แสงส่องใจ จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 216 ค่ะ โดยสมเด็จพระสังฆราช (สกลมหาสังฆปริณายก)

ดอกไม้ดอกไม้  แสงส่องใจ จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่  216 ค่ะ  ดอกไม้ดอกไม้

โดยสมเด็จพระสังฆราช (สกลมหาสังฆปริณายก)



อัตตโนบุพพกรรมกถา
เทศนานิพนธ์
ใน
สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน)  พระจันทร์

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
มตฺตาสุขปริจฺจาคา    ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร    สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขนฺติ.

บัดนี้ จะวิสัชชนาพระธรรมเทศนาในอัตตโนปุพพกัมมวัตถุกถา พรรณนาหลักธรรมตามพระพุทธภาษิตอันมาในธรรมบท ขุททกนิกาย ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปรารภบุพพกรรมของพระองค์เอง ซึ่งมีเรื่องเล่าไว้โดยพิสดารในอรรถกถาแห่งธรรมบท มีความย่อว่า “เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาประทับอยู่ในพระเวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ในมคธรัฐ ครั้งนั้น ได้เกิดภัยขึ้น ๓ ประการ คือ ทุพภิกขภัย อมนุสสภัย และโรคภัย ในนครเวสาลี คณะเจ้าลิจฉวี ผู้ครองนครได้ส่งทูตไปเชิญเสด็จพระพุทธดำเนินสู่กรุงเวสาลี พระเจ้าพิมพิสาร กรุงราชคฤห์ ได้ทรงจัดการส่งเสด็จเป็นมโหราฬสักการะ จำเดิมแต่เสด็จพระพุทธดำเนินออกจากพระเวฬุวนาราม จนกระทั่งเสด็จข้ามแม่น้ำคงคาเข้าเขตนครเวสาลี คณะเจ้าลิจฉวีพร้อมด้วยชาวเมืองก็ได้จัดการรับเสด็จต่อไปเป็นมโหฬารสักการะทวีคูณ ตั้งแต่แม่น้ำนั้นจนเสด็จเข้าสู่นคร เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จขึ้นถึงฝั่งแม่น้ำคงคา เขตนครเวสาลี มหาเมฆก็ตั้งตกเป็นฝนโบกขรพรรษห่าใหญ่ ภัยทั้งปวงก็เริ่มสงบลงโดยลำดับ ด้วยพุทธานุภาพ พระบรมศาสดาได้ตรัสรัตนสูตรโปรด เป็นเหตุให้เกิดธรรมาภิสมัยแก่เวไนยนิกรเป็นอันมาก เมื่อทรงทราบว่าภัยทั้งปวงสงบแล้ว ก็ทรงอำลาเสด็จออกจากนครเวสาลี กลับไปประทับอยู่จำพรรษาในพระเวฬุวนารามในมคธรัฐ คณะเจ้าลิจฉวีและพระเจ้าพิมพิสารก็จัดการส่งและรับเสด็จเป็นมโหฬารสักการะอีก ในการเสด็จไปและกลับจากนครเวสาลีในครั้งนั้น โดยเฉพาะในตอนข้ามแม่น้ำคงคา ท่านพรรณนาว่า ในมีนรานรนิการอันใหญ่ยิ่งไพศาลมาถวายบูชาสักการะเป็นมหาสมาคม ภายหลังพวกภิกษุได้กล่าวปรารถกันถึงเรื่องนี้ สมเด็จพระบรมศาสดาทรงทราบ จึงตรัสว่า บูชาสักการะอันมโหฬารนั้น มิใช่เกิดเพราะอานุภาพของสิ่งอื่น แต่เกิดเพราะอานุภาพบุพพกรรมของพระองค์ คือเมื่อครั้งพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อว่าสังขะ ในเมืองตักกสิลาในอดีตกาล ได้ทรงชำระตกแต่งลานพระสถูปที่บรรจุอัฏฐิธาตุของพระสุสิมะปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นบุตร และผูกผ้าสาฎกยกขึ้นเป็นธงทั้งกั้นร่มเหนือพระสถูป ด้วยผลานิสงส์แห่งการที่พระองค์ทรงสละสุขนิดหน่อยในครั้งนั้น จึงมีผู้บูชาสักการะเป็นมโหฬารยิ่งในครั้งนี้” เมื่อทรงปรารภเหตุนี้ จึงตรัสถามพระคาถาดังที่ยกขึ้นเป็นบทนิกเขป ณ เบื้องต้นนั้นว่า

