ชมสินค้าพื้นบ้าน ชิมอาหารพื้นถิ่น “ตลาดย้อนยุคปากพนัง” อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
ชมสินค้าพื้นบ้าน ชิมอาหารพื้นถิ่น “ตลาดย้อนยุคปากพนัง”
“…บรรดาเมืองท่าในแหลมมาลายูฝั่งตะวันออกเห็นจะไม่มีแห่งใดดีเท่าปากพนัง”
ข้อความนี้กล่าวกันว่า ปรากฏตามพระราชหัตถเลขา “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” หรือ “รัชกาลที่ 5” ในคราวเสด็จฯ ประพาส “ปากพนัง” เมื่อ พ.ศ.2448
เราคุ้นเคยกับชื่อของ “ปากพนัง” หรือ “ปากนัง” มาตั้งแต่สมัยเรียน เพราะมีเพื่อนร่วมรุ่นหลายคน พื้นเพเป็น “ชาวปากพนัง” จ.นครศรีธรรมราช
เล่ากันว่าชื่อเดิม “อ.ปากพนัง” คือ “อ.เบี้ยซัด” เพราะมีคลื่นซัดเอา “หอยเบี้ย” เข้าสู่หาดแถบนี้ โดย “หอยเบี้ย” ใช้แทนเงินตราในการแลกเปลี่ยนสินค้าสมัยโบราณ
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อ.ปากพนัง” และยังคงความสำคัญเป็น “เมืองท่า” ศูนย์กลางการค้าสำคัญของทะเลฝั่งตะวันออก เพราะพื้นที่มีลักษณะเป็น “แหลม” ยื่นออกไปในทะเล
หลังได้รับคำชักชวนจาก “เพื่อนเก่า” เราจึงหาโอกาสไปเยี่ยมเยือน “ตลาดย้อนยุคปากพนัง” ที่เราเองก็เพิ่งได้ยินชื่อมาเมื่อไม่นานนี้
จากตัวเมือง “นครศรีธรรมราช” มุ่งหน้าลงใต้ เมื่อถึง “สี่แยกหัวถนน” เราก็เลี้ยวซ้ายตามเส้นทางที่ได้สอบถามมา ก่อนจะมุ่งหน้าสู่ “เรือนจำปากพนัง”
“เรือนจำปากพนัง” ตั้งอยู่ริม “คลองบางฉลาก” ซึ่งเชื่อมกับ “แม่น้ำปากพนัง” และบริเวณโดยรอบ ทุกเย็นของ “วันอาทิตย์” จะปรับสภาพพื้นที่ให้กลายเป็น “ตลาดย้อนยุคปากพนัง”
เมื่อมีจุดสำคัญเป็นหมุดหมาย เราจึงเดินทางไปถึงได้ไม่ยากนัก ระหว่างขับรถเลาะเลียบ “แม่น้ำปากพนัง” เพื่อหาที่จอดรถ ก็เห็นผู้คนคลาคล่ำ ทำให้แน่ใจได้ว่ามาไม่ผิดที่แน่ๆ
“แม่น้ำปากพนัง” มีต้นน้ำมาจาก “เทือกเขาบรรทัด” นับเป็นแม่น้ำที่สำคัญทางเศรษฐกิจของ “นครศรีธรรมราช” เพราะบริเวณลุ่มน้ำปากพนัง เป็นพื้นที่เพาะปลูกทำนากว่าหลายแสนไร่
นอกจากนั้นยังมี “โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” รวมถึงเป็นที่ตั้งของ “ท่าเทียบเรือประมง” และ “ตลาดกลางกุ้งกุลาดำ” ของจังหวัดอีกด้วย
เรากับเพื่อนรุ่นน้องมาถึงยามพลบค่ำแล้ว ระหว่างเดินเล่นชมสินค้าหาของกินไปเรื่อยๆ ก็พยายามติดต่อ “เพื่อนเก่า” ซึ่งนัดหมายกันไว้ให้มารออยู่ก่อนตั้งแต่เย็นย่ำ
“โทงเย่สิบ โทงเย่สิบ” เราหันไปตามเสียงขานเรียกนั้น เพื่อพยายามฟังว่าหมายถึงอะไร จนได้ข้อสรุปว่าเป็นสำเนียงใต้ที่หมายถึง “กระทงละ 20 บ.”
