“โนบิตะ มานี่ดิ๊!!!!!!!”
“เฮ้ย!!! อาราเล่ บอกกี่หนแล้วว่าประตูก็มี”
"พลัง คลื่น เต่า สะท้าน ฟ้าาาาาาาาาาาาาาาาาา"
ประโยคอันคุ้นหูของนักพากย์ขวัญใจวัยเด็ก ‘น้าต๋อย เซมเบ้’ หรือ นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์ ผู้ที่อยู่ในวงการพากย์การ์ตูนมากกว่า 30 ปี
วันนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ได้รับโอกาสสุดเอ็กซ์คลูซีฟในการมาสัมภาษณ์น้าต๋อยถึงในห้องพากย์เสียงที่สตูดิโอช่อง 9 ซึ่งน้าต๋อยกำลังพากย์เสียงจิบะ มาโมรุ ในการ์ตูนเรื่องเซเลอร์มูน ที่กำลังออกอากาศอยู่ในขณะนี้...
เริ่มต้นการสนทนากับนักพากย์รุ่นเก๋า ในวัย 61 ปี ด้วยการอัพเดตอาการป่วย หลังจากเพิ่งเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ประกอบกับป่วยเป็นโรคหอบหืด และงูสวัด รุมเร้าจนต้องเข้าพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนานกว่า 2 ปี จนต้องหยุดพากย์การ์ตูนไปตั้งแต่ช่วงปลายปี 2553 กระทั่ง ณ วันนี้ น้าต๋อย ขวัญใจวัยเด็กได้กลับมาพากย์การ์ตูนอีกครั้ง
‘น้าต๋อย เซมเบ้’ หรือ นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์ ผู้ที่อยู่ในวงการพากย์การ์ตูนมากกว่า 30 ปี ฝ่ามรสุม โรครุมเร้า นอนโรงพยาบาลกว่า 2 ปี
ก่อนหน้านั้นที่น้าต๋อยลาออกจากช่อง 9 เนื่องจากมีอาการป่วยโรคหอบหืดจากไรฝุ่น เมื่ออยู่ในห้องแอร์เป็นเวลานาน จนความเย็นเข้าไปกระทบหลอดลม จะทำให้เกิดอาการไอจนหายใจไม่ออก จึงต้องสูดยาเพื่อช่วยขยายหลอดลมอยู่เป็นประจำ ต่อมา น้าต๋อยเริ่มมีอาการเจ็บป่วยที่กระดูกสันหลัง และต้องเข้ารับการผ่าตัดนั้น
น้าต๋อย เล่าถึงช่วงแรกที่มีอาการป่วยโรคกระดูกสันหลังว่า ได้มีอาการเรื้อรังมานานนับ 10 ปี สมัยตอนเล่นกอล์ฟ และช่วงนั้นยกของหนักอยู่บ่อยๆ รวมถึงการเคลื่อนไหว บิดตัวผิดท่าทาง ประกอบกับมีกล้ามเนื้อฉีกมาโดยตลอด แต่ไม่ได้เข้ารับการรักษาตัว จนทำให้มีอาการตกเลือดอยู่ภายในร่างกาย ต่อมาระยะหลังเริ่มปวดหลังมากขึ้น จนไม่สามารถนอนหงายได้ จึงไปโรงพยาบาลเพื่อสแกนร่างกาย ปรากฏว่า มีรอยร้าวที่กระดูกสันหลัง
ทั้งนี้ ได้รักษาอาการป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล เกือบ 2 ปี เพราะกระดูกสันหลังแตก ประกอบกับเป็นโรคงูสวัด ไซนัสอักเสบ และยังเป็นโรคหอบหืด ด้วยความที่มีหลายโรครุมเร้า ทำให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างยากลำบาก ทีมแพทย์ต่างช่วยกัน จนสามารถฝ่าวิกฤติช่วงเวลาอันเลวร้ายไปได้
น้าต๋อย เข้ารับการผ่าตัดมา 1 ปีแล้ว แต่ร่างกายยังเคลื่อนไหวได้เพียง 70% เท่านั้น
