ได้ฤกษ์ใช้ "พร้อมเพย์" -ลดถล่มค่าฟีโอนเงิน
แบงก์ชาติ ไฟเขียวบริการรับโอนเงินรูปแบบใหม่ "พร้อมเพย์" ผูกบัญชีกับบัตรประชาชน-เบอร์มือถือ เปิดลงทะเบียน 15 ก.ค.นี้ โอนเงินต่ำกว่า 5 พันบาทไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เริ่มใช้จริง ต.ค.นี้ คิดค่าธรรมเนียมโอนเงินสูงสุดไม่เกิน 10 บาท/รายการ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ประสานเสียงไม่กระทบต่อรายได้กลุ่ม แต่จะช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการเงินสด แต่ขอประเมินความชัดเจนอีกครั้งหลังเปิดให้ประชาชนสมัครใช้บริการหลัง 15 ก.ค. นี้
*** ดีเดย์ 15 ก.ค.นี้ลงทะเบียน "พร้อมเพย์" ปูทางลดต้นทุนระบบชำระเงินโดยรวม
นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผยว่า ในวันที่ 15 ก.ค.นี้ ธปท.จะเปิดให้ธนาคาร 19 แห่ง เปิดบริการโอนเงินและรับโอนเงินแบบใหม่ "พร้อมเพย์-PromptPay" โดยจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียน ผูกเลขบัญชีธนาคารกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อรับและโอนเงินได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น และหากธนาคารใดมีความพร้อมสามารถเปิดให้บริการได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม เป็นต้นไป
ระยะแรก จะเปิดให้บริการโอนเงินระหว่างบุคคลทั่วไปก่อน และสำหรับนิติบุคคลจะเปิดให้บริการในช่วงต่อไป และในอนาคตหน่วยงานภาครัฐจะสามารถโอนเงินสวัสดิการ เงินช่วยเหลือ และเงินคืนภาษีให้กับประชาชนผ่านบริการพร้อมเพย์ด้วย
สำหรับผู้ที่จะใช้บริการพร้อมเพย์นั้น ผู้ใช้บริการต้องลงทะเบียนเพื่อผูกกับบัญชีเงินฝากธนาคาร กับหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ และหรือเลขบัตรประจำตัวประชาชนที่ต้องการ โดยเลือกบัญชีเงินฝากธนาคารที่ต้องการใช้เป็นบัญชีในการรับเงิน และแจ้งลงทะเบียนกับธนาคารผ่านช่องทางที่ธนาคารแต่ละแห่งเตรียมไว้ให้บริการ เช่น เอทีเอ็ม Internet Banking , Moblie Banking หรือที่สาขาธนาคาร พร้อมจัดเตรียมเอกสารประกอบการลงทะเบียน เช่น สมุดบัญชี หรือเลขที่บัญชีเงินฝาก บัตรประจำตัวประชาชน โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ต้องการลงทะเบียน
อย่างไรก็ตาม หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือเลขบัตรประจำตัวประชาชนหนึ่งหมายเลขจะสามารถใช้ผูกหรือจับกับบัญชีเงินฝากปลายทางได้หนึ่งบัญชี และประชาชนสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการผูกบัญชีได้ตลอดเวลา โดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่ธนาคารแต่ละแห่งกำหนด
" การให้บริการพร้อมเพย์ เชื่อว่าจะช่วยลดการใช้เงินสด เพิ่มความรวดเร็ว ถูกต้อง และสามารถตรวจสอบรายการย้อนหลังได้ และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนปรับเปลี่ยนมาใช้ e-Payment ในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนของระบบการชำระเงินโดยรวม โดยมองว่า ในอนาคตจะต้องมาดูในเรื่องของโครงสร้างค่าธรรมเนียมให้มีความเป็นธรรม และสะท้อนกับต้นทุนที่แท้จริงมากที่สุด "
