ในที่สุดศาลฎีกาตัดสินสิ้นสุดแล้วว่า พินัยกรรมที่นายศักดิ์ชัย กาย เจ้าของนิตยสาร LIPS จำเลย ที่เจ้าของคอนโดมูลค่า 300 ล้าน มอบให้นายศักดิ์ชัย มีพิรุธ หรือมีการปลอมลายเซ็นต์นั่นเอง แต่ไม่มีข่าวว่าเจ้าของซึ่งเป็นอาจารย์จุฬาฟ้องกลับเลย
น่าจะฟ้องกลับนะ เพราะนายศักดิ์ชัย ออกตัวว่าเป็น กปปส ต้านโกง แต่ไหงมาทำเรื่องแบบนี้เสียเอง มาแนวหมอหยองเลย หรือชุบตัวว่าเป็นคนดีแล้วอยากทำอะไรก็ได้
---------------------------------------------------------------------------------------------
MGR Online - ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้พินัยกรรมมรดกตระกูล ณ ป้อมเพชร โอนให้ “ศักดิ์ชัย กาย” บก.นิตยสารลิปส์ 300 ล้าน เป็นโมฆะ ชี้มีพิรุธหลายข้อ
วันนี้ (15 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2559 ศาลแพ่งได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาคดีหมายเลขดำ 2942/2550 ที่ นายธีรวัต ณ ป้อมเพชร อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ ม.จุฬาลงกรณ์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายศักดิ์ชัย กาย บรรณาธิการบริหาร นิตยสารลิปส์ เป็นจำเลย เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทำลายพินัยกรรม ที่ นายวิวรรธน์ ณ ป้อมเพชร ยกทรัพย์ได้แก่ที่ดินจำนวน 3 ไร่ แขวงทุ่งวัดดอน เขตยานนาวา กทม. พร้อมสิ่งปลูกสร้างและห้องชุดเลขที่ 3G คอนโดมิเนียมการ์เด้นคลิฟ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ให้แก่จำเลย
คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2548 นายวิวรรธน์ ณ ป้อมเพชร บิดาโจทก์ อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศ จำเลยกับพวกได้ร่วมกันทําหนังสือฉบับหนึ่ง ระบุว่า เป็นพินัยกรรม มีข้อความว่า นายวิวรรธน์ มีคำสั่งให้ยกเลิกพินัยกรรมเดิมของ นายวิวรรธน์ ที่ทํามาก่อนหน้านี้ และต้องการยกทรัพย์สิน คือ ที่ดิน 3 ไร่ ย่านยานนาวา กทม. พร้อมอาคารและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งห้องชุดเลขที่ 3G คอนโดมิเนียมการ์เด้น คลิฟ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ให้แก่จำเลย
ต่อมาในวันที่ 16 ก.ย. 2549 นายวิสูตร กาญจนปัญญาพงศ์ พยานผู้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ได้มีหนังสือถึงโจทก์ให้ดำเนินการขอรับพินัยกรรมจากสำนักงานเขตราชเทวี เพื่อดำเนินการตามข้อกำหนดในพินัยกรรม ทั้งที่โจทก์และทายาท รวมทั้งญาติพี่น้องของนายวิวรรธน์ ไม่มีใครทราบมาก่อนว่า นายวิวรรธน์ ได้ทําพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้น รวมทั้งไม่มีใครรู้จัก นายสุทิน โชติสิงห์ และ น.ส.ศจีมาศ อภิชโยดม นายวิสูตร กาญจนปัญญาพงศ์ ซึ่งลงชื่อเป็นพยาน และผู้พิมพ์ ตลอดจนสำนักกฎหมายธรรมนิติ ทั้งที่พินัยกรรมฉบับนี้ไม่ใช่พินัยกรรมลับ เพราะ นายวิวรรธน์ มิได้ผนึกซองพินัยกรรมและลงลายมือชื่อด้วยตัวเอง แล้วนำซองพินัยกรรมไปแสดงต่อผู้อำนวยการเขตราชเทวี หรือผู้กระทําการแทน
