เตรียมตัวการเดินทาง การใช้เนวิเกเตอร์
http://ppantip.com/topic/35194771
รีวิวขับรถเที่ยวตะลุยคันไซ@วันที่ 1
http://ppantip.com/topic/35200470
วันที่ 2 ของการท่องเที่ยว เช้าตื่นมาทานกาแฟกับอาหารเช้าที่แวะซื้อมาจากซุปเปอร์มาเก็ตตอนไปเที่ยวปราสาท Himeji
โปรแกรมของเราในวันนี้คือ Arashiyama (เที่ยวป่าไผ่แบบหลบฝูงชน) Kyoto เหนือ และงาน Aoi Matsuri
วันที่ 2 ของการขับรถเที่ยวบอกตรงตื่นเต้นทุกครั้งเวลาออกถนนใหญ่ ด้วยระยะทางประมาณ 70 กม. ใช้เวลาไม่ถึง 2 ชม.ก็มาถึง Arashiyama ขอเล่าถึงการขับรถขึ้นทางด่วนก่อนแล้วกันครับ โดยปกติเนวิเกเตอร์จะคำนวณให้เราใช้ทางด่วนเป็นหลัก เวลาขับรถบนทางด่วน มีข้อระวังดังนี้ครับ
1.ถ้าเนวิเกเตอร์บอกว่าให้เลี้ยวขวา ให้ดูดีดีก่อนนะครับ เพราะที่ญี่ปุ่นมีทางลงทางขวาด้วยในขณะที่บ้านเรามีแต่ลงทางซ้าย ถ้าบอกเลี้ยวขวาโดยมากจะเจอ Exit ก่อนเสมอแล้วจะเจอทางโค้งเลี้ยวขวา ถ้าเราสังเกตุตัวเลขที่นับถอยหลังตรงเนวิเกเตอร์มันยังไม่ถึงที่จะให้เลี้ยวขวา แต่เราดันออกขวาเข้าทาง Exit เสียก่อน เลี้ยวโค้งเข้าซ้ายก็เหมือนกันครับ
2.ด้วยทางด่วนที่ใช้ขับจากโอซาก้าไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ มีแต่ทางตรงไม่มีโค้งให้ลุ้น ไม่มีหลุมให้หักหลบเล่น ความง่วงจึงบังเกิดครับ
3.พยายามดูเจ้าถิ่นไว้ครับ ความเร็วจะโดนจำกัดที่ไม่เกิน 110 กม./ชม. เจ้าถิ่นไปแค่ไหนก็ตามเค้าครับ การเปลี่ยนเลนให้ดูเส้นปะเส้นทึบให้ดีครับ
4.ถ้านึกได้จะมาบอกเพิ่มในตอนต่อไปครับ
เนวิเกเตอร์นำเรามาถึงที่จอดรถพอดี ที่นี่ จอดรถแบบเหมาจ่าย 500 เยน(35.028230,135.665718 เอาตัวเลขนี้พิมพ์ใส่ในgoogle map จะได้ที่จอดรถครับ
- Adashino Nenbutsuji Temple คือเป้าหมายแรกของเรา
ก้าวแรกที่เข้ามาในวัดจะเห็นความเขียวชอุ่ม ของต้นไม้ และมอส ยังกะมีใครเอาพรมเขียวมาปูให้เดิน วัดอะดาชิโน-เนนบุตสึจิ ตั้งอยู่เกือบสุดทางของถนนซากะ-โทริอิโมโตะ (Saga-Toriimoto Preserved Street) ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 9 มีชื่อเสียงเนื่องจากพระโคโบไดชิ ได้วางรูปปั้นหินให้กับดวงวิญญาณของคนที่ตายแล้ว บริเวณวัดจึงถูกปกคลุมไปด้วยรูปปั้นหินหลายร้อยรูป ด้านหลังของวัดนี้มีเส้นทางเล็กๆสามารถเดินไปยังสวนป่าไผ่ได้ (Bamboo Forest) ที่มาhttp://www.talonjapan.com/adashino-nenbutsuji-temple/
