“ราหุล ! เธอเห็นน้ำที่เหลืออยู่นิดหนึ่งที่ก้นภาชนะนี้หรือ ?”
“เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !”
“ราหุล ! นักบวชที่ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ ก็ มีความเป็นสมณะนิดเดียว เหมือนน้ำที่เหลืออยู่ที่ก้นภาชนะนี้ ฉันนั้น” พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสาดน้ำนั้นเทไป (ด้วยอาการที่น้ำจะเหลือติดอยู่ได้น้อยที่สุดเป็นธรรมดา) แล้ว ตรัสว่า :-
“ราหุล ! เธอเห็นน้ำที่ถูกสาดเทไปแล้ว มิใช่หรือ ?”
“เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !”
“ราหุล ! นักบวช ที่ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ ก็ มีความเป็นสมณะ เหลืออยู่น้อย เหมือนน้ำที่สักว่าเหลือติดอยู่ตามภาชนะ (หลังจากที่สาดเทออกไปแล้วโดยแรง) นี้ ฉันนั้น”.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงคว่ำภาชนะน้ำนั้นแล้ว ตรัสว่า :-
“ราหุล ! เธอเห็นภาชนะที่คว่ำอยู่แล้วนี้ มิใช่หรือ ?”
“เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !”
“ราหุล ! นักบวชที่ ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ ก็ มีความเป็นสมณะ เท่ากับน้ำที่เขาคว่ำภาชนะเสียแล้วอย่างนี้ ฉันนั้น”
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหงายภาชนะนั้นขึ้นมาดูแล้ว ตรัสว่า :-
“ราหุล ! เธอเห็นภาชนะอันว่างจากน้ำนี้แล้ว มิใช่หรือ ?”
เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !”
“ราหุล ! นักบวช ที่ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ ก็ มีความเป็นสมณะ เท่ากับความว่างเปล่าของน้ำในภาชนะนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน_ _ _ฯลฯ _ _ _”
“ราหุล ! เรากล่าวว่า กรรมอันลามกหน่อยหนึ่ง ซึ่งนักบวชที่ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ จะทำไม่ได้หามีไม่. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า ‘เราทั้งหลายจัก ไม่กล่าวมุสา แม้แต่เพื่อหัวเราะกันเล่น’ ดังนี้. ราหุล ! เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้”.
“ราหุล ! กระจกเงา๑ มีไว้สำหรับทำอะไร ?”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! กระจกเงามีไว้สำหรับส่องดู พระเจ้าข้า !”
“ราหุล ! กรรมทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่บุคคลควรสอดส่องพิจารณาดูแล้ว ๆ เล่า ๆ เสียก่อน จึงทำลงไปทางกาย, ทางวาจา, หรือทางใจ ฉันเดียวกับกระจก เงานั้นเหมือนกัน”.
บาลี พระพุทธภาษิต จูฬราหุโลวาทสูตร ม. ม. ๑๓/๑๒๓/๑๒๖, ตรัสแก่พระราหุล ขณะที่ทรงล้างพระบาทด้วยพระองค์เอง แล้วทรงเหลือน้ำติดก้นกะลา เพื่อเป็นอุปมา, ที่เวฬุวัน ใกล้นครราชคฤห์
๑. กระจกเงาในที่นี้คือศัพท์ว่า อาทาส, เป็นแผ่นทองเหลืองหรือโลหะชนิดเดียวกันขัดมัน.
ชุดจากพระโอษฐ์ ๕ เล่ม เล่มที่ ๑
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
หน้าที่ ๕
น้ำติดก้นกะลา
“เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !”
“ราหุล ! นักบวชที่ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ ก็ มีความเป็นสมณะนิดเดียว เหมือนน้ำที่เหลืออยู่ที่ก้นภาชนะนี้ ฉันนั้น” พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสาดน้ำนั้นเทไป (ด้วยอาการที่น้ำจะเหลือติดอยู่ได้น้อยที่สุดเป็นธรรมดา) แล้ว ตรัสว่า :-
“ราหุล ! เธอเห็นน้ำที่ถูกสาดเทไปแล้ว มิใช่หรือ ?”
“เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !”
“ราหุล ! นักบวช ที่ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ ก็ มีความเป็นสมณะ เหลืออยู่น้อย เหมือนน้ำที่สักว่าเหลือติดอยู่ตามภาชนะ (หลังจากที่สาดเทออกไปแล้วโดยแรง) นี้ ฉันนั้น”.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงคว่ำภาชนะน้ำนั้นแล้ว ตรัสว่า :-
“ราหุล ! เธอเห็นภาชนะที่คว่ำอยู่แล้วนี้ มิใช่หรือ ?”
“เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !”
“ราหุล ! นักบวชที่ ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ ก็ มีความเป็นสมณะ เท่ากับน้ำที่เขาคว่ำภาชนะเสียแล้วอย่างนี้ ฉันนั้น”
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหงายภาชนะนั้นขึ้นมาดูแล้ว ตรัสว่า :-
“ราหุล ! เธอเห็นภาชนะอันว่างจากน้ำนี้แล้ว มิใช่หรือ ?”
เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !”
“ราหุล ! นักบวช ที่ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ ก็ มีความเป็นสมณะ เท่ากับความว่างเปล่าของน้ำในภาชนะนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน_ _ _ฯลฯ _ _ _”
“ราหุล ! เรากล่าวว่า กรรมอันลามกหน่อยหนึ่ง ซึ่งนักบวชที่ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ จะทำไม่ได้หามีไม่. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า ‘เราทั้งหลายจัก ไม่กล่าวมุสา แม้แต่เพื่อหัวเราะกันเล่น’ ดังนี้. ราหุล ! เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้”.
“ราหุล ! กระจกเงา๑ มีไว้สำหรับทำอะไร ?”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! กระจกเงามีไว้สำหรับส่องดู พระเจ้าข้า !”
“ราหุล ! กรรมทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่บุคคลควรสอดส่องพิจารณาดูแล้ว ๆ เล่า ๆ เสียก่อน จึงทำลงไปทางกาย, ทางวาจา, หรือทางใจ ฉันเดียวกับกระจก เงานั้นเหมือนกัน”.
บาลี พระพุทธภาษิต จูฬราหุโลวาทสูตร ม. ม. ๑๓/๑๒๓/๑๒๖, ตรัสแก่พระราหุล ขณะที่ทรงล้างพระบาทด้วยพระองค์เอง แล้วทรงเหลือน้ำติดก้นกะลา เพื่อเป็นอุปมา, ที่เวฬุวัน ใกล้นครราชคฤห์
๑. กระจกเงาในที่นี้คือศัพท์ว่า อาทาส, เป็นแผ่นทองเหลืองหรือโลหะชนิดเดียวกันขัดมัน.
ชุดจากพระโอษฐ์ ๕ เล่ม เล่มที่ ๑
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
หน้าที่ ๕