คืบหน้ากรณีนักวิชาการและศิลปิน รวม 209 ราย ในนาม
“นักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย” (กวป.) ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง
พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู เกาหลีใต้ ซึ่งนำผลงานของ รศ.
สุธี คุณาวิชยานนท์ ร่วมจัดแสดงในนิทรรศการชุด
“The Truth_ to Turn It Over” ใน
เทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และสันติภาพ เพื่อรำลึกเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ.1980 ระหว่างวันที่ 10 พ.ค.-15 ส.ค.นี้ โดยกลุ่ม กวป.ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับแนวทางศิลปะของ รศ.
สุธี กับจุดยืนทางการเมือง ที่อาจไม่สอดคล้องกับจิตวิญญาณการต่อสู้ของชาวกวางจู จึงเรียกร้องให้
“ภัณฑารักษ์” คือ นาย
ลิม จง ยอง ออกมาขอโทษ ต่อมา เมื่อวันที่ 26 พ.ค. รศ.สุธีและกลุ่มศิลปินผู้สนับสนุน ได้จัดแถลงข่าว
“บทบาทและจุดยืนของศิลปินที่มีจิตสำนึกสาธารณะ” และเมื่อวันที่ 28 พ.ค.59 เว็บไซต์เกาหลี penseur21.com ได้รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดยอ้างถึงคำพูดของ
Juno Soe ผู้อำนวยการหอศิลป์
O’New Wall ในกรุงโซล ว่า
การนำสิ่งที่ไม่เป็นประชาธิปไตยมาร่วมในงานเทศกาลศิลปะที่กวางจู เป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผล อีกทั้งมองว่าเกาหลีใต้ไม่เข้าใจศิลปะและศิลปินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กวป.ได้เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงผู้ร่วมลงชื่อ กวป. และสาธารณชน กล่าวถึงคืบหน้าของการตอบสนองของภัณฑารักษ์และพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ต่อการทักท้วงและข้อเรียกร้องของ กวป. กรณีการแสดงผลงานของ รศ.
สุธี เนื้อหาโดยสรุป กล่าวว่า
ภัณฑารักษ์ตอบมาในนามของตนและพิพิธภัณฑ์ โดยอธิบายกระบวนการคัดเลือกผลงานว่าได้ปรึกษาแกลอรี่แห่งหนึ่ง ทั้งยังยอมรับและกล่าวเสียใจที่ไม่ได้ศึกษาข้อมูลให้ดีพอ จึงมีการติดป้ายแสดงข้อความว่าผลงานชุดดังกล่าวได้รับการทักท้วง
นอกจากนี้ ทางพิพิธภัณฑ์ยังจัดแสดงจดหมายฉบับแรกของ กวป. พร้อมจดหมายของรศ.
สุธีและผู้สนับสนุน ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา สำหรับกระแสในเกาหลีใต้ มีกลุ่มที่เรียกร้องให้ปลดผลงาน แต่อ.
สุธีไม่ยินยอม พิพิธภัณฑ์จึงไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม กวป. ไม่ได้เรียกร้องให้ปลดงานตั้งแต่แรก
ภัณฑารักษ์ยังระบุว่า ได้เชิญ น.ส.
