[บทความพิเศษ] วิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ : Me before you VS The Conjuring2
บ่อยครั้ง ที่ภาพยนตร์หลายเรื่องมีนัยบางอย่างซ่อนอยู่นอกเหนือจาก สิ่งที่เป็นสารหลักซึ่งผู้กำกับต้องการจะสื่อสารถึงผู้ชมของเขา
บ่อยครั้ง ที่ภาพยนตร์หลายเรื่องถูกเรานำมาพูดถึงซ้ำแล้วซ้ำเล่าในแง่ของคุณค่า และการตีความซึ่งเราต่างมีมุมต่าง และมุมร่วม
ผมจึงอยากใช้พื้นที่นี้ สร้างบทวิเคราะห์ที่พูดถึงหนังสองเรื่อง ต่างสาย ต่างพวกกัน... แต่มีจุดร่วมเดียวกัน คือ "ความตาย"
Me Before You พูดถึงความตายที่ซ่อนอยู่ในความหวัง
ในขณะที่ The Conjuring2 พูดถึงความหวังที่มีความตายรายล้อมอยู่
แต่... เราเห็นมุมมองอะไรจากสิ่งที่หนังทั้งสองเรื่องต้องการจะสื่อสารถึง ผมจะขออธิบายแยกเป็นส่วนๆ ตามบทวิเคราะห์ ดังนี้
"เพราะผมรักคุณ ผมถึงไม่ยอมยึดคุณไว้ให้อยู่กับผมแบบนี้"
- Me Before You -
บทวิเคราะห์ที่ 1 : ว่าด้วย Me Before you
สตีฟ จ๊อบส์ กล่าวว่า "การตระหนักว่าตัวเองจะต้องจากโลกนี้ไปในไม่ช้า
เป็นเครื่องมือสำคัญที่สุด ที่ช่วยให้ผมตัดสินใจเรื่องสำคัญ ในชีวิตได้ง่ายขึ้น
เพราะทั้งความคาดหวัง ความทะนงตน และอาการกลัวความอับอาย หรือความล้มเหลวมลายหายไป
เมื่อความตายรออยู่ตรงหน้า เหลือไว้เพียงสิ่งที่สำคัญ อย่างแท้จริงเท่านั้น
สำหรับผม... การเตือนตัวเองว่า สักวันหนึ่งคนเราก็ต้องตายเป็นหนทางที่ดีที่สุด
ในการป้องกันไม่ให้ผมคิดว่า ยังมีบางอย่างให้เสีย เราทุกคนล้วนเกิดมาตัวเปล่ากันอยู่แล้ว"
.
ผมยกคำกล่าวนี้มา เพื่อจะบอกว่า เราต่างก็ใช้ชีวิตกันอย่างประมาท และวันชนวัน ราวกับว่าชีวิตของเรานั้นเป็น อนันต์
และไม่มีวันเสื่อมสลายหายไปจากเอกภพนี้ หากแต่ความจริงแล้ว เราอาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกดับได้เร็วที่สุดในจักรวาลด้วยซ้ำ
Me before you เปิดเรื่องด้วยฉากที่อบอวลไปด้วยความปกติสุขในชีวิตของชายหนุ่มผู้มีเพียบพร้อมแล้วทุกอย่าง
บนเตียงนอนอันแสนอ่อนนุ่มนั้น เขาจุมพิตหญิงคนรัก แล้วแต่งตัวออกไปทำงาน
ปล่อยให้ความบังเอิญในชีวิตได้ทำหน้าที่ของมัน ตรงนี้เป็นจุดที่เรียกว่า "การสร้างความประหลาดใจภายใน 5 นาทีแรก"
ภาพตัดสลับรถมอเตอร์ไซค์ที่กำลังวิ่งมา แล้วตัดสลับมาที่พระเอก เขาหันมาในระยะจวนตัว พร้อมกับร่องรอยความสูญเสียที่ส่อออกมาผ่านแววตา
วินาทีนั้น เขาเริ่มคาดเดาอนาคตของตัวเองที่กำลังจะ "เป็นคนตาย" ตายไปจากชีวิตอันแสบสงบสุขที่มีอยู่เดิม...
แล้วภาพก็ตัดสลับมาที่ชีวิตของนางเอก ในร้านขายคุ้กกี้เล็กๆ แห่งหนึ่ง หญิงสาวที่ดูร่าเริงอยู่ในแววตา และเอาใจใส่ต่อลูกค้าทุกคนที่เธอให้บริการ
.
