😇 วางแผนดีๆ หัวไม่ดีก็เทพได้ 😇
คุณเชื่อไหม? การที่นักศึกษาคนหนึ่งจะจบเร็วจบช้า เกรดจะงามไม่งาม ลำพังแค่มีความขยันตั้งอกตั้งใจ “สู้โว้ยค่ะ ศรีทนได้” ยังไม่พอนะครับ ถ้าไม่อยากเหนื่อยโฮก ต้องสู้อย่างมีชั้นเชิงด้วย
มีชั้นเชิงยังไงน่ะเหรอ? คือต้องลงทะเบียนให้เป็นครับ เริ่มกันจากขั้นนี้เลย สำคัญมาก เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง หาข้อมูลให้รอบด้านก่อนลงทะเบียน อย่าลงลวกๆสักแต่ว่าลงให้เต็มครับ พังกันมานักต่อนักแล้ว
🎓 12 บัญญัติพลิ้วไหวดั่งสายลม เกียรตินิยมจะหนีไปไหน (เทคนิคส่วนตัวนะครับ) 🎓
1. คละวิชาง่ายและวิชายากปนๆกันไปใน 1 เทอม
อย่าหักโหม สุมวิชายากมากองรวมกัน ในเทอมเดียวกันมากจนเกินไป
2. ถ้ามีพื้นฐานดี ให้ลงเรียนวิชาเอก/โทในเทอมปกติ แล้วค่อยมาลงเรียนวิชาพื้นฐานในภาคฤดูร้อน
หรือลงเรียนวิชาพื้นฐานแค่บางตัวเป็นตัวแซมในเทอมปกติ เพราะวิชาพื้นฐานจะมีเปิดทุกเทอม แต่วิชาเอก/วิชาโทบางวิชาไม่ได้เปิดให้ลงเรียนทุกเทอม มากกว่านั้นคือ วิชาเอก/โทส่วนใหญ่ มักมีเนื้อหาที่ยากกว่าวิชาพื้นฐาน จึงเหมาะที่จะลงเรียนในเทอมใหญ่ที่มีเวลาเตรียมตัวเยอะ ในขณะที่วิชาพื้นฐานส่วนใหญ่มักมีเนื้อหาที่ง่ายและอ่านเองได้ จึงเหมาะกับการเรียนใน ช่วงเวลาสั้นๆอย่างภาคซัมเมอร์มากกว่า
3. เน้นเก็บวิชาเอกเลือกบังคับและวิชาโทบังคับ ตั้งแต่เนิ่นๆ
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาวิชาเอกเลือกบังคับ/วิชาโทบังคับไม่เปิดสอนในบางเทอม
(เช่น ENG4203 วิชาเอกเลือกบังคับ ของเอกเลือกภาษาอังกฤษเฉพาะด้าน หรือ TOM2101 วิชาโทบังคับ ของวิชาโทสาขาการท่องเที่ยว 2 วิชานี้ ไม่ได้เปิดให้ลงทะเบียนในภาค S/58 ที่ผ่านมานี้)
หรือปัญหาตารางเรียน/ตารางสอบ ของวิชาบังคับต่างๆมาชนกันเองในเทอมท้ายๆ
ทั้งนี้ก็ต้องระวังด้วยว่า วิชาเลือกไม่บังคับบางตัวที่เราอยากลง
ก็อาจไม่ได้เปิดให้ลงเรียนทุกเทอมด้วยเช่นกัน
(เช่น ENG4603 ที่ปกติจะเปิดให้ลง เฉพาะในเทอม 2 เท่านั้น คือถ้าเราอยากลง ลงได้ก็รีบลง เพราะใครจะไปรู้ว่า ถ้ารอไปลงเทอมอื่น คุณอาจจะไม่มีโอกาสได้ลงแล้วก็ได้ เพราะตารางเรียน/ตารางสอบไปชนกับวิชาบังคับที่คุณต้องลงเข้าให้ ทำให้คุณต้องจำใจไปเลือกลงวิชาเลือกตัวอื่นแทน ซึ่งนอกจากคุณอาจจะไม่ชอบ ยังอ่านยากกว่าด้วย โอ้ววว ชีวิต !!!)
