อะไรคือ X-ray , CT scan , MRI , Ultrasound

สวัสดีเพื่อนๆทุกคน

    เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ค่อนข้างจะเข้าถึงยากหรือไม่เป็นที่เข้าใจในวงกว้าง
ดังนั้น จขกท จะพยายามเอามาอธิบายให้ง่ายขึ้นเเละใกล้ตัวเรามากขึ้น
เนื้อหาหลายๆส่วนนั้นจขกท.ได้แปลเเละรวบรวมมาจากหลายๆเว็บไซด์

ปล. หลังจากได้สรุปเนื้อหาเเล้ว จขกทรู้สึกว่าตัวหนังสือค่อนข้างจะเยอะมาก เเละยังยากต่อการเข้าใจ
ยังไม่ดีเท่าที่ จขกท อยากให้เป็น อาจจะทำให้เข้าถึงผู้คนไม่ได้ทุกกลุ่ม
จขกทเชื่อว่าในพันทิบมีผู้มีความสามารถด้านการ์ตูนหรือกราฟฟิคที่ครีเอททีฟสูงๆเเละไอเดียดีๆอยู่มาก
ดังนั้นถ้าเป็นไปได้รบกวนเพื่อนๆช่วยนำข้อมูลไปผลิตเป็นสื่อหรือเนื้อหาให้เข้าใจง่ายขึ้น เพื่อที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วยครับ




1.เอ็กซ์เรย์(X-Ray)


    
        1.1อะไรคือภาพถ่ายเอ็กซ์เรย์

                ภาพถ่ายเอ็กซ์เรย์นั้นเป็นภาพถ่ายของร่างกายส่วนต่างๆขึ้นอยู่กับเราว่าจะถ่าย
            ส่วนไหนของร่างกาย ที่ง่าย เร็วเเละเป็นการตรวจแบบไม่ต้องเจ็บตัว(Non-invasive)
                โดยอาศัยหลักการที่ใช้รังสีเอ็กซ์เรย์วิ่งผ่านร่างกายของเรา เเละเนื่องจากส่วนประกอบของ
            ร่างกายของเรานั้นมีความหนาเเน่นต่างกันทำให้ภาพที่ได้นั้นต่างกัน(คล้ายๆกับส่องไฟฉาย)
                โดยส่วนที่ทึบที่สุด(จะเห็นเป็นสีขาว)นั้นคือกระดูก เเละส่วนที่โปร่งที่สุดคือส่วนที่มีอากาสเยอะๆ
            เช่นปอดเเละลำไส้(จะเห็นเป็นสีดำ) ส่วนนี้เชื่อว่าน่าจะมีหลายๆคนเข้าใจผิด

        1.2เราจะถ่ายเอ็กซ์เรย์เพื่ออะไร

                ในปัจจุบันบทบาทของการถ่ายเอ็กซ์เรย์นั้นลดลงไปอย่างมากเนื่องจากเทคโนโลยีที่ดีกว่ามา
            ทดแทน เเต่อย่างไรก็ตาม เรื่องจากราคาที่ถูก ง่ายต่อการทำ เเละมีให้อย่างเเพร่หลายทำให้
            การถ่ายเอ็กซ์เรย์นั้นยังมีบทบาทที่สำคัญอยู่ในการวินิฉัยเบื้องต้น(Initial diagnosis)
            เช่น
                กระดูก --- กระดูกหัก กระดูกพรุน มะเร็งกระดูก
                ช่วงหน้าอก --- ติดเชื้อในปอด น้ำท่วมปอด ปอดทะลุ ถุงลมโปร่งพอง มะเร็งปอด หัวใจโต
                ช่วงท้อง --- ลำไส้อุดตัน สิ่งแปลกปลอมที่รับประทานเข้าไป

    
        1.3อันตรายจากรังสี
            
                เนื่องจากมีการใช้รังสีทำให้ภาพถ่ายเอ็กซ์เรย์นั้นมีอันตรายอยู่ในระดับนึงโดยขึ้นอยู่
            กับจำนวนครั้ง เพราะโดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นอันตรายต่อร่างกาย (Negligible)




2.เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์(Computeritzed Tomography, CT scan)



        2.1 อะไรคือเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์

                เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์นั้นโดยเบื้องต้นใช้หลักการเดียวกับเอ็กซ์เรย์เลย จะต่างกันก็ตรงที่เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์นั้น    
            ยิงรังสีไปหลายๆ ทิศทางและเอาภาพที่ได้รับ มาประกอบกันใหม่เเละสร้างภาพขึ้นมาโดยการใช้คอมพิวเตอร์