*** ส.ธนาคารไทย ประเมินไม่กระทบต่อผลการดำเนินงานของระบบแบงก์
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า เปิดเผยว่า บริการพร้อมเพย์ เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) ของรัฐบาล ที่จะลดการใช้เงินสดในสังคมไทยซึ่งมีต้นทุนสูง เอื้อประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ โดยมีธนาคารพาณิชย์ในไทยทั้ง 15 แห่ง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ร่วมกันพัฒนาบริการพร้อมเพย์ ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยสูง คุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ต้องเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากและเจ้าของเบอร์โทรศัพท์มือถือที่จะลงทะเบียน เลือกบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีกระแสรายวัน เป็นบัญชีเดี่ยว (ไม่ใช่บัญชีร่วม) ที่จะใช้เป็นบัญชีหลักในการทำธุรกรรมโอนและรับโอน เพื่อนำมาผูกกับเลขประจำตัวประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือภายใต้ บริการพร้อมเพย์ โดยบัญชีธนาคารที่นำมาลงทะเบียน 1 บัญชี จะมีหมายเลข หรือ ID เพื่อการผูกบัญชีได้สูงสุด 4 บัญชี ได้แก่ จากเลขประจำตัวประชาชน 1 บัญชี และหมายเลขโทรศัพท์มือถืออีกไม่เกิน 3 บัญชี ( 1 หมายเลข ต่อ 1 บัญชี) ทั้งนี้ หมายเลข หรือ ID ที่นำมาผูกนั้นจะต้องไม่เคยผูกกับบัญชีใดมาก่อน
การเปิดรับลงทะเบียน
ธนาคารจะเปิดรับลงทะเบียนผ่านช่องทางต่าง ๆ ตามความพร้อมของแต่ละธนาคาร อาทิ ช่องทางเอทีเอ็ม ธนาคารทางอินเทอร์เน็ต ธนาคารบนโทรศัพท์มือถือ และสาขา ทั้งนี้ จะมีธนาคารบางแห่งเปิดลงทะเบียนล่วงหน้า (Pre-register) ในวันที่ 1-14 กรกฎาคม 2559 และทุกธนาคารจะเปิดรับลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์อย่างเป็นทางการ พร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป โดยไม่มีกำหนดสิ้นสุดการรับลงทะเบียน
การยกเลิก
กรณีที่ผู้ลงทะเบียนมีความประสงค์จะเปลี่ยนธนาคารที่ผูก ID ไว้ ก็สามารถยกเลิกการลงทะเบียนกับธนาคารเดิมที่ใช้บริการอยู่และไปลงทะเบียนกับธนาคารใหม่ หรือในกรณีที่ผู้ใช้บริการพร้อมเพย์ต้องการเปลี่ยนแปลงหมายเลขบัญชีหรือหมายเลขโทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้แล้ว ก็สามารถทำได้เช่นกัน
ค่าธรรมเนียมในการโอน
ลูกค้าที่เลือกใช้การโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์จะได้รับความสะดวกจากการที่ไม่ต้องสอบถามบัญชีธนาคารของผู้รับโอน การคิดค่าธรรมเนียมของพร้อมเพย์จึงไม่มีการแยกรายการเป็นแบบในเขต ข้ามเขต หรือรายการในธนาคารเดียวกันหรือต่างธนาคาร แต่จะอ้างอิงวงเงินในการโอนแต่ละครั้งเป็นหลัก โดยมีรายละเอียดค่าธรรมเนียมการโอนเงิน ดังนี้
1 . วงเงินไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายการ ฟรีค่าธรรมเนียมทุกรายการ
2. วงเงินมากกว่า 5,000 – 30,000 บาท คิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 2 บาทต่อรายการ
3. วงเงินมากกว่า 30,000 – 100,000 บาท คิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 5 บาทต่อรายการ
4. วงเงินมากกว่า 100,000 บาทขึ้นไป คิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 10 บาทต่อรายการ
ทั้งนี้ บริการพร้อมเพย์จะถือเป็นทางเลือกในการโอนเงินระหว่างบุคคลรูปแบบหนึ่ง ลูกค้ายังคงสามารถเลือกทำธุรกรรมโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ หรือเลือกทำผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ตามปกติเช่นเดิม
การให้บริการพร้อมเพย์ จะเริ่มให้บริการรับโอนเงินระหว่างประชาชนได้ ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2559 จากนั้นจะขยายไปสู่บริการธุรกรรมอื่น อาทิ การจ่ายบิลต่าง ๆ ซึ่งภาคธนาคารเชื่อมั่นว่าพร้อมเพย์จะเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการทำธุรกรรมและเข้าถึงบริการชำระเงินที่หลากหลายยิ่งขึ้น
