รีวิว | Finding Dory | สถาบันบำบัดปลาเพี้ยน
การหยิบหนังเก่ามาสร้างภาคต่อมักเป็นสัญญาณไอเดียอุดตัน ยิ่งผลักดันตัวละคร Sidekick มารับบทนำยิ่งหวั่นใจ หมิ่นเหม่กับการใช้มุขเดิมวนไปค่ะ แต่ Pixar สร้างการผจญภัยครั้งใหม่ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ต้องให้ดอรี่ปลาสีฟ้าความจำสั้นแต่รักชั้นยาวเท่านั้นเป็นผู้ถ่ายทอด เพราะนี้คือบททดสอบของ ‘ผู้มีความพิการ’
ดอรี่ (Ellen DeGeneres ใช้เสียงกระตือรือร้น ลดความน่ารำคาญของอาการเอ๋อเหรอ) เกิดฉุกคิดถึงพ่อแม่และแหล่งกำเนิดที่ซุกซ่อนอยู่ในหลืบลึกแห่งความทรงจำ ชักนำให้เธอออกว่ายสืบเสาะ โดยมีพ่อลูกปลาการ์ตูนเมอร์ลินและนีโม่ว่ายประกบสมทบความช่วยเหลือ
เรารัก Pixar ที่ใช้ความสดใสของสื่อ Animation ถ่ายทอดเรื่องราวที่โดยเนื้อแท้แล้วมีความขมอยู่ เหมือนยาแก้ไอที่จะให้เด็กทานก็ต้องเติมรสหวานให้กลืนง่าย ในขณะที่น้อง ๆ หนู ๆ กำลังสนุกอยู่กับภาพน่าตื่นตา เราว่าผู้ปกครองน่าจะอินกับหนังกว่าซะอีก โดยเฉพาะประเด็นพ่อแม่ที่ลูกมี ‘ความผิดปกติ’ อาการของดอรี่มีลักษณะเทียบเคียงได้กับ Autism อ่อน ๆ จนถึงปัญหาทางสมองแบบอัลไซเมอร์ ซึ่งแม้ลูกจะสมบูรณ์แบบสำหรับพ่อแม่เสมอ แต่ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงอุปสรรคในการเลี้ยงดู และหวั่นใจกับการเผชิญสังคมในอนาคตของลูก
ฉากที่ทำเราน้ำตาเกือบไหล แต่ยั้งไว้เพราะใจกร้านหยาบ คือภาพของสิ่งที่พ่อแม่ทำไว้เพื่อรอให้ลูกกลับมา สะท้อนความจริงสุดเจ็บปวดของกรณีลูกหาย หลายคนใช้ชีวิตหมดไปกับความเพียรพยายามนำทางลูกกลับคืน ซึ่งเราว่ามันเศร้ามาก แต่หนังก็ทำให้ Upbeat ไม่หม่นหมอง
‘ผู้มีความบกพร่อง’ อย่างดอรี่เองก็ต้องก้าวข้ามความสะพรึงในโลกที่เปิดกว้างด้วยตนเองให้ได้ ในวันที่ไม่มีทั้งพ่อแม่และเพื่อนพ้อง เช่นฉากโดดเดี่ยวในท้องทะเลกว้าง ท้าทายความหลงลืมของเธอยิ่งกว่า Julianne Moore ใน Still Alice (ถ้าให้ตั้งชื่อหนังให้ดอรี่ใหม่ก็คงเป็น Still A Fish) แต่การลองใช้สิ่งที่ตนมี แม้จะมีไม่เท่าคนอื่น ก็อาจแก้ปัญหาได้แบบที่ไม่มีใครคาดถึงหรือทำได้ดีเท่า You’ve gotta work with what you’ve got หยู่ว์โหน่ว /แร็พโย่ว์ทำไม
