เกษตรทำเงิน : ปลูกผักเหลียงราชินีผักพื้นบ้าน
-ต้นเหลียง หรือผักเหลียง ที่เกษตรกรนำมาปลูกแซมในร่องสวนยางพารา ในอ.เมืองสงขลา กำลังเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่น่าสนใจ และกำลังมีการเตรียมขยายพื้นที่ปลูกให้มากขึ้นในพื้นที่อ.เมืองสงขลา
นายเมน และ นางจรัสศรี เหมอารัญ สามีภรรยาชาวตำบลทุ่งหวัง อ.เมืองจ.สงขลา กำลังช่วยกันดูแลต้นเหลียงที่ปลูกแซมไว้ในร่องสวนยางพาราเนื้อที่กว่า 2 ไร่ ที่ให้ผลผลิตแตกใบยอดอ่อน ให้เก็บเกี่ยวไปจำหน่ายได้ทุกวันตลอดทั้งปี นายเมน เล่าว่า เขาเริ่มปลูกต้นเหลียงเมื่อ 7 ปีก่อนตามคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่เกษตร อ.เมืองสงขลา ให้ปลูกแซมในร่องสวนยางพารา นำร่องในพื้นที่ป่าต้นน้ำ เพื่อช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของพันธุ์พืช และเป็นรายได้เสริมให้เกษตรกร ซึ่งต้นเหลียงที่โตแล้วจะต้องตัดแต่งกิ่ง เพื่อไม่ให้ต้นสูงเกินไปยากต่อการเก็บเกี่ยว ทยอยตัดแต่งที่ละแถว เพื่อให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดต่อเนื่อง
ต้นเหลียงชอบดินร่วน แสงรำไร การดูแลไม่ยุ่งยาก ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ ไม่มีโรคแมลง ปลูกเพียง 3 ปีก็สามารถเก็บยอดจำหน่ายได้ การเก็บยอดผักเหลียง ต้องดูใบที่ไม่อ่อนจนเกินไป หรือใบที่เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียว ซึ่งจะมีรดชาดดีหวาน มัน เมื่อนำไปปรุงอาหาร
ที่สวนแห่งนี้ ทุกวันจะมีแม่ค้ามารับซื้อผักเหลียงถึงบ้านในราคา กก.ละ 70-100 บาท ทำให้มีรายได้วันละหลายร้อยบาท แต่ผลผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการ หลายหน่วยงานจึงส่งเสริมให้มีการปลูกผักเหลียงเพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายให้พื้นที่อ.เมืองสงขลา เป็นแหล่งปลูกผักเหลียงเลี้ยงคนสงขลาอีกด้วย
ผักเหลียง หรือบางจังหวัดเรียกผักเหมียง เป็นพักพื้นบ้าน ที่มีการวิจัยแล้วพบว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ และความนิยมบริโภคที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้ผักเหลียงเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่กำลังทำเงินสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างน่าสนใจ.-สำนักข่าวไทย
ปลูก "ผักเหลียง" ราชินีผักพื้นบ้าน ปลูกเพียง 3 ปี ก็สามารถเก็บยอดจำหน่ายได้
-ต้นเหลียง หรือผักเหลียง ที่เกษตรกรนำมาปลูกแซมในร่องสวนยางพารา ในอ.เมืองสงขลา กำลังเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่น่าสนใจ และกำลังมีการเตรียมขยายพื้นที่ปลูกให้มากขึ้นในพื้นที่อ.เมืองสงขลา
นายเมน และ นางจรัสศรี เหมอารัญ สามีภรรยาชาวตำบลทุ่งหวัง อ.เมืองจ.สงขลา กำลังช่วยกันดูแลต้นเหลียงที่ปลูกแซมไว้ในร่องสวนยางพาราเนื้อที่กว่า 2 ไร่ ที่ให้ผลผลิตแตกใบยอดอ่อน ให้เก็บเกี่ยวไปจำหน่ายได้ทุกวันตลอดทั้งปี นายเมน เล่าว่า เขาเริ่มปลูกต้นเหลียงเมื่อ 7 ปีก่อนตามคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่เกษตร อ.เมืองสงขลา ให้ปลูกแซมในร่องสวนยางพารา นำร่องในพื้นที่ป่าต้นน้ำ เพื่อช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของพันธุ์พืช และเป็นรายได้เสริมให้เกษตรกร ซึ่งต้นเหลียงที่โตแล้วจะต้องตัดแต่งกิ่ง เพื่อไม่ให้ต้นสูงเกินไปยากต่อการเก็บเกี่ยว ทยอยตัดแต่งที่ละแถว เพื่อให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดต่อเนื่อง
ต้นเหลียงชอบดินร่วน แสงรำไร การดูแลไม่ยุ่งยาก ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ ไม่มีโรคแมลง ปลูกเพียง 3 ปีก็สามารถเก็บยอดจำหน่ายได้ การเก็บยอดผักเหลียง ต้องดูใบที่ไม่อ่อนจนเกินไป หรือใบที่เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียว ซึ่งจะมีรดชาดดีหวาน มัน เมื่อนำไปปรุงอาหาร
ที่สวนแห่งนี้ ทุกวันจะมีแม่ค้ามารับซื้อผักเหลียงถึงบ้านในราคา กก.ละ 70-100 บาท ทำให้มีรายได้วันละหลายร้อยบาท แต่ผลผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการ หลายหน่วยงานจึงส่งเสริมให้มีการปลูกผักเหลียงเพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายให้พื้นที่อ.เมืองสงขลา เป็นแหล่งปลูกผักเหลียงเลี้ยงคนสงขลาอีกด้วย
ผักเหลียง หรือบางจังหวัดเรียกผักเหมียง เป็นพักพื้นบ้าน ที่มีการวิจัยแล้วพบว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ และความนิยมบริโภคที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้ผักเหลียงเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่กำลังทำเงินสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างน่าสนใจ.-สำนักข่าวไทย