หลังผ่าตัด 1 ปี เคลื่อนไหวได้เพียง 70% น้าต๋อย เล่าต่อว่า หลังจากที่เข้ารับการผ่าตัดเป็นที่เรียบร้อย ก็ต้องฟื้นฟูร่างกายเพื่อให้กระดูกและกล้ามเนื้อเชื่อมต่อกันประมาณ 5 เดือน และต้องเข้าผ่าตัดอีกครั้ง เพื่อใส่ไทเทเนียมเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 58 จนมาถึงวันนี้เป็นระยะเวลา 1 ปีแล้ว แต่ร่างกายยังเคลื่อนไหวได้เพียง 70% เท่านั้น อีกทั้งเมื่อต้องเดินเร็วๆ กลับรู้สึกได้ว่าร่างกายยังไม่ค่อยไหว แต่ก็ยังต้องพยายามฟื้นฟูร่างกาย เพื่อให้กลับมาเดินได้ดีขึ้น
“ตอนนี้เป็นช่วงที่ผมต้องทำกายภาพบำบัดเยอะมาก ทำร่างกายให้แข็งแรง เพื่อจะได้กลับมาเดินให้ได้เหมือนเดิม แม้ว่าจะผ่าตัดครั้งที่ 2 ครบ 1 ปีแล้ว
แต่ว่าการเดินเหินยังไม่ดีเท่าที่ควร แค่ 70% เท่านั้นพอเดินๆ ไป หน้ามันก็จะทิ่มอยู่เรื่อยเลย หรือจะลงบันไดก็บังคับลำบาก เพราะเกิดปัญหาที่กระดูกสันหลัง
ประกอบกับโรคงูสวัด เจ้างูนี่เล่นงานผมมาตั้งปีครึ่ง ถึงแม้ว่าแผลมันจะหายหลังจากที่เป็นเพียง 10 วันก็ตาม แต่ว่าพิษของงูสวัด ซึ่งเป็นไวรัสที่กินเส้นประสาท มันกินไปจนลึกถึงกระดูกสันหลัง ทำให้ผมเคลื่อนไหวช้า หมอบอกว่า จะต้องออกกำลังที่ขาเยอะๆ เดินให้มากๆ จะช่วยได้ แต่ห้ามทำอะไรที่จะไปกระแทกหลัง
เพราะหลังผมตอนนี้ถูกฝังเหล็กไทเทเนียมกว้างคืบหนึ่ง และฝังนอตไว้ขนาดนิ้วกว่าๆ อีก 10 ตัว โดยตอนแรกที่รู้สึกตัวใหม่ๆ เหมือนมีตะปูทิ่มหลัง ทำให้หลังแข็ง ก้มไม่ได้เลย ผมต้องชินกับมันมาก ตอนนี้ต้องสร้างกล้ามเนื้อให้มันชิน คงจะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 6 เดือนหลังจากนี้ คาดว่าจะดีขึ้นกว่าเดิมประมาณ 20% แต่ก็ยังไม่หายขาด ต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปีครึ่ง ถึงจะหายแต่ก็คงไม่เหมือนเดิม 100% หมอบอกได้แค่ 90% ซึ่งสำหรับตัวผมเองขอแค่ร่างกายกลับมา 80% ก็ยังดี”
เมื่อทีมข่าวฯ ถามว่า อาการป่วยมีผลต่อการพากย์เสียงหรือไม่นั้น น้าต๋อย ตอบว่า
“มีผลอย่างมาก เพราะจะเหนื่อยง่าย จะออกกำลังกายเหมือนเมื่อก่อนไม่ได้ เดินนิดเดียวก็เหนื่อยแล้ว หรือแม้กระทั่ง นั่งพากย์เสียงนานๆ ก็เหนื่อยกว่าปกติประมาณ 30% แต่ก็จำเป็นต้องออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อขา”
พากย์เสียงในสไตล์ ‘น้าต๋อย เซมเบ้’ คือ การสร้างความสนุก
มาเข้าถึงเรื่องการพากย์เสียงกันบ้าง เจ้าพ่อแห่งการพากย์การ์ตูน บอกกับทีมข่าวฯ ว่า คำว่า ‘พากย์’ ของน้าต๋อย คือ การสร้างความสนุกสนาน หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งที่รุนแรงให้ดูละมุนละไมขึ้น หรือหากหนังไม่ราบรื่นก็ทำให้ดูสนุกสนานขึ้น ขณะที่ การ Dubbing หนัง คือ การหาเสียงที่ใกล้เคียงกับตัวละครมากที่สุด เพื่อที่จะไปพากย์เป็นตัวละครตัวนั้น แต่การคุมทีมพากย์จะทำงานลำบาก ต้องเทสต์เสียงที่เหมือนที่สุด ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลานาน จึงหันมาเลือกใช้ทีมพากย์ประจำดีกว่า เพียงแต่ว่าหากขาดเสียงอะไรไปก็หาเสริมเข้ามาใส่ ฉะนั้น การพากย์เสียงจะดูแอ็กติ้งของตัวละครว่า นักพากย์คนใดเหมาะสมกับตัวละครไหนมากกว่า
