จากนี้เป็นการทำงาน ของชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ที่ดำเนินการ หาการทำงานที่เป็นมาตรฐานแก่เจ้าพนักงาน
ในการใช้อำนาจเพื่อตรวจจับ รถจักรยานยนต์ ให้เป็นไปในทางเดียวกัน เนื่องจากปัจจุบัน มีการใช้ดุลพินิจ มากเกินไป
จนมองเห็นว่า เป็นการยัดข้อหาโดยที่ไม่มีหลักฐาน
เจ้าของรถมั่นใจและยืนยันว่าว่า เสียงท่อไม่เกิน 95 dB แน่นอน จึงได้ติดต่อให้ทางชมรมช่วยครับ
โดยทางขนส่ง ยืนยันว่า ไม่มี มอก. ไม่ผิดครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้แก้ช่วงที่บอกว่า ผู้ผลิตและนำเข้าไม่ต้องมี มอก. เป็น ต้องมี มอก. นะครับ ทางเพจพิมพ์ผิด
ส่วนเรื่องค่าไอเสีย ต้องตรวจวัดอีกทีถ้าโดนข้อหา
ส่วนเรื่องดัดแปลงสภาพนั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เข้าเรื่องกันครับ
วิธีตรวจที่ถูกต้องโดยข่นส่งครับ
วิธีตรวจของ บกจร.
ก่อนเริ่มวัดที่ขนส่ง
เริ่ม
ต่อ
สรุปคือ ถ้าการวัดเสียงผิดไปจากที่ขนส่งทำ แม้แต่ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง
ถือว่า ไม่เป็นมาตรฐานตามที่ขนส่งกำหนดครับ
บทความทิ้งท้าย ยาวซักหน่อย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้รู้ไว้... ใช่ว่า... เพราะถ้าไม่เกิดกับข้าพเจ้าหรือสหาย ก็คงไม่มีวันเข้าใจ... อย่าง "แน่นอน"
(โปรดใช้วิจารณญาณสำหรับ "ข้อเท็จจริง" ของบทความด้านล่างนะครับ) ในหัวข้อที่ให้ว่า...
*** "ยำยำ"... "จริงๆ" กับการทำงาน "ตั้งด่าน" ของ... ตำรวจจราจร (ไทย) **
"ข้อหา" ที่เอาผิดนั้น "มั่ว" สิ้นดี (จากคลิ้ปวีดีโอ)
นี่... ทำให้รู้ว่า ตำรวจจราจรไทยไม่เคยศึกษาหาความรู้ (จริง) ในเรื่อง...
1. "มาตรากฎหมาย" หรือแม้แต่
2. เรื่อง "อุปกรณ์เดิมๆ" ที่ติดมากับตัวรถ
ก่อนที่จะเอาผิดกับผู้ขี่ยวดยานบนท้องถนน... อย่างสหายเราๆ จนในที่สุดต้องลงเอยด้วยการเปรียบเทียบปรับสหายอย่างเราๆ โดยการใช้ "ดุลพินิจ" ของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรไทย อย่างที่ประเทศอื่นๆ... เค้า "ไม่ทำกัน"
ถึงคราว... ที่ผู้ขี่จักรยานยนต์เอง ควรจะหันมาศึกษามาตรากฎหมาย ที่ว่าด้วยการกฎหมายการกระทำผิดทางวินัยการขับ-ขี่ (By Laws) และบทพระราชบัญญัติว่าเรื่องการการจราจรขนส่งทางบก (Regulations)
ปริ้นท์ออกมาเก็บไว้ในยานพาหนะใต้เบาะเถอะครับ แล้วดวล (อย่างมีเหตุ-มีผล) กับ "เจ้าหน้าที่" กันไปเลยครับ
สรุปว่า (ในคลิ้ป)
ต้องขอ "หยิบ" เอามาเป็น "กรณีศึกษา" ของเจ้าของเฟสบุค "Chaiya Tumcha" ที่มาลงโพสในเฟสบุคของเจ้าตัวเองนั้น ให้เป็นอุทาหรณ์นั้น ซึ่ง "ไม่ผิดในมาตราใดๆของกฎหมาย" ครับ
ส่วน... ตำรวจจราจร (ก็พยายามหากินกับมาตรากฎหมาย "เก่าๆ-เดิม") เพื่อที่จะเอาผิดกับผู้ใช้ถนนอย่างสหายเราๆ... ให้จงได้
แต่ทว่า..
** มาเฉลยกัน **
1. การหากินกับมาตรา 14 อีกแล้ว
มาตรา 14 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถ ให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ นี่รวมถึง (สำหรับรถมอเตอร์ไซด์)...
