เมื่อวานได้เสียเงินก้อนใหญ่อีกก้อน กับเลนส์ตัวใหม่ที่รอคอยมานาน เพราะได้ทราบข่าวจากร้าน AV Camera ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเลนส์แบรนด์นี้ ว่าของเพิ่งมาถึงหมาดๆ และภายหลังได้รู้ว่าผมเองเป็นลูกค้าคนแรกที่ได้จับเลนส์ตัวนี้(และน่าจะเป็นประเทศแรกๆด้วย เพราะต่างประเทศก็ยังไม่ค่อยเห็นขายกัน)
ที่รอเลนส์ตัวนี้เพราะ หลังจากเปลี่ยนมาใช้กล้อง SONY A7 ll ได้เดือนสองเดือน และศึกษามาพอสมควร ก็ตัดสินใจได้ว่าเลนส์ไวด์คู่บารมีของเรานั้นควรจะเป็นเลนส์จากค่าย Voiglander เนื่องจากกล้องตระกูลนี้เค้าใจกว้าง ให้ใช้กับเลนส์ได้หลากหลายยี่ห้อ แถมทำงานร่วมกับระบบกันสั่นในตัวกล้องอีกตะหาก อีกทั้งเลนส์ของ Voigt ก็ราคาย่อมเยาว์กว่า เล็กกว่า กว้างกว่า และคุณภาพก็อยู่ในระดับพรีเมี่ยม
เลนส์ตัวนี้ทางยาวโฟกัส 10 มม. และเป็นเลนส์สำหรับกล้องฟูลเฟรม มันจึงเป็นเลนส์มุมกว้าง(ที่ไม่ใช้ฟิชอาย) ที่กว้างที่สุดในโลกแล้ว!!!
Voigt เป็นเลนส์เชื้อชาติเยอรมันสัญชาติญี่ปุ่นครับ เพราะเกิดในเยอรมันเมื่อร้อยปีแล้วมั้ง(ไม่ชัวร์) ภายหลังก็ขายกิจการสองทอดจนมาจบอยู่ที่ COSINA บริษัทผู้ผลิตเลนส์ญี่ปุ่นที่หลายคนรู้จัก ผมเองก็รู้จักเพราะเคยใช้เลนส์แบรนด์นี้ตอนเป็นนักศึกษาเมื่อ 15 ปีที่แล้ว บอกตรงๆ ว่าคุณภาพไม่น่าปลื้มนักหรอก แต่ราคามันก็ไม่แพง
เพิ่งจะรู้ว่า COSINA นั้นเป็นมือปืนรับจ้าง ผลิตเลนส์ให้แบรนด์ดังๆ มากมาย รวมทั้ง Voigt ซึ่งตัวเองเป็นเจ้าของ แต่ใช้เทคโนโลยีเยอรมัน(มั้ง..นะ) เอาเป็นว่า คุณภาพที่มุ่งหวังได้มันมากกว่า Cosina ที่เคยรู้จักแน่นอน
Voigt นี่ใช้กับกล้องได้หลากหลาย รวมทั้งเมาท์ Leica M ก่อนหน้านี้ผมก็สนใจอยู่ตัวนึง คือรุ่น 12mm. Haliar ซึ่งราคาไม่แพงเลย สวยด้วย สามารถเอามาต่ออแดปเตอร์แปลงเมาท์เพื่อใช้กับ SONY E ได้ แต่ก็ได้ยินอย่างหนาหูว่าการออกแบบเลนส์ตัวนั้นมันเป็นแบบโบราณ คือไม่สอดรับกับเซ็นเซอร์ดิจิตอลที่มีมุมตกกระทบของแสงบนเซ็นเซอร์ที่ต่างกับฟิล์ม ผลที่เกิดคือขอบมืด ขอบม่วง อะไรประมาณนี้