“สมัยก่อนพระเอกต้องเสียงหล่อ มันผิดคาแรกเตอร์ อย่างนิโคลัส เคจ ไปฟังเสียงซาวด์เสียงเขาจะแหบมาก แต่พอพากย์เสียงไทยไป ซึ่งคนพากย์ก็เป็นเพื่อนผมเองชื่อ จักรกฤษณ์ พากย์เสียงซะหล่อเลย คนจะติดเสียงหล่อหมด แต่ฝรั่งเขาไม่สนใจเรื่องบุคลิก ตอนนั้นมีฝรั่งมาเทสต์เสียงผมเป็นเอ็ดดี้ เมอร์ฟี่ ให้ลองหัวเราะ ผมก็ลองหัวเราะไปฮ่าๆๆ พอหัวเราะแล้วเหมือนเขาก็เลยเอา เขาจะเอาเสียงที่เหมือนกันลง และแอ็กติ้งลง ไม่เอาเสียงที่บุคลิกเข้ามาใส่เหมือนคนไทยที่นิยมพระเอกต้องเสียงหล่อ”
สำหรับเทคนิคการพากย์เสียงนั้น น้าต๋อย เผยว่า ส่วนตัวไม่มีเทคนิคพิเศษอะไร แต่เนื่องจากเป็นคนชอบดูการ์ตูน และชอบคิดมุกขึ้นมาเอง ว่าหากใส่ตรงนี้คนจะยอมรับไหม ซึ่งน้าต๋อยแนะนำว่า เทคนิคของการพากย์ที่ดีคือการหมั่นฝึกฝนและซ้อมอยู่เป็นประจำนั่นเอง
น้าต๋อยแนะนำว่า เทคนิคของการพากย์ที่ดีคือการหมั่นฝึกฝนและซ้อมอยู่เป็นประจำ
นักพากย์ชื่อดัง อธิบายว่า พากย์การ์ตูนกับพากย์หนังแตกต่างกันอย่างมาก โดยหากเป็นการพากย์การ์ตูน จะต้องใส่โอเวอร์แอ็กติ้งตลอดเวลา ไม่ใช่คนธรรมดาทั่วๆ ไป หรือการต่อสู้ก็จะต้องโอเวอร์กว่าคนธรรมดาเช่นเดียวกัน แต่ในหนังทำไม่ได้ ต้องให้สมจริง เพ้อฝันไม่ได้
สำหรับเสน่ห์ของการพากย์การ์ตูน คือ การใส่มุก โอเวอร์แอ็กติ้งที่มากกว่า แต่ต้องไม่ทำให้เสียอรรถรส ซึ่งการ์ตูนเป็นสีสัน จึงต้องพากย์แบบมีสีสัน ให้สนุกสนาน การ์ตูนเป็นอารมณ์เพ้อฝันสำหรับเด็ก ที่จะใส่เสียงคนพากย์ไปตามสิ่งเพ้อฝันให้เด็กๆ ได้ดู แต่การพากย์หนังคนต้องพากย์ให้สมจริง จะไปทำเสียงโอเวอร์คงเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่บางตอนสามารถสอดแทรกมุกเข้าไปได้
น้าต๋อย ยกตัวอย่างให้ฟังโดยเป็นฉากหนึ่งในหนังเรื่องมังกรหยก เป็นตลาดสดขายของมีเสียงเจี๊ยวจ๊าวของคนในตลาด ซึ่ง ณ เวลานั้นของหนังเป็นหนังย้อนยุค พ่อค้าแม่ค้าจะตะโกนเรียกลูกค้าขายผลไม้ แต่น้าต๋อยกลับพากย์เสียงไปว่า “
ไอโฟนครับไอโฟน” (โปรดจินตนาการให้เป็นเสียงน้าต๋อย) ซึ่งก็เป็นอีกมุกตลกหนึ่งที่ใส่เพิ่มเข้ามาเป็นอรรถรสของการดูหนัง แต่พอเข้าบทก็จะไม่เล่นมุก
“การสร้างมุกที่ไม่มีในบท เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งเหมือนกัน เพราะบางตอนหนังมันน่าเบื่อ พูดเยอะมาก บางทีหนังฉายตี 2 การพากย์จะเป็นอีกแบบหนึ่งทันที บางทีก็ใส่มุกให้สนุกสนาน ซึ่งมันก็เป็นเทคนิคส่วนตัวอย่างหนึ่ง แต่ต้องไม่ทำลายเนื้อเรื่อง ต้องรู้จักใส่มุกในช่วงจังหวะที่หนังเปลี่ยนถ่ายอารมณ์ เปลี่ยนฉาก”
น้าต๋อย ชอบโงกุนมาก เพราะว่าเป็นนักสู้ที่ดี ไม่ทำลายใคร และจะให้กำลังใจแม้กระทั่งศัตรูของตัวเอง
