ทำไมพระถังซำจั๋งเลือกไปอินเดียทางทะเลทรายโกบีครับ



จะเห็นว่าเดินไกลมาก ผ่านซินเจียงผ่านทะเลทรายไปโผล่ฝั่งตะวันตกของอินเดียแล้วต้องเดินข้ามกลับมาฝั่งตะวันออกอีก

ทำไมไม่นั่งเรือสำเภาไปสบายๆ   หรือไม่ก็เดินไปพม่าตรงๆ

(สมัยก่อนมีถนนจากฉางอาน ไปเสฉวน ยูนนาน แคว้นต้าหลี่ พม่า แล้วเข้าสู่อินเดียหรือยังครับ)
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 28
1) พระถังซำจั๋งหลบหนีออกจากจีนครับ ตอนนั้นเส้นทางสายไหมยังปิดเนื่องจากราชสำนักถังมีสงครามรบกับพวกทู่เจี๋ยอยู่ ทำให้ท่านต้องอาศัยเส้นทางจากการบอกเล่าของพ่อค้า และบันทึกของหลวงจีนฟาเสียน ที่เขียนเอาไว้ก่อนหน้านั้นราวร้อยกว่าปีครับ

ก่อนพระถังซำจั๋ง มีหลวงจีนรูปหนึ่งจากดินแดนอาณาจักรเว่ยเหนือ เคยเดินทางไปอินเดียมาแล้วในช่วงศตวรรษที่ 5 ตอนต้น (ราวๆปี 420-450) ท่านชื่อ หลวงจีนฟาเสียน และได้เขียนบันทึกเส้นทางเอาไว้โดยละเอียดพอสมควร

พระถังซำจั๋งได้บันทึกฉบับนี้เป็นต้นร่างเส้นทาง ในการเดินทางสู่ชมภูทวีปครับ

2) สมัยนั้นชาวจีนทางเหนือ อย่างชาวจงหยวน ไม่ค่อยรู้จักเส้นทางการเดินเรือทางน้ำครับ
แม้ราชวงศ์ฝ่ายใต้อย่าง หวู๋ ตงจิ้น หลิวซ่ง ฉี เหลียง และเฉิน จะเคยมีกองเรือขนาดใหญ่ และเคยล่องเรือไปค้าขายไกลถึงแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชวา มลายู และเชื่อกันว่าเคยไปถึงเบงกอล และศรีลังกา

แต่พอราชวงศ์สุยรวบรวมประเทศโดยทำลายราชวงศ์เฉินลงไป อำนาจทางทะเลรวมถึงเทคโนโลยีกองเรือที่ราชวงศ์ฝ่ายใต้เคยสะสมไว้ก็ถูกทำลายหรือกระจัดกระจายไปเสียหมด เมืองท่าที่เคยรุ่งเรืองอย่างเจี้ยนคังก็โดนทำลายไป เมืองท่าริมทะเลส่วนใหญ่ก็ซบเซาลง

นั่นเป็นคำตอบว่า การเดินทางทางเรือโดยกองเรือจีนในยุคของพระถังซำจั๋งนั้น ซบเซาลงเพราะราชวงศ์ทางเหนือไม่ส่งเสริมนั่นเอง ทำให้เกิดสุญญากาศทางอำนาจในทะเลจีนใต้ การเดินทางด้วยเรือจึงอันตรายและไม่สะดวก

3) กองเรือของต้าถังได้รับการฟื้นฟูในช่วงปลายรัชกาลของจักรพรรดิถังไท่จง และรัชกาลของถังเกาจง ครับ เนื่องจากมีการติดต่อกับญี่ปุ่น เวียดนาม และชวา ผ่านกองเรือ อีกทั้งยังมีการยกทัพเรือไปโจมตีคาบสมุทรเกาหลีอีกด้วย ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูกองเรือกลับมาอีกครั้ง

ช่วงทศวรรษที่ 50-70 ของศตวรรษที่ 7 (ราวปี 650-670) เมืองโบราณในภาคใต้อย่างหัวโจว กับกว่างโจว ก็เริ่มทวีปความสำคัญขึ้นมาอีกครั้ง ในฐานะศูนย์กลางการค้าทางทะเลและประตูสู่ภายนอกทางมหาสมุทรของต้าถัง และตามมาด้วยการฟื้นฟูเทคโนโลยีการต่อเรือ การเดินเรือ และเส้นทางการค้าขึ้นมาใหม่

หลังจากพระถังซำจั๋งกลับสู่จีนได้ประมาณ 27 ปี คณะพระภิกษุอีกคณะก็มีโอกาสได้เดินทางโดยเรือจากจีนไปสู่อินเดีย โดยมีภิกษุที่สำคัญในยุคนี้ก็คือ หลวงจีนอี้จิงครับ ท่านออกจากจีนในปี 671 (7 ปีหลังพระถังซำจั๋งมรณภาพ) โดยเดินทางจากฉางอันไปหยางโจวและลงเรือล่องมหาสมุทรลงใต้ไปกว่างโจว ก่อนที่จะต่อเรือพ่อค้าเปอร์เซียข้ามทะเลจีนใต้ลงไปที่ชวา อ้อมแหลมมลายูไปแวะที่ไทรบุรี  และขึ้นฝั่งที่เบงกอล ก่อนจะเดินเท้าเข้าสู่อินเดียเหนืออีกทีหนึ่ง
ความคิดเห็นที่ 8
เดินทางง่ายกว่า ลงมาทางยูนานผ่านพม่าไปมีแค่เทือกเขาสูงทั้งนั้น

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่