และแล้ว Voigt ก็ออกเลนส์ในกลุ่มซุปเปอร์ไวด์ ไฮเปอร์ไวด์ซีรีส์ใหม่ เป็น mark lll และใช้กับกล้อง SONY เมาท์เลนส์ E ได้โดยตรง และมันมีชิป มีคอนแทกส์เพื่อให้กล้องกับเลนส์สื่อสารกันได้ ทำงานด้วยกันแบบเต็มร้อย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะในกล้องยุคนี้มีข้อมูลหลายอย่างที่เลนส์กับกล้องต้องคุยกันในการทำงานของบางระบบ เช่น ระบบกันสั่นในตัวกล้องต้องรู้ทางยาวโฟกัส ต้องรู้รูรับแสง ต้องรู้ว่าเลนส์นั้นคือตัวไหน เพื่อจะทำงานร่วมกับซอฟแวร์ที่ใช้ช่วยแก้ความผิดพลาดบางอย่าง
แต่อย่าลืมหนึ่งเรื่องที่ต้องรู้ และยังไม่เปลี่ยน(เพราะไม่มีเลนส์ตัวไหนจากค่ายนี้เปลี่ยนเลย) คือระบบโฟกัส ซึ่งเป็นเลนส์แมนนวลโฟกัส ต้องใช้มือหมุน ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ปัญหาอะไรในการใช้งาน เพราะในกล้องมิลเลอร์เลสทุกวันนี้ก็มีระบบช่วยโฟกัส หรือ Peaking focus ในการช่วยบอกว่าภาพชัดหรือยัง แต่ที่เด็ดกว่าคือเลนส์ตัวนี้เป็นเลนส์มุมกว้างมาก ระยะชัดของจึงลึกมาก แม้จะใช้ F ที่ไม่จำเป็นต้องแคบมาก ถ้าดูตามสเกล Dept of field บนเลนส์ จะรู้เลยว่าเราสามารถปรับโฟกัส Fixed ที่ระยะหนึ่งด้วยหลักการ Hyper focus แล้วใช้ F 5.6 - 8 ก็ครอบคลุมระยะชัดตั้งแต่ 30cm ยันอินฟินิตี้เลย ที่เหลือก็เดินกดเหมือนกล้องคอมแพคป็อกแป็กสมัยก่อนที่ fixed focus มาแล้ว
- - - - - - - -
ทดลองจริง..
ด้วยความเห่อของใหม่ และมีเพื่อนๆ อยากดูภาพจากเลนส์ตัวนี้กันเยอะ ผมจึงหาเวลาช่วงเย็นๆ ไปเดินถ่ายรูปที่วัดเบญจมบพิตร ซึ่งใครที่ชอบถ่ายรูปคงเคยไปกันบ้าง ถ้ายังพอจำมุมได้ จะได้เปรียบเทียบกันเลยว่า เลนส์ที่กว้างที่สุดในโลกนั้นกว้างแค่ไหน
โดยปกติแล้ว ผมชอบใช้เลนส์ซุปเปอร์ไวด์ ที่ผ่านมาก็ใช้ช่วง 16 มม. (เลนส์ซูม 16-35) ซึ่งมันก็ถือว่ากว้างมากแล้ว แต่ 10 มม.ที่ถืออยู่ในมือนี่กว้างกว่าเยอะ ใครไม่เคยใช้จะรู้เลยว่าเลนส์ที่กว้างขนาดนี้นั้นหามุมถ่ายยากในนาทีแรกๆ เพราะเล็งอะไรก็เวิ้งว้างไปหมด หาจุดสนใจไม่ได้
แต่คุณสมบัติของเลนส์มุมกว้างไม่ใช่แค่กว้าง แต่มันสามารถให้ทัศนมิติของภาพที่เกิดจากการเปรียบเทียบขนาดของวัตถุในฉากหน้า-ฉากหลังที่ดูลึก และมีมิติ ดังนั้นถ้าเราสามารถเล่นกับฉากหน้า เราก็จะสร้างจุดสนใจให้ภาพได้มากขึ้น และมันจะให้มุมมอง และทัศนมิติ ที่ไม่เคยได้จากเลนส์ที่ไม่กว้างเท่านี้มาก่อน