ธนาวิ โชติประดิษฐ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร และผู้ประสานงานจาก กวป. อีกรายหนึ่งไปบรรยายในหัวข้อประวัติศาสตร์ศิลปะในไทยกับการเมืองที่กวางจู ซึ่งในเบื้องต้นผู้ประสานงานตอบรับแล้วและอยู่ระหว่างประสานงานกิจกรรมดังกล่าว
จดหมายเปิดผนึกของกวป. ยังระบุอีกว่า ทางกลุ่ม กวป. ได้เรียกร้องให้พิพิธภัณฑ์เผยแพร่เอกสารการทักท้วงและเก็บรวบรวมเอกสารเหล่านี้ไว้เพื่อการศึกษาต่อไป
จดหมายฉบับเต็ม มีข้อความดังนี้
จดหมายเปิดผนึกถึงผู้ร่วมลงชื่อ กวป. และสาธารณชน
ในนามของผู้ประสานงานนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ขอแจ้งความคืบหน้าของการตอบสนองของภัณฑารักษ์และพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ต่อการทักท้วงและข้อเรียกร้องของ กวป. กรณีการแสดงผลงานของ รศ. สุธี คุณาวิชยานนท์ ดังนี้
ประการแรก ภัณฑารักษ์และพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูได้สนองตอบต่อข้อเรียกร้องของ กวป. และการเรียกร้องจากกลุ่มต่างๆ ในหลายประการด้วยกัน (ข้อความในภาษาอังกฤษคือข้อความที่ภัณฑารักษ์ส่งจดหมายตอบมา)
1. สำหรับข้อเรียกร้องจาก กวป. ให้ภัณฑารักษ์ชี้แจงกระบวนการคัดเลือกผลงาน ภัณฑารักษ์ได้ชี้แจงดังนี้
“ด้วยเพราะไม่มีความรู้เพียงพอ เมื่อปีที่แล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูจึงได้ขอคำปรึกษาจากผู้ดูแลแกลอรี่ในกรุงโซล ซึ่งเชี่ยวชาญศิลปินเอเชีย เพื่อให้แนะนำเกี่ยวกับผลงานของศิลปินที่ทำงานในประเด็นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ทางพิพิธภัณฑ์เองสนใจงาน “ห้องเรียนประวัติศาสตร์” (History Class) ของ รศ. สุธี โดยเฉพาะในแง่ที่เป็นผลงานเชิงความสัมพันธ์ (relational) ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับผลงานได้ด้วย พร้อมทั้งสนใจผลงานของศิลปินคนอื่นๆ ซึ่งทางผู้ดูแลแกลอรี่ดังกล่าวแนะนำมา ทางพิพิธภัณฑ์จึงเชิญ รศ. สุธีไปสัมมนาที่พิพิธภัณฑ์เมื่อปีที่แล้ว และจึงยินดีที่จะเชิญ รศ. สุธี ไปร่วมแสดงงานในนิทรรศการที่แสดงอยู่ขณะนี้ ดังที่เขาได้เคยชี้แจงมาก่อนหน้านี้แล้ว”
(Lacking information of its own, the Gwangju Museum of Art asked a gallerist in Seoul, who is knowledgeable on Asian artists, last year for recommendations of artists who work with historical themes. The museum was interested in Mr. Kunavichayanont’s History Class, in particular how it is relational (how it invites audience participation), among the works by different artists presented to us by the gallerist. We therefore invited Mr. Kunavichayanont to a seminar at our museum last year, and we thus became comfortable inviting Mr. Kunavichayanont to exhibit in our current exhibition, as we have previously explained to you.)
ทางพิพิธภัณฑ์และภัณฑารักษ์ยังได้กล่าวแสดงความเสียใจว่า
“ไม่ว่าจะด้วยประการใด พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูและข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจที่ได้เกิดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการร่วมแสดงงานของ รศ. สุธี นี้ขึ้นมา และเสียใจที่ทางเราไม่สามารถที่จะศึกษาพิจารณาถึงการเมืองไทยและความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับการเมืองในการจัดแสดงผลงานครั้งนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นิทรรศการนี้เป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ “18 พฤษภา” (May 18th)”
(In any event, the Gwangju Museum of Art and I regret that the current controversy has arisen regarding Mr. Kunavichayanont’s participation in our exhibit, and that we were unable to examine Thailand’s political situation and art’s relationship to politics for our current exhibition, particularly given that the exhibition commemorates May 18th.)
ในจดหมายตอบฉบับก่อนหน้า (ซึ่งเขาได้บอกกล่าวกับสื่อมวลชนด้วย) ภัณฑารักษ์ยังอธิบายว่า ในกระบวนการคัดเลือกงาน ภัณฑารักษ์ไม่ได้ตรวจสอบรายละเอียดข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และบริบททางการเมืองของผลงาน รศ. สุธี ชุดนี้ดีพอ หากแต่เลือกผลงานเพียงเพราะมีรูปแบบการแสดงออกที่คล้ายคลึงกับที่ประชาชนกวางจูใช้ในการต่อต้านเผด็จการในเหตุการณ์ “18 พฤษภา” เท่านั้น
2. ภัณฑารักษ์แจ้งว่า ในทันทีที่ผลงาน Thai Uprising ถูกตั้งคำถามทักท้วง พิพิธภัณฑ์ได้ติดตั้งข้อความว่า
“ขณะที่มีคนมองว่าการเดินขบวนประท้วงในปี 2556-2557 นั้นเป็นการต่อต้านการออกกฎหมายนิรโทษกรรมและการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หากแต่มีอีกฝ่ายมองว่า การประท้วงนั้นเป็นการปูทางไปสู่การรัฐประหารของกองทัพ”
(While some view the 2013-2014 Bangkok protests as having been in opposition to the Yingluck administration’s amnesty bill and corruption, others feel the protests paved the way for a military coup.)