4. วิชาบังคับยากๆบางตัว ควรสะสมบารมีให้ถึงพร้อมแล้วค่อยสอบ
คือ ลองลงเรียนไปก่อนได้ ลองเข้าไปสอบก่อนได้ แต่ถ้าไม่แน่ใจหรือไม่ไหวให้ปล่อย F (ถ้าไม่อยากได้ D หรือ D+) แล้วค่อยซ่อม หรือลงใหม่เทอมใหม่เอา อย่างไรก็ดี ก็ไม่ควรปล่อยให้มันเลยเถิดมาจนถึงเทอมสุดท้าย เพราะคุณอาจจะเกิดอาการลุ้นหนักกระสับกระส่าย กลัวจะจบไม่จบ วิตกจริต เพราะถ้าเกิดสอบปลายภาคตก แล้วซ่อมไม่ผ่านนี่ อาจจะหมดโอกาสแก้ตัวรับปริญญาช้าไปอีกปีเลยทีเดียว วิชายากที่ว่าก็ เช่น ENG2402 ENG3401 หรือ ENG4401 เป็นต้น
5. เก็บวิชาเลือกเสรีไว้ลงเรียนในเทอมสุดท้าย ให้มากที่สุด (อาจรวมถึงวิชาพื้นฐานเลือกบางตัว)
เพราะเทอมขอจบเราอาจต้องลงอัด 18 หน่วยกิต (Summer) หรือ 30 หน่วยกิต (เทอม 1/เทอม 2) จะได้จัดตารางเรียน/ตารางสอบง่ายๆ ไม่ให้ชนกัน ไม่ต้องทำเรื่องขอสอบซ้ำซ้อน (ซึ่งต้องสอบอย่างน้อย 2 วิชา แต่มีเวลาเพิ่มมาให้แค่ชั่วโมงเดียว) และที่สำคัญไม่ต้องกดดัน ไม่ต้องลุ้นหนักว่าจะจบหรือไม่ เพราะวิชาเลือกเสรี เราจะเลือกลงวิชาที่ยากหรือง่ายขนาดไหนก็ได้
6. ถ้าเป็นไปได้ จัดวิชาลงเรียนให้ตารางสอบปลายภาคมีวันเว้นว่างไว้หายใจหายคอด้วย
อย่าให้ตารางสอบปลายภาคกระจุกตัวถี่เกินไป
แต่ถ้าทำไม่ได้ให้ลองพิจารณาลงวิชาที่มีการจัดสอบ e-testing มาเป็นตัวช่วย
e-testing คือ การจัดสอบวิชาบางวิชาผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ก่อนการสอบตามตารางสอบปกติของทางมหา'ลัย โดยส่วนใหญ่จะเป็นวิชาพื้นฐานที่ข้อสอบเป็นปรนัย ซึ่งมีวิชาไหนบ้างที่เราสามารถลงทะเบียนขอสอบ
e-testing ได้นั้น ให้ดูจากประกาศของสำนักทดสอบ ทางอิเล็กทรอนิกส์
โดยมีเงื่อนไข คือ ถ้าคุณเข้าสอบ e-testing แล้วคุณสอบตก คุณยังมีสิทธิ์ไปสอบตามตารางสอบปกติได้อีกครั้ง แต่ถ้าคุณสอบผ่าน คือได้เกรดไหนเกรดนั้นเลย ไม่สามารถเข้าสอบปลายภาคตามตารางสอบปกติได้อีก
มากไปกว่านั้น ถ้าคุณสามารถจัดตารางสอบซ่อมไม่ชนกันได้ด้วย ก็จะยอดเยี่ยมมาก ก.ไก่ ล้านตัว เพราะถ้าตารางสอบซ่อมไม่ชนกันเลย ก็จะง่ายเวลาเราจะเทครับ แบบอ่านไม่ไหว อ่านไม่ทัน จะเทวิชาไหน ก็จะได้ไม่ต้องคิดเยอะ
แต่ถ้าเรามีวิชาที่ตารางสอบซ่อมชนกัน เวลาจะเทก็ต้องระวังดูนิดนึงครับ อย่าเทให้มันซ่อมชนกัน ชนกันกี่วิชาไม่รู้ รู้แต่ถ้ามันชนกัน เราก็เทได้แค่ตัวเดียว ตัวที่เหลือต้องสอบให้ผ่าน ไม่งั้นก็เสียตังค์เปล่า
(ถ้าใครมาบอกว่าตารางสอบซ่อมยังไม่ออก เขามั่วครับ ตารางสอบซ่อมของแต่ละเทอมก็จะออกมาไล่ๆกันกับตารางสอบปกตินั่นแหละครับ ซึ่งออกก่อนวันลงทะเบียนแน่นอน)
7. ถ้าเป็นไปได้ อย่างน้อยควรหาเวลาไปเข้าเรียนคาบแรก และคาบสุดท้ายของแต่ละวิชา 