- การเปลี่ยนสีของตัวถังรถ
- การเปลี่ยนแปลงสภาพรถที่ "อาจ" ก่อให้เกิดอันตรายต่อการขับ-ขี่ หรือต่อผู้ใช้ถนนรอบข้าง เข่นล้อหรือยางให้เล็กหรือใหญ่จนเกินไป รวมถึงการไม่ติดกระจกมองข้างด้วย
ซึ่งแน่นอนว่า... เอกสารที่สหายได้จดทะเบียนจากกรมขนส่ง ไม่มีรายการไหนระบุว่าสหายใช้ท่อไอเสียแบบไหนหรือยี่ห้อไหนเลย
นี่ก็หมายความว่า...สหายสามารถที่จะเปลี่ยนรูปทรงของท่อไอเสีย ให้ "สวย" ขึ้นหรือ "เหมาะสม" กับรถของสหายได้ โดยไม่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนที่กรมขนส่ง ซึ่งต่างจากการดัดแปลงสภาพรถตามที่กล่าวมาข้างต้น แต่ทั้งนี้ "ระดับความดังของเสียง" ต้องไม่เกินค่ามาตราฐานตามที่กฎหมายกำหนด
การตกแต่งส่วนอื่นๆ ก็เช่นกัน ตราบใดที่ยังเป็นสองล้อ ใช้โซ่ขับ สีของตัวถังถูกต้อง ความจุของกระบอกสูบถูกต้อง ไม่ได้เปลี่ยนไปใช้แก๊สหรือดีเซล และการดัดแปลงนั้นไม่ได้ทำให้ใครเสียหายหรือเสี่ยงต่ออันตราย ก็ไม่มีความผิดครับ
2. ส่วน "ท่อไอเสีย" ที่ว่าดังเกินกฎหมายกำหนดหรือไม่นั้น
- ไม่ได้เอาหูมาฟังแล้วตั้งข้อหาได้เลยครับ ต้องเอาเครื่องวัดเสียงมาตรวจวัดระดับเดซิเบลครับ (เหมือนกับการจับตรวจแอลกอฮอล์ของผู้ขับ-ขี่) แล้วต้องบันทึกค่าของระดับเสียงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม
3. ส่วนเรื่อง ม.อ.ก. นั้น
- ตำรวจจราจรอ้างว่า... จับเพราะไม่มี ม.อ.ก. งั้นแล้ว ม.อ.ก.คืออะไร???
ม.อ.ก. คือสิ่งที่มีขึ้นเพื่อคุ้มครอง "ผู้บริโภค" ไม่เกี่ยวกับ ประเด็น ของ พ.ร.บ. กฎหมายจราจร
ลองเดินไปดูที่รถไหนก็ได้ว่า... น็อตที่ใช้ขันยึดรถ... มี ม.อ.ก. ไหม?
เพราะฉะนั้น... เราจะรู้ได้ไงว่าท่อ ต้องมี ม.อ.ก. ติดไว้ตรงไหน และท่อเราก็ซื้อมาโดยสุจริจ หากผิดหรือจะคุ้มครองก็ต้องไปจับผู้ผลิต "มิใช่" ผู้บริโภค
หากตำรวจจราจรจะยึดรถไว้ตรวจสอบ ถ้ารถมี
1. ทะเบียนถูกต้อง
2. ต่อภาษีเรียบร้อย
ก็ให้เขียนใบสั่งมา (เพราะสามารถอายัดทะเบียนได้อยู่แล้ว) ไม่ต้องยึดรถ (เหตุผลจำเป็น เนื่องจากเราต้องใช้รถเพื่อประกอบอาชีพว่าไป)
ถ้าตำรวจจราจจะยึดให้ได้ ก็ให้ตำรวจจราจพิสูจน์หลักฐานมาถ่ายรูปเก็บไว้แทน จากนั้น... เราก็เอาใบสั่งไปให้ "ร้อยเวร" หรือ "พนักงานสอบสวน" แจ้งข้อกล่าวหาถ้าเราไม่รับว่า เราผิดตามข้อที่ถูกกล่าวหามานั้น ก็ให้พนักงานสอบสวนทำสำนวนให้ อัยการสั่งฟ้อง จะฟ้องหรือไม่ฟ้อง (ไม่รู้)
ถ้าฟ้อง... ก็ว่ากันที่ "ศาล" ใครผิดใครถูกว่าไป เต็มที่ก็ปรับ แต่สาธารณะชนจะได้รู้ว่าตกลงมันผิดหรือถูก
ถ้าเราเสียเวลา ตำรวจจราจรที่ออกใบสั่งปรับก็เสียเวลาเช่นกัน เหมือนในกรณีที่มีคนเมาแล้วปั่นจักรยานกลับบ้าน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พรบ.จราจรทางบก (ของปัจจุบัน) มิได้บัญญัติไว้ให้เป็นความผิด