" บริการรับโอนเงินแบบใหม่ "พร้อมเพย์ "ที่มีการผูกบัญชีของผู้รับเงินโอนกับเลขที่บัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ โดยมีการปรับลดค่าธรรมเนียม เหลือสูงสุดไม่เกิน 10 บาทต่อรายการจะไม่กระทบต่อผลการดำเนินงานของระบบธนาคาร" นายปรีดี ระบุ
นายปรีดี กล่าวต่อว่า ในส่วนของธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มีสัดส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 46% และรายได้ที่มาจากดอกเบี้ยที่ 54% ขณะที่ต้นทุนการบริหารเงินสดของธนาคารมีมากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งหากมีลูกค้าสมัครใช้บริการโอนเงินรูปแบบใหม่นี้ จะทำให้ธนาคารลดต้นทุนด้านการบริหารจัดการเงินสดได้มากขึ้น
" ตอนนี้เรายังไม่สามารถประเมินว่าจะกระทบต่อรายได้ค่าธรรมเนียมของเรากี่เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเราต้องรอดูว่าจะมีประชาชนมาลงทะเบียนและผูกบัญชีในวันที่ 15 ก.ค. นี้ก่อน ว่ามีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในแต่ละธนาคารจะมีสัดส่วนค่าธรรมเนียมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกันออกไป " นายปรีดี กล่าว
*** นายแบงก์มองกระทบกำไรแต่ไม่มีนัยสำคัญ แบงก์บริหารได้
นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน สายงานบริหารจัดการทางการเงินเพื่อธุรกิจ ธนาคารกรุงไทย หรือ KTB ยอมรับเช่นกันว่าธนาคารยังไม่สามารถประเมินผลกระทบการปรับลดค่าธรรมเนียมในครั้งนี้ ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีรายได้ค่าธรรมเนียมมากกว่า 20% แต่มองว่า บริการดังกล่าวจะให้ประโยชน์กับประชาชนในระยะยาว
นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร ธนชาต กล่าวว่า ธนาคารคาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากเราเป็นธนาคารขนาดกลางที่มีธุรกรรมทางการเงินน้อยกว่าธนาคารขนาดใหญ่
นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายธุรกิจรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย หรือ CIMBT กล่าวว่า ธนาคารไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับลดค่าธรรมเนยีม เนื่องจากปัจจุบันธนาคารของลูกค้าที่ใช้ธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ยังน้อยอยู่เมื่อเทียบกับธนาคารขนาดใหญ่
เช่นเดียวกับ นางศศิธร พงศธร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ LHBANK ที่ยืนยันว่าธนาคารไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับลดค่าธรรมเนียมในครั้งนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาธนาคารได้ใช้กลยุทธ์ไม่เก็บค่าธรรมเนียมกับลูกค้ามาตั้งแต่เริ่มต้น ประกอบกับที่ผ่านมาธนาคารมีการเก็บค่าธรรมเนียมที่ไม่ได้มาจากการโอนอิเล็กทรอนิกส์
ด้านแหล่งข่าวจากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง กล่าวว่า การลดค่าธรรมเนียมจากบริการนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อกำไรของธนาคารอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากธนาคารส่วนใหญ่มีวิธีการบริหารจัดการที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะต้นทุนการบริหารเงินสดตกปีละมากกว่า 1 พันล้านบาท เช่น รถขนเงิน ธุรกรรมหน้าเคาเตอร์ ซึ่งเป็นเป็นต้นทุนที่ธนาคารต้องแบกรับ