เพื่อที่เราจะได้รู้แนวการอ่านและแนวข้อสอบ และยังสามารถสอบถามข้อสงสัยต่างๆได้ด้วย (อย่าไว้ใจเทปวีดีโอคำบรรยายย้อนหลังมากเกินไป มันเจ๊งกันได้ครับ - ไฟอาจดับ เครื่องมือขัดข้อง หรือมีการย้ายห้องเรียน)
😴 ส่วนตัวผมวิชาไหนที่ผมคิดว่าผมอ่านเองได้แน่ๆ ผมก็ไม่เข้าเรียนเลยนะ เข้าเฉพาะวิชาที่จำเป็นต้องเข้าจริงๆ เพราะผมทำงานกลางคืน เอาเวลาเข้าเรียนวิชาที่อ่านเองได้มาพักผ่อนดีกว่า
📮 ถ้าไม่มีเวลาเข้าเรียนเลย และอ่านเองก็ไม่เข้าใจ ก็ควรติดต่อขอเข้าพบอาจารย์ประจำวิชาเพื่อขอคำปรึกษา
📱 ถ้าไม่สะดวกจริงๆ ก็ต้องรู้จักใช้อินเตอร์เน็ตและโซเชียล มีเดีย ให้เกิดประโยชน์ครับ เช่น
- ค้นหาข้อมูลรายวิชาจาก search engine (เช่น google)
- สอบถามหรือติดตามอัพเดท ข้อมูลข่าวสารจาก เฟซกลุ่มของเพื่อนนักศึกษา หรือจากเว็บไซด์และเพจต่างๆของทางคณะและมหาวิทยาลัย
- สร้างคอนเน็คชั่นกับเพื่อนๆ ที่เข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอไว้ด้วยจะดีมาก
แต่ไม่ควรเอาเปรียบเพื่อน หวังพึ่งแต่เพื่อนอย่างเดียวนะครับ
เราต้องขวนขวายเองด้วย เพราะถ้าเพื่อนเขารู้สึกว่าเขาถูกเอาเปรียบ และรู้สึกว่าเราไม่ช่วยเหลือตัวเองเลย คอยแต่จะขอ และรอรับชิลๆอย่างเดียว เขาก็จะไม่อยากช่วยเราอีกต่อไป ซึ่งอันตรายมากนะครับ!!! ❌❌❌
8. (ข้อนี้เฉพาะคนเน้นปั้นเกรด) 💯 เมื่อเลือกวิชาลงเรียนได้แล้ว ให้ตั้งเป้าล่วงหน้าไว้เลย
ว่าคาดหวังเกรดอะไรจากแต่ละๆวิชาบ้าง และคาดหวังเกรดเฉลี่ยรวมในเทอมนั้นไว้เท่าไหร่
โดยให้คำนึงถึงศักยภาพและข้อจำกัดของตัวเราเอง + ความสำคัญและความรู้ของแต่ละวิชา ที่เราจะได้ใช้ในอนาคตประกอบด้วย แล้วจัดสรรความทุ่มเท & บริหารความใส่ใจให้สอดคล้องกับเป้าหมายนั้น
💜 บางครั้ง เกรดเฉลี่ยรวมก็ไม่ได้สำคัญที่สุดเสมอไป
บางที เราควรต้องใส่ใจกับวิชาที่เราจะได้ใช้ ประโยชน์จริงๆในอนาคตมากกว่า ถึงแม้ว่าเราอาจจะต้องแลกกับการยอมให้เกรดของบางวิชาที่สำคัญน้อยกว่าตกลงไปบ้างก็ตาม 💜
9. เห็นท่าไม่ดี ให้รีบเทแต่เนิ่นๆ
ผมนี่บางทีวิชายากมันเยอะ ผมเทมันตั้งแต่กลางเทอมเลย คืออาจจะยังเข้าเรียนอยู่ แต่ไปจดเลคเชอร์ไว้อ่านตอนสอบซ่อมอย่างเดียว กลับห้องมาคือไม่ทบทวนวิชาที่จะเทละ เอาเวลาไปทบทวนตัวที่จะสอบเลยในเทอมปกติดีกว่า หรืออาจจะไม่เข้าเรียนวิชาที่ตั้งใจจะเทอีกเลยก็ได้ ถ้าประเมินดูแล้วว่าอ่านเองตอนซ่อมไหว คิดจะเทใจต้องนิ่ง ตัดสินใจให้เด็ดขาด คือจะไม่มาอ่านเตรียมสอบวิชานั้นแล้ว ไม่งั้นมันจะไปดึงเวลาจากวิชาที่เราควรจะทุ่มจริงๆ
และอาจจะพากันพังทั้งคู่
แต่เทเท่าที่จำเป็นนะครับ ประเมินให้รอบคอบ ไม่ใช่ปล่อยให้ไปอัดกันตอนสอบซ่อมมากเกินไป เพราะตอนสอบซ่อมเป็นช่วงกลางเทอมที่เราต้องเรียนวิชาใหม่อยู่ด้วย และตารางสอบซ่อมจะถี่กว่าตารางสอบปกติมากกก
