เพียงชายคนนี้(ไม่)ใช่ผู้วิเศษ การสร้างสรรค์บนความตั้งใจแต่ต้องแลกกับความคุ้มค่า

สามีเงินผ่อน นิยายที่เล่าเรื่องผู้หญิงคนหนึ่งที่เธอได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ และมีลูกหนี้เป็นคนที่เธอรัก
การนำกลับมาในชื่อใหม่  เพียงชายคนนี้ไม่ใช่ผู้เศษ โดยเล่าในมุมกลับ
โดยเล่าผ่านตัวเอกชายของเรื่องชื่อ ศตวรรษ ว่า ถ้าผมเป็นแบบนี้ ผมยังสามารถเป็นตัวเลือกของคุณได้ไหม
และถ้าผู้ชายคนหนึ่งลุกขึ้นมาปกป้องศักดิ์ศรีให้ผู้หญิงคนหนึ่งถ้าไม่ใช่เพื่อเงินแล้วมันเพื่ออะไร

ละครเรื่องที่ 4 ของผู้จัดแอน ทองประสม ละครที่ถูกสร้างด้วยเงื่อนไขผู้หญิงร้าย ผู้ชายรัก
เป็นธรรมเนียมตั้งแต่ละครของแอน นางเอกของแอนจะมีสีสันและมีมิติที่มากกว่าเป็นนางเอก
ตั้งแต่ เอมิกา (ชะเอม) / กะรัต /  อวัศยา พริบพราว และล่าสุด อนุศนิยา
โดยมีผู้ชายแบบ วเรศ (ตั้ม) / พิศุทธ์ / ลิปดา ปราณนต์ และล่าสุด ศตวรรษ
ซึ่งทั้งสี่เรื่อง แต่ละคู่พระเอกก็จะมีความเหมาสมไปตามเงื่อนไขของนางเอก
และพระเอกทุกคนดีกับนางเอกตามแต่ละเงื่อนไข
ทุกครั้งละครของผู้จัดมักจะเกิดจากเรื่องของนางเอก อย่าง ชะเอม กะรัต อวัศยา
แต่เรื่องนี้ผู้จัดเลือกจะเล่ามุมของพระเอกคือ ศตวรรษ
พระเอกที่เป็นแค่ลูกหนี้จะทำอย่างไรให้ไปอยู่ในใจคนดูได้
และเขาเป็นแค่ผู้ชายธรรมดาที่ไม่ไช่ผู้วิเศษ แต่ผู้สร้างก็ได้สร้างความวิเศษมามากมายเหลือเกิน

ทิศทางของละครเรื่องนี้ก็เป็นละคร melodrama เหมือนสามีตีตรา
แต่สิ่งที่แตกต่างคือ สามีตีตราเป็นละครที่เล่าเรื่องของตัวเอกที่มีตัวละครรอบข้างช่วยเดินเรื่อง
ในทุกสิ่งที่กะรัตทำ ทุกตัวละครแวดล้อมจะช่วยหาทางให้ไม่ว่าจะเป็นทางออกหรือทางตัน
พิศุทธ์ ก๋ง เนื้อแพร กุ้ง ก้อย ศิวา พวงหยก หรือสายน้ำผึ้ง ทุกตัวละครขับเคลื่อนเรื่องให้เดินไป
แต่สำหรับเรื่องนี้ทุกตัวละครมีแต่เรื่องของตัวเองและเข้ามายุ่งอยู่ในปัญหาเดียวกันและใช้อารมณ์ผลักดันเรื่อง
และต้องให้พระเอกแบกรับทุกสิ่งทุกอย่างบนบทบาทของผู้ชายธรรมดาคนหนึ่ง !
นั่นคือความแตกต่างของสองเรื่อง เพราะมันมาจากความตั้งใจของผู้จัดที่ต้องการสร้างละครแนวเดียวแต่ทิศทางต่างกัน