        2.2 เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ใช้เพื่ออะไร

                เนื่องด้วยความละเอียดที่สูงในปัจจุบันเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์จึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
            โดยมีจุดประสงค์หลักๆในการใช้คือ
                    1. ตรวจหาเนื้องอกในอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตำแหน่งและขนาดของเนื้องอก
                    2. ตรวจหาการแพร่กระจายของเนื้องอกไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ ใกล้เคียง
                    3. ตรวจดูการคั่งของเลือดในสมอง ช่องท้อง และอุ้งเชิงกราน
                    4. ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดโป่งพอง เส้นเลือดอุดตัน เป็นต้น
                    5. ตรวจหาความผิดปกติของกระดูก และข้อต่อต่างๆ เช่น การหัก การหลุด และการอักเสบ เป็นต้น


        2.3 เอกซเรย์ธรรมดา(X-Ray) ต่างจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์(CT scan) อย่างไร?
            
                 ความแตกต่างระหว่างการเอกซเรย์ธรรมดากับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ คือเอกซเรย์ธรรมดา จะให้ภาพการตรวจเป็นภาพ 2 มิติ
            คือกว้าง และยาว ไม่สามารถบอกความลึกได้ และจะให้ภาพเป็นภาพรวมของทั้งอวัยวะ ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดของเอกซเรย์ธรรมดา
            เมื่อเปรียบเทียบกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เทคโนโลยีในการตรวจที่ซับซ้อนกว่าเอกซเรย์ธรรมดามาก ซึ่งจะให้ภาพเป็น 3 มิติ
            และยังซอยภาพอวัยวะออกเป็นแผ่นบางๆในภาพตัดขวางได้หลายสิบแผ่น จึงช่วยให้แพทย์อ่านความผิดปกติของอวัยวะนั้นๆ
            ได้ละเอียดและแม่นยำกว่า
        
        2.4อันตรายจากรังสี
        
                อันตรายจากรังสีของเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์นั้นสูงกว่าเอ็กซ์เรย์ธรรมดาเนื่องจากการถ่ายในปริมาณที่มากกว่า
            เพื่อที่จะได้ภาพที่สมบูรณ์มากกว่า  เเต่โดยทั่วไปเเล้วนั้นไม่ถือว่าเป็นอันตรายต่อร่างกาย (Negligible)
            และในหลายๆการนี่จำเป็นต้องใช้สารทึบรังสีในการช่วยในการวินิจฉัยซึ่งสามารถเป็นอันตรายต่อไตได้

        2.5เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์นั้นแบ่งออกเเละพัฒนามาไกลมาก ถ้ามีใครสนใจก็กดspoilเลยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้




3. เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า(Magnetic Resonance Imaging, MRI)
   
   
        ภาพจะละเอียดกว่า x-ray และ CT scan มาก

           3.1 อะไรคือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
                    
                    เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทำงานโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุที่มีความถี่จำเพาะที่สร้างมาจากเเม่เหล็ก
                เข้าไปกระตุ้นโมเลกุลของน้ำของอวัยวะที่ตรวจ เเล้วใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวนการคายพลังงานที่ปล่อยออกมาจากบริเวณนั้น
                ถ้าสรุปง่ายๆ(Conceptually)ก็คือ ก็ใช้หลักการคล้ายๆกับ x-ray และ CT scan เเต่เปลี่ยนจากรังสีเป็นคลื่นเเม่เหล็ก

           3.2 เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าใช้เพื่ออะไร
    
                    โดยส่วนมากเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้านั้นสามารถให้ภาพที่ละเอียด เเม่นยำ เเละถูกต้อง
                กว่าทั้ง x-ray และ CT scan โดยเฉพาะในระบบสมอง กระดูกไขสันหลัง เเละ เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย(Soft tissue)

           3.3 อันตรายจากรังสี
    
                    เนื่องจาก MRI ใช้หลักการของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้าจึงไม่มีอันตรายจากรังสี