เมื่อคุณต้องเท คุณต้องชั่งใจเลือกระหว่าง
9.1 เทวิชาง่าย สอบวิชายากก่อน
ถ้าคุณมั่นใจดีแล้วว่าอาคมคุณแกร่งกล้าพอแล้ว น่าจะเอาอยู่ หรือวิชายากวิชานั้นคุณเข้าเรียน และมีคะแนนเก็บในห้องที่จะช่วยคุณได้มาก
(คะแนนเก็บจะมีให้เฉพาะนักศึกษาที่สอบปลายภาคผ่านเท่านั้น ถ้าคุณสอบปลายภาคตก แล้วต้องลงซ่อม คะแนนเก็บส่วนนี้จะถือเป็นโมฆะ เช่น
วิชา ENS3201 ข้อสอบมี 5 พาร์ท คนที่ไม่มีคะแนนเก็บต้องทำข้อสอบทั้ง 5 พาร์ท แต่คนที่มีคะแนนเก็บ อาจารย์ให้ทำแค่ 4 พาร์ทพอ ซึ่งจะได้เปรียบมากที่ได้เวลาสอบเท่ากัน แต่ทำข้อสอบน้อยข้อกว่า)
และถ้าโชคร้ายคุณสอบวิชายากนี้ตก หรือลองสอบดูแล้ว ท่าจะไม่ดี เทเพิ่มไปอีกตัว ตอนสอบซ่อมก็ยังถือว่าไม่หนักมาก เพราะคุณได้เคยเตรียมตัวสอบวิชานี้มาก่อนแล้วรอบนึง และได้เทวิชาง่ายรอไว้แล้วนั่นเอง
9.2 เทวิชายาก เก็บวิชาง่ายก่อน
วิธีนี้ควรใช้ก็ต่อเมื่อ คุณคิดว่าคุณอ่านวิชายากตัวนี้ ไม่ทันสอบปลายภาคแน่ๆ หรือต่อให้ทัน ผลก็อาจออกมาเละอยู่ดี จึงขอปั้นเกรดจากวิชาง่ายๆไว้เป็น ขวัญกำลังใจก่อน แต่เมื่อลงทุนทิ้งวิชายากแล้ว ตัวที่เหลือที่คุณจะเข้าสอบปลายภาค ก็ควรจะเก็บให้อยู่ อย่าปล่อยให้ตกไปเป็นภาระเพิ่ม ในตอนสอบซ่อมอีก เพราะตอนนั้นคุณต้องเตรียมซ่อมวิชายากอยู่แล้ว
10. ปล่อยให้ตกได้ F ดีกว่าสอบผ่านแล้วได้แค่ D/D+
เพราะถ้าได้ F เราไปสอบแก้ตัวภาคซ่อมได้ทันที ซ่อมได้เกรดไหนก็ได้เกรดนั้น (F ที่ได้ก่อนไม่มีตัวตน ไม่เอามาคิดเกรด) แต่ถ้าได้ D/D+ แล้วไม่พอใจ นู้นเลยครับ ต้องรอรีเกรดภาคใหม่ ลงทะเบียนใหม่ นานนนไปอีก (รีเกรด ไม่มีสิทธิ์ได้เกียรตินิยม)
11. ปล่อยตกบ้าง ไม่เป็นไร ไม่ต้องกลัวจะไม่จบ 2 ปี ครึ่ง
หลักสูตรคณะมนุษยศาสตร์ ถ้าลงถูกต้อง ลงครบ 144 หน่วยกิต ก็จบได้ ซึ่งเราสามารถลงทะเบียนเรียน
- เทอม 1 / เทอม 2 ได้ 24 นก. (ขอจบลงได้ 30 นก.)
- เทอมซัมเมอร์ ได้ 12 นก. (ขอจบลงได้ 18 นก.)
นั่นหมายถึง ถ้าเราเขาเรียนภาคแรกในภาคเรียนที่ 1 และลงทะเบียนเรียนเต็มที่ในทุกๆเทอม เราจะเก็บหน่วยกิตได้ครบภายในเวลา 2 ปี กับอีก 1 เทอม ดังนี้
24 + 24 + 12 + 24 + 24 +12 + 30 = 150 หน่วยกิต
ซึ่งจะเห็นว่า คุณเก็บหน่วยกิตเกินจาก 144 นก. มา 6 หน่วยกิต
อีกนัยหนึ่งก็คือ คุณสามารถสอบซ่อมตกได้ประมาณ 2-3 ครั้ง (แล้วแต่ว่าวิชาที่ตกนั้นมีน้ำหนักกี่หน่วยกิต) โดยยังคงเรียนจบภายในระยะเวลา 2 ปี ครึ่ง เหมือนเดิมนั่นเอง
12. เอกอังกฤษเอา 4 ตัวนี้ให้แน่น ENG1001 ENG1002 ENG2101 และ ENG2401 
แล้วชีวิตของคุณหลังจากนี้จะง่ายขึ้น ไม่ว่าคุณจะเลือกเรียนเอกเลือกอะไร หรือวิชาไหนๆในสาขาอิ๊ง คุณเอาอยู่ แน่นอน!!!
