จากข่าวสภาวิศวกรเตรียมกำหนดให้การออกแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ต้องผ่านการรับรองจากวิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร
http://ppantip.com/topic/35033445
ตอนนี้ทางสภาวิศวกรก็ชี้แจงเพิ่มเติมถึงร่างใหม่ที่กำลังเสนอ ระบุว่าไม่ได้เป็นการก้าวล่วงไปถึงงานคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด
ร่างใหม่ของกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้งานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร ครอบคลุมถึงงานอีก 2 ประเภท จากเดิมที่กำหนดเฉพาะเสาส่งคลื่นความถี่ที่กำลังส่งเกิน 30 วัตต์ EIRP เท่านั้น โดยประเภทงานที่เพิ่มเติมเข้ามาได้แก่
ระบบรับ ส่ง แยก รวมเพื่อส่งผ่านสัญญาณตามสาย ที่มีความสามารถในการให้บริการตั้งแต่ 10,000 ผู้ใช้เป็นต้นไป
ระบบควบคุมด้วยไฟฟ้าหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความสามารถในการให้บริการตั้งแต่ 1,000 จุด I/O ขึ้นไป
เอกสารของทางสภาวิศวกรระบุเหตุผลว่า "การควบคุมด้วยไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิสก์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและใช้งานอย่างกว้างขวาง และมีความสำคัญต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน"
ขณะที่หมายเหตุของคำอธิบายร่างระบุว่าชัดเจนว่ารวมถึงระบบแสงไว้ด้วย
แม้จดหมายประกาศของสภาวิศวกรจะระบุว่าไม่ได้เป็นการก้าวล่วงงานคอมพิวเตอร์ แต่ผมอ่านร่างประกาศแล้วก็ยังคงเข้าใจได้ว่าเป็นการรวมงานคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์คอยู่นั่นเอง ระบบควบคุมด้วยไฟฟ้าอย่างงาน IoT ทั้งหลายที่มีขนาดใหญ่สักหน่อย Raspberry Pi ไม่กี่สิบตัวก็มี I/O รวมเกินพันจุดได้ไม่ยากนัก ถ้าผมตีความผิดอย่างไรเอกสารคำอธิบายอยู่ในที่มาข่าวนี้ คงต้องชวนผู้อ่านทุกท่านมาช่วยกันอ่านว่าเข้าใจได้อย่างไรบ้าง
ทางสภาวิศวกรเปิดรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะไว้ที่เว็บสภาวิศวกร
http://www.coe.or.th/coe-2/main/coeHome.php?aMenu=8011&aNo=59399&aType=1
ที่มา :
https://www.blognone.com/node/82333
ร่างกฎกระทรวงวิชาชีพวิศวกรรม เน็ตเวิร์คขนาดใหญ่ต้องผ่านการรับรองจากวิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร
ตอนนี้ทางสภาวิศวกรก็ชี้แจงเพิ่มเติมถึงร่างใหม่ที่กำลังเสนอ ระบุว่าไม่ได้เป็นการก้าวล่วงไปถึงงานคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด
ร่างใหม่ของกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้งานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร ครอบคลุมถึงงานอีก 2 ประเภท จากเดิมที่กำหนดเฉพาะเสาส่งคลื่นความถี่ที่กำลังส่งเกิน 30 วัตต์ EIRP เท่านั้น โดยประเภทงานที่เพิ่มเติมเข้ามาได้แก่
ระบบรับ ส่ง แยก รวมเพื่อส่งผ่านสัญญาณตามสาย ที่มีความสามารถในการให้บริการตั้งแต่ 10,000 ผู้ใช้เป็นต้นไป
ระบบควบคุมด้วยไฟฟ้าหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความสามารถในการให้บริการตั้งแต่ 1,000 จุด I/O ขึ้นไป
เอกสารของทางสภาวิศวกรระบุเหตุผลว่า "การควบคุมด้วยไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิสก์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและใช้งานอย่างกว้างขวาง และมีความสำคัญต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน"
ขณะที่หมายเหตุของคำอธิบายร่างระบุว่าชัดเจนว่ารวมถึงระบบแสงไว้ด้วย
แม้จดหมายประกาศของสภาวิศวกรจะระบุว่าไม่ได้เป็นการก้าวล่วงงานคอมพิวเตอร์ แต่ผมอ่านร่างประกาศแล้วก็ยังคงเข้าใจได้ว่าเป็นการรวมงานคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์คอยู่นั่นเอง ระบบควบคุมด้วยไฟฟ้าอย่างงาน IoT ทั้งหลายที่มีขนาดใหญ่สักหน่อย Raspberry Pi ไม่กี่สิบตัวก็มี I/O รวมเกินพันจุดได้ไม่ยากนัก ถ้าผมตีความผิดอย่างไรเอกสารคำอธิบายอยู่ในที่มาข่าวนี้ คงต้องชวนผู้อ่านทุกท่านมาช่วยกันอ่านว่าเข้าใจได้อย่างไรบ้าง
ทางสภาวิศวกรเปิดรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะไว้ที่เว็บสภาวิศวกร
http://www.coe.or.th/coe-2/main/coeHome.php?aMenu=8011&aNo=59399&aType=1
ที่มา : https://www.blognone.com/node/82333