การทำงานก็ถือว่าเป็นการลงทุนให้กับตัวเองอย่างหนึ่ง
เพราะเมื่อทำงานไป คุณจะเพิ่มทักษะ ความเชี่ยวชาญต่องานนั้นๆ หรือเรียกว่าประสบการณ์
และผลพลอยได้คือค่าจ้าง ซึ่งส่วนมาก ก็จะขึ้นทุกปี ขึ้นมากบ้างน้อยบ้าง
หรือมากกว่าเงินเฟ้อ น้อยกว่าเงินก็ตามสภาวะเศรษฐกิจ
แต่คนที่ประเมินเรา ว่าเราควรได้มากหรือได้น้อยคือหัวหน้า
เพราะคงไม่มีใครอยากให้เงินเดือนตัวเองขึ้นน้อยๆ ใช่ไหม
มีแต่อยากขึ้นเยอะๆ แต่จะไปบอกหัวหน้าตรงๆ ว่าให้ขึ้นเยอะๆก็ดูน่าเกลียด ก็พิจารณาตามความเหมาะสมแล้วกัน
แต่พอชื่อว่าหัวหน้าก็ยังมีคำว่าคน ยอมมีความลำเอียง มองโลกมุมต่างจากเรา
เชื่อว่าตัวเองมองได้ถูกต้องแม่นยำ จนละเลยลูกน้องบางคนที่ทำงานดี ตั้งใจทำงานไป
พอลองมามองย้อนตัวเอง วันที่เรา กำลังเป็นที่ต้องการ ทักษะยังไม่สูงมาก
แต่มีความต้องการตัวเรามาทำงานก็ใช้เงินล่อ แต่พอได้มาแล้ว
มีความชำชอง เชี่ยวชาญมากขึ้น กลับมองว่าคุณค่าของเราลดลง
เงินเดือนที่หวังว่าจะขึ้น จะโต จะมีความก้าวหน้า ก็ไม่ได้ดังหวัง
ท้ายที่สุดก็ โดนใช้งานจนหนัก รู้สึกอึดอัดไม่สบาย ต้องทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ชอบไม่ต้องการทำ
พอไปคุยกับหัวหน้า คำตอบที่ได้รับคือ ผมให้คุณทำคุณก็ต้องทำ จะเปลี่ยนอะไรไม่ได้
ทั้งที่ก่อนหน้า เราทำหน้าที่อื่นได้ดีตลอด รู้สึกมีความสุขดีกับงานที่ได้ทำ
จนถึงวันที่อะไรต่ออะไรได้เปลี่ยนไป ความรู้สึกก็ได้แปรเปลี่ยนไป
... นี่คือการตัดสินใจลาออก
จากที่ทำงานที่ผูกผัน เพื่อนร่วมงานที่รักกันซะส่วนมาก
พอมาถึงจังหวะนี้ เคยคิดไหมว่า คุณลงทุนในตัวบุคลลากรในองค์กรไปเท่าไร
กับปล่อยให้ลาออกไปเพียงเพราะงานที่ให้ทำไม่เหมาะสมกับคนๆนั้น
put the right man on the right job
หรือก็คือปลูกพืชตามลักษณะของดิน ของภูมิอากาศ
ไม่มีทางที่ข้าวจะเจริญเติบโตได้ดีในทะเลทราย
หรือ ไม่มีทางที่ตะบองเพชรจะโตได้ในน้ำท่วม
หรือบริษัทมองการลงทุนในเครื่องจักรมากกว่าตัวบุคคล
ในขณะคุณเสียบุคคลหนึ่ง คุณต้องไปจ้างบุคคลใหม่ ที่ต้องมาเรียนรู้ใหม่
ในราคาค่าจ้างที่อาจจะแพงกว่าคนเดิมซะอีก
ว่าแล้วก็เข้าอีกรอบเดิม เพราะ หัวหน้าเป็นคนเลือก
แต่บริษัทเป็นคนจ่ายตังค์
สุดท้ายเป็นกระทู้ที่เข้ามาบ่น
ความจริงชอบอ่านหนังสือ กับดูสารคดี เพราะมันบันเทิงกับได้ความรู้เพิ่ม
แต่ไม่ค่อยสามารถต่อยอดไปใช้กับงานได้ ไม่รู้เรียกว่าลงทุนได้ไหม
แก่ๆไปเดี๋ยวก็ลืมกัน