เรื่องราวถูกเล่าจากผู้ชายธรรมดาที่มีอาชีพเป็นหมอ
ผู้จัดเปิดภาพลักษณ์ของตัวละครให้มีภาพลักษณ์ที่กว้างกับคนดูที่จะมีขอบเขตกับคำว่าหมอ
ทั้งภาพลักษณ์ บทบาทจนตัวละครมีความเฉพาะตัวและมีความน่าสนใจ
การดำเนินเรื่องสนุกสนาน มีการนำเสนอใหม่ ๆ มาเป็นระยะ และที่สำคัญการสร้างตัวละครต่าง ๆ
การนำนักแสดงมาสลับสับเปลี่ยนบทอย่างเรื่องนี้ให้ สันติสุขมาเป็นมาเฟีย จินตหรามาเล่นบทแม่ติดการพนัน
การสร้างตัวละครเปรียบเทียบและส่งเสริมตัวละครหลักอย่างชัดเจน
ตัวละครปรับเปลี่ยนเพื่อส่งเสริมพระเอกอย่างชัดเจน
ชยากรถูกเติมมิติเพื่อเปรียบเทียบกับศตวรรษ โสมิกาถูกสร้างเพื่อให้ความดีของศตวรรษที่มีให้คนอย่างเธอ
หรือแม้กระทั่งนันทพลที่เป็นตัวละครที่นับถือในตัวของศตวรรษ และทำให้ศตวรรษกลับไปเป็นแกนของเรื่อง
และแน่นอน อนุศนิยาเธอก็ถูกปรับเปลี่ยนเพื่อพระเอกของเรื่องจนบางทีก็นึกว่า มีนางเอกไว้ทำไม 555+
ผู้จัดรู้จังหวะของทุกตัวละครว่าจะต้องให้คนดูรักและเกลียดในเวลาไหน จนเหลือตัวละครไว้ตัวเดียวคือ พระเอก
ละครเรื่องนี้กล้าที่จะทำให้ละครเหลือเพียงตรรกะตัวเอกเพียงตัวเดียวที่ขับเคลื่อนเรื่องนี้
จนส่วนตัวรู้สึกว่ามันจำเป็นขนาดนั้นไหมที่ตัวละครตัวเดียวต้องแบกเรื่อง
บางครั้งการรักษาตรรกะของตัวเอกจะต้องเสียสละตัวละครทุกตัวละครรวมทั้งนางเอกด้วย
หรือหาตัวละครมาสนับสนุนการการกระทำของพระเอก
เช่น พ่อนางเอกที่ปกป้องลูกสาวตอนเสียลูก แต่จริง ๆ คือเตือนพระเอกให้กลับไปยืนเป็นโอเอซิสประจำเรื่อง
โดยส่วนตัวเป็นคนไม่ชอบให้ละครเรื่องหนึ่งทำเพื่อตัวละครเพียงคนเดียว ถึงแม้นักแสดงคนนั้นจะทำตามบทได้อย่างเต็มที่
เพราะละครก็เหมือนชีวิตทั่วไปที่มีความหลากหลาย คนดูมีโอกาสได้สัมผัสตัวละครที่บทบาทหรือไม่มีบทบาทได้
แต่ไม่ใช่เพื่อถูกสร้างให้ตัวละครตัวเดียวแบกรับเรื่องไว้ คนดูบางครั้งก็คงคิดว่าเหนื่อยไปไหม
เพราะถ้าละครถูกแบกรับตัวละครเพียงตัวเดียว แล้วถ้าตัวละครตัวนี้ตรรกะผิดไป แกนละครเปลี่ยน
ละครก็จะเกิดความไม่สมเหตุสมผล ละครก็เกิดความเสียหายกว่าที่จะคาดเดาได้