- เดินไปตามทางที่ทางวัดจัดไว้ก็จะถึงป่าไผ่ ที่ไร้ผู้คนหมู่มวลมหาชนทั้งหลาย นี่เป็นเหตุผลหลักที่ผมตัด สวนป่าไผ่ – Bamboo Groves ออกและเลือกมาที่นี่แทน
บริเวณวัดด้านล่าง ยังคงมีบ้านเก่าโบราณให้เราได้เดินถ่ายรูปเล่น ถ้ามาตอนไบไม้แดง น่าจะงาม..มมม สงสัยต้องมีนัดล้างตา
- Ninnaji Temple เป็นวัดที่ไม่ได้ตั้งใจมา แต่บังเอิญขับรถผ่าน เป้าหมายจริงคือวัดทอง แต่เป็นเวลาเที่ยงพอดี น่าจะหาของกินแถววันนี้
ที่จอดรถของวัดที่นี่แบบเหมาจ่ายครับ รู้สึกว่าไม่เกิน 1000 เยน ทุกคนเลยเดินเข้าไปเที่ยวกัน ส่วนข้อมูลของวัดนี้คิดว่าเพื่อนๆหลายคนคงหาไม่ยากนะครับ มีหลายคนทำรีวิวไว้สวยงามมากครับ ส่วนอาหารกลางวันก็ตรงข้ามวัดนั่นแหละครับ มีให้เลือกหลายร้าน
*****ใครใครก็ไปวัดทอง*****
ผมคนนึงละไม่อยากพลาดเหมือนกัน ที่นี่เราได้พบทั้งพี่น้องชาวไทย จีน ฝรั่ง โดยเฉพาะมุมมหาชนไม่มีที่ว่างเลย จะยืนให้ครบ 6 คน เป็นไปได้ยากมาก ส่วนตัวผม เป็นคนขับรถ ตากล้อง เด็กรับใช้ทั่วไป 555
- ที่จอดรถที่นี่เป็นแบบเหมาจ่าย1000เยน หลายคนถ้าคำนวณเป็นเงินบาทก็บอกว่าแพง แต่ถ้าเราคิดว่า ค่าจอดรถที่ญี่ปุ่นจอด 12 ชม.ค่าจอดไม่เกิน 1500 เยน เทียบได้กับอาหารดีดีแค่ 1 จานเองนะครับ เหมือนบ้านเราเสียค่าจอดทั้งวัน 50-100 บาท ก็คืออาหาร 1 จานเหมือนกันครับ
สวยงามสมคำล่ำลือจริงๆ
*****สิ่งที่ประทับใจอีกอย่างของคนญี่ปุ่นคือ ขนาดอายุมากกันแล้วยังคงควงคู่กันมาเที่ยวครับ ประทับใจจริงๆ ทำให้ผมเลยคิดว่าทำงัยให้คุณพ่อคุณแม่วัยเกือบ 80 เดินเที่ยวเหมือนวัยรุ่นกับเค้าบ้าง การขับรถเที่ยวจึงสามารถตอบโจทย์ได้หมดครับ*****
ผมว่าการถ่ายภาพที่วัดนี้มีอีกหลายๆมุมครับที่ให้ความสวยงาม ถ้ามาถึงเห็นแถบมุมมหาชนคนเยอะ ลองเดินเลยมาครับผมว่าสวยเหมือนกันถึงแม้มันจะไม่มีภาพสะท้อนจากผิวน้ำ
เที่ยววัดทองเสร็จต้องไปต่อที่ เทศกาล Aoi matsuri โดยจะไปจอดรถที่ Kamo Shrine ซึ่งขบวนจะมาสิ้นสุดตรงนี้
