สำหรับจขกท. แล้ว มีเคล็ดวิธีดังนี้ค่ะ เห็นด้วยหรือเห็นต่างยังไงมาแชร์กันได้นะคะ
1. ขายความคลาสสิก
สมมุติว่า ถ้าอยากกินก๋วยจั๊บที่มีสองร้านตั้งติดกัน โดยร้านหนึ่งมีคำโปรยต่อท้ายชื่อร้านว่า ต้นตำรับ 40 ปี แต่อีกร้านหนึ่งกลับไม่มีคำโปรยอะไรเลยนอกจากชื่อร้าน คุณจะเลือกกินก๋วยจั๊บร้านไหน รสนิยมของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน แต่ความเก๋าของร้านย่อมมีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าด้วย ดังนั้นชื่อร้านควรมีคำว่า เจ้าเก่า, ต้นตำรับ, ของดีจากเมือง... เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อของร้านเรานั่นเอง
2. ถ้าขายของกินต้องมีรูปแบบ (Packaging) ที่ทานง่ายและไม่เลอะมือ
ข้อนี้มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเหมือนกันนะ เพราะคนที่มาเดินตลาดนัดเขาก็อยากกินมากกว่า 1 อย่างแน่นอน และพวกเขามักจะเดินไปกินไปเสียส่วนมาก พ่อค้าแม่ขายอย่างเราควรจะทำรูปแบบของกินที่ตอบโจทย์พฤติกรรมตรงนี้ได้ด้วย เช่น ขายไอศกรีมแท่งก็ควรจะมีกรวยกระดาษหรือใบตองรองแท่งไม้เพื่อไม่ให้ไอศกรีมหกเลอะมือ หรือถ้าขายขนมก็ควรจะใส่ถ้วยขนาดที่พอดีกับมือ เป็นต้น
3. พ่อค้าแม่ขายต้องโชว์ตอนประกอบอาหารให้ลูกค้าเห็นกันสดๆ ไปเลย
เพราะต่อให้ชื่อร้านบอกว่าเป็นเจ้าเก่าต้นตำรับ 30 ปี แต่ไม่มีการโชว์ตอนประกอบอาหารให้ลูกค้าเห็น ลูกค้าอาจระแวงสงสัยว่า ของกินที่เขาทำมาให้คุณเป็นของค้างคืนหรือของใกล้เสียหรือเปล่า ก็จะทำให้ความน่าเชื่อถือที่มีต่อร้านของคุณลดลงด้วยนะ
4. อย่าตั้งราคาแพงมาก
เพราะคนเดินตลาดนัดส่วนใหญ่ไมได้มีกำลังซื้อระดับ CEO บวกกับสภาวะเศรษฐกิจของบ้านเราในตอนนี้ที่มีแต่คนลดการใช้จ่ายลง ดังนั้นคนซื้อกับคนขายควรจะเจอกันครึ่งทางจะดีที่สุดค่ะ
5. ตกแต่งร้านให้ดูดีมีสไตล์เป็นของตัวเอง
เพื่อสร้างภาพให้คนที่เดินผ่านไปมาให้จดจำลักษณะของร้านเราได้ง่ายขึ้น รวมทั้งออกแบบทางเดินเข้า-ออกให้ลูกค้าเดินได้สะดวกขึ้นด้วย อันนี้แนะนำให้ดู Food Truck หรือสไตล์ร้านที่ขายตามตลาดนัดดังๆ อย่างจตุจักรหรือตลาดรถไฟเป็นต้นแบบ (แต่ไม่ใช่ไปเลียนแบบเขานะ) อันนี้ไม่ว่าคุณจะขายอะไรสามารถนำไปปรับใช้ได้นะคะ
มีเคล็ดลับดีๆ ที่ขายของในตลาดนัดแล้วรุ่งบ้าง มาแชร์กันหน่อยค่ะ ???
1. ขายความคลาสสิก
สมมุติว่า ถ้าอยากกินก๋วยจั๊บที่มีสองร้านตั้งติดกัน โดยร้านหนึ่งมีคำโปรยต่อท้ายชื่อร้านว่า ต้นตำรับ 40 ปี แต่อีกร้านหนึ่งกลับไม่มีคำโปรยอะไรเลยนอกจากชื่อร้าน คุณจะเลือกกินก๋วยจั๊บร้านไหน รสนิยมของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน แต่ความเก๋าของร้านย่อมมีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าด้วย ดังนั้นชื่อร้านควรมีคำว่า เจ้าเก่า, ต้นตำรับ, ของดีจากเมือง... เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อของร้านเรานั่นเอง
2. ถ้าขายของกินต้องมีรูปแบบ (Packaging) ที่ทานง่ายและไม่เลอะมือ
ข้อนี้มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเหมือนกันนะ เพราะคนที่มาเดินตลาดนัดเขาก็อยากกินมากกว่า 1 อย่างแน่นอน และพวกเขามักจะเดินไปกินไปเสียส่วนมาก พ่อค้าแม่ขายอย่างเราควรจะทำรูปแบบของกินที่ตอบโจทย์พฤติกรรมตรงนี้ได้ด้วย เช่น ขายไอศกรีมแท่งก็ควรจะมีกรวยกระดาษหรือใบตองรองแท่งไม้เพื่อไม่ให้ไอศกรีมหกเลอะมือ หรือถ้าขายขนมก็ควรจะใส่ถ้วยขนาดที่พอดีกับมือ เป็นต้น
3. พ่อค้าแม่ขายต้องโชว์ตอนประกอบอาหารให้ลูกค้าเห็นกันสดๆ ไปเลย
เพราะต่อให้ชื่อร้านบอกว่าเป็นเจ้าเก่าต้นตำรับ 30 ปี แต่ไม่มีการโชว์ตอนประกอบอาหารให้ลูกค้าเห็น ลูกค้าอาจระแวงสงสัยว่า ของกินที่เขาทำมาให้คุณเป็นของค้างคืนหรือของใกล้เสียหรือเปล่า ก็จะทำให้ความน่าเชื่อถือที่มีต่อร้านของคุณลดลงด้วยนะ
4. อย่าตั้งราคาแพงมาก
เพราะคนเดินตลาดนัดส่วนใหญ่ไมได้มีกำลังซื้อระดับ CEO บวกกับสภาวะเศรษฐกิจของบ้านเราในตอนนี้ที่มีแต่คนลดการใช้จ่ายลง ดังนั้นคนซื้อกับคนขายควรจะเจอกันครึ่งทางจะดีที่สุดค่ะ
5. ตกแต่งร้านให้ดูดีมีสไตล์เป็นของตัวเอง
เพื่อสร้างภาพให้คนที่เดินผ่านไปมาให้จดจำลักษณะของร้านเราได้ง่ายขึ้น รวมทั้งออกแบบทางเดินเข้า-ออกให้ลูกค้าเดินได้สะดวกขึ้นด้วย อันนี้แนะนำให้ดู Food Truck หรือสไตล์ร้านที่ขายตามตลาดนัดดังๆ อย่างจตุจักรหรือตลาดรถไฟเป็นต้นแบบ (แต่ไม่ใช่ไปเลียนแบบเขานะ) อันนี้ไม่ว่าคุณจะขายอะไรสามารถนำไปปรับใช้ได้นะคะ