นางเอกของเรื่อง ตัวละครที่น่าจะถูกด่าที่สุดในเรื่อง 555+ แต่เขาคือคนที่พระเอกรักไม่รู้เป็นโชคของตัวละครตัวนี้ไหม
อนุศนิยา ผู้จัดใช้การสร้างสมดุลของบทกับนักแสดงและมั่นใจว่า คิมเบอร์ลีสามารถเป็นอนุศนิยา และบทอนุศนิยาจะสร้างคิมเบอร์ลี
คิมเบอร์ลีดีพอที่จะเอาอนุศนิยาเวอร์ชั่นนี้อยู่ได้ และบทอนุศนิยาจะทำให้คนดูเห็นคิมเบอร์ลีได้กว้างขึ้น
เลยเป็นอะไรที่มัดติดกันทั้งนักแสดงกับตัวละคร
และคงประเมินแฟนคลับคิมเบอร์ลีว่า ถ้าเป็นนางเอกคนอื่นแฟนคลับคงบอกว่า ทำไมเอานางเอกฉันมาฆ่าด้วยบทนี้
แต่ถ้าแฟนคลับคิมคงบอกว่า ทำไมพี่แอนทำไมถึงจัดหนักกับคิมเบอร์ลีขนาดนี้ 55+

พระเอกของเรื่อง เจมส์ มาร์ มาในมาดยุคปัจจบันกับบทคนธรรมดาที่ถูกสร้างจนกลายเป็นผู้วิเศษ
แต่เจมส์ก็ทำได้เต็มที่ตามความสามารถ ตามสถานการณ์บทที่ถูกปั้นตลอดเวลา
การแบกรับละครเรื่องนึงไว้ที่ตัวคนเดียว คนที่เหนื่อยสุดคือคนที่แบกรับตัวละครนั้น
เพราะถ้ามันได้ใจคนดูมันจะดีมาก แต่แน่นอนถ้ามันไม่ถึงตามความรู้สึกของคนดูบางคนบทที่ดี
มันอาจจะเป็นหนามแหลมทิ่มแทงนักแสดง เพราะบางครั้งบทบาทแบบนี้ถ้าไม่ถูกใจคนดูบางครั้งมันทำให้รู้สึก เลี่ยน
เลี่ยนที่จะเห็นนักแสดงเล่นตัวละครที่ถูกบทปั้นมากขึ้น และถ้าคนดูมีอคติไม่เข้าใจตัวละครตัวนี้มันจะลอยสำหรับเขา
ทั้งที่ไม่ใช่ความผิดของนักแสดงเลย แล้วตอนนี้ เจมส์ มาร์ ก็อาจจะต้องเจอสภาวะจากบทบาทที่ตามมาหลากหลาย
ไม่รู้ว่าเป็นความตั้งใจของต้นสังกัด สถานี ผู้สร้าง
เจมส์ มาร์ ไม่ใช่นักแสดงที่มีปัญหาการแสดงที่จะต้องหาบทบาทมาท้าทายเขา
แต่สิ่งที่คนดูต้องการ คือการยอมรับความเป็นเจมส์ มาร์ ในบทอะไรก็ได้ที่ทำให้คนดูสัมผัสตัวละครและตัวแสดงได้มากขึ้น
เป็นเพียงแค่ชายคนนี้ที่ไม่ใช่ตัวละครวิเศษ บางครั้งต่อไปเจมส์ มาร์ อาจจะเจอความอคติที่ไม่ได้มาจากการแสดง
แต่เป็นการสร้างบทบาทที่มันมากเกินไป จนมันเลี่ยน ลอย จนทำให้คนดูจะอคติที่ตัวแสดงแทน ทั้งที่เจมส์ มาร์ก็ตั้งใจทำก็ตาม

โดยส่วนตัวเพียงชายคนนี้ไม่ใช่ผู้วิเศษเป็นละครที่สนุก นักแสดงทำตามความสามารถ
กระแสดีได้เป็นสามีแห่งชาติ เรตติ้งเป็นที่พอใจและดูดีที่สุดในลอตเดียวกันของสถานีขณะนี้
ชิ้นงานที่สร้างสรรค์ด้วยความตั้งใจของผู้จัดแต่มันจะคุ้มค่ากับสิ่งต่าง ๆ
ที่มันเกิดขึ้นระหว่างทางของละครกับนักแสดงหรือไม่ต้องให้ผู้จัดพิจารณาเอาเอง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่