ป่วยหนักนึกถึง ‘ซุน โงกุน’ ตัวละครที่ชอบ สู้ปางตายยังรอดมาได้
น้าต๋อยพากย์การ์ตูนมานับไม่ถ้วน เมื่อทีมข่าวฯ ถามว่า ชอบตัวละครตัวไหนมากที่สุดนั้น น้าต๋อย ตอบว่า
นักพากย์วัย 61 ปี ยิ้มด้วยความประทับใจในตัวของพระเอกชาวไซย่า
น้าต๋อย เล่าต่อว่า “ตอนนั้นผมป่วย เจ็บปางตาย และเป็นงูสวัดด้วย โรครุมเร้าไปหมด หมอที่รักษายังบอกว่า รอดมาได้ยังไง ภูมิต้านทานเหลือน้อยมาก เป็นไซนัสหายใจก็ลำบาก แถมยังเป็นหอบหืดอีก อยู่ในโรงพยาบาลปอดติดเชื้อหมอต้องห้ามเยี่ยม อยู่ในห้องพิเศษ แล้วพอผ่าตัดที่กระดูกมันแตก ช่วง 3 คืนแรก ต้องทนเจ็บมาก ทั้งกินยา ฉีดยาแก้ปวด
ก็นึกถึงโงกุน มันสู้ปางตายมันยังรอดมาได้เลย เอาการ์ตูนมาเป็นที่พึ่ง ขนาดสวดมนต์ก็แล้วตั้งสติก็แล้วยังเอาไม่อยู่ จนคืนนั้นก็รอดไปได้”
ที่มาของฉายาน้าต๋อย เนื่องมาจากลักษณะท่าทางเหมือน ดร.โนริมากิ เซมเบ้ ผู้สร้างหุ่นอาราเล่ และเป็นบทที่หลายคนจดจำน้าต๋อยได้
หากมีการติดต่อให้น้าต๋อยพากย์การ์ตูนที่มีเนื้อหารุนแรง หรือเรื่องเพศ น้าต๋อยไม่พากย์ เพราะเคยสั่งสอนเด็กให้ได้ดี คงไม่ทำตัวเองให้เป็นแบบนั้น
เนื้อหารุนแรง เน้นเรื่องเพศ น้าต๋อย ขอไม่พากย์
การ์ตูนญี่ปุ่นยุคใหม่บางเรื่องจะมีการใช้ความรุนแรงหรือมีเรื่องเพศเข้ามาเกี่ยวข้องมาก ประเด็นนี้น้าต๋อยรู้สึกอย่างไร นักพากย์ผู้มีเสียงเป็นเอกลักษณ์ กล่าวว่า คำถามข้างต้นมีมา 30 ปีแล้ว ซึ่งเคยบอกไว้ว่า
การ์ตูนดูเพื่อความสนุกสนาน อย่าไปจี้จุดที่ไม่ดี แต่เรื่องการต่อสู้คงต้องมี เพราะไม่มีการ์ตูนเรื่องไหนที่จะไม่มีการต่อสู้ แม้กระทั่ง การ์ตูนฟุตบอลยังมีปล่อยพลังออกมา ซึ่งมองว่า เป็นอรรถรสการชมมากกว่า และคนดูรู้อยู่แล้วว่าพลังของตัวละครมันเป็นไปไม่ได้ในชีวิตจริง แต่การ์ตูนที่น่าเป็นห่วงคือประเภทฟันกันคอขาด หรือเอาปืนมาจ่อหัว ซึ่งการ์ตูนสมัยนี้บางเรื่องมีเนื้อหาที่รุนแรง ไม่เหมาะที่จะเอามาฉายทางโทรทัศน์
ขณะที่ ในประเทศญี่ปุ่นเวลาสร้างการ์ตูนจะมีตัวเลขกำกับ เช่น โดราเอมอนดูได้ตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ หรือหากเป็นการ์ตูนประเภทฟันคอขาด เอาปืนจ่อหัว จะมีเรตบอกผู้ใหญ่ และจะฉายตอนสี่ทุ่มขึ้นไป แต่ประเทศไทยไม่ค่อยห่วงเรื่องสถานีโทรทัศน์เพราะมีการเซ็นเซอร์อยู่แล้ว แต่ที่ห่วงคือ เคเบิลทีวีมากกว่า
“ถ้าหากมีการติดต่อให้ผมไปพากย์การ์ตูนประเภทที่มีเนื้อหารุนแรง หรือเรื่องเพศผมคงไม่พากย์ เพราะตอนนั้นเป็นพิธีกรรายการเด็ก สั่งสอนเด็กให้ได้ดี ผมคงไม่ทำตัวเองให้เป็นแบบนั้น ขนาดหนังบางเรื่องมีการติดต่อมาให้ผมพากย์ ผมยังไม่ไปพากย์เลย บางทีดูแล้วหนังไม่ได้มีการตัดต่อก็เลยไม่อยากไปพากย์”
[ข้อคิด กำลังใจดีๆ จากน้าต๋อย เซมเบ้] : หลังหายป่วยรีเทิร์นวงการพากย์ "ซง โงกุน สู้ปางตายยังรอดมาได้!"