"การที่มีธุรกรรมนี้ออกมาอาจจะกระทบกำไรบ้าง แต่เชื่อไม่เยอะ เพราะสามารถหาอย่างอื่นมาทดแทนได้ แบงก์กลาง เล็ก ไม่กระทบเท่าแบงก์ใหญ่ เพราะเขามีปริมาณการทำธุรกรรมที่มากกว่า"
*** TMB พร้อมเปิดให้ลูกค้าลงทะเบียนล่วงหน้า `พร้อมเพย์` 1 ก.ค.นี้
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย หรือ TMB เปิดเผยว่า ธนาคารพร้อมแล้วสำหรับการให้บริการ "พร้อมเพย์" (PromptPay) บริการโอนเงินและรับเงินรูปแบบใหม่ โอนเงินโดยไม่ต้องถามเลขบัญชีธนาคารสำหรับลูกค้า โดยขอเชิญชวนให้ลูกค้ามาลงทะเบียนการใช้งานล่วงหน้าได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ศกนี้ เป็นต้นไป ก่อนที่จะมีการเปิดให้ลงทะเบียนการใช้งาน “พร้อมเพย์” พร้อมกันทุกธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม นี้
โดยลูกค้าทีเอ็มบี สามารถลงทะเบียนการใช้งานล่วงหน้า ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม ได้ถึง 4 ช่องทาง คือ ทีเอ็มบี ทัช โมบายแบงก์กิ้ง, ทีเอ็มบี อินเตอร์เนตแบงก์กิ้ง, ตู้เอทีเอ็ม/เครื่องรับฝากเงินอัตโนมัติของทีเอ็มบี และ เอสเอ็มเอส หมายเลข 08 1558 1558
ทั้งนี้ ลูกค้าที่ลงทะเบียนล่วงหน้าจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ในการทดลองใช้บริการโอนเงินแบบไม่ต้องถามเลขบัญชี ระหว่างบัญชีภายในทีเอ็มบี ผ่านทางทีเอ็มบี ทัช โมบายแบงก์กิ้ง และทีเอ็มบี อินเตอร์เนตแบงก์กิ้งได้ทันที ฟรีเหมือนเดิม ก่อนที่บริการ พร้อมเพย์ จะเปิดให้บริการโอนเงินรายย่อยอย่างเป็นทางการ เต็มรูปแบบ พร้อมกันทั่วประเทศทุกธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม นี้เป็นต้นไป
Cr. efinancethai
******โอนเงินต่ำว่า 5 พันบาท ไม่เสียค่าธรรมเนียม!!! หากใช้พร้อมเพย์*****
แบงก์ชาติ ไฟเขียวบริการรับโอนเงินรูปแบบใหม่ "พร้อมเพย์" ผูกบัญชีกับบัตรประชาชน-เบอร์มือถือ เปิดลงทะเบียน 15 ก.ค.นี้ โอนเงินต่ำกว่า 5 พันบาทไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เริ่มใช้จริง ต.ค.นี้ คิดค่าธรรมเนียมโอนเงินสูงสุดไม่เกิน 10 บาท/รายการ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ประสานเสียงไม่กระทบต่อรายได้กลุ่ม แต่จะช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการเงินสด แต่ขอประเมินความชัดเจนอีกครั้งหลังเปิดให้ประชาชนสมัครใช้บริการหลัง 15 ก.ค. นี้
*** ดีเดย์ 15 ก.ค.นี้ลงทะเบียน "พร้อมเพย์" ปูทางลดต้นทุนระบบชำระเงินโดยรวม
นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผยว่า ในวันที่ 15 ก.ค.นี้ ธปท.จะเปิดให้ธนาคาร 19 แห่ง เปิดบริการโอนเงินและรับโอนเงินแบบใหม่ "พร้อมเพย์-PromptPay" โดยจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียน ผูกเลขบัญชีธนาคารกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อรับและโอนเงินได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น และหากธนาคารใดมีความพร้อมสามารถเปิดให้บริการได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม เป็นต้นไป
ระยะแรก จะเปิดให้บริการโอนเงินระหว่างบุคคลทั่วไปก่อน และสำหรับนิติบุคคลจะเปิดให้บริการในช่วงต่อไป และในอนาคตหน่วยงานภาครัฐจะสามารถโอนเงินสวัสดิการ เงินช่วยเหลือ และเงินคืนภาษีให้กับประชาชนผ่านบริการพร้อมเพย์ด้วย