การผจญภัยเกินครึ่งเกิดขึ้นใน Marine Institution ศูนย์สัตว์น้ำ มีความเป็น Mental Institution บำบัดผู้มีอาการทางสมองมากกว่า Aquarium ก็เป็น Sanitarium รักษาเหล่าปลาป่วยที่ต่างยื่นครีบช่วยดอรี่ให้สมหวัง หนังสร้างบุคลิกเหล่าปลาชำรุดได้น่ารักจนอยากพูดด้วยสำเนียงฉลามวาฬยืดยานใส่เพื่อนหลังดูจบ
เนื่องจากโลเคชั่นมีพื้นที่แห้งเยอะ เราจึงได้เห็น Logistics การย้ายปลาแบบโคตะระอภินิหาร ดีดตัวทะยานจากบ่อสู่บ่อแบบไม่แคร์เวิร์ลด์ ใช้ความสามารถเยี่ยงสายลับ CIA ปฏิบัติภารกิจ เช่น การพรางตัวประหนึ่งนินจาของน้าปลาหมึกที่นอกจากจะเดินบนบกสบาย นางยังขับรถได้ด้วย โม้สนั่นแต่ก็สร้างสรรค์ดี Sigourney Weaver ยังต้องปลาบปลื้ม (หึ! ยังไม่ดูหละสิถึงไม่เก็ต /ยิ้มเยาะ)
ปิดท้ายด้วยหนังสั้นเปิดเรื่อง Piper ซึ่งเนื้อหาและอารมณ์สอดคล้องกับจักรวาลนีโม่อย่างเหมาะเจาะ ใช้เวลาสั้น ๆ เล่ากระบวนการขจัดความกลัวเพื่อเติบใหญ่ เข้าใจง่ายและน่ารักจนอยากโอบกอดน้องนกน้อยที่จิกหอยอย่างเริงร่า อย่าพลาดเข้าโรงช้าเชียว เดี๋ยวอดดู
เกรด | B เกือบบวก
Directed by Andrew Stanton
With Vocal Performance of Ellen DeGeneres, Albert Brooks and Ed O’Neill
แบ่งปันรีวิวจาก
https://www.facebook.com/jijabanang
รีวิว | Finding Dory | สถาบันบำบัดปลาเพี้ยน
การหยิบหนังเก่ามาสร้างภาคต่อมักเป็นสัญญาณไอเดียอุดตัน ยิ่งผลักดันตัวละคร Sidekick มารับบทนำยิ่งหวั่นใจ หมิ่นเหม่กับการใช้มุขเดิมวนไปค่ะ แต่ Pixar สร้างการผจญภัยครั้งใหม่ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ต้องให้ดอรี่ปลาสีฟ้าความจำสั้นแต่รักชั้นยาวเท่านั้นเป็นผู้ถ่ายทอด เพราะนี้คือบททดสอบของ ‘ผู้มีความพิการ’
ดอรี่ (Ellen DeGeneres ใช้เสียงกระตือรือร้น ลดความน่ารำคาญของอาการเอ๋อเหรอ) เกิดฉุกคิดถึงพ่อแม่และแหล่งกำเนิดที่ซุกซ่อนอยู่ในหลืบลึกแห่งความทรงจำ ชักนำให้เธอออกว่ายสืบเสาะ โดยมีพ่อลูกปลาการ์ตูนเมอร์ลินและนีโม่ว่ายประกบสมทบความช่วยเหลือ
เรารัก Pixar ที่ใช้ความสดใสของสื่อ Animation ถ่ายทอดเรื่องราวที่โดยเนื้อแท้แล้วมีความขมอยู่ เหมือนยาแก้ไอที่จะให้เด็กทานก็ต้องเติมรสหวานให้กลืนง่าย ในขณะที่น้อง ๆ หนู ๆ กำลังสนุกอยู่กับภาพน่าตื่นตา เราว่าผู้ปกครองน่าจะอินกับหนังกว่าซะอีก โดยเฉพาะประเด็นพ่อแม่ที่ลูกมี ‘ความผิดปกติ’ อาการของดอรี่มีลักษณะเทียบเคียงได้กับ Autism อ่อน ๆ จนถึงปัญหาทางสมองแบบอัลไซเมอร์ ซึ่งแม้ลูกจะสมบูรณ์แบบสำหรับพ่อแม่เสมอ แต่ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงอุปสรรคในการเลี้ยงดู และหวั่นใจกับการเผชิญสังคมในอนาคตของลูก