เพื่อนรุ่นน้องกระซิบบอกเราว่า “เตรียมแบงค์ 20 ไว้เยอะๆ เลยพี่ มีแต่ของน่ากิน ราคาเดียวเกือบทั้งตลาดเลย” ว่าแล้วพวกเราก็เริ่มมองหาของกินกันก่อน
น่าสังเกตว่า “บรรจุภัณฑ์” ที่ใช้ใส่อาหาร มีลักษณะเป็น “หมาจาก” ขนาดเล็กๆ เพื่อให้พอดีกับปริมาณหรือจำนวนของอาหารที่จะบรรจุลงในนั้น
“หมาจาก” คือภาชนะที่สานด้วย “ใบจาก” เป็นภูมิปัญญาพื้นถิ่นของ “ปักษ์ใต้” ใช้แทน “กระบวย” สำหรับตักน้ำ แต่ที่ “ปากพนัง” นี้ ดัดแปลงเป็นภาชนะใส่อาหาร ราคา “โทงเย่สิบ” ที่เราได้ยินนั่นเอง
“ตลาดย้อนยุคปากพนัง” มี 2 ฟาก ขนานไปกับลำคลอง ฟากหนึ่งติดกำแพง “เรือนจำ” ส่วนอีกฟากเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และเปิดหน้าร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ
สุดทางของแต่ละฝั่งเป็น “สะพาน” เชื่อม โดยสะพานฝั่งประตูทางเข้าหลักนั้น ปรับพื้นที่ให้เป็น “เวที” มีเสียงดนตรีและนักร้องขับกล่อมตลอดงาน
“ผัดหมี่” เป็นอย่างแรกที่เราชวนกันลอง เพราะดูจากแถวยาวเหยียด ที่ลูกค้ารอกันอยู่อย่างใจจดจ่อแล้ว น่าเชื่อว่าต้องอร่อยเป็นแน่
“เจ้านี้อร่อยสุดในปากพนังแล้วน้อง รอไปเถอะ” ลูกค้าที่ยืนต่อคิวก่อนหน้าพวกเรา หันมาบอกพวกเราด้วยสำเนียงท้องถิ่น หลังจากเห็นพวกเราจดๆ จ้องๆ ว่าจะรอดีไหม
ว่าแล้วเราก็ได้ชิม “ผัดหมี่” แบบ “ปากพนัง” ที่รสชาติแตกต่างไปจากเคยชิมจากที่อื่นๆ
“ผัดหมี่ปากพนัง” ส่วนผสมของ “เครื่องแกงใต้” รสเผ็ดหวาน เหยาะมะนาว กินแกล้มกับผักเคียงเป็นถั่วงอกและมะม่วงซอย อิ่มอร่อยสมคำร่ำลือ
ระหว่างที่เรารอพบ “เพื่อนเก่า” ที่จุดนัดหน้าร้าน “ข้าวยำเมืองนัง” เพื่อนรุ่นน้องซึ่งเดินลับหายไปท่ามกลางผู้คนก็ยิ้มเผล่กลับมาพร้อมของกินพะรุงพะรัง
แม้จะเพิ่งชิม “หมี่ผัด” ไปไม่นาน แต่ “ข้าวยำเมืองนัง” ก็กลิ่นหอมยั่วยวนจนต้องชวนกันชิมอีกครั้ง แน่นอนว่าไม่ผิดหวังเช่นเคย กับรสชาติเผ็ดหวานแบบ “ปักษ์ใต้”