อีกข้องหนึ่งที่สังเกตได้คือ ถ้าเราถ่ายภาพสถาปัตยกรรม หรือสิ่งใดๆ ที่มีเส้นตรงในภาพ และถ้าเราก้มหรือแหงนกล้อง เส้นจะลู่มากกกก มากเกินไปจนผมคิดว่าไม่งาม โดยปกติแล้วการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมพวกอินทีเรียนั้น จะไม่ก้ม-เงยกล้องอยู่แล้ว (ยกเว้นใช้เลนส์ tilt-shift) เพราะจะทำให้ภาพบิดเบือน แต่ถ้าเราถ่ายวัดวาอาราม บางทีก็เป็นข้อยกเว้น เพราะมุมเงยกับภาพมุมสอบ มันก็ดูอลังการดี แต่ไม่ใช่กับเลนส์ตัวนี้ เพราะเส้นสอบจะยาวเหยียดจนไม่งาม ผมจึงใช้มุมขนานแทบทุกภาพ
เราสามารถได้มุมแปลกๆ จากเลนส์ตัวนี้ เช่น ภาพที่ผมถ่ายพระอุโบสถวัดเบญจโดยถอยไปให้สุดมุมระเบียงคด ด้วยเลนส์มุมกว้างเกิน 100 องศา มันสามารถเก็บระเบียงสองด้านที่ตั้งฉากกัน 90 องศา ให้อยู่ในภาพเดียวกันได้สบาย อารมณ์เหมือนพาโนรามา
เลนส์ตัวนี้ให้สีที่ดีจนผมพอในมากครับ ตอนที่ไปถึงวัดก็เกือบหกโมงแล้ว ถ่ายภาพแรกเสร็จ แสงแดดก็ถูกหลังคาระเบียงคดบัง ผมถ่ายภาพจนพระอาทิตย์เกือบตก แต่เลนส์ก็ให้สีและคอนทราสต์ที่ดีพอสมควร ภาพที่ให้ชมเป็นภาพ JPG ที่ไม่ได้ปรับอะไรเพิ่มเลย หลายๆ ภาพความไวชัตเตอร์ตกไปถึง 1/4 และไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้อง(อันนี้ไม่เกี่ยวกับเลนส์ แต่เกี่ยวกับระบบกันสั่น)
เรื่องของการโฟกัส ผมเห็นปัญหาข้อหนึ่ง คือ ถ้าเราตั้งรูรับแสงไว้ที่ F ใด เลนส์ตัวนี้หรี่รูรับแสงไว้ที่เท่านั้นเลย ฉะนั้น ตอนที่เราโฟกัส เราก็จะหาจุดโฟกัสที่แท้จริงไม่ค่อยเจอ เพราะมันชัดหมด เรื่องแบบนี้ คนที่ใช้เลนส์มือหมุนคงคุ้นเคย แต่ผมไม่เคย... เลยใช้วิธีปรับรูรับแสงไปที่กว้างสุดตอนโฟกัส แล้วค่อยปรับกลับมาค่าที่ต้องการตอนจะถ่าย ซึ่งกรณีนี้จะใช้เมื่อต้องการความชัวร์ แต่ที่จริงแล้วก็ใช้วิธีตั้ง Hyper focus แล้วเดินกดโดยไม่ต้องโฟกัส หรือแม้กระทั่งปรับโฟกัสค้างไว้ที่อินฟินิตี้(ซึ่งมันเป็นอินฟินิตี้จริง) ก็ยังคุมความชัดได้ ถ้าฉากหน้าไม่ใกล้กล้องมากๆ
ข้อสรุปของการใช้เลนส์ตัวนี้คือ มันให้คุณภาพที่มั่นใจได้ ชอบสีสัน แต่ต้องสร้างความคุ้นเคยในการโฟกัสภาพถ้าจะถ่ายแบบปราณีต ส่วนเรื่องมุมกว้างๆๆๆๆ นั้นก็รู้อยู่แล้วว่ามันหามุมถ่ายยาก ตอนแรกผมคิดจะขาย 16-35 มม.เพื่อใช้ตัวนี่ตัวเดียว แต่ก็มั่นใจแล้วว่าทำไม่ได้ครับ เพราะเลนส์ตัวนี้ไม่ใช่เลนส์มุมกว้างที่จะได้ใช้ในทุกสถานการณ์ แต่ด้วยมุมและทัศนมิติที่เกิดจากการหามุมอย่างพอดี มันจะให้ภาพที่เราไม่เคยได้จากเลนส์ตัวไหนในโลก