“เฮ้ย!!! อาราเล่ บอกกี่หนแล้วว่าประตูก็มี”
"พลัง คลื่น เต่า สะท้าน ฟ้าาาาาาาาาาาาาาาาาา"
ประโยคอันคุ้นหูของนักพากย์ขวัญใจวัยเด็ก ‘น้าต๋อย เซมเบ้’ หรือ นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์ ผู้ที่อยู่ในวงการพากย์การ์ตูนมากกว่า 30 ปี
วันนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ได้รับโอกาสสุดเอ็กซ์คลูซีฟในการมาสัมภาษณ์น้าต๋อยถึงในห้องพากย์เสียงที่สตูดิโอช่อง 9 ซึ่งน้าต๋อยกำลังพากย์เสียงจิบะ มาโมรุ ในการ์ตูนเรื่องเซเลอร์มูน ที่กำลังออกอากาศอยู่ในขณะนี้...
เริ่มต้นการสนทนากับนักพากย์รุ่นเก๋า ในวัย 61 ปี ด้วยการอัพเดตอาการป่วย หลังจากเพิ่งเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ประกอบกับป่วยเป็นโรคหอบหืด และงูสวัด รุมเร้าจนต้องเข้าพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนานกว่า 2 ปี จนต้องหยุดพากย์การ์ตูนไปตั้งแต่ช่วงปลายปี 2553 กระทั่ง ณ วันนี้ น้าต๋อย ขวัญใจวัยเด็กได้กลับมาพากย์การ์ตูนอีกครั้ง
‘น้าต๋อย เซมเบ้’ หรือ นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์ ผู้ที่อยู่ในวงการพากย์การ์ตูนมากกว่า 30 ปี ฝ่ามรสุม โรครุมเร้า นอนโรงพยาบาลกว่า 2 ปี
ก่อนหน้านั้นที่น้าต๋อยลาออกจากช่อง 9 เนื่องจากมีอาการป่วยโรคหอบหืดจากไรฝุ่น เมื่ออยู่ในห้องแอร์เป็นเวลานาน จนความเย็นเข้าไปกระทบหลอดลม จะทำให้เกิดอาการไอจนหายใจไม่ออก จึงต้องสูดยาเพื่อช่วยขยายหลอดลมอยู่เป็นประจำ ต่อมา น้าต๋อยเริ่มมีอาการเจ็บป่วยที่กระดูกสันหลัง และต้องเข้ารับการผ่าตัดนั้น
น้าต๋อย เล่าถึงช่วงแรกที่มีอาการป่วยโรคกระดูกสันหลังว่า ได้มีอาการเรื้อรังมานานนับ 10 ปี สมัยตอนเล่นกอล์ฟ และช่วงนั้นยกของหนักอยู่บ่อยๆ รวมถึงการเคลื่อนไหว บิดตัวผิดท่าทาง ประกอบกับมีกล้ามเนื้อฉีกมาโดยตลอด แต่ไม่ได้เข้ารับการรักษาตัว จนทำให้มีอาการตกเลือดอยู่ภายในร่างกาย ต่อมาระยะหลังเริ่มปวดหลังมากขึ้น จนไม่สามารถนอนหงายได้ จึงไปโรงพยาบาลเพื่อสแกนร่างกาย ปรากฏว่า มีรอยร้าวที่กระดูกสันหลัง
ทั้งนี้ ได้รักษาอาการป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล เกือบ 2 ปี เพราะกระดูกสันหลังแตก ประกอบกับเป็นโรคงูสวัด ไซนัสอักเสบ และยังเป็นโรคหอบหืด ด้วยความที่มีหลายโรครุมเร้า ทำให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างยากลำบาก ทีมแพทย์ต่างช่วยกัน จนสามารถฝ่าวิกฤติช่วงเวลาอันเลวร้ายไปได้
น้าต๋อย เข้ารับการผ่าตัดมา 1 ปีแล้ว แต่ร่างกายยังเคลื่อนไหวได้เพียง 70% เท่านั้น