วันนี้ทั่วเมืองเกียวโตจะจัดงานเทศกาล อาโออิ Aoi Matsuri การจราจรปกติดีรถไม่ติดมากมาย ผมเคยอ่านรีวิวมีคนพูดถึงเกียวโตว่ารถติดมากมาย สัญญาณไฟแดงเต็มไปหมด ทำให้ผมรู้สึกกังวลเหมือนกัน ก็เลยลองดูทาง google map เห็นสภาพถนนที่มีสัญญาณไฟแดงอยู่ทุกแยก แต่มาจริง ไม่ติดดังคาด ขนาดวันนี้มีการจัดงานเทศกาลที่สำคัญประจำเมือง รถส่วนใหญ่ก็วิ่งกันปกติดี หลังจากวันนี้ผมก็มีโอกาศขับรถมาเก็บตกอีกสองสามครั้งการจราจรก็ปกติดี ติดตอนไฟแดงพอเขียวก็ไหลกันไป ขนาดมอร์ไซค์เวลาเค้าติดไฟแดงเค้ายังเข้าแถวหลังรถยนต์เลยครับ ถ้าเป็นบ้านเรา นู้นนน..ไปออ..จอดทับทางม้าลายคนข้าม นู้น.. ถ้าหากเราผ่านย่านรัชดา เอย ลาดพร้าวเอย ทางด่วนเอย ที่นี่หมูมากครับ การขับรถของคนญี่ปุ่นดีครับ เวลาขับรถจากโอซาก้ามาเที่ยวเกียวโตเหนือ ระบบเนวิเกเตอร์เค้าจะจัดการให้เรา ออกทางที่ใกล้ที่สุดกับสถานที่เที่ยวทางเหนือครับ เค้าไม่ให้มาลงไล่ตั้งแต่ใต ไปกลางและเหนือครับ ไม่งั้นต้องผ่านสัญญาณไฟนับร้อยแน่ครับ เนวิเกเตอร์เวลาเรามองลงไปในแผนที่จะเห็นสัญญาณไฟครับ เราสามารถขับเลี่ยงจากถนนที่มีสัญญาณไฟเยอะแยะได้ครับ
เทศกาล อาโออิ Aoi Matsuri เทศกาล อาโออิ นั้นแปลได้ว่า เทศกาลต้นฮอลลี่ฮอก เป็นหนึ่งในสามเทศกาลสำคัญของเกียวโต เทศกาลนี้บางครั้งก็เรียกว่า เทศกาล คาโม Kamo Festiva และเทศกาลนี้จัดเป็นประจำทุกปีในวันที่ 15 ของเดือนพฤษภาคม ประวัติของเทศกาลนั้นเริ่มในสมัยกษัตริย์ คินเมอิ และเรียกเทศกาลนี้ว่า นิฮอน โชว์กิ ตามบทบันทึกโบราณ ที่เรียกว่า ฮอนโชว์ เกซึเรอิ Honcho getsurei และ เนนจูเกียวจิฮิโชวะ Nenchugyoji hissho กล่าไว้ว่าในช่วงนั้นได้เกิดอุทกภัยและพายุทำลายพืชผลไร่นาในประเทศ เนื่องมาจากเทพคาโมบรรดาล โทษรุ่นแรงมาให้ พระกษัตริย์ จึงทรงรับสั่งให้คนถีอสาร พร้อมด้วยองคลักษณ์ นำข้อความไปบอกวัดหลวงให้ทำพิธี ต่างๆเพื่อขอขมาต่อเทพ เพื่อขอให้ได้ผลการเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์ พิธีกรรม นั้นรวมถึงการขี่ม้าเร็ว จากที่กล่าวมาประเพณีนี้เลยกาลเป็นประเพณีประจำปี และการขี่ม้าเร็ว ได้ปรับปรุงเป็นแสดงการขี่ม้ายิงธนู ในต่อมาตามคำกล่าวของบทบันทึกของ โซะกุ นิฮองกิ Zoku Nihongi กล่าวว่า มีผู้คนมาร่วมชมการขี่ม้าบิงธนูมากมายในวันเทศกาล ดั้งนั้น หลังจาก กษัตริย์ ครองราชย์ได้สองปี การขี้ม้ายิงธนูก็ถูกสั่งห้าม ในศตวรรษที่เก้า กษัตริย์คันมุ ได้ก่อตัง พระที่นั่ง ในเกียวโต และนั้นก็เป็นการเริ่มต้นของยุค เฮอันในญี่ปุ่น กษัตริย์ คันมุ Kanmuได้ถือว่า