[CR] เที่ยววัดเบญจ กับเลนส์มุมกว้างที่สุดในโลก Voigtlander HELIAR-HYPER WIDE 10mm. F5.6
เมื่อวานได้เสียเงินก้อนใหญ่อีกก้อน กับเลนส์ตัวใหม่ที่รอคอยมานาน เพราะได้ทราบข่าวจากร้าน AV Camera ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเลนส์แบรนด์นี้ ว่าของเพิ่งมาถึงหมาดๆ และภายหลังได้รู้ว่าผมเองเป็นลูกค้าคนแรกที่ได้จับเลนส์ตัวนี้(และน่าจะเป็นประเทศแรกๆด้วย เพราะต่างประเทศก็ยังไม่ค่อยเห็นขายกัน)
ที่รอเลนส์ตัวนี้เพราะ หลังจากเปลี่ยนมาใช้กล้อง SONY A7 ll ได้เดือนสองเดือน และศึกษามาพอสมควร ก็ตัดสินใจได้ว่าเลนส์ไวด์คู่บารมีของเรานั้นควรจะเป็นเลนส์จากค่าย Voiglander เนื่องจากกล้องตระกูลนี้เค้าใจกว้าง ให้ใช้กับเลนส์ได้หลากหลายยี่ห้อ แถมทำงานร่วมกับระบบกันสั่นในตัวกล้องอีกตะหาก อีกทั้งเลนส์ของ Voigt ก็ราคาย่อมเยาว์กว่า เล็กกว่า กว้างกว่า และคุณภาพก็อยู่ในระดับพรีเมี่ยม
เลนส์ตัวนี้ทางยาวโฟกัส 10 มม. และเป็นเลนส์สำหรับกล้องฟูลเฟรม มันจึงเป็นเลนส์มุมกว้าง(ที่ไม่ใช้ฟิชอาย) ที่กว้างที่สุดในโลกแล้ว!!!
Voigt เป็นเลนส์เชื้อชาติเยอรมันสัญชาติญี่ปุ่นครับ เพราะเกิดในเยอรมันเมื่อร้อยปีแล้วมั้ง(ไม่ชัวร์) ภายหลังก็ขายกิจการสองทอดจนมาจบอยู่ที่ COSINA บริษัทผู้ผลิตเลนส์ญี่ปุ่นที่หลายคนรู้จัก ผมเองก็รู้จักเพราะเคยใช้เลนส์แบรนด์นี้ตอนเป็นนักศึกษาเมื่อ 15 ปีที่แล้ว บอกตรงๆ ว่าคุณภาพไม่น่าปลื้มนักหรอก แต่ราคามันก็ไม่แพง
เพิ่งจะรู้ว่า COSINA นั้นเป็นมือปืนรับจ้าง ผลิตเลนส์ให้แบรนด์ดังๆ มากมาย รวมทั้ง Voigt ซึ่งตัวเองเป็นเจ้าของ แต่ใช้เทคโนโลยีเยอรมัน(มั้ง..นะ) เอาเป็นว่า คุณภาพที่มุ่งหวังได้มันมากกว่า Cosina ที่เคยรู้จักแน่นอน
Voigt นี่ใช้กับกล้องได้หลากหลาย รวมทั้งเมาท์ Leica M ก่อนหน้านี้ผมก็สนใจอยู่ตัวนึง คือรุ่น 12mm. Haliar ซึ่งราคาไม่แพงเลย สวยด้วย สามารถเอามาต่ออแดปเตอร์แปลงเมาท์เพื่อใช้กับ SONY E ได้ แต่ก็ได้ยินอย่างหนาหูว่าการออกแบบเลนส์ตัวนั้นมันเป็นแบบโบราณ คือไม่สอดรับกับเซ็นเซอร์ดิจิตอลที่มีมุมตกกระทบของแสงบนเซ็นเซอร์ที่ต่างกับฟิล์ม ผลที่เกิดคือขอบมืด ขอบม่วง อะไรประมาณนี้
