยะหนึ่ง โดยยังบอกไม่ได้ว่านานเท่าไหร่ และก่อนหน้านี้ มีการศึกษาข้อมูลมาแล้วเป็นเวลากว่า 3 ปี ทั้งจากประเทศที่มีการแก้ปัญหาในแนวทางนี้โดยตรง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นพ.อภินันท์ ยังกล่าวถึงประวัติของสารเสพติดชนิดนี้ ว่า นักวิชาการชาวตะวันตกเป็นผู้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในทางการทหาร และเมื่อสิ้นสุดสงครามก็นำมาใช้ในทางการแพทย์จนถึงปัจจุบัน โดยต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/703098