กระทู้ขอบ่น -- ลงทุนในตัวเอง ความสามารถ ทักษะ (ประสบการณ์)
เพราะเมื่อทำงานไป คุณจะเพิ่มทักษะ ความเชี่ยวชาญต่องานนั้นๆ หรือเรียกว่าประสบการณ์
และผลพลอยได้คือค่าจ้าง ซึ่งส่วนมาก ก็จะขึ้นทุกปี ขึ้นมากบ้างน้อยบ้าง
หรือมากกว่าเงินเฟ้อ น้อยกว่าเงินก็ตามสภาวะเศรษฐกิจ
แต่คนที่ประเมินเรา ว่าเราควรได้มากหรือได้น้อยคือหัวหน้า
เพราะคงไม่มีใครอยากให้เงินเดือนตัวเองขึ้นน้อยๆ ใช่ไหม
มีแต่อยากขึ้นเยอะๆ แต่จะไปบอกหัวหน้าตรงๆ ว่าให้ขึ้นเยอะๆก็ดูน่าเกลียด ก็พิจารณาตามความเหมาะสมแล้วกัน
แต่พอชื่อว่าหัวหน้าก็ยังมีคำว่าคน ยอมมีความลำเอียง มองโลกมุมต่างจากเรา
เชื่อว่าตัวเองมองได้ถูกต้องแม่นยำ จนละเลยลูกน้องบางคนที่ทำงานดี ตั้งใจทำงานไป
พอลองมามองย้อนตัวเอง วันที่เรา กำลังเป็นที่ต้องการ ทักษะยังไม่สูงมาก
แต่มีความต้องการตัวเรามาทำงานก็ใช้เงินล่อ แต่พอได้มาแล้ว
มีความชำชอง เชี่ยวชาญมากขึ้น กลับมองว่าคุณค่าของเราลดลง
เงินเดือนที่หวังว่าจะขึ้น จะโต จะมีความก้าวหน้า ก็ไม่ได้ดังหวัง
ท้ายที่สุดก็ โดนใช้งานจนหนัก รู้สึกอึดอัดไม่สบาย ต้องทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ชอบไม่ต้องการทำ
พอไปคุยกับหัวหน้า คำตอบที่ได้รับคือ ผมให้คุณทำคุณก็ต้องทำ จะเปลี่ยนอะไรไม่ได้
ทั้งที่ก่อนหน้า เราทำหน้าที่อื่นได้ดีตลอด รู้สึกมีความสุขดีกับงานที่ได้ทำ
จนถึงวันที่อะไรต่ออะไรได้เปลี่ยนไป ความรู้สึกก็ได้แปรเปลี่ยนไป
... นี่คือการตัดสินใจลาออก
จากที่ทำงานที่ผูกผัน เพื่อนร่วมงานที่รักกันซะส่วนมาก
พอมาถึงจังหวะนี้ เคยคิดไหมว่า คุณลงทุนในตัวบุคลลากรในองค์กรไปเท่าไร
กับปล่อยให้ลาออกไปเพียงเพราะงานที่ให้ทำไม่เหมาะสมกับคนๆนั้น
put the right man on the right job
หรือก็คือปลูกพืชตามลักษณะของดิน ของภูมิอากาศ
ไม่มีทางที่ข้าวจะเจริญเติบโตได้ดีในทะเลทราย
หรือ ไม่มีทางที่ตะบองเพชรจะโตได้ในน้ำท่วม
หรือบริษัทมองการลงทุนในเครื่องจักรมากกว่าตัวบุคคล
ในขณะคุณเสียบุคคลหนึ่ง คุณต้องไปจ้างบุคคลใหม่ ที่ต้องมาเรียนรู้ใหม่
ในราคาค่าจ้างที่อาจจะแพงกว่าคนเดิมซะอีก
ว่าแล้วก็เข้าอีกรอบเดิม เพราะ หัวหน้าเป็นคนเลือก
แต่บริษัทเป็นคนจ่ายตังค์
สุดท้ายเป็นกระทู้ที่เข้ามาบ่น
ความจริงชอบอ่านหนังสือ กับดูสารคดี เพราะมันบันเทิงกับได้ความรู้เพิ่ม
แต่ไม่ค่อยสามารถต่อยอดไปใช้กับงานได้ ไม่รู้เรียกว่าลงทุนได้ไหม
แก่ๆไปเดี๋ยวก็ลืมกัน