เราซีเรียสการใช้ "นะค่ะ" เกินไปหรือเปล่า จากใจคนเคยเรียนภาษามือ!

กระทู้สนทนา
ผมได้มีโอกาสเรียนภาษามือมานิดหน่อย ทำให้รู้สึกว่าได้รับการเปิดความคิด เปิดหัวใจในการสื่อสารมากขึ้น

ปัญหาที่สำคัญสำหรับคนอ่าน "นะค่ะ" แล้วรู้สึกว่ารำคาญ รู้สีกหงุดหงิด
ผมขอวิเคราะห์ว่า.. เวลาพวกคุณอ่านหนังสือ คุณแปลงการอ่านภาษา ให้เป็นเสียงในหัวสมองของคุณเยอะเกินไป
อย่างวิธีการอ่านภาษามือเวลาเขาสนทนากัน มันแปลงความหมายออกมาเป็นภาพเล่าเรื่องเหตุการณ์
เหมือนคุณดูหนังสือภาพแล้วไม่มีตัวหนังสืออธิบาย นั่นแสดงว่าภาพนั้นจะต้องชัดเจนมากพอที่จะไม่สื่อความหมายได้หลายทาง

การอ่านหนังสือก็ควรจะใช้หลักนี้ควบคู่ด้วย คือการแปลงออกมาเป็นความหมายที่ผู้สื่อสารต้องการสื่อ
ไม่ใช่มัวแต่ไปสะดุดกับเสียงวรรณยุกต์ในการออกเสียงพูด เพราะคุณต้องเข้าใจการพิมพ์ตัวหนังสืออย่างรวดเร็วด้วย
เวลาผู้หญิงจะใช้ คะ,ค่ะ ผมเข้าใจว่าโอกาสในการใช้ "ค่ะ" จะบ่อยกว่า นั่นทำให้การพิมพ์ออกมาว่า "ค่ะ" นั้นออกมาอย่างอัตโนมัติ

บางคนเข้าใจว่าคนหูหนวกน่าจะอ่านหนังสือได้ แต่ความจริงคืออ่าน/เขียนให้เป็นประโยคยากมาก เพราะเขาไม่เคยได้ยินเสียงมาก่อน
เวลาเราสื่อสารด้วยตัวอักษรกับคนหูหนวก เขาก็เขียนได้เป็นคำๆเท่านั้น จะเรียงประโยคให้เราเข้าใจนั้นทำได้ยาก
ดังนั้น ความที่สังคมคนหูดีซีเรียสกับ "นะค่ะ" จนเกินไปขนาดนี้ ผมมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยเท่านั้นในการสื่อสาร

ภาษามือไม่มีคำหยาบ ไม่มีคำสุภาพ อารมณ์ในการสื่อสารจะดีจะแย่จึงเกิดจากการกระทำมากกว่าการสนทนากัน
การใช้ชีวิตของเราก็เช่นเดียวกัน เราชอบฟังคำพูดหวานๆ คำไพเราะ หรือชอบความถูกต้องในการใช้ภาษา
ตรงนี้อาจจะทำให้เราละเลยความเข้าอกเข้าใจกัน การสื่อสารที่ตรงไปตรงมา การยอมซี่งกันและกัน และการกระทำดีต่อกัน

ขอบคุณที่รับฟังครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่