เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มีลูกน้องคนหนึ่งเดินมาคุยกับผมและขอคำปรึกษาว่า เขามีไอเดียในการทำธุรกิจ เขาอยากจะเริ่มทำ เขาควรจะทำอย่างไรดี ที่อยากจะเอามาเล่าสู่กันฟังก็เพราะว่าเห็นช่วงนี้มีการกล่าวถึง Start Up เยอะเหลือเกิน
พื้นฐานของลูกน้องผม
- ยี่สิบปลาย
- ฉลาด และอยากตั้งตัวเร็ว
- มีครอบครัวแล้ว
- ประสบการณ์ทำงาน 3-4 ปี
โดยส่วนตัว ถึงแม้ว่าผมจะเป็นนายจ้าง แต่ถ้าหากลูกน้องจะไปได้ดิบได้ดี เราก็ควรจะสนับสนุน แต่ถ้าไปแล้วโอกาสลำบากสูง เราก็คงได้แค่เตือน อาจจะด้วยเหตุนี้ เขาเลยกล้าที่จะเดินมาถามผม ผมเลยถามไปว่า ไอเดีย app online ที่อยากจะทำ มีอะไรพิเศษที่คนอื่นลอกเลียนแบบไม่ได้บ้าง ซึ่งสิ่งที่ผมได้คำตอบออกมาก็เล่นเอาผมอึ้งเล็กน้อยคือ
มันเป็นไอเดียที่เขากับเพื่อนคิดขึ้นมา แต่ไม่มีใครเขียนโปรแกรมเป็น เลยกะว่าจะเอาไอเดียนี่แหละไปจ้างคนเขียนโปรแกรม พอถามไปว่ามีโครงสร้างโปรแกรมหรือยัง คำตอบก็คือไม่มี มีแค่ไอเดีย แล้วเอาไปบอกคนเขียนโปรแกรมให้เขาเขียนให้ พวก ดาต้าเบส ก็จะไปจ้างเขาทำ สรุปคือจะไปจ้างบริษัทอะไรก็ยังไม่รู้เขียนโปรแกรมสำเร็จรูปตามที่เราต้องการ
ผมเลยถามต่อว่า ในเมื่อไม่มีใครเป็นคอมพิวเตอร์ แต่มีแค่ไอเดีย แน่นอนว่าโปรแกรมมันต้องมี Bugs บ้าง ต้องเขียนเพิ่มเติมบ้าง หรือโปรแกรมมีปัญหา แล้วจะทำอย่างไร คำตอบคือ ก็ยังไม่รู้ ก็คงต้องหาทางจ้างเขาแก้ไขไปก่อน
สิ่งต่อมาที่ผมถามคือ ในเมื่อคุณไปจ้างบริษัทหรือฟรีแลนซ์เขียน คุณจะป้องกันการโดนลอกเลียนแบบได้อย่างไร คำตอบก็คือ เขาจะเลียนแบบผมเลยหรือ ไม่เคารพไอเดียผมเลยหรือ (แหม... ถ้าเคารพกันหมด ประเทศไทยก็คงไม่โดนอเมริกาจ้องเล่นงานหรอก พัฒน์พงษ์ก็คงจะไม่เต็มไปด้วยแผงขาย โรเล็กซ์ หรือ กระเป๋าแบรนด์เนมต่างๆ หรอก)
คำถามสุดท้ายที่ผมถามคือ มีงบในการพัฒนาซอฟท์แวร์แค่ไหน คำตอบคือ ก็ระดมกัน น่าจะมีอยู่หลายหมื่นบาท แต่เต็มที่คงจะได้แสนต้นๆ อืม... เดี๋ยวนี้มูลค่าซอฟท์แวร์ มีกันแค่นี้เองหรือ แล้วงบด้านอื่นหล่ะ... ไม่ว่าจะงบทางการตลาด งบด้าน Hardware ออฟฟิศ เงินเดือน คำตอบคือ ยังไม่ได้คิด แต่ทุกคนก็มีงานประจำทำ อาจจะให้คนหนึ่งเสียสละลาออกมาทำ ซึ่งผมบอกเลยว่ามันไม่ใช่ ในบางครั้งถ้าไม่กล้าทุบหม้อข้าว ก็ยากที่จะไปถึงฝั่งฝัน