ท้ายสุด สุดท้าย ขอให้ความมานะพยายามจงสร้างผลสำเร็จที่งดงามให้เกิดกับเพื่อนๆทุกคนนะครับผม
ที่มา: www.facebook.com/edmunmo

📝 📰 📓 📒 📚
ลงทะเบียนเรียน รามคำแหง ให้เกรดดี จบเร็ว
คุณเชื่อไหม? การที่นักศึกษาคนหนึ่งจะจบเร็วจบช้า เกรดจะงามไม่งาม ลำพังแค่มีความขยันตั้งอกตั้งใจ “สู้โว้ยค่ะ ศรีทนได้” ยังไม่พอนะครับ ถ้าไม่อยากเหนื่อยโฮก ต้องสู้อย่างมีชั้นเชิงด้วย
มีชั้นเชิงยังไงน่ะเหรอ? คือต้องลงทะเบียนให้เป็นครับ เริ่มกันจากขั้นนี้เลย สำคัญมาก เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง หาข้อมูลให้รอบด้านก่อนลงทะเบียน อย่าลงลวกๆสักแต่ว่าลงให้เต็มครับ พังกันมานักต่อนักแล้ว
1. คละวิชาง่ายและวิชายากปนๆกันไปใน 1 เทอม
อย่าหักโหม สุมวิชายากมากองรวมกัน ในเทอมเดียวกันมากจนเกินไป
2. ถ้ามีพื้นฐานดี ให้ลงเรียนวิชาเอก/โทในเทอมปกติ แล้วค่อยมาลงเรียนวิชาพื้นฐานในภาคฤดูร้อน
หรือลงเรียนวิชาพื้นฐานแค่บางตัวเป็นตัวแซมในเทอมปกติ เพราะวิชาพื้นฐานจะมีเปิดทุกเทอม แต่วิชาเอก/วิชาโทบางวิชาไม่ได้เปิดให้ลงเรียนทุกเทอม มากกว่านั้นคือ วิชาเอก/โทส่วนใหญ่ มักมีเนื้อหาที่ยากกว่าวิชาพื้นฐาน จึงเหมาะที่จะลงเรียนในเทอมใหญ่ที่มีเวลาเตรียมตัวเยอะ ในขณะที่วิชาพื้นฐานส่วนใหญ่มักมีเนื้อหาที่ง่ายและอ่านเองได้ จึงเหมาะกับการเรียนใน ช่วงเวลาสั้นๆอย่างภาคซัมเมอร์มากกว่า
3. เน้นเก็บวิชาเอกเลือกบังคับและวิชาโทบังคับ ตั้งแต่เนิ่นๆ
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาวิชาเอกเลือกบังคับ/วิชาโทบังคับไม่เปิดสอนในบางเทอม
(เช่น ENG4203 วิชาเอกเลือกบังคับ ของเอกเลือกภาษาอังกฤษเฉพาะด้าน หรือ TOM2101 วิชาโทบังคับ ของวิชาโทสาขาการท่องเที่ยว 2 วิชานี้ ไม่ได้เปิดให้ลงทะเบียนในภาค S/58 ที่ผ่านมานี้)
หรือปัญหาตารางเรียน/ตารางสอบ ของวิชาบังคับต่างๆมาชนกันเองในเทอมท้ายๆ
ทั้งนี้ก็ต้องระวังด้วยว่า วิชาเลือกไม่บังคับบางตัวที่เราอยากลง
ก็อาจไม่ได้เปิดให้ลงเรียนทุกเทอมด้วยเช่นกัน
(เช่น ENG4603 ที่ปกติจะเปิดให้ลง เฉพาะในเทอม 2 เท่านั้น คือถ้าเราอยากลง ลงได้ก็รีบลง เพราะใครจะไปรู้ว่า ถ้ารอไปลงเทอมอื่น คุณอาจจะไม่มีโอกาสได้ลงแล้วก็ได้ เพราะตารางเรียน/ตารางสอบไปชนกับวิชาบังคับที่คุณต้องลงเข้าให้ ทำให้คุณต้องจำใจไปเลือกลงวิชาเลือกตัวอื่นแทน ซึ่งนอกจากคุณอาจจะไม่ชอบ ยังอ่านยากกว่าด้วย โอ้ววว ชีวิต !!!)