นอกจากนั้น ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วพิพิภัณฑ์ยังได้แสดงข้อความอธิบายกระบวนการคัดเลือกผลงานมาจัดแสดง พร้อมทั้งแสดงจดหมายของ กวป. ฉบับแรก แสดงจดหมายอธิบายจุดยืนจาก รศ. สุธี และจดหมายจากผู้สนับสนุน รศ. สุธี ไว้ในนิทรรศการแล้วด้วย
3. กวป. ยืนยันในหลักการเสรีภาพของการแสดงออกและเคารพในความคิดเห็นของศิลปิน จึงไม่ได้เรียกร้องให้พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูต้องถอดผลงานแต่อย่างใด (ตั้งแต่จดหมายฉบับแรกที่ส่งไป) หากแต่ ภัณฑารักษ์แจ้งว่า มีข้อเรียกร้องจากกลุ่มในเกาหลีเองให้ถอดถอนผลงาน Thai Uprising ของ รศ. สุธี ทว่าเนื่องจากตามข้อตกลง การถอดถอนผลงานต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของผลงาน ซึ่ง รศ. สุธี ได้ปฏิเสธการถอดถอนผลงาน ทางภัณฑารักษ์จึงแจ้งว่าไม่สามารถถอดถอนผลงานตามข้อเรียกร้องของกลุ่มในเกาหลีได้
ประการที่สอง ทางพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูและภัณฑารักษ์ได้เชิญ ดร. ธนาวิ โชติประดิษฐและผู้ประสานงาน กวป. อีกหนึ่งคน ไปบรรยายที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู เรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะและการเมืองในประเทศไทย ทาง กวป. ตอบรับคำเชิญ การบรรยายนี้จะเป็นบรรยายสาธารณะ และทางพิพิธภัณฑ์จะจัดทำเอกสารประกอบการบรรยายจากคำบรรยายของตัวแทน กวป. เพื่อเผยแพร่ต่อไป
ประการที่สาม ทาง กวป. เรียกร้องเพิ่มเติมว่า ขอให้พิพิธภัณฑ์เผยแพร่จดหมายเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ ต่อสาธารณชน และขอให้พิพิธภัณฑ์ยืนยันว่าจะเก็บรวบรวมจดหมายและเอกสารเหล่านี้ไว้ในหอจดหมายเหตุของพิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงสำหรับการศึกษาวิจัยในประเด็นนี้ได้ต่อไป
หากมีความคืบหน้าประการใดต่อไป คณะผู้ประสานงานจะรายงานให้ทุกท่านทราบเพิ่มเติม พร้อมกันนี้ เนื่องจากข่าวคราวของการทักท้วงนี้กลายเป็นประเด็นสาธารณะที่แวดวงศิลปะและผู้สนใจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ติดตามอย่างกว้างขวาง จึงขอแนบรายงานข่าวของสื่อมวลชนต่างประเทศมาท้ายจดหมายนี้ด้วย
ด้วยความนับถือ
ผู้ประสานงาน กวป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ธนาวิ โชติประดิษฐ
ทัศนัย เศรษฐเสรี
ถนอม ชาภักดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รายงานข่าวของสื่อมวลชนต่างประเทศและสื่อมวลชนไทยภาษาอังกฤษ (เรียงตามลำดับเวลา)
Lee Yu Kyung. “‘Anti-Democratic Artist’ Selected for Gwangju Exhibition, Why? Asked Thai Cultural Activists” 기억과 기록 Remembrance and Record (R & R), May 16, 2016. (Accessed on June, 12 2016. https://penseur21.com/2016/05/16/anti-democratic-artist-selected-for-gwangju-exhibition-why-asked-thai-cultural-activists/).
David Hopkins. “Artwork highlights Thailand’s polarized politics” Nikei Asian Review, May 23, 2016. (Accessed on June, 12, 2016. http://asia.nikkei.com/Life-Arts/Arts/Artwork-highlights-Thailand-s-polarized-politics?page=2).