ในต่างประเทศ การหาผู้ร่วมลงทุนไม่ใช่ว่าง่าย เพียงแต่เราเห็นเฉพาะเคสที่ประสบความสำเร็จ เราไม่ได้เห็นเคสที่ล้มเหลว เราเลยนึกว่าทุกอย่างนั้นดูง่ายดาย ลองเอาใจเขามาใส่ใจเรา เวลาคุยจะไปหุ้นกับใคร คุณต้องทำอย่างไรบ้าง กองทุนเขาก็ต้องดูเหมือนคุณและมากกว่า เพราะเขามีประสบการณ์ทั้งกรณีที่สำเร็จและล้มเหลว เขาจึงมองอะไรที่มากกว่าพวกคุณคิด บิล เกตต์ เขาสามารถเขียนโปรแกรม DOS ให้ IBM ได้ตั้งแต่เรียน ปี 2 Steve Jobs เริ่มต้นธุรกิจก็ยังมี Wozniak ในการสร้างคอมพิวเตอร์ Mark Zuckerberg ทำเฟสบุ๊คตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย
สุดท้ายผมเลยบอกไปว่า ผมเคยขายของให้กับบริษัท Star up ในต่างประเทศ ในไทย และหลายบริษัทก็ประสบความสำเร็จยอดขายเป็นหลักหลายร้อยล้าน แต่ทุกอย่างที่เหมือนกันคือ เจ้าของต้องมีความรู้เรื่องสิ่งที่ตนเองทำแบบจับต้องได้ อย่างลูกน้องผมคนนี้ ผมบอกว่าเมื่อไหร่คุณเขียนโปรแกรมนี้ด้วยตัวเองได้ โดยไม่ต้องไปจ้าง เมื่อนั้นคือคุณพร้อมที่จะออกไปสู้แล้ว เพราะอย่างน้อยนั่นก็เป็นข้อพิสูจน์ว่า คุณ commit กับสิ่งที่คุณจะทำ คุณพยายามขวนขวายความรู้เพื่อสร้างสิ่งที่คุณต้องการ คุณไม่ได้มักง่ายโดยเอาแต่เงินไปซื้อมา ซึ่งการที่ซื้อมาอย่างเดียวแล้วถ้าคุณสำเร็จ คนอื่นก็สามารถเอาเงินไปซื้อมาได้เหมือนคุณ
เมื่อได้มีโอกาสพูดคุยกับลูกน้องว่าอยากเริ่มต้นธุรกิจ Start Up
พื้นฐานของลูกน้องผม
- ยี่สิบปลาย
- ฉลาด และอยากตั้งตัวเร็ว
- มีครอบครัวแล้ว
- ประสบการณ์ทำงาน 3-4 ปี
โดยส่วนตัว ถึงแม้ว่าผมจะเป็นนายจ้าง แต่ถ้าหากลูกน้องจะไปได้ดิบได้ดี เราก็ควรจะสนับสนุน แต่ถ้าไปแล้วโอกาสลำบากสูง เราก็คงได้แค่เตือน อาจจะด้วยเหตุนี้ เขาเลยกล้าที่จะเดินมาถามผม ผมเลยถามไปว่า ไอเดีย app online ที่อยากจะทำ มีอะไรพิเศษที่คนอื่นลอกเลียนแบบไม่ได้บ้าง ซึ่งสิ่งที่ผมได้คำตอบออกมาก็เล่นเอาผมอึ้งเล็กน้อยคือ
มันเป็นไอเดียที่เขากับเพื่อนคิดขึ้นมา แต่ไม่มีใครเขียนโปรแกรมเป็น เลยกะว่าจะเอาไอเดียนี่แหละไปจ้างคนเขียนโปรแกรม พอถามไปว่ามีโครงสร้างโปรแกรมหรือยัง คำตอบก็คือไม่มี มีแค่ไอเดีย แล้วเอาไปบอกคนเขียนโปรแกรมให้เขาเขียนให้ พวก ดาต้าเบส ก็จะไปจ้างเขาทำ สรุปคือจะไปจ้างบริษัทอะไรก็ยังไม่รู้เขียนโปรแกรมสำเร็จรูปตามที่เราต้องการ
