วิศวกรไทยที่ทำงานอยู่ในอาเซียนจะได้รับผลกระทบอะไรหลังเปิด AEC ?

ก่อนอื่นขอแนะนำตัวว่าผมค่อนข้างสนใจเรื่อง AEC นะครับ ผมทราบว่า มีการกำหนดให้วิศวกรเป็นหนึ่งใน 8 อาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยที่วิศวกรจะต้องมีประสบการณ์ 7 ปีขึ้นไปทั้งสาขาควบคุมและไม่ควบคุม

ผมมีเพื่อนทำงานในมาเลย์และสิงคโปร์หลายคน เลยสงสัยว่า ข้อกำหนดนี้เพิ่งมีขึ้นแล้วจะมีผลยังไงกับวิศวกรไทยที่ทำงานอยู่แล้ว ก็เลยส่งอีเมลล์ไปถามเจ้าหน้าทีว่าทุกวันนี้มีวิศวกรไทยที่ทำงานอยู่ในสองประเทศนี้ในสาขาควบคุม บางคนก็ใบกวหมดอายุ หรือมีใบกวระดับภาคีจากสภาวิศวกร (ประสบการณ์อาจจะไม่ถึง 7 ปีก็เป็นได้) แต่ได้รับการยอมรับให้เป็นลูกจ้างเพราะมีความสามารถในด้านที่บริษัทต้องการ กรอบความร่วมมือของ AEC จะมีผลอะไรต่อวิศวกรไทยเหล่านี้

ได้คำตอบว่า...

1. ในปัจจุบันยังไม่ได้มีการบังคับการขึ้นทะเบียนฯ แต่ในการประชุมเวทีระดับอาเซียนมีการวางแผน (roadmap) ที่ระบุระยะเวลาและติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องโดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการกำหนดการขึ้นทะเบียนวิศวกรวิชาชีพต่างด้าวจดทะเบียน (RFPE) ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะมีผลบังคับใช้ในอนาคตอันใกล้นี้

2. ในขณะนี้ สภาวิศวกรกำลังประชาสัมพันธ์เรื่องการขึ้นทะเบียนวิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ACPE) ในหน่วยงาน/บริษัทที่มีการส่งวิศวกรไปทำงานในกลุ่มประเทศ ASEAN อยู่เเล้ว เพื่อให้เข้าช่องทางตามข้อตกลงที่รัฐบาลในประเทศอาเซียนได้ทำร่วมกันไว้ ซึ่งจะพัวพันไปถึงการขอ work permit ได้โดยง่ายเนื่องจากมีการรับรองจากองค์กรที่กำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในประเทศผู้รับอย่างถูกต้อง เพื่อให้สามารถพำนักอยู่ภายในประเทศได้ระยะยาวขึ้นด้วยวัตถุประสงค์การเข้าไปทำงานจริงๆ

ถ้าเป็นแบบนี้คนที่ทำงานอยู่ในประเทศอาเซียนอยู่แล้วก็น่าจะต้องมาขึนทะเบียน แต่คนที่ประสบการ์ณไม่ถึง 7 ปีละจะทำอย่างไร

คิดว่ายังไงกันบ้างครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่