Thitipol Panyalimpanun. “Thailand’s political polarization is raising tensions in the art world too” Asian Correspondent, May 31, 2016. (Accessed on June, 12 2016. https://asiancorrespondent.com/2016/05/thailand-art-world-tensions/).
Kaona Pongpipat. “Life Style: Art attack” Bangkok Post, 8 June 2016. (Accessed on June 12, 2016. http://www.bangkokpost.com/lifestyle/art/1004685/art-attack).
“Activists Criticize Gwangju Museum for Exhibiting “Anti-Democratic” Thai Artist’s Work” Art Forum, June 8, 2016. (Accessed on June 12, 2016 http://artforum.com/news/id=60476).
JJNY : “กวางจู”ขยับแล้ว บอกเสียใจเหตุ “สุธี”– รับศึกษาไม่ดีพอ-สรุปติดป้ายแจง เชิญ “กวป.”บรรยายศิลปะไทยกับการเมือง
ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กวป.ได้เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงผู้ร่วมลงชื่อ กวป. และสาธารณชน กล่าวถึงคืบหน้าของการตอบสนองของภัณฑารักษ์และพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ต่อการทักท้วงและข้อเรียกร้องของ กวป. กรณีการแสดงผลงานของ รศ. สุธี เนื้อหาโดยสรุป กล่าวว่า ภัณฑารักษ์ตอบมาในนามของตนและพิพิธภัณฑ์ โดยอธิบายกระบวนการคัดเลือกผลงานว่าได้ปรึกษาแกลอรี่แห่งหนึ่ง ทั้งยังยอมรับและกล่าวเสียใจที่ไม่ได้ศึกษาข้อมูลให้ดีพอ จึงมีการติดป้ายแสดงข้อความว่าผลงานชุดดังกล่าวได้รับการทักท้วง
นอกจากนี้ ทางพิพิธภัณฑ์ยังจัดแสดงจดหมายฉบับแรกของ กวป. พร้อมจดหมายของรศ.สุธีและผู้สนับสนุน ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา สำหรับกระแสในเกาหลีใต้ มีกลุ่มที่เรียกร้องให้ปลดผลงาน แต่อ.สุธีไม่ยินยอม พิพิธภัณฑ์จึงไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม กวป. ไม่ได้เรียกร้องให้ปลดงานตั้งแต่แรก
ภัณฑารักษ์ยังระบุว่า ได้เชิญ น.ส.ธนาวิ โชติประดิษฐ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร และผู้ประสานงานจาก กวป. อีกรายหนึ่งไปบรรยายในหัวข้อประวัติศาสตร์ศิลปะในไทยกับการเมืองที่กวางจู ซึ่งในเบื้องต้นผู้ประสานงานตอบรับแล้วและอยู่ระหว่างประสานงานกิจกรรมดังกล่าว
จดหมายเปิดผนึกของกวป. ยังระบุอีกว่า ทางกลุ่ม กวป. ได้เรียกร้องให้พิพิธภัณฑ์เผยแพร่เอกสารการทักท้วงและเก็บรวบรวมเอกสารเหล่านี้ไว้เพื่อการศึกษาต่อไป
จดหมายฉบับเต็ม มีข้อความดังนี้
ในนามของผู้ประสานงานนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ขอแจ้งความคืบหน้าของการตอบสนองของภัณฑารักษ์และพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ต่อการทักท้วงและข้อเรียกร้องของ กวป. กรณีการแสดงผลงานของ รศ. สุธี คุณาวิชยานนท์ ดังนี้
ประการแรก ภัณฑารักษ์และพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูได้สนองตอบต่อข้อเรียกร้องของ กวป. และการเรียกร้องจากกลุ่มต่างๆ ในหลายประการด้วยกัน (ข้อความในภาษาอังกฤษคือข้อความที่ภัณฑารักษ์ส่งจดหมายตอบมา)
1. สำหรับข้อเรียกร้องจาก กวป. ให้ภัณฑารักษ์ชี้แจงกระบวนการคัดเลือกผลงาน ภัณฑารักษ์ได้ชี้แจงดังนี้
