All this stuff you’re involved in, it’s all gossip. It’s people talking about each other behind their backs. That’s the vast majority of this social media, all these reviews, all these comments.
หลังจากอ่าน The Circle ของ Dave Eggas จบไปเมื่อวันก่อนก็สึกหลอนแบบประหลาดๆ อย่างบอกไม่ถูก แต่คิดไปมาความย้อนแย้งจากการเปิดเพจเฟซบุ้คแล้วประเดิมบทความแรกด้วยการรีวิวหนังสือที่ว่าด้วย dystopia จากโลกยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (โดยเฉพาะ social network) ก็เป็นความขัดแย้งที่น่าสนใจดีเหมือนกัน
You’re at a table with three humans, all of whom are looking at you and trying to talk to you, and you’re staring at a screen, searching for strangers in Dubai.
หากจะแจกดาวให้คะแนนกันจริงๆ ก็ต้องบอกว่า The Circle เป็นหนังสือเล่มแรกในรอบนานทีเดียวที่ผขบ. (ผู้เขียนบล้อก) อ่านแล้วติด แต่ก็เห็นด้วยกับคุณโตมร สุขปรีขา เช่นกันว่า ประเด็นในเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ และถูกเล่าซ้ำมาหลายรอบทีเดียว (ให้ยกตัวอย่างก็เช่น Brave New World และ 1984)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้(spoiler alert, บทความต่อไปด้านล่างนี้อาจเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของหนัง)
ก่อนจะอ่านต่อไป ขอใหัถามตัวเองสักสองข้อ
1. หญิงสาว (หรือเด็กสาวแล้วแต่จะเรียก) วัยยี่สิบอับอายที่แฟนหนุ่มอัดคลิปการร่วมรักของเธอเก็บไว้ใน cloud storage -- เธอปกติหรือไม่
2. หญิงสาว นั่งอยู่ข้างเตียงเพื่อนสนิทที่หมดสติใส่เครื่องช่วยหายใจ เธอคิดว่า (และเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจว่า) ตัวเธอ (และโลกทั้งใบ) มีสิทธิ์ที่จะรู้ว่า เพื่อนของเธอ คิดอะไรอยู่ในหัว -- เธอปกติหรือไม่
หากตอบ ใช่ และตามด้วย ไม่ ก็แปลว่า หนังสือ The Circle จะเป็นการเดินทางจากความปกติ ไปสู่ความไม่ปกติ ของหญิงสาวที่ชื่อ เม
เธอเข้าทำงานในบริษัท circle ซึ่งเป็นบริษัทที่เปรียบเสมือน facebook+google+apple+microsoft รวมกัน เธอเริ่มจากการทำงาน มีเพื่อนร่วมงาน สังสรรค์บ้างบางเวลา ลงชื่อสนับสนุนการติดตั้งกล้องเพื่อช่วยเหลือเหยือสงครามกลางเมืองในต่างประเทศ
แต่ทุกอย่างก็เริ่มเร่งความเร็วอย่างบ้าคลั่ง ไม่มีใครรู้จุดแบ่งที่แน่นอน เมื่อไหร่ที่ภาพของความจริงบิดเบี้ยวผิดเพี้ยนไป
เมื่อเธอถูกต่อว่าอย่างหนักหน่วงที่ไม่ยอมโพสเกี่ยวกับการพายเรือคายัคที่เธอทำเดือนละครั้งสองครั้งใน social media?
เมื่อเธอเห็นว่า ปัญหาที่ทำให้โปรแกรมหาคู่ออนไลน์นำเสนอ "ตัวตนส่วนหนึ่งของเธอ" ดูเหมือน "ตัวตนทั้งหมดของเธอ" เกิดจากการที่เธอแชร์ข้อมูลในโลกโซเชียลไม่มากพอ
เมื่อเธอเอาตัดสินใจเอากล้องติดตัวตลอดเวลา
เมือเธอนำความกลุ่มใจที่เพื่อนของเธอเล่าให้ฟังไปป่าวประกาศทั่วโลกออนไลน์เพือหวังให้เพื่อนเธอได้รับ "กำลังใจจากคนจำนวนมาก"
เมื่อเธอพยายามปลอบใจพ่อแม่ของเธอที่ถูกถ่ายกิจกรรมลับโดยบังเอิญด้วยการส่งความคิดเห็นทึคนเขัามาคอมเม้นท์เกี่ยวกับกิจกรรมนั้นให้พวกท่านดู
เมื่อเธอส่งโดรนไปไล่ตามแฟนเก่าที่พยายามหนีเธอจนเขาตัดสินใจปลิดชีวิตตัวเอง (และเชื่อว่าเธอเป็นฝ่ายที่ถูก ในขณะที่แฟนเก่าของเธอพยายามหนีจาก 'ความช่วยเหลือ' ของเธอ)
ตอนจบของเรื่องนี้เป็นอย่างเดียวกับ 1984 ของ George Orwell
และนั่นคงเป็นความรู้สึกหลอนในตอนจบอย่างเดียวกัน
แต่บางที ตัวเอกของเรื่องอาจไม่ได้เปลี่ยนไปเป็นปิศาจร้าย เพราะแฟนเก่าของเธอบอกสาเหตุของการเลิกรา
I can’t send you emails, because you immediately forward them to someone else. I can’t send you a photo, because you post it on your own profile.
Original
https://www.facebook.com/kalapaviin/posts/1286647128041513
[รีวิว] The Circle ของ Dave Eggas
หลังจากอ่าน The Circle ของ Dave Eggas จบไปเมื่อวันก่อนก็สึกหลอนแบบประหลาดๆ อย่างบอกไม่ถูก แต่คิดไปมาความย้อนแย้งจากการเปิดเพจเฟซบุ้คแล้วประเดิมบทความแรกด้วยการรีวิวหนังสือที่ว่าด้วย dystopia จากโลกยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (โดยเฉพาะ social network) ก็เป็นความขัดแย้งที่น่าสนใจดีเหมือนกัน
หากจะแจกดาวให้คะแนนกันจริงๆ ก็ต้องบอกว่า The Circle เป็นหนังสือเล่มแรกในรอบนานทีเดียวที่ผขบ. (ผู้เขียนบล้อก) อ่านแล้วติด แต่ก็เห็นด้วยกับคุณโตมร สุขปรีขา เช่นกันว่า ประเด็นในเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ และถูกเล่าซ้ำมาหลายรอบทีเดียว (ให้ยกตัวอย่างก็เช่น Brave New World และ 1984)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้