ตรงนี้ Me before you ได้สร้างภาพจำให้กับเรา ในแง่มุมความซื่อและเอาใจผู้คนของนางเอก
ในขณะที่หัวหน้าของเธอ แสดงออกทางสีหน้า เหมือนกับมีความกังวลใจบางอย่าง
ตอนนั้น ผมคาดว่า เธอจะถูกไล่ออก หรือ ร้านอาจจะปิดกิจการ แล้วเส้นเรื่องก็เดินไปในทางนั้น
คือ นางเอกถูกยื่นซองขาว พร้อมกันนั้น แววตาความผิดหวังก็ฉายทับลงมาบนใบหน้าที่เคยเปี่ยมไปด้วยความสุข เธอเดินไปตามถนนด้วยใจที่ว่างเปล่า
ตรงนี้ เป็นภาพอีกอย่างหนึ่งที่ ใช้วิธีบอกเล่าคล้ายกับฝั่งพระเอก คือ ชีวิตที่ปกติสุขอยู่เดิม แล้วเจอมรสุมชีวิตในตอนท้าย...
เส้นเรื่องทั้งสองฝั่ง ถูกเอามาเชื่อมโยงด้วยพล็อตง่ายๆ คิอ "คนหนึ่งตกงาน" "คนหนึ่งกำลังมองหาคนทำงาน"
สถานภาพของทั้งคู่ เริ่มต้นขึ้นด้วยคำว่า เจ้านาย - ลูกจ้าง และเพื่อให้ผู้ชมมีอารมณ์ร่วมไปกับลักษณะนิสัยของนางเอก ฉากที่จะทำให้ผู้ชมเห็นว่า
นางเอกเป็นคนมีลักษณะโดยรวมอย่างไร คือ การแสดงออกตอนสัมภาษณ์และการเจอหน้าพระเอกเป็นครั้งแรก แม่ของพระเอกถามว่า
"ทำไมฉันถึงต้องจ้างเธอ?" นางเอกชะงักนิ่งไปครู่หนี่งแล้วพูดว่า "ที่คุณต้องจ้างฉันเพราะฉันเรียนรู้ได้ไว ฉันเอาใจใส่ต่องาน และฉันต้องการมัน"
ตรงนี้ เป็นจุดที่น่าสนใจ ในการตอบคำถามแบบตรงไปตรงมา เราสามารถเอามาปรับใช้กับชีวิตของเราได้อย่างไร... หลายคนชอบการตอบไม่ตรงคำถาม
ในสังคมไทยถูกสอนให้ตอบแบบอ่อนน้อม อ้อมคอม และชักแม่น้ำทั้งห้ามาพูด แต่ในสังคมต่างประเทศ "การตอบให้ตรงคำถาม" มีโอกาสมากที่สุดที่คุณจะได้สิ่งที่คุณต้องการ...
.
ฉากการพบกันครั้งแรก ของพระเอก กับ นางเอก ถือเป็นฉากหนึ่งในหนังรักที่เป็น "พล็อตอมตะ" ซึ่งเราเห็นได้ตามละคร หนังสือนวนิยายต่างๆ
นั่นคือ การพบกันครั้งแรกของพระเอก กับ นางเอก มักเริ่มต้นด้วยการเป็นคู่ปรับกันเสมอ แล้วมารักกันแทบเป็นแทบตายในภายหลัง
ซึ่งสำหรับผู้ชม นี่ก็เป็นครั้งแรกที่เราได้เห็น สภาพของชายผู้เพียบพร้อมในฉากแรก นั่งอยู่บนรถเข็นไฟฟ้า พร้อมกับหนวดเคราที่รกครึ้มของเขาเช่นกัน
หากใครยังจำคำพูดหนึ่งของแม่พระเอกได้ เธอได้พูดเป็นนัยๆ ไว้กับนางเอกว่า "ฉันไม่ได้อยากให้เขามีลูกจ้าง ฉันอยากให้เขามีเพื่อน"
ตางนี้มาเฉลยในภายหลังว่า แม่ของพระเอกไม่ได้ต้องการหาคนมาดูแลพระเอก แต่ต้องการหาผู้หญิงที่จะมาเปลี่ยนใจของพระเอก
ไม่ให้ตัดสินใจทำการุณยฆาตที่ สวิตเซอร์แลนด์ ตามความตั้งใจเดิม
ในมุมมองชองความรัก Me Before You ให้นิยามเราไว้ว่า ความตายบางครั้งก็มีความหวังซ่อนอยู่ในนั้น
วิล เทอร์เนอร์ ได้สอนการใช้ชีวิตให้แก่ผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้หญิงที่ตลอดทั้งชีวิตอันแสนน่าเบื่อหน่ายของเธอ ทำตามสิ่งที่คนอื่นคาดหวัง
คาดหวังให้เธอประคับประคองครอบครัว...
คาดหวังให้เธอเป็นคนเลี้ยงดูคนในบ้าน...
คาดหวังให้เธอทำทุกอย่างในแบบที่ครอบครัวหวังให้เธอทำ...