สุดท้าย... ศาลสั่ง "ยกฟ้อง"
ดูคลิ้ปจบ... เป็นด่านที่ไม่มี "ยศสัญญาบัตร" เพราะไม่มีร้อยเวรออกมาไกล่เกลียหรือมาเคลียร์ระหว่างเกิดการทะเลาะพิพาท และตำรวจจราจรพยายามเปลี่ยนประเด็นให้ไปโรงพัก... ท่าเดียว
ที่ต่างประเทศ...อย่างเช่นประเทศแคนาดาที่ข้าพเจ้าอยู่นั้น... ข้อหาพวกนี้ เค้าไม่เล่นกันหรอกครับ แล้วท่อสูตรที่ผู้ขี่บิ๊กไบค์ที่เมืองไทยใส่กันนั้น ก็มาจากอเมริกาซะท้างน้าน....นนนน และก็ไม่เคยโดนจับเรื่องการดัดแปลงสภาพรถโดยอ้างถึง "ท่อไอเสีย" เลย
ยิ่งไปกว่านี้... ท่อไอเสีย "ชั้นนำ" อย่างเช่น Yoshimura, Akroprovic (ตามในคลิ้ป) หรือแม้แต่ ท่อไอเสีย M4 ซึ่งก็ได้ผลิตค้นคว้าวิจัยที่อเมริกา ที่เหล่าชาวบิ๊กไบค์ชาวอเมริกันและแคนาเดี่ยนใส่ขี่กันสะพัดทั่วเมือง ไม่เคยถูกจับ แต่พอชาวไทยบิ๊กไบค์ซื้อมาใส่ที่ประเทศไทย กลับเจอข้อหา 2 เด้งคือ...
1. ข้อหาดัดแปลงสภาพรถ (เพราะใส่ท่อแพงของไอกัน)
2. ข้อหาเสียงดัง (สามารถใช้หูฟังแทนเครื่องวัดเสียง)
และนี่แหละ... ที่คนต่างชาติเขา (ฝรั่ง) ขนานนามเมืองไทยว่า... "Amazing Thailand" คือพูดง่ายๆว่า... "สุดยอดแล้วประเทศไทย" ที่ฝรั่งเค้า... "ไม่ทำ" กัน
ท้ายสุด...
สหายอย่างเราๆ (เท่านั้น) ที่ "จำเป็น" ต้อง "จดจำ" การตอบโต้จาการชมคลิปนี้และมาตราที่ตำรวจจราจรชอบตั้งข้อหาให้สหายนะครับ
เพราะเพียงแค่สหายนั่นแหละ ที่จะเปลี่ยนวงจร "อุบาทว์" ของตำรวจจราจรไทย (สร้างบรรทัดฐานใหม่) เพื่อป้องกันการ "ยัด" ข้อหาและเปรียบเทียบปรับให้สหายอย่าง... "ไม่เป็นธรรม"
มาเป็นสหายหรือทักทายกันมาได้นะครับผม
แพรี่ แวนคูเวอร์
ว่าด้วยข้อหา ท่อดัง และวิธีที่ถูกต้อง ก่อนแจ้งข้อหา เพราะต้องทำงานตามหลักฐาน
ในการใช้อำนาจเพื่อตรวจจับ รถจักรยานยนต์ ให้เป็นไปในทางเดียวกัน เนื่องจากปัจจุบัน มีการใช้ดุลพินิจ มากเกินไป
จนมองเห็นว่า เป็นการยัดข้อหาโดยที่ไม่มีหลักฐาน
เจ้าของรถมั่นใจและยืนยันว่าว่า เสียงท่อไม่เกิน 95 dB แน่นอน จึงได้ติดต่อให้ทางชมรมช่วยครับ
โดยทางขนส่ง ยืนยันว่า ไม่มี มอก. ไม่ผิดครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ส่วนเรื่องค่าไอเสีย ต้องตรวจวัดอีกทีถ้าโดนข้อหา
ส่วนเรื่องดัดแปลงสภาพนั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เข้าเรื่องกันครับ
วิธีตรวจที่ถูกต้องโดยข่นส่งครับ
วิธีตรวจของ บกจร.
ก่อนเริ่มวัดที่ขนส่ง
เริ่ม
ต่อ
สรุปคือ ถ้าการวัดเสียงผิดไปจากที่ขนส่งทำ แม้แต่ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง
ถือว่า ไม่เป็นมาตรฐานตามที่ขนส่งกำหนดครับ
บทความทิ้งท้าย ยาวซักหน่อย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้