และแล้ว Voigt ก็ออกเลนส์ในกลุ่มซุปเปอร์ไวด์ ไฮเปอร์ไวด์ซีรีส์ใหม่ เป็น mark lll และใช้กับกล้อง SONY เมาท์เลนส์ E ได้โดยตรง และมันมีชิป มีคอนแทกส์เพื่อให้กล้องกับเลนส์สื่อสารกันได้ ทำงานด้วยกันแบบเต็มร้อย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะในกล้องยุคนี้มีข้อมูลหลายอย่างที่เลนส์กับกล้องต้องคุยกันในการทำงานของบางระบบ เช่น ระบบกันสั่นในตัวกล้องต้องรู้ทางยาวโฟกัส ต้องรู้รูรับแสง ต้องรู้ว่าเลนส์นั้นคือตัวไหน เพื่อจะทำงานร่วมกับซอฟแวร์ที่ใช้ช่วยแก้ความผิดพลาดบางอย่าง
แต่อย่าลืมหนึ่งเรื่องที่ต้องรู้ และยังไม่เปลี่ยน(เพราะไม่มีเลนส์ตัวไหนจากค่ายนี้เปลี่ยนเลย) คือระบบโฟกัส ซึ่งเป็นเลนส์แมนนวลโฟกัส ต้องใช้มือหมุน ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ปัญหาอะไรในการใช้งาน เพราะในกล้องมิลเลอร์เลสทุกวันนี้ก็มีระบบช่วยโฟกัส หรือ Peaking focus ในการช่วยบอกว่าภาพชัดหรือยัง แต่ที่เด็ดกว่าคือเลนส์ตัวนี้เป็นเลนส์มุมกว้างมาก ระยะชัดของจึงลึกมาก แม้จะใช้ F ที่ไม่จำเป็นต้องแคบมาก ถ้าดูตามสเกล Dept of field บนเลนส์ จะรู้เลยว่าเราสามารถปรับโฟกัส Fixed ที่ระยะหนึ่งด้วยหลักการ Hyper focus แล้วใช้ F 5.6 - 8 ก็ครอบคลุมระยะชัดตั้งแต่ 30cm ยันอินฟินิตี้เลย ที่เหลือก็เดินกดเหมือนกล้องคอมแพคป็อกแป็กสมัยก่อนที่ fixed focus มาแล้ว
- - - - - - - -
ทดลองจริง..
ด้วยความเห่อของใหม่ และมีเพื่อนๆ อยากดูภาพจากเลนส์ตัวนี้กันเยอะ ผมจึงหาเวลาช่วงเย็นๆ ไปเดินถ่ายรูปที่วัดเบญจมบพิตร ซึ่งใครที่ชอบถ่ายรูปคงเคยไปกันบ้าง ถ้ายังพอจำมุมได้ จะได้เปรียบเทียบกันเลยว่า เลนส์ที่กว้างที่สุดในโลกนั้นกว้างแค่ไหน
โดยปกติแล้ว ผมชอบใช้เลนส์ซุปเปอร์ไวด์ ที่ผ่านมาก็ใช้ช่วง 16 มม. (เลนส์ซูม 16-35) ซึ่งมันก็ถือว่ากว้างมากแล้ว แต่ 10 มม.ที่ถืออยู่ในมือนี่กว้างกว่าเยอะ ใครไม่เคยใช้จะรู้เลยว่าเลนส์ที่กว้างขนาดนี้นั้นหามุมถ่ายยากในนาทีแรกๆ เพราะเล็งอะไรก็เวิ้งว้างไปหมด หาจุดสนใจไม่ได้
แต่คุณสมบัติของเลนส์มุมกว้างไม่ใช่แค่กว้าง แต่มันสามารถให้ทัศนมิติของภาพที่เกิดจากการเปรียบเทียบขนาดของวัตถุในฉากหน้า-ฉากหลังที่ดูลึก และมีมิติ ดังนั้นถ้าเราสามารถเล่นกับฉากหน้า เราก็จะสร้างจุดสนใจให้ภาพได้มากขึ้น และมันจะให้มุมมอง และทัศนมิติ ที่ไม่เคยได้จากเลนส์ที่ไม่กว้างเท่านี้มาก่อน