นอกจากนี้ ในพินัยกรรมดังกล่าวยังไม่มีแพทย์รับรอง ว่า นายวิวรรธน์ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ในขณะทําพินัยกรรม ทั้งลักษณะลายมือชื่อของนายวิวรรธน์ในพินัยกรรม ก็ไม่ใช่ลายมือที่แท้จริง เชื่อว่า นายวิวรรธน์ ไม่มีเจตนาอันแท้จริงจะยกทรัพย์สินให้จำเลย พินัยกรรมดังกล่าวจึงเป็นพินัยกรรมปลอม ไม่มีผลตามกฎหมาย การกระทําของจำเลยซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นญาติ หรือครอบครัวกับนายวิวรรธน์ หรือตระกูล ณ ป้อมเพชร ทําให้โจทก์กับทายาทได้รับความเสียหาย ไม่สามารถดำเนินการรับทรัพย์มรดกของนายวิวรรธน์ ที่แบ่งให้กับทายาทคนอื่นได้ จึงขอให้ศาลโปรดมีคำสั่งทําลายพินัยกรรมปลอมฉบับดังกล่าวด้วย
ศาลพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานทั้ง 2 ฝ่าย จากพยานหลักฐานโจทก์ 5 ปาก และพยานจำเลย 6 ปาก ซึ่งนำเข้าสืบหักล้าง และพยานผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบลายมือชื่อแล้ว ฟังได้ว่า พินัยกรรมฉบับดังกล่าวที่ นายวิวรรธน์ ทำขึ้น ซึ่งเป็นเอกสารลับนั้น เป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริง พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยได้ พิพากษายกฟ้อง
ต่อมาโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่าพินัยกรรมของ นายวิวรรธน์ ณ ป้อมเพชร ฉบับลงวันที่ 21 ธันวาคม 2548 เป็นโมฆะ
จำเลยยื่นฎีกา ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า พินัยกรรมที่ทำขึ้นมีพิรุธ โดยได้ความจาก นายวิสูตร กาญจนปัญญาพงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด พยานจำเลยว่าปกติในการทำพินัยกรรมจะมีการบันทึกวิดีทัศน์และถ่ายรูป ขณะทำพินัยกรรมไว้ แต่ในขณะที่ นายวิวรรธน์ ทำพินัยกรรมไม่ได้มีการบันทึกวิดีทัศน์ หรือถ่ายรูปไว้ ทั้งที่พยานสามารถเตรียมการให้มีการบันทึกวิดีทัศน์และถ่ายรูปไว้ในขณะทำพินัยกรรม แต่กลับไม่ดำเนินการ จึงเป็นพิรุธว่า ในวันที่ 21 ธ.ค. 2548 ได้มีการทำพินัยกรรมจริงหรือไม่ และลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมยังไม่อาจชี้ชัดว่าเป็นลายมือชื่อของผู้ตายหรือไม่ เมื่อพิจารณาเอกสารอื่น ๆ ที่ผู้ตายเคยลงชื่อไว้ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับช่วงที่มีการทำพินัยกรรมลายมือชื่อมีลักษณะปรากฏเพียงส่วนของชื่อและชื่อสกุล เขียนสั้นไม่ยาวนัก แต่ปรากฏว่า การลงลายมือชื่อในพินัยกรรมและลายมือชื่อหลังซองบรรจุพินัยกรรม กลับเป็นลายมือชื่อที่เขียนทั้งชื่อและชื่อสกุลที่มีความยาวมากกว่า ตามชื่อและชื่อสกุลว่า “วิวรรธน์ ณ ป้อมเพชร” ซึ่งแตกต่างออกไปเป็นพิรุธ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม เป็นของผู้ตาย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน
สำหรับคดีดังกล่าวเป็นคดีที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่ง นายธีรวัต ณ ป้อมเพชร อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายศักดิ์ชัย กาย บรรณาธิการบริหาร นิตยสารลิปส์ เป็นจำเลย เพื่อให้ศาลมีคำสั่งทำลายพินัยกรรมของ นายวิวรรธน์ ณ ป้อมเพชร ผู้เป็นบิดา เนื่องจากเชื่อว่ามีการแอบอ้างใช้พินัยกรรมปลอม
http://manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9590000059992&Keyword=%c8%d1%a1%b4%d4%ec%aa%d1%c2
คดี 'พินัยกรรมปลอม' ของศักดิ์ชัย กาย แห่ง LIPS ไม่โดนฟ้องกลับเหรอครับ?