“มตฺตาสุขปริจฺจาคา    ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร    สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ”

แปลความว่า “ถ้าเห็นสุขไพบูลย์ เพราะสละสุขพอประมาณ ปราชญ์เมื่อเห็นสุขไพบูลย์ดีกว่า พึงสละสุขพอประมาณเสีย” ดังนี้

ความจริง ยอดปรารถนาของสัตว์ทุกหมู่เหล่าก็คือสุข สุขตามพระพุทธภาษิตนี้มี ๒ สถาน คือ มัตตาสุข สุขพอประมาณ ๑   วิปุลสุข สุขไพบูลย์ ๑   สุขอย่างน้อย สุขนิดเดียว หรือสุขบกพร่อง เป็นสุขพอประมาณ,   สุขอย่างมาก สุขยั่งยืน หรือสุขเต็มที่ เป็นสุขไพบูลย์   ในสุข ๒ อย่างนี้ สุขไพบูลย์ย่อมมดีกว่าสุขพอประมาณ เหตุฉะนี้ ถ้าจำต้องสละสุขพอประมาณ เพื่อแลกสุขไพบูลย์ ก็ควรสละสุขพอประมาณเสีย

    สุขที่จะพึงได้พึงถึงในปัจจุบัน เรียกว่า ทิฏฐธรรมสุข คือสุขในปัจจุบันทันเห็น ทิฏฐธรรมสุขนี้อาศัยสุขวัตถุ คือ ทรัพย์ ยศ ไมตรี ความผาสุกไม่มีโรค และความได้บำเพ็ญกรณียกิจ มีเลี้ยงมารดาบิดา บุตร ภรรยาให้เป็นสุขเป็นต้น   เกิดขึ้นเพราะประกอบธรรมที่เป็นเหตุ ๔ ประการ คือ

อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ประกอบการงานเครื่องเลี้ยงชีวิต เช่นการทำนา การค้าขาย การรักษาโคหรือเลี้ยงสัตว์ การรับราชการ หรือการช่างต่าง ๆ เป็นต้น ขยันไม่เกียจคร้าน รอบรู้อุบายวิธีดำเนินงาน สามารถจัดทำให้สำเร็จด้วยดี

อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษาโภคทรัพย์ที่ได้มาโดยธรรม ด้วยความขยันหมั่นเพียร มิให้เป็นอันตรายเพราะภัยต่าง ๆ

กัลยณมิตตตา มีเพื่อนเป็นคนดี ผู้จะชักนำไปในทางดี ไม่คบคนชั่ว ผู้จะชักนำไปในทางเสื่อมเสีย

สมชีวิตา คิดชั่งทางได้ทางเสียให้รอบคอบแล้ว ใช้จ่ายเลี้ยงชีวิตตามสมควร มิให้ฟูมฟายนัก มิให้เบียดกรอนัก และเว้นจากอบายมุข คือทางยิ้มแห่งโภคทรัพย์ เช่นเป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา เป็นนักเลงการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตรสหายเป็นเพื่อนคู่หู ประกอบด้วยอายมุข คือทางเจริญแห่งโภคทรัพย์อันตรงกันข้ามกับอบายมุข

นานาขอบคุณนานาเรียนนานารดน้ำนานาสวัสดีนานาชอบ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่