ต่อกันด้วย “ทอดมัน” เป็นแป้งคลุกเคล้ากับเนื้อปลาโขลกละเอียด มีเครื่องแกงรสเผ็ดนำ ทอดเป็นก้อนกลมเล็กๆ แบบพอดีคำ แต่ต้องบอกว่า เล็กพริกขี้หนูมาก เพราะกินเข้าไปแล้วเผ็ดเอาเรื่องเหมือนกัน
จากนั้นก็ได้เวลา “ของหวาน” ที่มีให้เลือกสารพัดอย่าง จนตัดสินใจเลือกไม่ได้ เลยจัดการชวนกันซื้อเกือบทุกอย่าง เพื่อเก็บไว้กินต่อระหว่างขับรถกลับ
“ขนมดอกโดน” สีเหลืองสดใส ทำจากแป้งและไข่ กลิ่นหอมแตะจมูกชวนให้ลองอย่างยิ่ง หรือแม้แต่ “วาฟเฟิล” แบบปากพนังที่ติดป้ายสุดเก๋ว่า “ขนมผ้าถุงไอ้เท่ง”
นอกจากนี้ยังมี “ขนมค่อม” หรือ “ขนมสอดไส้” ที่หวานมันอร่อย ในราคาย่อมเยา กับ “ขนมครกข้าวเหนียว” ที่คิวยาวไม่แพ้ใคร ไปจนถึง “ชาชัก” รสชาติเข้มข้นที่ล่องใต้มาแล้วพลาดไม่ได้
เดินแค่ฝั่งเดียว พวกเราก็หิ้วของกินเต็มมือ ขณะที่อีกฟากเมื่อข้ามไปนั้น มีลักษณะเป็น “ร้านอาหาร” ที่มีโต๊ะเก้าอี้ รวมถึง “แคร่” บริการ ให้ได้นั่งกิน ฟังเพลงเพลินๆ อย่างรื่นรมย์
แต่ที่น่าเสียดายก็เพราะ “หมด” เกือบทุกอย่าง โดยเฉพาะ “ขนมจีน” เจ้าดัง ที่เหลือแค่จานชามช้อนกองโต รอทำความสะอาดให้ดูต่างหน้า
เพื่อนรุ่นน้องบ่นอิดออดด้วยความเสียดาย ทั้งที่มีของกินอื่นๆ เต็มมือ แถมยังสำทับว่า รอบหน้าต้องหาทางมาเยือน “ตลาดย้อนยุคปากพนัง” อีกให้ได้ รวมถึงยังมีของกินอีกหลายอย่างที่ไม่ได้ชิม
ว่าแล้วก็จัดการถ่ายภาพที่ระลึกกับป้ายทางเข้า มีตราสัญลักษณ์ของ “เทศบาล อ.ปากพนัง” เจ้าภาพซึ่งคอยจัดการพื้นที่อันรื่นรมย์ส่วนนี้ให้ทุกเย็นวันอาทิตย์
เท่าที่เราสอบถามผู้คนที่เดินชมตลาด ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า “ตลาดย้อนยุคปากพนัง” ไม่ใช่แค่เพียงสร้างรายได้ให้คนในละแวกนี้เท่านั้น
หากแต่ยังเป็นสืบสาน “มรดก” ของกินของใช้จากคนรุ่นก่อน ส่งต่อถึงคนรุ่นใหม่ ให้ได้รู้จัก และภาคภูมิใจ รวมถึงช่วยกันสืบทอด “ภูมิปัญญา” อันเป็นเอกลักษณ์ของที่นี่
สินค้าพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่น ความภูมิใจของ “คนปากนัง” ที่ “ตลาดย้อนยุคปากพนัง” ...
(ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ภัทรวลัย ตลึงจิตร และณัฐกานต์ รัษฐปานะ)
ออนอาร์ต
roythao@yahoo.com
http://www.banmuang.co.th/column/other/2414
ชมสินค้าพื้นบ้าน ชิมอาหารพื้นถิ่น “ตลาดย้อนยุคปากพนัง” อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
ชมสินค้าพื้นบ้าน ชิมอาหารพื้นถิ่น “ตลาดย้อนยุคปากพนัง”
“…บรรดาเมืองท่าในแหลมมาลายูฝั่งตะวันออกเห็นจะไม่มีแห่งใดดีเท่าปากพนัง”
ข้อความนี้กล่าวกันว่า ปรากฏตามพระราชหัตถเลขา “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” หรือ “รัชกาลที่ 5” ในคราวเสด็จฯ ประพาส “ปากพนัง” เมื่อ พ.ศ.2448
เราคุ้นเคยกับชื่อของ “ปากพนัง” หรือ “ปากนัง” มาตั้งแต่สมัยเรียน เพราะมีเพื่อนร่วมรุ่นหลายคน พื้นเพเป็น “ชาวปากพนัง” จ.นครศรีธรรมราช
เล่ากันว่าชื่อเดิม “อ.ปากพนัง” คือ “อ.เบี้ยซัด” เพราะมีคลื่นซัดเอา “หอยเบี้ย” เข้าสู่หาดแถบนี้ โดย “หอยเบี้ย” ใช้แทนเงินตราในการแลกเปลี่ยนสินค้าสมัยโบราณ
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อ.ปากพนัง” และยังคงความสำคัญเป็น “เมืองท่า” ศูนย์กลางการค้าสำคัญของทะเลฝั่งตะวันออก เพราะพื้นที่มีลักษณะเป็น “แหลม” ยื่นออกไปในทะเล
หลังได้รับคำชักชวนจาก “เพื่อนเก่า” เราจึงหาโอกาสไปเยี่ยมเยือน “ตลาดย้อนยุคปากพนัง” ที่เราเองก็เพิ่งได้ยินชื่อมาเมื่อไม่นานนี้
จากตัวเมือง “นครศรีธรรมราช” มุ่งหน้าลงใต้ เมื่อถึง “สี่แยกหัวถนน” เราก็เลี้ยวซ้ายตามเส้นทางที่ได้สอบถามมา ก่อนจะมุ่งหน้าสู่ “เรือนจำปากพนัง”
“เรือนจำปากพนัง” ตั้งอยู่ริม “คลองบางฉลาก” ซึ่งเชื่อมกับ “แม่น้ำปากพนัง” และบริเวณโดยรอบ ทุกเย็นของ “วันอาทิตย์” จะปรับสภาพพื้นที่ให้กลายเป็น “ตลาดย้อนยุคปากพนัง”
เมื่อมีจุดสำคัญเป็นหมุดหมาย เราจึงเดินทางไปถึงได้ไม่ยากนัก ระหว่างขับรถเลาะเลียบ “แม่น้ำปากพนัง” เพื่อหาที่จอดรถ ก็เห็นผู้คนคลาคล่ำ ทำให้แน่ใจได้ว่ามาไม่ผิดที่แน่ๆ
“แม่น้ำปากพนัง” มีต้นน้ำมาจาก “เทือกเขาบรรทัด” นับเป็นแม่น้ำที่สำคัญทางเศรษฐกิจของ “นครศรีธรรมราช” เพราะบริเวณลุ่มน้ำปากพนัง เป็นพื้นที่เพาะปลูกทำนากว่าหลายแสนไร่
นอกจากนั้นยังมี “โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” รวมถึงเป็นที่ตั้งของ “ท่าเทียบเรือประมง” และ “ตลาดกลางกุ้งกุลาดำ” ของจังหวัดอีกด้วย
เรากับเพื่อนรุ่นน้องมาถึงยามพลบค่ำแล้ว ระหว่างเดินเล่นชมสินค้าหาของกินไปเรื่อยๆ ก็พยายามติดต่อ “เพื่อนเก่า” ซึ่งนัดหมายกันไว้ให้มารออยู่ก่อนตั้งแต่เย็นย่ำ
“โทงเย่สิบ โทงเย่สิบ” เราหันไปตามเสียงขานเรียกนั้น เพื่อพยายามฟังว่าหมายถึงอะไร จนได้ข้อสรุปว่าเป็นสำเนียงใต้ที่หมายถึง “กระทงละ 20 บ.”