เทพในวัดหลวงคาโมนั้น เป็น เทพคุ้มครองเมืองหลวง เฮอัน และได้ประทานให้ เทศกาล อาโออิ เป็นพระราชพิธีประจำปี เทษกาลอาโออิ ถึงจุดที่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงกลางของยุค กลางของสมัย เฮอัน จากนั้นก็ค่อยๆเสื่อมลงในยุคสมัย คามาคูระ และ ช่วงยุคสมัย มุโรมาชิ จากนั้นประเทศญี่ปุ่นได้เข้าสู่ช่วงสมัย เซ็งโกกุ เทศกาล อาโออิ ได้หยุดทำการเฉลิมฉลองในยุค และในยุค เกนโรกุของช่วงสมัยเอโดะ ได้นำเทศกาล อาโออิ กลับมาอีก แต่หลังจากสองปีในช่วงสมัยเมจิ(1869)ตอนที่มีกาลย้ายเมืองหลวงจากเกียวโตเป็นโตเกียว การเฉลิมฉลองก็หยดอีกครั้ง และใน ยุคเมจิ 17 (1885) รัฐบาลญี่ปุ่นได้นำเทศกาล อาโออิ กลับมาอีกด้วยโครงการปรับปรุงเมืองเกียวโตให้น่าสนใจ เพราะสงครามโลกครั้งที่สอง พิธีการของขบวนแห่ทุกอย่างได้ถูกยกเลิก เหลือแค่พิธีกรรมหน้าวัดหลวงเท่านั้น ในที่สุด พิธีกรรมของเทศกาลอาโออิ เริ่มอีกครั้งในปี 1953 และ ขบวนแห่ เจ้าหญิง ไซโอได เประเพณีนี้ได้เริ่มเข้ามาในปี 1956 ที่มาของชื่อเทศกาล อาโออิ ที่เรียกว่าเทศกาล ต้นฮอลลี่ฮอกนั้น สืบเนื่องมาจากการใช้ใบของต้นฮอลลี่ฮอกประดับตกแต่งงาน ใบของต้นฮอลลี่ฮอกนั้นครั้งหนึ่งได้ถือว่าเป็นเครืองรางคุ้มครองจากภัยธรรมชาติ ที่มาjapantravel.com
[CR] รีวิวขับรถเที่ยวตะลุยคันไซ@วันที่ 2 Arashiyama ป่าไผ่ (ไม่ซ้ำใคร) Kyoto กับ เทศกาล Aoi Matsuri
รีวิวขับรถเที่ยวตะลุยคันไซ@วันที่ 1 http://ppantip.com/topic/35200470
วันที่ 2 ของการท่องเที่ยว เช้าตื่นมาทานกาแฟกับอาหารเช้าที่แวะซื้อมาจากซุปเปอร์มาเก็ตตอนไปเที่ยวปราสาท Himeji
โปรแกรมของเราในวันนี้คือ Arashiyama (เที่ยวป่าไผ่แบบหลบฝูงชน) Kyoto เหนือ และงาน Aoi Matsuri
วันที่ 2 ของการขับรถเที่ยวบอกตรงตื่นเต้นทุกครั้งเวลาออกถนนใหญ่ ด้วยระยะทางประมาณ 70 กม. ใช้เวลาไม่ถึง 2 ชม.ก็มาถึง Arashiyama ขอเล่าถึงการขับรถขึ้นทางด่วนก่อนแล้วกันครับ โดยปกติเนวิเกเตอร์จะคำนวณให้เราใช้ทางด่วนเป็นหลัก เวลาขับรถบนทางด่วน มีข้อระวังดังนี้ครับ
1.ถ้าเนวิเกเตอร์บอกว่าให้เลี้ยวขวา ให้ดูดีดีก่อนนะครับ เพราะที่ญี่ปุ่นมีทางลงทางขวาด้วยในขณะที่บ้านเรามีแต่ลงทางซ้าย ถ้าบอกเลี้ยวขวาโดยมากจะเจอ Exit ก่อนเสมอแล้วจะเจอทางโค้งเลี้ยวขวา ถ้าเราสังเกตุตัวเลขที่นับถอยหลังตรงเนวิเกเตอร์มันยังไม่ถึงที่จะให้เลี้ยวขวา แต่เราดันออกขวาเข้าทาง Exit เสียก่อน เลี้ยวโค้งเข้าซ้ายก็เหมือนกันครับ