หลังผ่าตัด 1 ปี เคลื่อนไหวได้เพียง 70% น้าต๋อย เล่าต่อว่า หลังจากที่เข้ารับการผ่าตัดเป็นที่เรียบร้อย ก็ต้องฟื้นฟูร่างกายเพื่อให้กระดูกและกล้ามเนื้อเชื่อมต่อกันประมาณ 5 เดือน และต้องเข้าผ่าตัดอีกครั้ง เพื่อใส่ไทเทเนียมเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 58 จนมาถึงวันนี้เป็นระยะเวลา 1 ปีแล้ว แต่ร่างกายยังเคลื่อนไหวได้เพียง 70% เท่านั้น อีกทั้งเมื่อต้องเดินเร็วๆ กลับรู้สึกได้ว่าร่างกายยังไม่ค่อยไหว แต่ก็ยังต้องพยายามฟื้นฟูร่างกาย เพื่อให้กลับมาเดินได้ดีขึ้น
“ตอนนี้เป็นช่วงที่ผมต้องทำกายภาพบำบัดเยอะมาก ทำร่างกายให้แข็งแรง เพื่อจะได้กลับมาเดินให้ได้เหมือนเดิม แม้ว่าจะผ่าตัดครั้งที่ 2 ครบ 1 ปีแล้ว
แต่ว่าการเดินเหินยังไม่ดีเท่าที่ควร แค่ 70% เท่านั้นพอเดินๆ ไป หน้ามันก็จะทิ่มอยู่เรื่อยเลย หรือจะลงบันไดก็บังคับลำบาก เพราะเกิดปัญหาที่กระดูกสันหลัง
ประกอบกับโรคงูสวัด เจ้างูนี่เล่นงานผมมาตั้งปีครึ่ง ถึงแม้ว่าแผลมันจะหายหลังจากที่เป็นเพียง 10 วันก็ตาม แต่ว่าพิษของงูสวัด ซึ่งเป็นไวรัสที่กินเส้นประสาท มันกินไปจนลึกถึงกระดูกสันหลัง ทำให้ผมเคลื่อนไหวช้า หมอบอกว่า จะต้องออกกำลังที่ขาเยอะๆ เดินให้มากๆ จะช่วยได้ แต่ห้ามทำอะไรที่จะไปกระแทกหลัง
เพราะหลังผมตอนนี้ถูกฝังเหล็กไทเทเนียมกว้างคืบหนึ่ง และฝังนอตไว้ขนาดนิ้วกว่าๆ อีก 10 ตัว โดยตอนแรกที่รู้สึกตัวใหม่ๆ เหมือนมีตะปูทิ่มหลัง ทำให้หลังแข็ง ก้มไม่ได้เลย ผมต้องชินกับมันมาก ตอนนี้ต้องสร้างกล้ามเนื้อให้มันชิน คงจะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 6 เดือนหลังจากนี้ คาดว่าจะดีขึ้นกว่าเดิมประมาณ 20% แต่ก็ยังไม่หายขาด ต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปีครึ่ง ถึงจะหายแต่ก็คงไม่เหมือนเดิม 100% หมอบอกได้แค่ 90% ซึ่งสำหรับตัวผมเองขอแค่ร่างกายกลับมา 80% ก็ยังดี”
เมื่อทีมข่าวฯ ถามว่า อาการป่วยมีผลต่อการพากย์เสียงหรือไม่นั้น น้าต๋อย ตอบว่า
“มีผลอย่างมาก เพราะจะเหนื่อยง่าย จะออกกำลังกายเหมือนเมื่อก่อนไม่ได้ เดินนิดเดียวก็เหนื่อยแล้ว หรือแม้กระทั่ง นั่งพากย์เสียงนานๆ ก็เหนื่อยกว่าปกติประมาณ 30% แต่ก็จำเป็นต้องออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อขา”
พากย์เสียงในสไตล์ ‘น้าต๋อย เซมเบ้’ คือ การสร้างความสนุก
มาเข้าถึงเรื่องการพากย์เสียงกันบ้าง เจ้าพ่อแห่งการพากย์การ์ตูน บอกกับทีมข่าวฯ ว่า คำว่า ‘พากย์’ ของน้าต๋อย คือ การสร้างความสนุกสนาน หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งที่รุนแรงให้ดูละมุนละไมขึ้น หรือหากหนังไม่ราบรื่นก็ทำให้ดูสนุกสนานขึ้น ขณะที่ การ Dubbing หนัง คือ การหาเสียงที่ใกล้เคียงกับตัวละครมากที่สุด เพื่อที่จะไปพากย์เป็นตัวละครตัวนั้น แต่การคุมทีมพากย์จะทำงานลำบาก ต้องเทสต์เสียงที่เหมือนที่สุด ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลานาน จึงหันมาเลือกใช้ทีมพากย์ประจำดีกว่า เพียงแต่ว่าหากขาดเสียงอะไรไปก็หาเสริมเข้ามาใส่ ฉะนั้น การพากย์เสียงจะดูแอ็กติ้งของตัวละครว่า นักพากย์คนใดเหมาะสมกับตัวละครไหนมากกว่า