เพื่อนรุ่นน้องกระซิบบอกเราว่า “เตรียมแบงค์ 20 ไว้เยอะๆ เลยพี่ มีแต่ของน่ากิน ราคาเดียวเกือบทั้งตลาดเลย” ว่าแล้วพวกเราก็เริ่มมองหาของกินกันก่อน
น่าสังเกตว่า “บรรจุภัณฑ์” ที่ใช้ใส่อาหาร มีลักษณะเป็น “หมาจาก” ขนาดเล็กๆ เพื่อให้พอดีกับปริมาณหรือจำนวนของอาหารที่จะบรรจุลงในนั้น
“หมาจาก” คือภาชนะที่สานด้วย “ใบจาก” เป็นภูมิปัญญาพื้นถิ่นของ “ปักษ์ใต้” ใช้แทน “กระบวย” สำหรับตักน้ำ แต่ที่ “ปากพนัง” นี้ ดัดแปลงเป็นภาชนะใส่อาหาร ราคา “โทงเย่สิบ” ที่เราได้ยินนั่นเอง
“ตลาดย้อนยุคปากพนัง” มี 2 ฟาก ขนานไปกับลำคลอง ฟากหนึ่งติดกำแพง “เรือนจำ” ส่วนอีกฟากเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และเปิดหน้าร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ
สุดทางของแต่ละฝั่งเป็น “สะพาน” เชื่อม โดยสะพานฝั่งประตูทางเข้าหลักนั้น ปรับพื้นที่ให้เป็น “เวที” มีเสียงดนตรีและนักร้องขับกล่อมตลอดงาน
“ผัดหมี่” เป็นอย่างแรกที่เราชวนกันลอง เพราะดูจากแถวยาวเหยียด ที่ลูกค้ารอกันอยู่อย่างใจจดจ่อแล้ว น่าเชื่อว่าต้องอร่อยเป็นแน่
“เจ้านี้อร่อยสุดในปากพนังแล้วน้อง รอไปเถอะ” ลูกค้าที่ยืนต่อคิวก่อนหน้าพวกเรา หันมาบอกพวกเราด้วยสำเนียงท้องถิ่น หลังจากเห็นพวกเราจดๆ จ้องๆ ว่าจะรอดีไหม
ว่าแล้วเราก็ได้ชิม “ผัดหมี่” แบบ “ปากพนัง” ที่รสชาติแตกต่างไปจากเคยชิมจากที่อื่นๆ
“ผัดหมี่ปากพนัง” ส่วนผสมของ “เครื่องแกงใต้” รสเผ็ดหวาน เหยาะมะนาว กินแกล้มกับผักเคียงเป็นถั่วงอกและมะม่วงซอย อิ่มอร่อยสมคำร่ำลือ
ระหว่างที่เรารอพบ “เพื่อนเก่า” ที่จุดนัดหน้าร้าน “ข้าวยำเมืองนัง” เพื่อนรุ่นน้องซึ่งเดินลับหายไปท่ามกลางผู้คนก็ยิ้มเผล่กลับมาพร้อมของกินพะรุงพะรัง
แม้จะเพิ่งชิม “หมี่ผัด” ไปไม่นาน แต่ “ข้าวยำเมืองนัง” ก็กลิ่นหอมยั่วยวนจนต้องชวนกันชิมอีกครั้ง แน่นอนว่าไม่ผิดหวังเช่นเคย กับรสชาติเผ็ดหวานแบบ “ปักษ์ใต้”
ต่อกันด้วย “ทอดมัน” เป็นแป้งคลุกเคล้ากับเนื้อปลาโขลกละเอียด มีเครื่องแกงรสเผ็ดนำ ทอดเป็นก้อนกลมเล็กๆ แบบพอดีคำ แต่ต้องบอกว่า เล็กพริกขี้หนูมาก เพราะกินเข้าไปแล้วเผ็ดเอาเรื่องเหมือนกัน