ให้กลับกลายมาเป็นคนที่มีชีวิตในแบบที่ตัวเองอยากจะเป็น
อาจมีคนแย้งว่า พระเอกร่ำรวยมหาศาล บันดาลชีวิตของนางเอกได้ทุกอย่างอยู่แล้ว
ก็จริงครับ ที่พระเอกรวย แต่ความ รวย ไม่ได้เสกให้เขาหายพิการ
ความรวยไม่ได้ทำให้แฟนของเขากลับมารักเขาเหมือนเดิม
ในภาพยนตร์นั้น คนรักเก่าของพระเอก บอกกับนางเอกว่า "ซักวันเธอจะรู้ว่าการที่คนๆนึงไม่ยอมให้เราช่วยเขามันเป็นยังไง"
แต่... นางเอกได้ทำในสิ่งที่มากกว่า การเปิดใจของพระเอก นั่นคือ เธอพยายามทำให้เขารู้สึกเป็นคน "ปกติ"
ใช่ครับ... นี่คือ พ้อยท์ สำคัญของ Me Before You เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามองคนพิการว่า พิการ เขาก็จะพิการตลอดไป
แต่เมื่อใดที่เรามองว่าเขา คือ คนปกติ ความพิการของเขาก็จะถูกมองข้ามไป ผมเคยเขียนไว้ในประทู้หนึ่งถึงเหตุผลและการตัดสินใจ
จบชีวิตตัวเองของ วิล ว่าทำไม และเพราะอะไร "ความหวัง" จึงไม่อาจยื้อหัวใจของเขาให้อยู่บนโลกได้
ใครยังไม่ได้อ่านเชิญตามไปอ่านที่กระทู้นี้ครับ
http://ppantip.com/topic/35237497
.
ผมจึงอยากสรุปภาพกว้างๆของ Me Before You ว่า "การเสียสละ มีค่า กว่าความรักเสมอ" ดั่งที่ วิล เคยกล่าวกับ ลู ไว้ว่า
บทวิคราะห์ที่ 2 : ว่าด้วยพล๊อตย่อยใน The Conjuring2
มาถึงหนังผี ที่หลายคนมองว่า "นี่มันหนังรักชัดๆ" ผมยอมรับว่า คำกล่าวนั้น มีความเป็นจริงอยู่อย่างมากทีเดียว
นั่นก็เพราะ ประเด็นสำคัญที่ TheConjuring2 ต้องการสื่อสารถึง คือ พลังของความรัก ไม่ว่าจะเป็นคนรัก หรือ ครอบครัว
ซึ่งหากตัดบทบาทของผี หรือวิญญาณออก แล้วแยกสารประกอบที่ก่อตัวขึ้นมาเป็น TheConjuring2 นั้น
เราจะพบว่า มีพล๊อตย่อยซ่อนอยู่ใน พล๊อตหลัก นั่นคือ ความสำคัญระหว่างกันของ เอ็ด และ ลอเรน
.
ตรงนี้เราถูกปูพื้นฐาน และความผูกพันกันมาตั้งแต่ TheConjuring ภาคแรกๆ จึงทำให้ไม่ใช่เรื่องยากเลย
ที่เราจะรู้สึกคุ้นเคย และเอาใจช่วยสองสามี ภรรยา นักปราบผี คู่นี้อยู่ตลอดเวลาที่เราลุ้นติดอยู่กับหน้าจอ
.
หากแต่ในข้อเท็จจริงนั้น เป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว ที่เอ็ดและลอร์เรน วอร์เรน ได้รับการยอมรับในอเมริกาให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิญญาณและปีศาจวิทยา
ด้วยความที่เป็นคนเคร่งศาสนา ครอบครัว วอร์เรน จึงมักถูกเชิญให้ไปจัดการและพิสูจน์ หาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย
ปรากฏการณ์ปีศาจคุกคามที่ควบคุมไม่ได้ในอเมริกาเสมอ
ตรงจุดนี้ คือครั้งแรกที่เรารู้จักกับ เอ็ด และ ลอร์เรน วอร์เรน ในภาคแรก ซึ่งเราจะเห็นว่าทั้งคู่ได้อุทิศตนและเสียสละเวลาให้แก่งานของพวกเขา
จนนำไปสู่คดีที่ดินต้องคำสาปของเบธชีบา หญิงสาวผู้ประกาศบูชารักต่อซาตานและแขวนคอตายอยู่หน้าบ้านของตัวเอง
แต่ละคดีที่พวกเขาเปิดเผย จึงมักถูกตั้งข้อสงสัยว่า เป็นเรื่องหลอกลวง หรือของจริงกันแน่
.