4. วิชาบังคับยากๆบางตัว ควรสะสมบารมีให้ถึงพร้อมแล้วค่อยสอบ
คือ ลองลงเรียนไปก่อนได้ ลองเข้าไปสอบก่อนได้ แต่ถ้าไม่แน่ใจหรือไม่ไหวให้ปล่อย F (ถ้าไม่อยากได้ D หรือ D+) แล้วค่อยซ่อม หรือลงใหม่เทอมใหม่เอา อย่างไรก็ดี ก็ไม่ควรปล่อยให้มันเลยเถิดมาจนถึงเทอมสุดท้าย เพราะคุณอาจจะเกิดอาการลุ้นหนักกระสับกระส่าย กลัวจะจบไม่จบ วิตกจริต เพราะถ้าเกิดสอบปลายภาคตก แล้วซ่อมไม่ผ่านนี่ อาจจะหมดโอกาสแก้ตัวรับปริญญาช้าไปอีกปีเลยทีเดียว วิชายากที่ว่าก็ เช่น ENG2402 ENG3401 หรือ ENG4401 เป็นต้น
5. เก็บวิชาเลือกเสรีไว้ลงเรียนในเทอมสุดท้าย ให้มากที่สุด (อาจรวมถึงวิชาพื้นฐานเลือกบางตัว)
เพราะเทอมขอจบเราอาจต้องลงอัด 18 หน่วยกิต (Summer) หรือ 30 หน่วยกิต (เทอม 1/เทอม 2) จะได้จัดตารางเรียน/ตารางสอบง่ายๆ ไม่ให้ชนกัน ไม่ต้องทำเรื่องขอสอบซ้ำซ้อน (ซึ่งต้องสอบอย่างน้อย 2 วิชา แต่มีเวลาเพิ่มมาให้แค่ชั่วโมงเดียว) และที่สำคัญไม่ต้องกดดัน ไม่ต้องลุ้นหนักว่าจะจบหรือไม่ เพราะวิชาเลือกเสรี เราจะเลือกลงวิชาที่ยากหรือง่ายขนาดไหนก็ได้
6. ถ้าเป็นไปได้ จัดวิชาลงเรียนให้ตารางสอบปลายภาคมีวันเว้นว่างไว้หายใจหายคอด้วย
อย่าให้ตารางสอบปลายภาคกระจุกตัวถี่เกินไป
แต่ถ้าทำไม่ได้ให้ลองพิจารณาลงวิชาที่มีการจัดสอบ e-testing มาเป็นตัวช่วย
e-testing คือ การจัดสอบวิชาบางวิชาผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ก่อนการสอบตามตารางสอบปกติของทางมหา'ลัย โดยส่วนใหญ่จะเป็นวิชาพื้นฐานที่ข้อสอบเป็นปรนัย ซึ่งมีวิชาไหนบ้างที่เราสามารถลงทะเบียนขอสอบ
e-testing ได้นั้น ให้ดูจากประกาศของสำนักทดสอบ ทางอิเล็กทรอนิกส์
โดยมีเงื่อนไข คือ ถ้าคุณเข้าสอบ e-testing แล้วคุณสอบตก คุณยังมีสิทธิ์ไปสอบตามตารางสอบปกติได้อีกครั้ง แต่ถ้าคุณสอบผ่าน คือได้เกรดไหนเกรดนั้นเลย ไม่สามารถเข้าสอบปลายภาคตามตารางสอบปกติได้อีก
มากไปกว่านั้น ถ้าคุณสามารถจัดตารางสอบซ่อมไม่ชนกันได้ด้วย ก็จะยอดเยี่ยมมาก ก.ไก่ ล้านตัว เพราะถ้าตารางสอบซ่อมไม่ชนกันเลย ก็จะง่ายเวลาเราจะเทครับ แบบอ่านไม่ไหว อ่านไม่ทัน จะเทวิชาไหน ก็จะได้ไม่ต้องคิดเยอะ
แต่ถ้าเรามีวิชาที่ตารางสอบซ่อมชนกัน เวลาจะเทก็ต้องระวังดูนิดนึงครับ อย่าเทให้มันซ่อมชนกัน ชนกันกี่วิชาไม่รู้ รู้แต่ถ้ามันชนกัน เราก็เทได้แค่ตัวเดียว ตัวที่เหลือต้องสอบให้ผ่าน ไม่งั้นก็เสียตังค์เปล่า
(ถ้าใครมาบอกว่าตารางสอบซ่อมยังไม่ออก เขามั่วครับ ตารางสอบซ่อมของแต่ละเทอมก็จะออกมาไล่ๆกันกับตารางสอบปกตินั่นแหละครับ ซึ่งออกก่อนวันลงทะเบียนแน่นอน)
7. ถ้าเป็นไปได้ อย่างน้อยควรหาเวลาไปเข้าเรียนคาบแรก และคาบสุดท้ายของแต่ละวิชา