2.ด้วยทางด่วนที่ใช้ขับจากโอซาก้าไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ มีแต่ทางตรงไม่มีโค้งให้ลุ้น ไม่มีหลุมให้หักหลบเล่น ความง่วงจึงบังเกิดครับ
3.พยายามดูเจ้าถิ่นไว้ครับ ความเร็วจะโดนจำกัดที่ไม่เกิน 110 กม./ชม. เจ้าถิ่นไปแค่ไหนก็ตามเค้าครับ การเปลี่ยนเลนให้ดูเส้นปะเส้นทึบให้ดีครับ
4.ถ้านึกได้จะมาบอกเพิ่มในตอนต่อไปครับ
เนวิเกเตอร์นำเรามาถึงที่จอดรถพอดี ที่นี่ จอดรถแบบเหมาจ่าย 500 เยน(35.028230,135.665718 เอาตัวเลขนี้พิมพ์ใส่ในgoogle map จะได้ที่จอดรถครับ
- Adashino Nenbutsuji Temple คือเป้าหมายแรกของเรา
ก้าวแรกที่เข้ามาในวัดจะเห็นความเขียวชอุ่ม ของต้นไม้ และมอส ยังกะมีใครเอาพรมเขียวมาปูให้เดิน วัดอะดาชิโน-เนนบุตสึจิ ตั้งอยู่เกือบสุดทางของถนนซากะ-โทริอิโมโตะ (Saga-Toriimoto Preserved Street) ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 9 มีชื่อเสียงเนื่องจากพระโคโบไดชิ ได้วางรูปปั้นหินให้กับดวงวิญญาณของคนที่ตายแล้ว บริเวณวัดจึงถูกปกคลุมไปด้วยรูปปั้นหินหลายร้อยรูป ด้านหลังของวัดนี้มีเส้นทางเล็กๆสามารถเดินไปยังสวนป่าไผ่ได้ (Bamboo Forest) ที่มาhttp://www.talonjapan.com/adashino-nenbutsuji-temple/
- เดินไปตามทางที่ทางวัดจัดไว้ก็จะถึงป่าไผ่ ที่ไร้ผู้คนหมู่มวลมหาชนทั้งหลาย นี่เป็นเหตุผลหลักที่ผมตัด สวนป่าไผ่ – Bamboo Groves ออกและเลือกมาที่นี่แทน
บริเวณวัดด้านล่าง ยังคงมีบ้านเก่าโบราณให้เราได้เดินถ่ายรูปเล่น ถ้ามาตอนไบไม้แดง น่าจะงาม..มมม สงสัยต้องมีนัดล้างตา
- Ninnaji Temple เป็นวัดที่ไม่ได้ตั้งใจมา แต่บังเอิญขับรถผ่าน เป้าหมายจริงคือวัดทอง แต่เป็นเวลาเที่ยงพอดี น่าจะหาของกินแถววันนี้
ที่จอดรถของวัดที่นี่แบบเหมาจ่ายครับ รู้สึกว่าไม่เกิน 1000 เยน ทุกคนเลยเดินเข้าไปเที่ยวกัน ส่วนข้อมูลของวัดนี้คิดว่าเพื่อนๆหลายคนคงหาไม่ยากนะครับ มีหลายคนทำรีวิวไว้สวยงามมากครับ ส่วนอาหารกลางวันก็ตรงข้ามวัดนั่นแหละครับ มีให้เลือกหลายร้าน
*****ใครใครก็ไปวัดทอง*****
ผมคนนึงละไม่อยากพลาดเหมือนกัน ที่นี่เราได้พบทั้งพี่น้องชาวไทย จีน ฝรั่ง โดยเฉพาะมุมมหาชนไม่มีที่ว่างเลย จะยืนให้ครบ 6 คน เป็นไปได้ยากมาก ส่วนตัวผม เป็นคนขับรถ ตากล้อง เด็กรับใช้ทั่วไป 555