แต่ประเด็นในบทนี้ของผมที่จะเขียนต่อไปนี้ คือที่มาที่ไปของ ทั้งสองคน คือ เอ็ด และ ลอร์เรน ทั้งสองมาเจอกันได้อย่างไร
มีความเป็นมาเป็นไที่น่าสนใจอย่างไร ตรงนี้เราจะมาไล่ประเด็นย่อยกัน และเชื่อมร้อยไปถึงพล็อตย่อยว่าด้วยความรักระหว่างทั้งสองคนที่ถูกใส่ลงมา
ทำให้หลายคนอดซาบซึ้งถึงความรักและความเอาใจใส่ที่ทั้งคู่มีต่อกันไม่ได้
.
เมื่อพูดถึง นักปราบผี หลายคนคงอนุมานเอาด้วยหลักคิดง่ายๆว่า เอ็ด นั้นต้องมีญาณสัมผัสด้วยแน่ๆ
แต่คุณกำลังคิดผิด เพราะ เอ็ด นั้น เป็นเพียงนักปีศาจวิทยา แต่ ลอร์เรน ต่างหากที่เป็นร่างทรง ซึ่งสามารถติดต่อ สื่อสารกับวิญญาณได้จริง
ในหนัง TheConjuring2 คุณคงจะเห็นว่า ฝีมือการวาดภาพของ เอ็ด นั้น อยู่ในขั้นที่เรียกว่า งดงามราวกับมีชีวิตจริงทีเดียว
ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าในเร่องจริง เอ็ด ได้เข้าโรงเรียนศิลปะเพอร์รี่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเยล เป็นเวลา 2 ปี
.
และพวกเขาทั้งคู่ ก็เริ่มสืบคดีที่เกี่ยวข้องกับวิญญาณผ่านทางการวาดภาพนั่นเอง โดยเอ็ด จะพาลอเรน ไปยังบ้านที่มีผีสิง
และเขาจะเริ่มวาดภาพของบ้านหลังนั้น ซึ่งเปิดโอาสให้พวกเขาได้ทำความรู้จักกับเจ้าของบ้าน
และค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของเหตุการณ์ประหลาดในบ้านหลังนั้น
.
ซึ่งในหนังก็ได้ใช้ความสามารถในชีวิตจริงของ เอ็ด มาสื่อสารถึง ผีแม่ชี ที่ตามมาหลอกหลอนเขาในความฝัน จนมันติดตา
ทำให้เขาต้องวาดภาพของผีแม่ชีตนนี้ออกมา เผื่อว่าจะช่วยอะไรได้ ฉากนี้ ได้สร้างความกังวลเล็กๆในใจ ของ ลอร์เรน
เธอเริ่มมอง เอ็ด ด้วยสายตาที่จริงจัง และเริ่มพูดถึงการหยุดรับคดีใหม่ๆ ในขณะที่ เอ็ด เองนั้น ก็ยังคงไมเข้าใจ
และกลับคิดไปว่า ภรรยาของเขาอาจรู้สึกไมดีกับพวกนักข่าว และการออกรายการต่างๆ ซึ่งทำให้ตัวเขาและภรรยา ถุกมองว่า
เป็นพวกลวงโลก ฉกฉวยผลประโยชน์จากความศรัทธา และความทุกข์ของคน
.
การที่ในฉากนั้น ใส่บทของลูกสาว มาด้วย ถือเป็นองค์ระกอบหนึ่งที่ลดความเข้มข้นในอารมณ์สนทนาลง แล้วดึงให้กลับมเป็นการคิดถึงครอบครัวมากขึ้น
เพราะในภาคแรกนั้น คนที่ถูกขู่ฆ่ามีทั้งเอ็ด ซึงลอร์เรน มาเปิดเผยตอนหลัง และลูกสาวของทั้งคู่ ซึงลอรืเรน เห็นในนิมิต ว่าศพของลูกสาวตัวเองลอยอยู่ในแม่น้ำหน้า ต้นไม้ที่ เบธชีบ แขวนคอตาย นั่นยิ่งสร้างความกดดัน และความลังเลใจให้กับลอเรนได้มากยิ่งขึ้น
.
ผมมองว่า ความกดดัน และความกังวลใจนี้เอง ที่ทำให้ ญาณขอลอเรน ไขว้เขว และถูกบดบังโดยซาตานได้โดยง่าย...
.
เอาละครับ อีกหนึ่งพลีอตย่อยที่ถือเป็นหัวใจของเรื่อง คือ ฉากที่ทั้งคู่มาถึงบ้านของครอบครัว ฮอดจ์สัน ในเอ็นฟีลด์ ประเทศอังกฤษ
ตรงช่วงนี้เองที่ทำให้เราซึมซับไปกับความรักที่ทั้งคู่มีต่อกันได้ดียิ่งขึ้น...
