สรุปพระเลี้ยงสัตว์ ผิดพระวินัยเหรอ ผมเห็นวัดใหนก็เลี้ยงกัน


5 มิ.ย.59 ที่ลานวัดห้วยหมู ต.เจดีย์หัก อ.เมือง จ.ราชบุรี  มีหมูป่าชื่อ'เจ้าโชค' ที่พระครูจันทสีลากร เจ้าอาวาสวัดห้วยหมู เป็นผู้เลี้ยงดูไว้ตั้งแต่ยังเล็ก ๆ เนื่องจากเวลาหลวงพ่อเรียก เจ้าโชคก็จะเดินตามและยังนอนให้หลวงพ่อลูบคางเล่นจนเจ้าโชคนอนหลับอย่างสบายใจ ทั้งนี้เจ้าโชคหมูป่า ยังมีเพื่อนเป็นสุนัขอีกหลายตัวมาวิ่งเล่นด้วยกัน  หลังจากหลายเดือนก่อนทางวัดได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี จ.ราชบุรี มาจับหมูป่าหลายสิบตัวไปที่อยู่บริเวณวัด  เนื่องจากมีมติของมหาเถรสมาคมไม่อนุญาตให้วัดทั่วประเทศเลี้ยงสัตว์ป่าคุ้มครองและสัตว์ป่าสงวนภายในวัน  เพราะเกรงจะนำไปทำเป็นเครื่องรางของขลัง จึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่มาดำเนินการจับหมูป่าส่งคืนสู่ธรรมชาติ  แต่ขณะกำลังจับหมูป่าได้แล้วหลายสิบตัว  ยังคงมีหมูป่าตัวเล็ก ๆ วิ่งหลบหนีหายเข้าไปในป่าข้างวัดไป 1 ตัว  และต่อมาลูกหมูป่าตัวดังกล่าวก็กลับมาอาศัยอยู่ที่วัดเหมือนเดิม

พระครูจันทสีลากร เจ้าอาวาสวัด เปิดเผยว่า หลังจากลูกหมูกลับมา จึงได้ตั้งชื่อว่า “เจ้าโชค”เป็นหมูป่าเพศผู้ที่ยังโชคดีสามารถหลบหนีเจ้าหน้าที่ไปได้ขณะจับ  เพราะแต่ก่อนมีหมูป่าเลี้ยงไว้อยู่ประมาณ 50 ตัว เนื่องจากมีญาติโยมนำมาถวายให้พระเลี้ยงจนออกลูกออกหลานจำนวนมาก  ต่อมามีเจ้าหน้าที่ได้มาจับหมูป่าไปปล่อยคืนธรรมชาติ  แต่เจ้าโชคยังตัวเล็กอยู่ และได้วิ่งหลบหนีรอดไปในป่าได้ตัวเดียวและกลับมาได้จะเลี้ยงไว้จนเจริญเติบโตปัจจุบันอายุได้ประมาณ 2 ปี  จึงได้ตั้งชื่อว่า“โชค”พระและญาติโยมรักเจ้าโชคทุกคน เพราะมันเชื่อง อยู่กับพระ เณร ชาวบ้าน และสุนัข แมว เวลากินนอนก็จะอยู่ด้วยกับสุนัข เป็นเพื่อนเล่นกันมาตั้งแต่เล็ก



นอกจากนี้ยังมีหมูป่าเพศเมียที่เลี้ยงไว้เหลือจากที่เจ้าหน้าที่จับไปแล้ว อยู่ในคอกคอยเป็นเพื่อนเล่นกันกับเจ้าโชคด้วย  ทุกครั้งหลวงพ่อจะเรียนเจ้าโชค พร้อมกับนำขนมมาให้กิน กินอิ่มหลวงพ่อก็จะใช้มือลูบหรือเกาที่บริเวณคาง และใต้คอเจ้าโชคก็จะขนลุกตั้งชัน จากนั้นไม่นานก็จะค่อย ๆ ล้มเอนตัวลงนอนหลับอยู่ใกล้ ๆ อย่างสบายใจ แต่หากเป็นคนแปลกหน้าที่ไม่คุ้นเคย เจ้าโชคก็จะแสดงอาการตาดุหูตั้ง ขนลุกตั้งชัน ไม่ยอมให้เข้าใกล้

สำหรับหมูป่าที่เลี้ยงไว้นั้นเดิมเคยมีญาติโยมได้ไปไถ่ชีวิตและนำมาถวายไว้ที่วัดนี้เมื่อหลายปีก่อน เพราะเห็นว่าชื่อวัดห้วยหมู น่าจะมีหมูอยู่ด้วย ทางญาติโยมจึงนำหมูป่ามาถวายที่วัด ต่อมาเกิดมีลูกหลานเพิ่มมากขึ้นหลายตัว จึงได้แจ้งเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาจับนำปล่อยป่าคืนสู่ธรรมชาติ  ปัจจุบันก็ยังคงเหลือเพียงเจ้าโชค หมูป่าแสนรู้ ที่เคยหลบหนีเจ้าหน้าไปได้และกลับมาอยู่อาศัยข้าวก้นบาตรของหลวงพ่อวัดห้วยหมูจนปัจจุบัน
http://www.naewna.com/local/219255
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่