อีกข้องหนึ่งที่สังเกตได้คือ ถ้าเราถ่ายภาพสถาปัตยกรรม หรือสิ่งใดๆ ที่มีเส้นตรงในภาพ และถ้าเราก้มหรือแหงนกล้อง เส้นจะลู่มากกกก มากเกินไปจนผมคิดว่าไม่งาม โดยปกติแล้วการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมพวกอินทีเรียนั้น จะไม่ก้ม-เงยกล้องอยู่แล้ว (ยกเว้นใช้เลนส์ tilt-shift) เพราะจะทำให้ภาพบิดเบือน แต่ถ้าเราถ่ายวัดวาอาราม บางทีก็เป็นข้อยกเว้น เพราะมุมเงยกับภาพมุมสอบ มันก็ดูอลังการดี แต่ไม่ใช่กับเลนส์ตัวนี้ เพราะเส้นสอบจะยาวเหยียดจนไม่งาม ผมจึงใช้มุมขนานแทบทุกภาพ
เราสามารถได้มุมแปลกๆ จากเลนส์ตัวนี้ เช่น ภาพที่ผมถ่ายพระอุโบสถวัดเบญจโดยถอยไปให้สุดมุมระเบียงคด ด้วยเลนส์มุมกว้างเกิน 100 องศา มันสามารถเก็บระเบียงสองด้านที่ตั้งฉากกัน 90 องศา ให้อยู่ในภาพเดียวกันได้สบาย อารมณ์เหมือนพาโนรามา
เลนส์ตัวนี้ให้สีที่ดีจนผมพอในมากครับ ตอนที่ไปถึงวัดก็เกือบหกโมงแล้ว ถ่ายภาพแรกเสร็จ แสงแดดก็ถูกหลังคาระเบียงคดบัง ผมถ่ายภาพจนพระอาทิตย์เกือบตก แต่เลนส์ก็ให้สีและคอนทราสต์ที่ดีพอสมควร ภาพที่ให้ชมเป็นภาพ JPG ที่ไม่ได้ปรับอะไรเพิ่มเลย หลายๆ ภาพความไวชัตเตอร์ตกไปถึง 1/4 และไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้อง(อันนี้ไม่เกี่ยวกับเลนส์ แต่เกี่ยวกับระบบกันสั่น)
เรื่องของการโฟกัส ผมเห็นปัญหาข้อหนึ่ง คือ ถ้าเราตั้งรูรับแสงไว้ที่ F ใด เลนส์ตัวนี้หรี่รูรับแสงไว้ที่เท่านั้นเลย ฉะนั้น ตอนที่เราโฟกัส เราก็จะหาจุดโฟกัสที่แท้จริงไม่ค่อยเจอ เพราะมันชัดหมด เรื่องแบบนี้ คนที่ใช้เลนส์มือหมุนคงคุ้นเคย แต่ผมไม่เคย... เลยใช้วิธีปรับรูรับแสงไปที่กว้างสุดตอนโฟกัส แล้วค่อยปรับกลับมาค่าที่ต้องการตอนจะถ่าย ซึ่งกรณีนี้จะใช้เมื่อต้องการความชัวร์ แต่ที่จริงแล้วก็ใช้วิธีตั้ง Hyper focus แล้วเดินกดโดยไม่ต้องโฟกัส หรือแม้กระทั่งปรับโฟกัสค้างไว้ที่อินฟินิตี้(ซึ่งมันเป็นอินฟินิตี้จริง) ก็ยังคุมความชัดได้ ถ้าฉากหน้าไม่ใกล้กล้องมากๆ
ข้อสรุปของการใช้เลนส์ตัวนี้คือ มันให้คุณภาพที่มั่นใจได้ ชอบสีสัน แต่ต้องสร้างความคุ้นเคยในการโฟกัสภาพถ้าจะถ่ายแบบปราณีต ส่วนเรื่องมุมกว้างๆๆๆๆ นั้นก็รู้อยู่แล้วว่ามันหามุมถ่ายยาก ตอนแรกผมคิดจะขาย 16-35 มม.เพื่อใช้ตัวนี่ตัวเดียว แต่ก็มั่นใจแล้วว่าทำไม่ได้ครับ เพราะเลนส์ตัวนี้ไม่ใช่เลนส์มุมกว้างที่จะได้ใช้ในทุกสถานการณ์ แต่ด้วยมุมและทัศนมิติที่เกิดจากการหามุมอย่างพอดี มันจะให้ภาพที่เราไม่เคยได้จากเลนส์ตัวไหนในโลก