สำหรับผู้ที่จะใช้บริการพร้อมเพย์นั้น ผู้ใช้บริการต้องลงทะเบียนเพื่อผูกกับบัญชีเงินฝากธนาคาร กับหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ และหรือเลขบัตรประจำตัวประชาชนที่ต้องการ โดยเลือกบัญชีเงินฝากธนาคารที่ต้องการใช้เป็นบัญชีในการรับเงิน และแจ้งลงทะเบียนกับธนาคารผ่านช่องทางที่ธนาคารแต่ละแห่งเตรียมไว้ให้บริการ เช่น เอทีเอ็ม Internet Banking , Moblie Banking หรือที่สาขาธนาคาร พร้อมจัดเตรียมเอกสารประกอบการลงทะเบียน เช่น สมุดบัญชี หรือเลขที่บัญชีเงินฝาก บัตรประจำตัวประชาชน โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ต้องการลงทะเบียน
อย่างไรก็ตาม หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือเลขบัตรประจำตัวประชาชนหนึ่งหมายเลขจะสามารถใช้ผูกหรือจับกับบัญชีเงินฝากปลายทางได้หนึ่งบัญชี และประชาชนสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการผูกบัญชีได้ตลอดเวลา โดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่ธนาคารแต่ละแห่งกำหนด
" การให้บริการพร้อมเพย์ เชื่อว่าจะช่วยลดการใช้เงินสด เพิ่มความรวดเร็ว ถูกต้อง และสามารถตรวจสอบรายการย้อนหลังได้ และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนปรับเปลี่ยนมาใช้ e-Payment ในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนของระบบการชำระเงินโดยรวม โดยมองว่า ในอนาคตจะต้องมาดูในเรื่องของโครงสร้างค่าธรรมเนียมให้มีความเป็นธรรม และสะท้อนกับต้นทุนที่แท้จริงมากที่สุด "
*** ส.ธนาคารไทย ประเมินไม่กระทบต่อผลการดำเนินงานของระบบแบงก์
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า เปิดเผยว่า บริการพร้อมเพย์ เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) ของรัฐบาล ที่จะลดการใช้เงินสดในสังคมไทยซึ่งมีต้นทุนสูง เอื้อประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ โดยมีธนาคารพาณิชย์ในไทยทั้ง 15 แห่ง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ร่วมกันพัฒนาบริการพร้อมเพย์ ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยสูง คุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ต้องเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากและเจ้าของเบอร์โทรศัพท์มือถือที่จะลงทะเบียน เลือกบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีกระแสรายวัน เป็นบัญชีเดี่ยว (ไม่ใช่บัญชีร่วม) ที่จะใช้เป็นบัญชีหลักในการทำธุรกรรมโอนและรับโอน เพื่อนำมาผูกกับเลขประจำตัวประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือภายใต้ บริการพร้อมเพย์ โดยบัญชีธนาคารที่นำมาลงทะเบียน 1 บัญชี จะมีหมายเลข หรือ ID เพื่อการผูกบัญชีได้สูงสุด 4 บัญชี ได้แก่ จากเลขประจำตัวประชาชน 1 บัญชี และหมายเลขโทรศัพท์มือถืออีกไม่เกิน 3 บัญชี ( 1 หมายเลข ต่อ 1 บัญชี) ทั้งนี้ หมายเลข หรือ ID ที่นำมาผูกนั้นจะต้องไม่เคยผูกกับบัญชีใดมาก่อน
การเปิดรับลงทะเบียน
ธนาคารจะเปิดรับลงทะเบียนผ่านช่องทางต่าง ๆ ตามความพร้อมของแต่ละธนาคาร อาทิ ช่องทางเอทีเอ็ม ธนาคารทางอินเทอร์เน็ต ธนาคารบนโทรศัพท์มือถือ และสาขา ทั้งนี้ จะมีธนาคารบางแห่งเปิดลงทะเบียนล่วงหน้า (Pre-register) ในวันที่ 1-14 กรกฎาคม 2559 และทุกธนาคารจะเปิดรับลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์อย่างเป็นทางการ พร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป โดยไม่มีกำหนดสิ้นสุดการรับลงทะเบียน
การยกเลิก