“ด้วยเพราะไม่มีความรู้เพียงพอ เมื่อปีที่แล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูจึงได้ขอคำปรึกษาจากผู้ดูแลแกลอรี่ในกรุงโซล ซึ่งเชี่ยวชาญศิลปินเอเชีย เพื่อให้แนะนำเกี่ยวกับผลงานของศิลปินที่ทำงานในประเด็นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ทางพิพิธภัณฑ์เองสนใจงาน “ห้องเรียนประวัติศาสตร์” (History Class) ของ รศ. สุธี โดยเฉพาะในแง่ที่เป็นผลงานเชิงความสัมพันธ์ (relational) ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับผลงานได้ด้วย พร้อมทั้งสนใจผลงานของศิลปินคนอื่นๆ ซึ่งทางผู้ดูแลแกลอรี่ดังกล่าวแนะนำมา ทางพิพิธภัณฑ์จึงเชิญ รศ. สุธีไปสัมมนาที่พิพิธภัณฑ์เมื่อปีที่แล้ว และจึงยินดีที่จะเชิญ รศ. สุธี ไปร่วมแสดงงานในนิทรรศการที่แสดงอยู่ขณะนี้ ดังที่เขาได้เคยชี้แจงมาก่อนหน้านี้แล้ว”
(Lacking information of its own, the Gwangju Museum of Art asked a gallerist in Seoul, who is knowledgeable on Asian artists, last year for recommendations of artists who work with historical themes. The museum was interested in Mr. Kunavichayanont’s History Class, in particular how it is relational (how it invites audience participation), among the works by different artists presented to us by the gallerist. We therefore invited Mr. Kunavichayanont to a seminar at our museum last year, and we thus became comfortable inviting Mr. Kunavichayanont to exhibit in our current exhibition, as we have previously explained to you.)
ทางพิพิธภัณฑ์และภัณฑารักษ์ยังได้กล่าวแสดงความเสียใจว่า
“ไม่ว่าจะด้วยประการใด พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูและข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจที่ได้เกิดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการร่วมแสดงงานของ รศ. สุธี นี้ขึ้นมา และเสียใจที่ทางเราไม่สามารถที่จะศึกษาพิจารณาถึงการเมืองไทยและความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับการเมืองในการจัดแสดงผลงานครั้งนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นิทรรศการนี้เป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ “18 พฤษภา” (May 18th)”
(In any event, the Gwangju Museum of Art and I regret that the current controversy has arisen regarding Mr. Kunavichayanont’s participation in our exhibit, and that we were unable to examine Thailand’s political situation and art’s relationship to politics for our current exhibition, particularly given that the exhibition commemorates May 18th.)
ในจดหมายตอบฉบับก่อนหน้า (ซึ่งเขาได้บอกกล่าวกับสื่อมวลชนด้วย) ภัณฑารักษ์ยังอธิบายว่า ในกระบวนการคัดเลือกงาน ภัณฑารักษ์ไม่ได้ตรวจสอบรายละเอียดข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และบริบททางการเมืองของผลงาน รศ. สุธี ชุดนี้ดีพอ หากแต่เลือกผลงานเพียงเพราะมีรูปแบบการแสดงออกที่คล้ายคลึงกับที่ประชาชนกวางจูใช้ในการต่อต้านเผด็จการในเหตุการณ์ “18 พฤษภา” เท่านั้น
2. ภัณฑารักษ์แจ้งว่า ในทันทีที่ผลงาน Thai Uprising ถูกตั้งคำถามทักท้วง พิพิธภัณฑ์ได้ติดตั้งข้อความว่า
“ขณะที่มีคนมองว่าการเดินขบวนประท้วงในปี 2556-2557 นั้นเป็นการต่อต้านการออกกฎหมายนิรโทษกรรมและการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หากแต่มีอีกฝ่ายมองว่า การประท้วงนั้นเป็นการปูทางไปสู่การรัฐประหารของกองทัพ”
(While some view the 2013-2014 Bangkok protests as having been in opposition to the Yingluck administration’s amnesty bill and corruption, others feel the protests paved the way for a military coup.)