- โปรดติดตามบทวิเคราะห์นี้ ในความเห็นข้างล่างต่อไป -
หากใครสนใจจะอ่านบทความที่ผมวิเคราะห์ไว้เชิญที่กระทู้นี้ก่อนได้เลยครับ :
http://ppantip.com/topic/35252381
[บทความพิเศษ] วิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ : Me before you VS The Conjuring2
บ่อยครั้ง ที่ภาพยนตร์หลายเรื่องมีนัยบางอย่างซ่อนอยู่นอกเหนือจาก สิ่งที่เป็นสารหลักซึ่งผู้กำกับต้องการจะสื่อสารถึงผู้ชมของเขา
บ่อยครั้ง ที่ภาพยนตร์หลายเรื่องถูกเรานำมาพูดถึงซ้ำแล้วซ้ำเล่าในแง่ของคุณค่า และการตีความซึ่งเราต่างมีมุมต่าง และมุมร่วม
ผมจึงอยากใช้พื้นที่นี้ สร้างบทวิเคราะห์ที่พูดถึงหนังสองเรื่อง ต่างสาย ต่างพวกกัน... แต่มีจุดร่วมเดียวกัน คือ "ความตาย"
Me Before You พูดถึงความตายที่ซ่อนอยู่ในความหวัง
ในขณะที่ The Conjuring2 พูดถึงความหวังที่มีความตายรายล้อมอยู่
แต่... เราเห็นมุมมองอะไรจากสิ่งที่หนังทั้งสองเรื่องต้องการจะสื่อสารถึง ผมจะขออธิบายแยกเป็นส่วนๆ ตามบทวิเคราะห์ ดังนี้
"เพราะผมรักคุณ ผมถึงไม่ยอมยึดคุณไว้ให้อยู่กับผมแบบนี้"
- Me Before You -
บทวิเคราะห์ที่ 1 : ว่าด้วย Me Before you
สตีฟ จ๊อบส์ กล่าวว่า "การตระหนักว่าตัวเองจะต้องจากโลกนี้ไปในไม่ช้า
เป็นเครื่องมือสำคัญที่สุด ที่ช่วยให้ผมตัดสินใจเรื่องสำคัญ ในชีวิตได้ง่ายขึ้น
เพราะทั้งความคาดหวัง ความทะนงตน และอาการกลัวความอับอาย หรือความล้มเหลวมลายหายไป
เมื่อความตายรออยู่ตรงหน้า เหลือไว้เพียงสิ่งที่สำคัญ อย่างแท้จริงเท่านั้น
สำหรับผม... การเตือนตัวเองว่า สักวันหนึ่งคนเราก็ต้องตายเป็นหนทางที่ดีที่สุด
ในการป้องกันไม่ให้ผมคิดว่า ยังมีบางอย่างให้เสีย เราทุกคนล้วนเกิดมาตัวเปล่ากันอยู่แล้ว"
.
ผมยกคำกล่าวนี้มา เพื่อจะบอกว่า เราต่างก็ใช้ชีวิตกันอย่างประมาท และวันชนวัน ราวกับว่าชีวิตของเรานั้นเป็น อนันต์
และไม่มีวันเสื่อมสลายหายไปจากเอกภพนี้ หากแต่ความจริงแล้ว เราอาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกดับได้เร็วที่สุดในจักรวาลด้วยซ้ำ
Me before you เปิดเรื่องด้วยฉากที่อบอวลไปด้วยความปกติสุขในชีวิตของชายหนุ่มผู้มีเพียบพร้อมแล้วทุกอย่าง
บนเตียงนอนอันแสนอ่อนนุ่มนั้น เขาจุมพิตหญิงคนรัก แล้วแต่งตัวออกไปทำงาน
ปล่อยให้ความบังเอิญในชีวิตได้ทำหน้าที่ของมัน ตรงนี้เป็นจุดที่เรียกว่า "การสร้างความประหลาดใจภายใน 5 นาทีแรก"
ภาพตัดสลับรถมอเตอร์ไซค์ที่กำลังวิ่งมา แล้วตัดสลับมาที่พระเอก เขาหันมาในระยะจวนตัว พร้อมกับร่องรอยความสูญเสียที่ส่อออกมาผ่านแววตา
วินาทีนั้น เขาเริ่มคาดเดาอนาคตของตัวเองที่กำลังจะ "เป็นคนตาย" ตายไปจากชีวิตอันแสบสงบสุขที่มีอยู่เดิม...
แล้วภาพก็ตัดสลับมาที่ชีวิตของนางเอก ในร้านขายคุ้กกี้เล็กๆ แห่งหนึ่ง หญิงสาวที่ดูร่าเริงอยู่ในแววตา และเอาใจใส่ต่อลูกค้าทุกคนที่เธอให้บริการ
.