ฉากที่ทำเราน้ำตาเกือบไหล แต่ยั้งไว้เพราะใจกร้านหยาบ คือภาพของสิ่งที่พ่อแม่ทำไว้เพื่อรอให้ลูกกลับมา สะท้อนความจริงสุดเจ็บปวดของกรณีลูกหาย หลายคนใช้ชีวิตหมดไปกับความเพียรพยายามนำทางลูกกลับคืน ซึ่งเราว่ามันเศร้ามาก แต่หนังก็ทำให้ Upbeat ไม่หม่นหมอง
‘ผู้มีความบกพร่อง’ อย่างดอรี่เองก็ต้องก้าวข้ามความสะพรึงในโลกที่เปิดกว้างด้วยตนเองให้ได้ ในวันที่ไม่มีทั้งพ่อแม่และเพื่อนพ้อง เช่นฉากโดดเดี่ยวในท้องทะเลกว้าง ท้าทายความหลงลืมของเธอยิ่งกว่า Julianne Moore ใน Still Alice (ถ้าให้ตั้งชื่อหนังให้ดอรี่ใหม่ก็คงเป็น Still A Fish) แต่การลองใช้สิ่งที่ตนมี แม้จะมีไม่เท่าคนอื่น ก็อาจแก้ปัญหาได้แบบที่ไม่มีใครคาดถึงหรือทำได้ดีเท่า You’ve gotta work with what you’ve got หยู่ว์โหน่ว /แร็พโย่ว์ทำไม
การผจญภัยเกินครึ่งเกิดขึ้นใน Marine Institution ศูนย์สัตว์น้ำ มีความเป็น Mental Institution บำบัดผู้มีอาการทางสมองมากกว่า Aquarium ก็เป็น Sanitarium รักษาเหล่าปลาป่วยที่ต่างยื่นครีบช่วยดอรี่ให้สมหวัง หนังสร้างบุคลิกเหล่าปลาชำรุดได้น่ารักจนอยากพูดด้วยสำเนียงฉลามวาฬยืดยานใส่เพื่อนหลังดูจบ
เนื่องจากโลเคชั่นมีพื้นที่แห้งเยอะ เราจึงได้เห็น Logistics การย้ายปลาแบบโคตะระอภินิหาร ดีดตัวทะยานจากบ่อสู่บ่อแบบไม่แคร์เวิร์ลด์ ใช้ความสามารถเยี่ยงสายลับ CIA ปฏิบัติภารกิจ เช่น การพรางตัวประหนึ่งนินจาของน้าปลาหมึกที่นอกจากจะเดินบนบกสบาย นางยังขับรถได้ด้วย โม้สนั่นแต่ก็สร้างสรรค์ดี Sigourney Weaver ยังต้องปลาบปลื้ม (หึ! ยังไม่ดูหละสิถึงไม่เก็ต /ยิ้มเยาะ)
ปิดท้ายด้วยหนังสั้นเปิดเรื่อง Piper ซึ่งเนื้อหาและอารมณ์สอดคล้องกับจักรวาลนีโม่อย่างเหมาะเจาะ ใช้เวลาสั้น ๆ เล่ากระบวนการขจัดความกลัวเพื่อเติบใหญ่ เข้าใจง่ายและน่ารักจนอยากโอบกอดน้องนกน้อยที่จิกหอยอย่างเริงร่า อย่าพลาดเข้าโรงช้าเชียว เดี๋ยวอดดู
เกรด | B เกือบบวก
Directed by Andrew Stanton
With Vocal Performance of Ellen DeGeneres, Albert Brooks and Ed O’Neill
แบ่งปันรีวิวจาก https://www.facebook.com/jijabanang