จากนั้นก็ได้เวลา “ของหวาน” ที่มีให้เลือกสารพัดอย่าง จนตัดสินใจเลือกไม่ได้ เลยจัดการชวนกันซื้อเกือบทุกอย่าง เพื่อเก็บไว้กินต่อระหว่างขับรถกลับ
“ขนมดอกโดน” สีเหลืองสดใส ทำจากแป้งและไข่ กลิ่นหอมแตะจมูกชวนให้ลองอย่างยิ่ง หรือแม้แต่ “วาฟเฟิล” แบบปากพนังที่ติดป้ายสุดเก๋ว่า “ขนมผ้าถุงไอ้เท่ง”
นอกจากนี้ยังมี “ขนมค่อม” หรือ “ขนมสอดไส้” ที่หวานมันอร่อย ในราคาย่อมเยา กับ “ขนมครกข้าวเหนียว” ที่คิวยาวไม่แพ้ใคร ไปจนถึง “ชาชัก” รสชาติเข้มข้นที่ล่องใต้มาแล้วพลาดไม่ได้
เดินแค่ฝั่งเดียว พวกเราก็หิ้วของกินเต็มมือ ขณะที่อีกฟากเมื่อข้ามไปนั้น มีลักษณะเป็น “ร้านอาหาร” ที่มีโต๊ะเก้าอี้ รวมถึง “แคร่” บริการ ให้ได้นั่งกิน ฟังเพลงเพลินๆ อย่างรื่นรมย์
แต่ที่น่าเสียดายก็เพราะ “หมด” เกือบทุกอย่าง โดยเฉพาะ “ขนมจีน” เจ้าดัง ที่เหลือแค่จานชามช้อนกองโต รอทำความสะอาดให้ดูต่างหน้า
เพื่อนรุ่นน้องบ่นอิดออดด้วยความเสียดาย ทั้งที่มีของกินอื่นๆ เต็มมือ แถมยังสำทับว่า รอบหน้าต้องหาทางมาเยือน “ตลาดย้อนยุคปากพนัง” อีกให้ได้ รวมถึงยังมีของกินอีกหลายอย่างที่ไม่ได้ชิม
ว่าแล้วก็จัดการถ่ายภาพที่ระลึกกับป้ายทางเข้า มีตราสัญลักษณ์ของ “เทศบาล อ.ปากพนัง” เจ้าภาพซึ่งคอยจัดการพื้นที่อันรื่นรมย์ส่วนนี้ให้ทุกเย็นวันอาทิตย์
เท่าที่เราสอบถามผู้คนที่เดินชมตลาด ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า “ตลาดย้อนยุคปากพนัง” ไม่ใช่แค่เพียงสร้างรายได้ให้คนในละแวกนี้เท่านั้น
หากแต่ยังเป็นสืบสาน “มรดก” ของกินของใช้จากคนรุ่นก่อน ส่งต่อถึงคนรุ่นใหม่ ให้ได้รู้จัก และภาคภูมิใจ รวมถึงช่วยกันสืบทอด “ภูมิปัญญา” อันเป็นเอกลักษณ์ของที่นี่
สินค้าพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่น ความภูมิใจของ “คนปากนัง” ที่ “ตลาดย้อนยุคปากพนัง” ...
(ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ภัทรวลัย ตลึงจิตร และณัฐกานต์ รัษฐปานะ)
ออนอาร์ต
roythao@yahoo.com http://www.banmuang.co.th/column/other/2414