กรณีที่ผู้ลงทะเบียนมีความประสงค์จะเปลี่ยนธนาคารที่ผูก ID ไว้ ก็สามารถยกเลิกการลงทะเบียนกับธนาคารเดิมที่ใช้บริการอยู่และไปลงทะเบียนกับธนาคารใหม่ หรือในกรณีที่ผู้ใช้บริการพร้อมเพย์ต้องการเปลี่ยนแปลงหมายเลขบัญชีหรือหมายเลขโทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้แล้ว ก็สามารถทำได้เช่นกัน
ค่าธรรมเนียมในการโอน
ลูกค้าที่เลือกใช้การโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์จะได้รับความสะดวกจากการที่ไม่ต้องสอบถามบัญชีธนาคารของผู้รับโอน การคิดค่าธรรมเนียมของพร้อมเพย์จึงไม่มีการแยกรายการเป็นแบบในเขต ข้ามเขต หรือรายการในธนาคารเดียวกันหรือต่างธนาคาร แต่จะอ้างอิงวงเงินในการโอนแต่ละครั้งเป็นหลัก โดยมีรายละเอียดค่าธรรมเนียมการโอนเงิน ดังนี้
1 . วงเงินไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายการ ฟรีค่าธรรมเนียมทุกรายการ
2. วงเงินมากกว่า 5,000 – 30,000 บาท คิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 2 บาทต่อรายการ
3. วงเงินมากกว่า 30,000 – 100,000 บาท คิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 5 บาทต่อรายการ
4. วงเงินมากกว่า 100,000 บาทขึ้นไป คิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 10 บาทต่อรายการ
ทั้งนี้ บริการพร้อมเพย์จะถือเป็นทางเลือกในการโอนเงินระหว่างบุคคลรูปแบบหนึ่ง ลูกค้ายังคงสามารถเลือกทำธุรกรรมโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ หรือเลือกทำผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ตามปกติเช่นเดิม
การให้บริการพร้อมเพย์ จะเริ่มให้บริการรับโอนเงินระหว่างประชาชนได้ ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2559 จากนั้นจะขยายไปสู่บริการธุรกรรมอื่น อาทิ การจ่ายบิลต่าง ๆ ซึ่งภาคธนาคารเชื่อมั่นว่าพร้อมเพย์จะเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการทำธุรกรรมและเข้าถึงบริการชำระเงินที่หลากหลายยิ่งขึ้น
" บริการรับโอนเงินแบบใหม่ "พร้อมเพย์ "ที่มีการผูกบัญชีของผู้รับเงินโอนกับเลขที่บัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ โดยมีการปรับลดค่าธรรมเนียม เหลือสูงสุดไม่เกิน 10 บาทต่อรายการจะไม่กระทบต่อผลการดำเนินงานของระบบธนาคาร" นายปรีดี ระบุ
นายปรีดี กล่าวต่อว่า ในส่วนของธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มีสัดส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 46% และรายได้ที่มาจากดอกเบี้ยที่ 54% ขณะที่ต้นทุนการบริหารเงินสดของธนาคารมีมากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งหากมีลูกค้าสมัครใช้บริการโอนเงินรูปแบบใหม่นี้ จะทำให้ธนาคารลดต้นทุนด้านการบริหารจัดการเงินสดได้มากขึ้น
" ตอนนี้เรายังไม่สามารถประเมินว่าจะกระทบต่อรายได้ค่าธรรมเนียมของเรากี่เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเราต้องรอดูว่าจะมีประชาชนมาลงทะเบียนและผูกบัญชีในวันที่ 15 ก.ค. นี้ก่อน ว่ามีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในแต่ละธนาคารจะมีสัดส่วนค่าธรรมเนียมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกันออกไป " นายปรีดี กล่าว
*** นายแบงก์มองกระทบกำไรแต่ไม่มีนัยสำคัญ แบงก์บริหารได้
นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน สายงานบริหารจัดการทางการเงินเพื่อธุรกิจ ธนาคารกรุงไทย หรือ KTB ยอมรับเช่นกันว่าธนาคารยังไม่สามารถประเมินผลกระทบการปรับลดค่าธรรมเนียมในครั้งนี้ ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีรายได้ค่าธรรมเนียมมากกว่า 20% แต่มองว่า บริการดังกล่าวจะให้ประโยชน์กับประชาชนในระยะยาว
นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร ธนชาต กล่าวว่า ธนาคารคาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากเราเป็นธนาคารขนาดกลางที่มีธุรกรรมทางการเงินน้อยกว่าธนาคารขนาดใหญ่
นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายธุรกิจรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย หรือ CIMBT กล่าวว่า ธนาคารไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับลดค่าธรรมเนยีม เนื่องจากปัจจุบันธนาคารของลูกค้าที่ใช้ธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ยังน้อยอยู่เมื่อเทียบกับธนาคารขนาดใหญ่
เช่นเดียวกับ นางศศิธร พงศธร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ LHBANK ที่ยืนยันว่าธนาคารไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับลดค่าธรรมเนียมในครั้งนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาธนาคารได้ใช้กลยุทธ์ไม่เก็บค่าธรรมเนียมกับลูกค้ามาตั้งแต่เริ่มต้น ประกอบกับที่ผ่านมาธนาคารมีการเก็บค่าธรรมเนียมที่ไม่ได้มาจากการโอนอิเล็กทรอนิกส์
ด้านแหล่งข่าวจากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง กล่าวว่า การลดค่าธรรมเนียมจากบริการนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อกำไรของธนาคารอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากธนาคารส่วนใหญ่มีวิธีการบริหารจัดการที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะต้นทุนการบริหารเงินสดตกปีละมากกว่า 1 พันล้านบาท เช่น รถขนเงิน ธุรกรรมหน้าเคาเตอร์ ซึ่งเป็นเป็นต้นทุนที่ธนาคารต้องแบกรับ
"การที่มีธุรกรรมนี้ออกมาอาจจะกระทบกำไรบ้าง แต่เชื่อไม่เยอะ เพราะสามารถหาอย่างอื่นมาทดแทนได้ แบงก์กลาง เล็ก ไม่กระทบเท่าแบงก์ใหญ่ เพราะเขามีปริมาณการทำธุรกรรมที่มากกว่า"
*** TMB พร้อมเปิดให้ลูกค้าลงทะเบียนล่วงหน้า `พร้อมเพย์` 1 ก.ค.นี้
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย หรือ TMB เปิดเผยว่า ธนาคารพร้อมแล้วสำหรับการให้บริการ "พร้อมเพย์" (PromptPay) บริการโอนเงินและรับเงินรูปแบบใหม่ โอนเงินโดยไม่ต้องถามเลขบัญชีธนาคารสำหรับลูกค้า โดยขอเชิญชวนให้ลูกค้ามาลงทะเบียนการใช้งานล่วงหน้าได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ศกนี้ เป็นต้นไป ก่อนที่จะมีการเปิดให้ลงทะเบียนการใช้งาน “พร้อมเพย์” พร้อมกันทุกธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม นี้
โดยลูกค้าทีเอ็มบี สามารถลงทะเบียนการใช้งานล่วงหน้า ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม ได้ถึง 4 ช่องทาง คือ ทีเอ็มบี ทัช โมบายแบงก์กิ้ง, ทีเอ็มบี อินเตอร์เนตแบงก์กิ้ง, ตู้เอทีเอ็ม/เครื่องรับฝากเงินอัตโนมัติของทีเอ็มบี และ เอสเอ็มเอส หมายเลข 08 1558 1558
ทั้งนี้ ลูกค้าที่ลงทะเบียนล่วงหน้าจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ในการทดลองใช้บริการโอนเงินแบบไม่ต้องถามเลขบัญชี ระหว่างบัญชีภายในทีเอ็มบี ผ่านทางทีเอ็มบี ทัช โมบายแบงก์กิ้ง และทีเอ็มบี อินเตอร์เนตแบงก์กิ้งได้ทันที ฟรีเหมือนเดิม ก่อนที่บริการ พร้อมเพย์ จะเปิดให้บริการโอนเงินรายย่อยอย่างเป็นทางการ เต็มรูปแบบ พร้อมกันทั่วประเทศทุกธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม นี้เป็นต้นไป
Cr. efinancethai