            3.4  แล้วถ้าดีกว่าทั้ง x-ray และ CT scan ทำไม MRI จึงไม่ค่อยได้ใช้เลยหล่ะ

                จริงๆ เเล้วนั้น MRI เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในหลายๆส่วนของการแพทย์ เเต่ด้วยข้อจำกัด
                    1. ราคาของเครื่อง ซึ่งมีราคาหลายสิบล้านบาท เเละค่าใช้จ่ายๆอื่นๆเช่น ค่าบำรุงรักษา ค่าผู้ใช้งาน
                       ทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายกับผู้ป่วยเกินความจำเป็น
                    2. MRI ยังมีข้อจำกัดอีกหลายด้าน เช่น ใช้เวลาโดยเฉลี่ย 30-60 นาที ซึ่งนานกว่า x-ray และ CT scan มาก
                    3. MRI ใช้หลักการของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้ผู้ที่มีโลหะอยู่ในร่างกาย รอยสัก เครื่องกระตุ้นหัวใจ ไม่สามารถใช้ MRI ได้
                    4. ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่กลัวที่เเคบ




4.  เครื่องอัลตร้าซาวน์(Ultrasound)


                
              4.1 อะไรคือเครื่องอัลตร้าซาวน์

                    หลักการทำงานของเครื่องอัลตร้าซาวน์นั้นเลียนแบบมาจากหลักการเดียวกับค้างคาวหรือโลมา
                นั่นก็คือการปล่อยคลื่นความถี่สูงไปที่บริเวณนั้น เเล้วใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวนคลื่นที่สะท้อนกลับเข้ามา
                เเล้วมาประมวณผลให้เป็นภาพขึ้นมา

              4.2 เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าใช้เพื่ออะไร

                    ในปัจจุบันเทคโนโลยีของเครื่องอัลตร้าซาวน์นั้นได้พัฒนามาไกลมาก โดยในปัจจุบันมีทั้งแบบสองมิติ สามมิติ และสี่มิติ
                เครื่องอัลตร้าซาวน์นี้เรียกได้ว่าเป็นหัวใจของหลายๆสาขาวิชาของการแพทย์ เเละเนื่องจากราคาของตัวเครื่องไม่แพงมาก
                ง่ายต่อการใช้ เคลื่อนย้ายได้สะดวก ทำให้เครื่องอัลตร้าซาวน์มีการใช้อย่างแพร่หลาย เช่น

                    1. ดูความผิดปกติทั่วๆ ไป เช่น นิ่วในไต, นิ่วในถุงน้ำดี, ก่อนเนื้อในตับ เป็นต้น
                    2. เพื่อยืนยันกับการตรวจอื่นๆ ว่าพบก้อนเนื้อ
                    3. ก้อนเนื้อที่พบเป็นก้อนเนื้อประเภทใด เป็นส่วนของอวัยวะใด หรือติดต่อกับอวัยวะใดบ้าง
                    4. ใช้ในการตรวจหาเลือดออกในร่างกายในกรณีฉุกเฉิน (FAST)
                    5. เพื่อช่วยในการเจาะอวัยวะที่สงสัย เพื่อการวินิจฉัยและการรักษา
                    6. เพื่อดูเพศ, ความผิดปกติ, ขนาดของทารกในครรภ์
                    7. ดูความผิดปกติของเส้นเลือดดำ, เส้นเลือดแดง ว่ามีการอุดตัน, โป่ง หรือขอด เป็นต้น
                    8. ดูจังหวะการเต้น การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นเลือดแดงส่วนต้น
                    9. ดูกล้ามเนื้อ ดูเอ็น ข้อ
                    10.ดูสมองเด็กแรกเกิดถึง 1 ขวบ

            4.3 อันตรายจากรังสี
    
                    เนื่องจากเครื่องอัลตร้าซาวน์ ใช้หลักการของคลื่นความถี่สูงจึงไม่มีอันตรายจากรังสี

            4.5 ข้อจำกัด
                    1. อัลตร้าวซาวน์ไม่สามารถใช้การตรวจอวัยวะส่วนที่มีลมได้ เช่น ปอด กระเพาะอาหาร เป็นต้น
                    2. อัลตร้าซาวน์ไม่สามารถใช้ตรวจอวัยวะที่เป็นกระดูกได้



เพิ่ม PET/CT scan เเละ Bone scan ที่ความเห็นที่ 39 ยิ้มยิ้มยิ้ม




Credit :
http://aimc.mahidol.ac.th/mrith.html
http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/x-ray/basics/definition/prc-20009519
http://www.mrithailand.com/index.php?modules=article&parent_id=3&id=30
http://www.sonowavesmobile.com
http://www.medicalnewstoday.com/articles/245491.php
http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/3/40/466/th
http://www.paolohospital.com/home/colorectal/ultrasound/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่