เพื่อที่เราจะได้รู้แนวการอ่านและแนวข้อสอบ และยังสามารถสอบถามข้อสงสัยต่างๆได้ด้วย (อย่าไว้ใจเทปวีดีโอคำบรรยายย้อนหลังมากเกินไป มันเจ๊งกันได้ครับ - ไฟอาจดับ เครื่องมือขัดข้อง หรือมีการย้ายห้องเรียน)
😴 ส่วนตัวผมวิชาไหนที่ผมคิดว่าผมอ่านเองได้แน่ๆ ผมก็ไม่เข้าเรียนเลยนะ เข้าเฉพาะวิชาที่จำเป็นต้องเข้าจริงๆ เพราะผมทำงานกลางคืน เอาเวลาเข้าเรียนวิชาที่อ่านเองได้มาพักผ่อนดีกว่า
📮 ถ้าไม่มีเวลาเข้าเรียนเลย และอ่านเองก็ไม่เข้าใจ ก็ควรติดต่อขอเข้าพบอาจารย์ประจำวิชาเพื่อขอคำปรึกษา
📱 ถ้าไม่สะดวกจริงๆ ก็ต้องรู้จักใช้อินเตอร์เน็ตและโซเชียล มีเดีย ให้เกิดประโยชน์ครับ เช่น
- ค้นหาข้อมูลรายวิชาจาก search engine (เช่น google)
- สอบถามหรือติดตามอัพเดท ข้อมูลข่าวสารจาก เฟซกลุ่มของเพื่อนนักศึกษา หรือจากเว็บไซด์และเพจต่างๆของทางคณะและมหาวิทยาลัย
- สร้างคอนเน็คชั่นกับเพื่อนๆ ที่เข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอไว้ด้วยจะดีมาก
แต่ไม่ควรเอาเปรียบเพื่อน หวังพึ่งแต่เพื่อนอย่างเดียวนะครับ
เราต้องขวนขวายเองด้วย เพราะถ้าเพื่อนเขารู้สึกว่าเขาถูกเอาเปรียบ และรู้สึกว่าเราไม่ช่วยเหลือตัวเองเลย คอยแต่จะขอ และรอรับชิลๆอย่างเดียว เขาก็จะไม่อยากช่วยเราอีกต่อไป ซึ่งอันตรายมากนะครับ!!! ❌❌❌
8. (ข้อนี้เฉพาะคนเน้นปั้นเกรด) 💯 เมื่อเลือกวิชาลงเรียนได้แล้ว ให้ตั้งเป้าล่วงหน้าไว้เลย
ว่าคาดหวังเกรดอะไรจากแต่ละๆวิชาบ้าง และคาดหวังเกรดเฉลี่ยรวมในเทอมนั้นไว้เท่าไหร่
โดยให้คำนึงถึงศักยภาพและข้อจำกัดของตัวเราเอง + ความสำคัญและความรู้ของแต่ละวิชา ที่เราจะได้ใช้ในอนาคตประกอบด้วย แล้วจัดสรรความทุ่มเท & บริหารความใส่ใจให้สอดคล้องกับเป้าหมายนั้น
💜 บางครั้ง เกรดเฉลี่ยรวมก็ไม่ได้สำคัญที่สุดเสมอไป
บางที เราควรต้องใส่ใจกับวิชาที่เราจะได้ใช้ ประโยชน์จริงๆในอนาคตมากกว่า ถึงแม้ว่าเราอาจจะต้องแลกกับการยอมให้เกรดของบางวิชาที่สำคัญน้อยกว่าตกลงไปบ้างก็ตาม 💜
9. เห็นท่าไม่ดี ให้รีบเทแต่เนิ่นๆ
ผมนี่บางทีวิชายากมันเยอะ ผมเทมันตั้งแต่กลางเทอมเลย คืออาจจะยังเข้าเรียนอยู่ แต่ไปจดเลคเชอร์ไว้อ่านตอนสอบซ่อมอย่างเดียว กลับห้องมาคือไม่ทบทวนวิชาที่จะเทละ เอาเวลาไปทบทวนตัวที่จะสอบเลยในเทอมปกติดีกว่า หรืออาจจะไม่เข้าเรียนวิชาที่ตั้งใจจะเทอีกเลยก็ได้ ถ้าประเมินดูแล้วว่าอ่านเองตอนซ่อมไหว คิดจะเทใจต้องนิ่ง ตัดสินใจให้เด็ดขาด คือจะไม่มาอ่านเตรียมสอบวิชานั้นแล้ว ไม่งั้นมันจะไปดึงเวลาจากวิชาที่เราควรจะทุ่มจริงๆ
และอาจจะพากันพังทั้งคู่
แต่เทเท่าที่จำเป็นนะครับ ประเมินให้รอบคอบ ไม่ใช่ปล่อยให้ไปอัดกันตอนสอบซ่อมมากเกินไป เพราะตอนสอบซ่อมเป็นช่วงกลางเทอมที่เราต้องเรียนวิชาใหม่อยู่ด้วย และตารางสอบซ่อมจะถี่กว่าตารางสอบปกติมากกก
เมื่อคุณต้องเท คุณต้องชั่งใจเลือกระหว่าง