น่าจะฟ้องกลับนะ เพราะนายศักดิ์ชัย ออกตัวว่าเป็น กปปส ต้านโกง แต่ไหงมาทำเรื่องแบบนี้เสียเอง มาแนวหมอหยองเลย หรือชุบตัวว่าเป็นคนดีแล้วอยากทำอะไรก็ได้
---------------------------------------------------------------------------------------------
MGR Online - ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้พินัยกรรมมรดกตระกูล ณ ป้อมเพชร โอนให้ “ศักดิ์ชัย กาย” บก.นิตยสารลิปส์ 300 ล้าน เป็นโมฆะ ชี้มีพิรุธหลายข้อ
วันนี้ (15 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2559 ศาลแพ่งได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาคดีหมายเลขดำ 2942/2550 ที่ นายธีรวัต ณ ป้อมเพชร อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ ม.จุฬาลงกรณ์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายศักดิ์ชัย กาย บรรณาธิการบริหาร นิตยสารลิปส์ เป็นจำเลย เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทำลายพินัยกรรม ที่ นายวิวรรธน์ ณ ป้อมเพชร ยกทรัพย์ได้แก่ที่ดินจำนวน 3 ไร่ แขวงทุ่งวัดดอน เขตยานนาวา กทม. พร้อมสิ่งปลูกสร้างและห้องชุดเลขที่ 3G คอนโดมิเนียมการ์เด้นคลิฟ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ให้แก่จำเลย
คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2548 นายวิวรรธน์ ณ ป้อมเพชร บิดาโจทก์ อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศ จำเลยกับพวกได้ร่วมกันทําหนังสือฉบับหนึ่ง ระบุว่า เป็นพินัยกรรม มีข้อความว่า นายวิวรรธน์ มีคำสั่งให้ยกเลิกพินัยกรรมเดิมของ นายวิวรรธน์ ที่ทํามาก่อนหน้านี้ และต้องการยกทรัพย์สิน คือ ที่ดิน 3 ไร่ ย่านยานนาวา กทม. พร้อมอาคารและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งห้องชุดเลขที่ 3G คอนโดมิเนียมการ์เด้น คลิฟ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ให้แก่จำเลย
ต่อมาในวันที่ 16 ก.ย. 2549 นายวิสูตร กาญจนปัญญาพงศ์ พยานผู้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ได้มีหนังสือถึงโจทก์ให้ดำเนินการขอรับพินัยกรรมจากสำนักงานเขตราชเทวี เพื่อดำเนินการตามข้อกำหนดในพินัยกรรม ทั้งที่โจทก์และทายาท รวมทั้งญาติพี่น้องของนายวิวรรธน์ ไม่มีใครทราบมาก่อนว่า นายวิวรรธน์ ได้ทําพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้น รวมทั้งไม่มีใครรู้จัก นายสุทิน โชติสิงห์ และ น.ส.ศจีมาศ อภิชโยดม นายวิสูตร กาญจนปัญญาพงศ์ ซึ่งลงชื่อเป็นพยาน และผู้พิมพ์ ตลอดจนสำนักกฎหมายธรรมนิติ ทั้งที่พินัยกรรมฉบับนี้ไม่ใช่พินัยกรรมลับ เพราะ นายวิวรรธน์ มิได้ผนึกซองพินัยกรรมและลงลายมือชื่อด้วยตัวเอง แล้วนำซองพินัยกรรมไปแสดงต่อผู้อำนวยการเขตราชเทวี หรือผู้กระทําการแทน