- ที่จอดรถที่นี่เป็นแบบเหมาจ่าย1000เยน หลายคนถ้าคำนวณเป็นเงินบาทก็บอกว่าแพง แต่ถ้าเราคิดว่า ค่าจอดรถที่ญี่ปุ่นจอด 12 ชม.ค่าจอดไม่เกิน 1500 เยน เทียบได้กับอาหารดีดีแค่ 1 จานเองนะครับ เหมือนบ้านเราเสียค่าจอดทั้งวัน 50-100 บาท ก็คืออาหาร 1 จานเหมือนกันครับ
สวยงามสมคำล่ำลือจริงๆ
*****สิ่งที่ประทับใจอีกอย่างของคนญี่ปุ่นคือ ขนาดอายุมากกันแล้วยังคงควงคู่กันมาเที่ยวครับ ประทับใจจริงๆ ทำให้ผมเลยคิดว่าทำงัยให้คุณพ่อคุณแม่วัยเกือบ 80 เดินเที่ยวเหมือนวัยรุ่นกับเค้าบ้าง การขับรถเที่ยวจึงสามารถตอบโจทย์ได้หมดครับ*****
ผมว่าการถ่ายภาพที่วัดนี้มีอีกหลายๆมุมครับที่ให้ความสวยงาม ถ้ามาถึงเห็นแถบมุมมหาชนคนเยอะ ลองเดินเลยมาครับผมว่าสวยเหมือนกันถึงแม้มันจะไม่มีภาพสะท้อนจากผิวน้ำ
เที่ยววัดทองเสร็จต้องไปต่อที่ เทศกาล Aoi matsuri โดยจะไปจอดรถที่ Kamo Shrine ซึ่งขบวนจะมาสิ้นสุดตรงนี้
วันนี้ทั่วเมืองเกียวโตจะจัดงานเทศกาล อาโออิ Aoi Matsuri การจราจรปกติดีรถไม่ติดมากมาย ผมเคยอ่านรีวิวมีคนพูดถึงเกียวโตว่ารถติดมากมาย สัญญาณไฟแดงเต็มไปหมด ทำให้ผมรู้สึกกังวลเหมือนกัน ก็เลยลองดูทาง google map เห็นสภาพถนนที่มีสัญญาณไฟแดงอยู่ทุกแยก แต่มาจริง ไม่ติดดังคาด ขนาดวันนี้มีการจัดงานเทศกาลที่สำคัญประจำเมือง รถส่วนใหญ่ก็วิ่งกันปกติดี หลังจากวันนี้ผมก็มีโอกาศขับรถมาเก็บตกอีกสองสามครั้งการจราจรก็ปกติดี ติดตอนไฟแดงพอเขียวก็ไหลกันไป ขนาดมอร์ไซค์เวลาเค้าติดไฟแดงเค้ายังเข้าแถวหลังรถยนต์เลยครับ ถ้าเป็นบ้านเรา นู้นนน..ไปออ..จอดทับทางม้าลายคนข้าม นู้น.. ถ้าหากเราผ่านย่านรัชดา เอย ลาดพร้าวเอย ทางด่วนเอย ที่นี่หมูมากครับ การขับรถของคนญี่ปุ่นดีครับ เวลาขับรถจากโอซาก้ามาเที่ยวเกียวโตเหนือ ระบบเนวิเกเตอร์เค้าจะจัดการให้เรา ออกทางที่ใกล้ที่สุดกับสถานที่เที่ยวทางเหนือครับ เค้าไม่ให้มาลงไล่ตั้งแต่ใต ไปกลางและเหนือครับ ไม่งั้นต้องผ่านสัญญาณไฟนับร้อยแน่ครับ เนวิเกเตอร์เวลาเรามองลงไปในแผนที่จะเห็นสัญญาณไฟครับ เราสามารถขับเลี่ยงจากถนนที่มีสัญญาณไฟเยอะแยะได้ครับ