ตรงนี้ Me before you ได้สร้างภาพจำให้กับเรา ในแง่มุมความซื่อและเอาใจผู้คนของนางเอก
ในขณะที่หัวหน้าของเธอ แสดงออกทางสีหน้า เหมือนกับมีความกังวลใจบางอย่าง
ตอนนั้น ผมคาดว่า เธอจะถูกไล่ออก หรือ ร้านอาจจะปิดกิจการ แล้วเส้นเรื่องก็เดินไปในทางนั้น
คือ นางเอกถูกยื่นซองขาว พร้อมกันนั้น แววตาความผิดหวังก็ฉายทับลงมาบนใบหน้าที่เคยเปี่ยมไปด้วยความสุข เธอเดินไปตามถนนด้วยใจที่ว่างเปล่า
ตรงนี้ เป็นภาพอีกอย่างหนึ่งที่ ใช้วิธีบอกเล่าคล้ายกับฝั่งพระเอก คือ ชีวิตที่ปกติสุขอยู่เดิม แล้วเจอมรสุมชีวิตในตอนท้าย...
เส้นเรื่องทั้งสองฝั่ง ถูกเอามาเชื่อมโยงด้วยพล็อตง่ายๆ คิอ "คนหนึ่งตกงาน" "คนหนึ่งกำลังมองหาคนทำงาน"
สถานภาพของทั้งคู่ เริ่มต้นขึ้นด้วยคำว่า เจ้านาย - ลูกจ้าง และเพื่อให้ผู้ชมมีอารมณ์ร่วมไปกับลักษณะนิสัยของนางเอก ฉากที่จะทำให้ผู้ชมเห็นว่า
นางเอกเป็นคนมีลักษณะโดยรวมอย่างไร คือ การแสดงออกตอนสัมภาษณ์และการเจอหน้าพระเอกเป็นครั้งแรก แม่ของพระเอกถามว่า
"ทำไมฉันถึงต้องจ้างเธอ?" นางเอกชะงักนิ่งไปครู่หนี่งแล้วพูดว่า "ที่คุณต้องจ้างฉันเพราะฉันเรียนรู้ได้ไว ฉันเอาใจใส่ต่องาน และฉันต้องการมัน"
ตรงนี้ เป็นจุดที่น่าสนใจ ในการตอบคำถามแบบตรงไปตรงมา เราสามารถเอามาปรับใช้กับชีวิตของเราได้อย่างไร... หลายคนชอบการตอบไม่ตรงคำถาม
ในสังคมไทยถูกสอนให้ตอบแบบอ่อนน้อม อ้อมคอม และชักแม่น้ำทั้งห้ามาพูด แต่ในสังคมต่างประเทศ "การตอบให้ตรงคำถาม" มีโอกาสมากที่สุดที่คุณจะได้สิ่งที่คุณต้องการ...
.
ฉากการพบกันครั้งแรก ของพระเอก กับ นางเอก ถือเป็นฉากหนึ่งในหนังรักที่เป็น "พล็อตอมตะ" ซึ่งเราเห็นได้ตามละคร หนังสือนวนิยายต่างๆ
นั่นคือ การพบกันครั้งแรกของพระเอก กับ นางเอก มักเริ่มต้นด้วยการเป็นคู่ปรับกันเสมอ แล้วมารักกันแทบเป็นแทบตายในภายหลัง
ซึ่งสำหรับผู้ชม นี่ก็เป็นครั้งแรกที่เราได้เห็น สภาพของชายผู้เพียบพร้อมในฉากแรก นั่งอยู่บนรถเข็นไฟฟ้า พร้อมกับหนวดเคราที่รกครึ้มของเขาเช่นกัน
หากใครยังจำคำพูดหนึ่งของแม่พระเอกได้ เธอได้พูดเป็นนัยๆ ไว้กับนางเอกว่า "ฉันไม่ได้อยากให้เขามีลูกจ้าง ฉันอยากให้เขามีเพื่อน"
ตางนี้มาเฉลยในภายหลังว่า แม่ของพระเอกไม่ได้ต้องการหาคนมาดูแลพระเอก แต่ต้องการหาผู้หญิงที่จะมาเปลี่ยนใจของพระเอก
ไม่ให้ตัดสินใจทำการุณยฆาตที่ สวิตเซอร์แลนด์ ตามความตั้งใจเดิม
ในมุมมองชองความรัก Me Before You ให้นิยามเราไว้ว่า ความตายบางครั้งก็มีความหวังซ่อนอยู่ในนั้น
วิล เทอร์เนอร์ ได้สอนการใช้ชีวิตให้แก่ผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้หญิงที่ตลอดทั้งชีวิตอันแสนน่าเบื่อหน่ายของเธอ ทำตามสิ่งที่คนอื่นคาดหวัง
คาดหวังให้เธอประคับประคองครอบครัว...
คาดหวังให้เธอเป็นคนเลี้ยงดูคนในบ้าน...
คาดหวังให้เธอทำทุกอย่างในแบบที่ครอบครัวหวังให้เธอทำ...