นอกจากนี้ ในพินัยกรรมดังกล่าวยังไม่มีแพทย์รับรอง ว่า นายวิวรรธน์ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ในขณะทําพินัยกรรม ทั้งลักษณะลายมือชื่อของนายวิวรรธน์ในพินัยกรรม ก็ไม่ใช่ลายมือที่แท้จริง เชื่อว่า นายวิวรรธน์ ไม่มีเจตนาอันแท้จริงจะยกทรัพย์สินให้จำเลย พินัยกรรมดังกล่าวจึงเป็นพินัยกรรมปลอม ไม่มีผลตามกฎหมาย การกระทําของจำเลยซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นญาติ หรือครอบครัวกับนายวิวรรธน์ หรือตระกูล ณ ป้อมเพชร ทําให้โจทก์กับทายาทได้รับความเสียหาย ไม่สามารถดำเนินการรับทรัพย์มรดกของนายวิวรรธน์ ที่แบ่งให้กับทายาทคนอื่นได้ จึงขอให้ศาลโปรดมีคำสั่งทําลายพินัยกรรมปลอมฉบับดังกล่าวด้วย
ศาลพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานทั้ง 2 ฝ่าย จากพยานหลักฐานโจทก์ 5 ปาก และพยานจำเลย 6 ปาก ซึ่งนำเข้าสืบหักล้าง และพยานผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบลายมือชื่อแล้ว ฟังได้ว่า พินัยกรรมฉบับดังกล่าวที่ นายวิวรรธน์ ทำขึ้น ซึ่งเป็นเอกสารลับนั้น เป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริง พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยได้ พิพากษายกฟ้อง
ต่อมาโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่าพินัยกรรมของ นายวิวรรธน์ ณ ป้อมเพชร ฉบับลงวันที่ 21 ธันวาคม 2548 เป็นโมฆะ
จำเลยยื่นฎีกา ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า พินัยกรรมที่ทำขึ้นมีพิรุธ โดยได้ความจาก นายวิสูตร กาญจนปัญญาพงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด พยานจำเลยว่าปกติในการทำพินัยกรรมจะมีการบันทึกวิดีทัศน์และถ่ายรูป ขณะทำพินัยกรรมไว้ แต่ในขณะที่ นายวิวรรธน์ ทำพินัยกรรมไม่ได้มีการบันทึกวิดีทัศน์ หรือถ่ายรูปไว้ ทั้งที่พยานสามารถเตรียมการให้มีการบันทึกวิดีทัศน์และถ่ายรูปไว้ในขณะทำพินัยกรรม แต่กลับไม่ดำเนินการ จึงเป็นพิรุธว่า ในวันที่ 21 ธ.ค. 2548 ได้มีการทำพินัยกรรมจริงหรือไม่ และลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมยังไม่อาจชี้ชัดว่าเป็นลายมือชื่อของผู้ตายหรือไม่ เมื่อพิจารณาเอกสารอื่น ๆ ที่ผู้ตายเคยลงชื่อไว้ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับช่วงที่มีการทำพินัยกรรมลายมือชื่อมีลักษณะปรากฏเพียงส่วนของชื่อและชื่อสกุล เขียนสั้นไม่ยาวนัก แต่ปรากฏว่า การลงลายมือชื่อในพินัยกรรมและลายมือชื่อหลังซองบรรจุพินัยกรรม กลับเป็นลายมือชื่อที่เขียนทั้งชื่อและชื่อสกุลที่มีความยาวมากกว่า ตามชื่อและชื่อสกุลว่า “วิวรรธน์ ณ ป้อมเพชร” ซึ่งแตกต่างออกไปเป็นพิรุธ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม เป็นของผู้ตาย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน
สำหรับคดีดังกล่าวเป็นคดีที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่ง นายธีรวัต ณ ป้อมเพชร อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายศักดิ์ชัย กาย บรรณาธิการบริหาร นิตยสารลิปส์ เป็นจำเลย เพื่อให้ศาลมีคำสั่งทำลายพินัยกรรมของ นายวิวรรธน์ ณ ป้อมเพชร ผู้เป็นบิดา เนื่องจากเชื่อว่ามีการแอบอ้างใช้พินัยกรรมปลอม
http://manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9590000059992&Keyword=%c8%d1%a1%b4%d4%ec%aa%d1%c2