ผมเลยถามต่อว่า ในเมื่อไม่มีใครเป็นคอมพิวเตอร์ แต่มีแค่ไอเดีย แน่นอนว่าโปรแกรมมันต้องมี Bugs บ้าง ต้องเขียนเพิ่มเติมบ้าง หรือโปรแกรมมีปัญหา แล้วจะทำอย่างไร คำตอบคือ ก็ยังไม่รู้ ก็คงต้องหาทางจ้างเขาแก้ไขไปก่อน
สิ่งต่อมาที่ผมถามคือ ในเมื่อคุณไปจ้างบริษัทหรือฟรีแลนซ์เขียน คุณจะป้องกันการโดนลอกเลียนแบบได้อย่างไร คำตอบก็คือ เขาจะเลียนแบบผมเลยหรือ ไม่เคารพไอเดียผมเลยหรือ (แหม... ถ้าเคารพกันหมด ประเทศไทยก็คงไม่โดนอเมริกาจ้องเล่นงานหรอก พัฒน์พงษ์ก็คงจะไม่เต็มไปด้วยแผงขาย โรเล็กซ์ หรือ กระเป๋าแบรนด์เนมต่างๆ หรอก)
คำถามสุดท้ายที่ผมถามคือ มีงบในการพัฒนาซอฟท์แวร์แค่ไหน คำตอบคือ ก็ระดมกัน น่าจะมีอยู่หลายหมื่นบาท แต่เต็มที่คงจะได้แสนต้นๆ อืม... เดี๋ยวนี้มูลค่าซอฟท์แวร์ มีกันแค่นี้เองหรือ แล้วงบด้านอื่นหล่ะ... ไม่ว่าจะงบทางการตลาด งบด้าน Hardware ออฟฟิศ เงินเดือน คำตอบคือ ยังไม่ได้คิด แต่ทุกคนก็มีงานประจำทำ อาจจะให้คนหนึ่งเสียสละลาออกมาทำ ซึ่งผมบอกเลยว่ามันไม่ใช่ ในบางครั้งถ้าไม่กล้าทุบหม้อข้าว ก็ยากที่จะไปถึงฝั่งฝัน
ในต่างประเทศ การหาผู้ร่วมลงทุนไม่ใช่ว่าง่าย เพียงแต่เราเห็นเฉพาะเคสที่ประสบความสำเร็จ เราไม่ได้เห็นเคสที่ล้มเหลว เราเลยนึกว่าทุกอย่างนั้นดูง่ายดาย ลองเอาใจเขามาใส่ใจเรา เวลาคุยจะไปหุ้นกับใคร คุณต้องทำอย่างไรบ้าง กองทุนเขาก็ต้องดูเหมือนคุณและมากกว่า เพราะเขามีประสบการณ์ทั้งกรณีที่สำเร็จและล้มเหลว เขาจึงมองอะไรที่มากกว่าพวกคุณคิด บิล เกตต์ เขาสามารถเขียนโปรแกรม DOS ให้ IBM ได้ตั้งแต่เรียน ปี 2 Steve Jobs เริ่มต้นธุรกิจก็ยังมี Wozniak ในการสร้างคอมพิวเตอร์ Mark Zuckerberg ทำเฟสบุ๊คตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย
สุดท้ายผมเลยบอกไปว่า ผมเคยขายของให้กับบริษัท Star up ในต่างประเทศ ในไทย และหลายบริษัทก็ประสบความสำเร็จยอดขายเป็นหลักหลายร้อยล้าน แต่ทุกอย่างที่เหมือนกันคือ เจ้าของต้องมีความรู้เรื่องสิ่งที่ตนเองทำแบบจับต้องได้ อย่างลูกน้องผมคนนี้ ผมบอกว่าเมื่อไหร่คุณเขียนโปรแกรมนี้ด้วยตัวเองได้ โดยไม่ต้องไปจ้าง เมื่อนั้นคือคุณพร้อมที่จะออกไปสู้แล้ว เพราะอย่างน้อยนั่นก็เป็นข้อพิสูจน์ว่า คุณ commit กับสิ่งที่คุณจะทำ คุณพยายามขวนขวายความรู้เพื่อสร้างสิ่งที่คุณต้องการ คุณไม่ได้มักง่ายโดยเอาแต่เงินไปซื้อมา ซึ่งการที่ซื้อมาอย่างเดียวแล้วถ้าคุณสำเร็จ คนอื่นก็สามารถเอาเงินไปซื้อมาได้เหมือนคุณ