ให้กลับกลายมาเป็นคนที่มีชีวิตในแบบที่ตัวเองอยากจะเป็น
อาจมีคนแย้งว่า พระเอกร่ำรวยมหาศาล บันดาลชีวิตของนางเอกได้ทุกอย่างอยู่แล้ว
ก็จริงครับ ที่พระเอกรวย แต่ความ รวย ไม่ได้เสกให้เขาหายพิการ
ความรวยไม่ได้ทำให้แฟนของเขากลับมารักเขาเหมือนเดิม
ในภาพยนตร์นั้น คนรักเก่าของพระเอก บอกกับนางเอกว่า "ซักวันเธอจะรู้ว่าการที่คนๆนึงไม่ยอมให้เราช่วยเขามันเป็นยังไง"
แต่... นางเอกได้ทำในสิ่งที่มากกว่า การเปิดใจของพระเอก นั่นคือ เธอพยายามทำให้เขารู้สึกเป็นคน "ปกติ"
ใช่ครับ... นี่คือ พ้อยท์ สำคัญของ Me Before You เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามองคนพิการว่า พิการ เขาก็จะพิการตลอดไป
แต่เมื่อใดที่เรามองว่าเขา คือ คนปกติ ความพิการของเขาก็จะถูกมองข้ามไป ผมเคยเขียนไว้ในประทู้หนึ่งถึงเหตุผลและการตัดสินใจ
จบชีวิตตัวเองของ วิล ว่าทำไม และเพราะอะไร "ความหวัง" จึงไม่อาจยื้อหัวใจของเขาให้อยู่บนโลกได้
ใครยังไม่ได้อ่านเชิญตามไปอ่านที่กระทู้นี้ครับ http://ppantip.com/topic/35237497
.
ผมจึงอยากสรุปภาพกว้างๆของ Me Before You ว่า "การเสียสละ มีค่า กว่าความรักเสมอ" ดั่งที่ วิล เคยกล่าวกับ ลู ไว้ว่า
บทวิคราะห์ที่ 2 : ว่าด้วยพล๊อตย่อยใน The Conjuring2
มาถึงหนังผี ที่หลายคนมองว่า "นี่มันหนังรักชัดๆ" ผมยอมรับว่า คำกล่าวนั้น มีความเป็นจริงอยู่อย่างมากทีเดียว
นั่นก็เพราะ ประเด็นสำคัญที่ TheConjuring2 ต้องการสื่อสารถึง คือ พลังของความรัก ไม่ว่าจะเป็นคนรัก หรือ ครอบครัว
ซึ่งหากตัดบทบาทของผี หรือวิญญาณออก แล้วแยกสารประกอบที่ก่อตัวขึ้นมาเป็น TheConjuring2 นั้น
เราจะพบว่า มีพล๊อตย่อยซ่อนอยู่ใน พล๊อตหลัก นั่นคือ ความสำคัญระหว่างกันของ เอ็ด และ ลอเรน
.
ตรงนี้เราถูกปูพื้นฐาน และความผูกพันกันมาตั้งแต่ TheConjuring ภาคแรกๆ จึงทำให้ไม่ใช่เรื่องยากเลย
ที่เราจะรู้สึกคุ้นเคย และเอาใจช่วยสองสามี ภรรยา นักปราบผี คู่นี้อยู่ตลอดเวลาที่เราลุ้นติดอยู่กับหน้าจอ
.
หากแต่ในข้อเท็จจริงนั้น เป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว ที่เอ็ดและลอร์เรน วอร์เรน ได้รับการยอมรับในอเมริกาให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิญญาณและปีศาจวิทยา
ด้วยความที่เป็นคนเคร่งศาสนา ครอบครัว วอร์เรน จึงมักถูกเชิญให้ไปจัดการและพิสูจน์ หาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย
ปรากฏการณ์ปีศาจคุกคามที่ควบคุมไม่ได้ในอเมริกาเสมอ
ตรงจุดนี้ คือครั้งแรกที่เรารู้จักกับ เอ็ด และ ลอร์เรน วอร์เรน ในภาคแรก ซึ่งเราจะเห็นว่าทั้งคู่ได้อุทิศตนและเสียสละเวลาให้แก่งานของพวกเขา
จนนำไปสู่คดีที่ดินต้องคำสาปของเบธชีบา หญิงสาวผู้ประกาศบูชารักต่อซาตานและแขวนคอตายอยู่หน้าบ้านของตัวเอง
แต่ละคดีที่พวกเขาเปิดเผย จึงมักถูกตั้งข้อสงสัยว่า เป็นเรื่องหลอกลวง หรือของจริงกันแน่
.