“สมัยก่อนพระเอกต้องเสียงหล่อ มันผิดคาแรกเตอร์ อย่างนิโคลัส เคจ ไปฟังเสียงซาวด์เสียงเขาจะแหบมาก แต่พอพากย์เสียงไทยไป ซึ่งคนพากย์ก็เป็นเพื่อนผมเองชื่อ จักรกฤษณ์ พากย์เสียงซะหล่อเลย คนจะติดเสียงหล่อหมด แต่ฝรั่งเขาไม่สนใจเรื่องบุคลิก ตอนนั้นมีฝรั่งมาเทสต์เสียงผมเป็นเอ็ดดี้ เมอร์ฟี่ ให้ลองหัวเราะ ผมก็ลองหัวเราะไปฮ่าๆๆ พอหัวเราะแล้วเหมือนเขาก็เลยเอา เขาจะเอาเสียงที่เหมือนกันลง และแอ็กติ้งลง ไม่เอาเสียงที่บุคลิกเข้ามาใส่เหมือนคนไทยที่นิยมพระเอกต้องเสียงหล่อ”
สำหรับเทคนิคการพากย์เสียงนั้น น้าต๋อย เผยว่า ส่วนตัวไม่มีเทคนิคพิเศษอะไร แต่เนื่องจากเป็นคนชอบดูการ์ตูน และชอบคิดมุกขึ้นมาเอง ว่าหากใส่ตรงนี้คนจะยอมรับไหม ซึ่งน้าต๋อยแนะนำว่า เทคนิคของการพากย์ที่ดีคือการหมั่นฝึกฝนและซ้อมอยู่เป็นประจำนั่นเอง
น้าต๋อยแนะนำว่า เทคนิคของการพากย์ที่ดีคือการหมั่นฝึกฝนและซ้อมอยู่เป็นประจำ
นักพากย์ชื่อดัง อธิบายว่า พากย์การ์ตูนกับพากย์หนังแตกต่างกันอย่างมาก โดยหากเป็นการพากย์การ์ตูน จะต้องใส่โอเวอร์แอ็กติ้งตลอดเวลา ไม่ใช่คนธรรมดาทั่วๆ ไป หรือการต่อสู้ก็จะต้องโอเวอร์กว่าคนธรรมดาเช่นเดียวกัน แต่ในหนังทำไม่ได้ ต้องให้สมจริง เพ้อฝันไม่ได้
สำหรับเสน่ห์ของการพากย์การ์ตูน คือ การใส่มุก โอเวอร์แอ็กติ้งที่มากกว่า แต่ต้องไม่ทำให้เสียอรรถรส ซึ่งการ์ตูนเป็นสีสัน จึงต้องพากย์แบบมีสีสัน ให้สนุกสนาน การ์ตูนเป็นอารมณ์เพ้อฝันสำหรับเด็ก ที่จะใส่เสียงคนพากย์ไปตามสิ่งเพ้อฝันให้เด็กๆ ได้ดู แต่การพากย์หนังคนต้องพากย์ให้สมจริง จะไปทำเสียงโอเวอร์คงเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่บางตอนสามารถสอดแทรกมุกเข้าไปได้
น้าต๋อย ยกตัวอย่างให้ฟังโดยเป็นฉากหนึ่งในหนังเรื่องมังกรหยก เป็นตลาดสดขายของมีเสียงเจี๊ยวจ๊าวของคนในตลาด ซึ่ง ณ เวลานั้นของหนังเป็นหนังย้อนยุค พ่อค้าแม่ค้าจะตะโกนเรียกลูกค้าขายผลไม้ แต่น้าต๋อยกลับพากย์เสียงไปว่า “ไอโฟนครับไอโฟน” (โปรดจินตนาการให้เป็นเสียงน้าต๋อย) ซึ่งก็เป็นอีกมุกตลกหนึ่งที่ใส่เพิ่มเข้ามาเป็นอรรถรสของการดูหนัง แต่พอเข้าบทก็จะไม่เล่นมุก
“การสร้างมุกที่ไม่มีในบท เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งเหมือนกัน เพราะบางตอนหนังมันน่าเบื่อ พูดเยอะมาก บางทีหนังฉายตี 2 การพากย์จะเป็นอีกแบบหนึ่งทันที บางทีก็ใส่มุกให้สนุกสนาน ซึ่งมันก็เป็นเทคนิคส่วนตัวอย่างหนึ่ง แต่ต้องไม่ทำลายเนื้อเรื่อง ต้องรู้จักใส่มุกในช่วงจังหวะที่หนังเปลี่ยนถ่ายอารมณ์ เปลี่ยนฉาก”
น้าต๋อย ชอบโงกุนมาก เพราะว่าเป็นนักสู้ที่ดี ไม่ทำลายใคร และจะให้กำลังใจแม้กระทั่งศัตรูของตัวเอง
ป่วยหนักนึกถึง ‘ซุน โงกุน’ ตัวละครที่ชอบ สู้ปางตายยังรอดมาได้