นอกจากนั้น ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วพิพิภัณฑ์ยังได้แสดงข้อความอธิบายกระบวนการคัดเลือกผลงานมาจัดแสดง พร้อมทั้งแสดงจดหมายของ กวป. ฉบับแรก แสดงจดหมายอธิบายจุดยืนจาก รศ. สุธี และจดหมายจากผู้สนับสนุน รศ. สุธี ไว้ในนิทรรศการแล้วด้วย
3. กวป. ยืนยันในหลักการเสรีภาพของการแสดงออกและเคารพในความคิดเห็นของศิลปิน จึงไม่ได้เรียกร้องให้พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูต้องถอดผลงานแต่อย่างใด (ตั้งแต่จดหมายฉบับแรกที่ส่งไป) หากแต่ ภัณฑารักษ์แจ้งว่า มีข้อเรียกร้องจากกลุ่มในเกาหลีเองให้ถอดถอนผลงาน Thai Uprising ของ รศ. สุธี ทว่าเนื่องจากตามข้อตกลง การถอดถอนผลงานต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของผลงาน ซึ่ง รศ. สุธี ได้ปฏิเสธการถอดถอนผลงาน ทางภัณฑารักษ์จึงแจ้งว่าไม่สามารถถอดถอนผลงานตามข้อเรียกร้องของกลุ่มในเกาหลีได้
ประการที่สอง ทางพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูและภัณฑารักษ์ได้เชิญ ดร. ธนาวิ โชติประดิษฐและผู้ประสานงาน กวป. อีกหนึ่งคน ไปบรรยายที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู เรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะและการเมืองในประเทศไทย ทาง กวป. ตอบรับคำเชิญ การบรรยายนี้จะเป็นบรรยายสาธารณะ และทางพิพิธภัณฑ์จะจัดทำเอกสารประกอบการบรรยายจากคำบรรยายของตัวแทน กวป. เพื่อเผยแพร่ต่อไป
ประการที่สาม ทาง กวป. เรียกร้องเพิ่มเติมว่า ขอให้พิพิธภัณฑ์เผยแพร่จดหมายเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ ต่อสาธารณชน และขอให้พิพิธภัณฑ์ยืนยันว่าจะเก็บรวบรวมจดหมายและเอกสารเหล่านี้ไว้ในหอจดหมายเหตุของพิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงสำหรับการศึกษาวิจัยในประเด็นนี้ได้ต่อไป
หากมีความคืบหน้าประการใดต่อไป คณะผู้ประสานงานจะรายงานให้ทุกท่านทราบเพิ่มเติม พร้อมกันนี้ เนื่องจากข่าวคราวของการทักท้วงนี้กลายเป็นประเด็นสาธารณะที่แวดวงศิลปะและผู้สนใจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ติดตามอย่างกว้างขวาง จึงขอแนบรายงานข่าวของสื่อมวลชนต่างประเทศมาท้ายจดหมายนี้ด้วย
ด้วยความนับถือ
ผู้ประสานงาน กวป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ธนาวิ โชติประดิษฐ
ทัศนัย เศรษฐเสรี
ถนอม ชาภักดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รายงานข่าวของสื่อมวลชนต่างประเทศและสื่อมวลชนไทยภาษาอังกฤษ (เรียงตามลำดับเวลา)
Lee Yu Kyung. “‘Anti-Democratic Artist’ Selected for Gwangju Exhibition, Why? Asked Thai Cultural Activists” 기억과 기록 Remembrance and Record (R & R), May 16, 2016. (Accessed on June, 12 2016. https://penseur21.com/2016/05/16/anti-democratic-artist-selected-for-gwangju-exhibition-why-asked-thai-cultural-activists/).
David Hopkins. “Artwork highlights Thailand’s polarized politics” Nikei Asian Review, May 23, 2016. (Accessed on June, 12, 2016. http://asia.nikkei.com/Life-Arts/Arts/Artwork-highlights-Thailand-s-polarized-politics?page=2).
Thitipol Panyalimpanun. “Thailand’s political polarization is raising tensions in the art world too” Asian Correspondent, May 31, 2016. (Accessed on June, 12 2016. https://asiancorrespondent.com/2016/05/thailand-art-world-tensions/).
Kaona Pongpipat. “Life Style: Art attack” Bangkok Post, 8 June 2016. (Accessed on June 12, 2016. http://www.bangkokpost.com/lifestyle/art/1004685/art-attack).
“Activists Criticize Gwangju Museum for Exhibiting “Anti-Democratic” Thai Artist’s Work” Art Forum, June 8, 2016. (Accessed on June 12, 2016 http://artforum.com/news/id=60476).