แต่ประเด็นในบทนี้ของผมที่จะเขียนต่อไปนี้ คือที่มาที่ไปของ ทั้งสองคน คือ เอ็ด และ ลอร์เรน ทั้งสองมาเจอกันได้อย่างไร
มีความเป็นมาเป็นไที่น่าสนใจอย่างไร ตรงนี้เราจะมาไล่ประเด็นย่อยกัน และเชื่อมร้อยไปถึงพล็อตย่อยว่าด้วยความรักระหว่างทั้งสองคนที่ถูกใส่ลงมา
ทำให้หลายคนอดซาบซึ้งถึงความรักและความเอาใจใส่ที่ทั้งคู่มีต่อกันไม่ได้
.
เมื่อพูดถึง นักปราบผี หลายคนคงอนุมานเอาด้วยหลักคิดง่ายๆว่า เอ็ด นั้นต้องมีญาณสัมผัสด้วยแน่ๆ
แต่คุณกำลังคิดผิด เพราะ เอ็ด นั้น เป็นเพียงนักปีศาจวิทยา แต่ ลอร์เรน ต่างหากที่เป็นร่างทรง ซึ่งสามารถติดต่อ สื่อสารกับวิญญาณได้จริง
ในหนัง TheConjuring2 คุณคงจะเห็นว่า ฝีมือการวาดภาพของ เอ็ด นั้น อยู่ในขั้นที่เรียกว่า งดงามราวกับมีชีวิตจริงทีเดียว
ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าในเร่องจริง เอ็ด ได้เข้าโรงเรียนศิลปะเพอร์รี่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเยล เป็นเวลา 2 ปี
.
และพวกเขาทั้งคู่ ก็เริ่มสืบคดีที่เกี่ยวข้องกับวิญญาณผ่านทางการวาดภาพนั่นเอง โดยเอ็ด จะพาลอเรน ไปยังบ้านที่มีผีสิง
และเขาจะเริ่มวาดภาพของบ้านหลังนั้น ซึ่งเปิดโอาสให้พวกเขาได้ทำความรู้จักกับเจ้าของบ้าน
และค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของเหตุการณ์ประหลาดในบ้านหลังนั้น
.
ซึ่งในหนังก็ได้ใช้ความสามารถในชีวิตจริงของ เอ็ด มาสื่อสารถึง ผีแม่ชี ที่ตามมาหลอกหลอนเขาในความฝัน จนมันติดตา
ทำให้เขาต้องวาดภาพของผีแม่ชีตนนี้ออกมา เผื่อว่าจะช่วยอะไรได้ ฉากนี้ ได้สร้างความกังวลเล็กๆในใจ ของ ลอร์เรน
เธอเริ่มมอง เอ็ด ด้วยสายตาที่จริงจัง และเริ่มพูดถึงการหยุดรับคดีใหม่ๆ ในขณะที่ เอ็ด เองนั้น ก็ยังคงไมเข้าใจ
และกลับคิดไปว่า ภรรยาของเขาอาจรู้สึกไมดีกับพวกนักข่าว และการออกรายการต่างๆ ซึ่งทำให้ตัวเขาและภรรยา ถุกมองว่า
เป็นพวกลวงโลก ฉกฉวยผลประโยชน์จากความศรัทธา และความทุกข์ของคน
.
การที่ในฉากนั้น ใส่บทของลูกสาว มาด้วย ถือเป็นองค์ระกอบหนึ่งที่ลดความเข้มข้นในอารมณ์สนทนาลง แล้วดึงให้กลับมเป็นการคิดถึงครอบครัวมากขึ้น
เพราะในภาคแรกนั้น คนที่ถูกขู่ฆ่ามีทั้งเอ็ด ซึงลอร์เรน มาเปิดเผยตอนหลัง และลูกสาวของทั้งคู่ ซึงลอรืเรน เห็นในนิมิต ว่าศพของลูกสาวตัวเองลอยอยู่ในแม่น้ำหน้า ต้นไม้ที่ เบธชีบ แขวนคอตาย นั่นยิ่งสร้างความกดดัน และความลังเลใจให้กับลอเรนได้มากยิ่งขึ้น
.
ผมมองว่า ความกดดัน และความกังวลใจนี้เอง ที่ทำให้ ญาณขอลอเรน ไขว้เขว และถูกบดบังโดยซาตานได้โดยง่าย...
.
เอาละครับ อีกหนึ่งพลีอตย่อยที่ถือเป็นหัวใจของเรื่อง คือ ฉากที่ทั้งคู่มาถึงบ้านของครอบครัว ฮอดจ์สัน ในเอ็นฟีลด์ ประเทศอังกฤษ
ตรงช่วงนี้เองที่ทำให้เราซึมซับไปกับความรักที่ทั้งคู่มีต่อกันได้ดียิ่งขึ้น...
หากใครสนใจจะอ่านบทความที่ผมวิเคราะห์ไว้เชิญที่กระทู้นี้ก่อนได้เลยครับ : http://ppantip.com/topic/35252381