น้าต๋อยพากย์การ์ตูนมานับไม่ถ้วน เมื่อทีมข่าวฯ ถามว่า ชอบตัวละครตัวไหนมากที่สุดนั้น น้าต๋อย ตอบว่า
“ผมชอบ ซุน โงกุน นะ เพราะว่ามันเป็นนักสู้ที่ดี มันจะไม่ทำลายใคร
และจะให้กำลังใจแม้กระทั่งศัตรูของตัวเอง พอสู้กันเสร็จจะบอกกับศัตรูว่า
ไปเกิดมาใหม่นะ แล้วกลับมาสู้กันใหม่ และอย่าเป็นคนไม่ดี”
นักพากย์วัย 61 ปี ยิ้มด้วยความประทับใจในตัวของพระเอกชาวไซย่า
น้าต๋อย เล่าต่อว่า “ตอนนั้นผมป่วย เจ็บปางตาย และเป็นงูสวัดด้วย โรครุมเร้าไปหมด หมอที่รักษายังบอกว่า รอดมาได้ยังไง ภูมิต้านทานเหลือน้อยมาก เป็นไซนัสหายใจก็ลำบาก แถมยังเป็นหอบหืดอีก อยู่ในโรงพยาบาลปอดติดเชื้อหมอต้องห้ามเยี่ยม อยู่ในห้องพิเศษ แล้วพอผ่าตัดที่กระดูกมันแตก ช่วง 3 คืนแรก ต้องทนเจ็บมาก ทั้งกินยา ฉีดยาแก้ปวด ก็นึกถึงโงกุน มันสู้ปางตายมันยังรอดมาได้เลย เอาการ์ตูนมาเป็นที่พึ่ง ขนาดสวดมนต์ก็แล้วตั้งสติก็แล้วยังเอาไม่อยู่ จนคืนนั้นก็รอดไปได้”
ที่มาของฉายาน้าต๋อย เนื่องมาจากลักษณะท่าทางเหมือน ดร.โนริมากิ เซมเบ้ ผู้สร้างหุ่นอาราเล่ และเป็นบทที่หลายคนจดจำน้าต๋อยได้
หากมีการติดต่อให้น้าต๋อยพากย์การ์ตูนที่มีเนื้อหารุนแรง หรือเรื่องเพศ น้าต๋อยไม่พากย์ เพราะเคยสั่งสอนเด็กให้ได้ดี คงไม่ทำตัวเองให้เป็นแบบนั้น
เนื้อหารุนแรง เน้นเรื่องเพศ น้าต๋อย ขอไม่พากย์
การ์ตูนญี่ปุ่นยุคใหม่บางเรื่องจะมีการใช้ความรุนแรงหรือมีเรื่องเพศเข้ามาเกี่ยวข้องมาก ประเด็นนี้น้าต๋อยรู้สึกอย่างไร นักพากย์ผู้มีเสียงเป็นเอกลักษณ์ กล่าวว่า คำถามข้างต้นมีมา 30 ปีแล้ว ซึ่งเคยบอกไว้ว่า การ์ตูนดูเพื่อความสนุกสนาน อย่าไปจี้จุดที่ไม่ดี แต่เรื่องการต่อสู้คงต้องมี เพราะไม่มีการ์ตูนเรื่องไหนที่จะไม่มีการต่อสู้ แม้กระทั่ง การ์ตูนฟุตบอลยังมีปล่อยพลังออกมา ซึ่งมองว่า เป็นอรรถรสการชมมากกว่า และคนดูรู้อยู่แล้วว่าพลังของตัวละครมันเป็นไปไม่ได้ในชีวิตจริง แต่การ์ตูนที่น่าเป็นห่วงคือประเภทฟันกันคอขาด หรือเอาปืนมาจ่อหัว ซึ่งการ์ตูนสมัยนี้บางเรื่องมีเนื้อหาที่รุนแรง ไม่เหมาะที่จะเอามาฉายทางโทรทัศน์
ขณะที่ ในประเทศญี่ปุ่นเวลาสร้างการ์ตูนจะมีตัวเลขกำกับ เช่น โดราเอมอนดูได้ตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ หรือหากเป็นการ์ตูนประเภทฟันคอขาด เอาปืนจ่อหัว จะมีเรตบอกผู้ใหญ่ และจะฉายตอนสี่ทุ่มขึ้นไป แต่ประเทศไทยไม่ค่อยห่วงเรื่องสถานีโทรทัศน์เพราะมีการเซ็นเซอร์อยู่แล้ว แต่ที่ห่วงคือ เคเบิลทีวีมากกว่า
“ถ้าหากมีการติดต่อให้ผมไปพากย์การ์ตูนประเภทที่มีเนื้อหารุนแรง หรือเรื่องเพศผมคงไม่พากย์ เพราะตอนนั้นเป็นพิธีกรรายการเด็ก สั่งสอนเด็กให้ได้ดี ผมคงไม่ทำตัวเองให้เป็นแบบนั้น ขนาดหนังบางเรื่องมีการติดต่อมาให้ผมพากย์ ผมยังไม่ไปพากย์เลย บางทีดูแล้วหนังไม่ได้มีการตัดต่อก็เลยไม่อยากไปพากย์”