9.1 เทวิชาง่าย สอบวิชายากก่อน
ถ้าคุณมั่นใจดีแล้วว่าอาคมคุณแกร่งกล้าพอแล้ว น่าจะเอาอยู่ หรือวิชายากวิชานั้นคุณเข้าเรียน และมีคะแนนเก็บในห้องที่จะช่วยคุณได้มาก
(คะแนนเก็บจะมีให้เฉพาะนักศึกษาที่สอบปลายภาคผ่านเท่านั้น ถ้าคุณสอบปลายภาคตก แล้วต้องลงซ่อม คะแนนเก็บส่วนนี้จะถือเป็นโมฆะ เช่น
วิชา ENS3201 ข้อสอบมี 5 พาร์ท คนที่ไม่มีคะแนนเก็บต้องทำข้อสอบทั้ง 5 พาร์ท แต่คนที่มีคะแนนเก็บ อาจารย์ให้ทำแค่ 4 พาร์ทพอ ซึ่งจะได้เปรียบมากที่ได้เวลาสอบเท่ากัน แต่ทำข้อสอบน้อยข้อกว่า)
และถ้าโชคร้ายคุณสอบวิชายากนี้ตก หรือลองสอบดูแล้ว ท่าจะไม่ดี เทเพิ่มไปอีกตัว ตอนสอบซ่อมก็ยังถือว่าไม่หนักมาก เพราะคุณได้เคยเตรียมตัวสอบวิชานี้มาก่อนแล้วรอบนึง และได้เทวิชาง่ายรอไว้แล้วนั่นเอง
9.2 เทวิชายาก เก็บวิชาง่ายก่อน
วิธีนี้ควรใช้ก็ต่อเมื่อ คุณคิดว่าคุณอ่านวิชายากตัวนี้ ไม่ทันสอบปลายภาคแน่ๆ หรือต่อให้ทัน ผลก็อาจออกมาเละอยู่ดี จึงขอปั้นเกรดจากวิชาง่ายๆไว้เป็น ขวัญกำลังใจก่อน แต่เมื่อลงทุนทิ้งวิชายากแล้ว ตัวที่เหลือที่คุณจะเข้าสอบปลายภาค ก็ควรจะเก็บให้อยู่ อย่าปล่อยให้ตกไปเป็นภาระเพิ่ม ในตอนสอบซ่อมอีก เพราะตอนนั้นคุณต้องเตรียมซ่อมวิชายากอยู่แล้ว
10. ปล่อยให้ตกได้ F ดีกว่าสอบผ่านแล้วได้แค่ D/D+
เพราะถ้าได้ F เราไปสอบแก้ตัวภาคซ่อมได้ทันที ซ่อมได้เกรดไหนก็ได้เกรดนั้น (F ที่ได้ก่อนไม่มีตัวตน ไม่เอามาคิดเกรด) แต่ถ้าได้ D/D+ แล้วไม่พอใจ นู้นเลยครับ ต้องรอรีเกรดภาคใหม่ ลงทะเบียนใหม่ นานนนไปอีก (รีเกรด ไม่มีสิทธิ์ได้เกียรตินิยม)
11. ปล่อยตกบ้าง ไม่เป็นไร ไม่ต้องกลัวจะไม่จบ 2 ปี ครึ่ง
หลักสูตรคณะมนุษยศาสตร์ ถ้าลงถูกต้อง ลงครบ 144 หน่วยกิต ก็จบได้ ซึ่งเราสามารถลงทะเบียนเรียน
- เทอม 1 / เทอม 2 ได้ 24 นก. (ขอจบลงได้ 30 นก.)
- เทอมซัมเมอร์ ได้ 12 นก. (ขอจบลงได้ 18 นก.)
นั่นหมายถึง ถ้าเราเขาเรียนภาคแรกในภาคเรียนที่ 1 และลงทะเบียนเรียนเต็มที่ในทุกๆเทอม เราจะเก็บหน่วยกิตได้ครบภายในเวลา 2 ปี กับอีก 1 เทอม ดังนี้
24 + 24 + 12 + 24 + 24 +12 + 30 = 150 หน่วยกิต
ซึ่งจะเห็นว่า คุณเก็บหน่วยกิตเกินจาก 144 นก. มา 6 หน่วยกิต
อีกนัยหนึ่งก็คือ คุณสามารถสอบซ่อมตกได้ประมาณ 2-3 ครั้ง (แล้วแต่ว่าวิชาที่ตกนั้นมีน้ำหนักกี่หน่วยกิต) โดยยังคงเรียนจบภายในระยะเวลา 2 ปี ครึ่ง เหมือนเดิมนั่นเอง
12. เอกอังกฤษเอา 4 ตัวนี้ให้แน่น ENG1001 ENG1002 ENG2101 และ ENG2401
แล้วชีวิตของคุณหลังจากนี้จะง่ายขึ้น ไม่ว่าคุณจะเลือกเรียนเอกเลือกอะไร หรือวิชาไหนๆในสาขาอิ๊ง คุณเอาอยู่ แน่นอน!!!
ท้ายสุด สุดท้าย ขอให้ความมานะพยายามจงสร้างผลสำเร็จที่งดงามให้เกิดกับเพื่อนๆทุกคนนะครับผม
ที่มา: www.facebook.com/edmunmo
📝 📰 📓 📒 📚