เทศกาล อาโออิ Aoi Matsuri เทศกาล อาโออิ นั้นแปลได้ว่า เทศกาลต้นฮอลลี่ฮอก เป็นหนึ่งในสามเทศกาลสำคัญของเกียวโต เทศกาลนี้บางครั้งก็เรียกว่า เทศกาล คาโม Kamo Festiva และเทศกาลนี้จัดเป็นประจำทุกปีในวันที่ 15 ของเดือนพฤษภาคม ประวัติของเทศกาลนั้นเริ่มในสมัยกษัตริย์ คินเมอิ และเรียกเทศกาลนี้ว่า นิฮอน โชว์กิ ตามบทบันทึกโบราณ ที่เรียกว่า ฮอนโชว์ เกซึเรอิ Honcho getsurei และ เนนจูเกียวจิฮิโชวะ Nenchugyoji hissho กล่าไว้ว่าในช่วงนั้นได้เกิดอุทกภัยและพายุทำลายพืชผลไร่นาในประเทศ เนื่องมาจากเทพคาโมบรรดาล โทษรุ่นแรงมาให้ พระกษัตริย์ จึงทรงรับสั่งให้คนถีอสาร พร้อมด้วยองคลักษณ์ นำข้อความไปบอกวัดหลวงให้ทำพิธี ต่างๆเพื่อขอขมาต่อเทพ เพื่อขอให้ได้ผลการเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์ พิธีกรรม นั้นรวมถึงการขี่ม้าเร็ว จากที่กล่าวมาประเพณีนี้เลยกาลเป็นประเพณีประจำปี และการขี่ม้าเร็ว ได้ปรับปรุงเป็นแสดงการขี่ม้ายิงธนู ในต่อมาตามคำกล่าวของบทบันทึกของ โซะกุ นิฮองกิ Zoku Nihongi กล่าวว่า มีผู้คนมาร่วมชมการขี่ม้าบิงธนูมากมายในวันเทศกาล ดั้งนั้น หลังจาก กษัตริย์ ครองราชย์ได้สองปี การขี้ม้ายิงธนูก็ถูกสั่งห้าม ในศตวรรษที่เก้า กษัตริย์คันมุ ได้ก่อตัง พระที่นั่ง ในเกียวโต และนั้นก็เป็นการเริ่มต้นของยุค เฮอันในญี่ปุ่น กษัตริย์ คันมุ Kanmuได้ถือว่า เทพในวัดหลวงคาโมนั้น เป็น เทพคุ้มครองเมืองหลวง เฮอัน และได้ประทานให้ เทศกาล อาโออิ เป็นพระราชพิธีประจำปี เทษกาลอาโออิ ถึงจุดที่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงกลางของยุค กลางของสมัย เฮอัน จากนั้นก็ค่อยๆเสื่อมลงในยุคสมัย คามาคูระ และ ช่วงยุคสมัย มุโรมาชิ จากนั้นประเทศญี่ปุ่นได้เข้าสู่ช่วงสมัย เซ็งโกกุ เทศกาล อาโออิ ได้หยุดทำการเฉลิมฉลองในยุค และในยุค เกนโรกุของช่วงสมัยเอโดะ ได้นำเทศกาล อาโออิ กลับมาอีก แต่หลังจากสองปีในช่วงสมัยเมจิ(1869)ตอนที่มีกาลย้ายเมืองหลวงจากเกียวโตเป็นโตเกียว การเฉลิมฉลองก็หยดอีกครั้ง และใน ยุคเมจิ 17 (1885) รัฐบาลญี่ปุ่นได้นำเทศกาล อาโออิ กลับมาอีกด้วยโครงการปรับปรุงเมืองเกียวโตให้น่าสนใจ เพราะสงครามโลกครั้งที่สอง พิธีการของขบวนแห่ทุกอย่างได้ถูกยกเลิก เหลือแค่พิธีกรรมหน้าวัดหลวงเท่านั้น ในที่สุด พิธีกรรมของเทศกาลอาโออิ เริ่มอีกครั้งในปี 1953 และ ขบวนแห่ เจ้าหญิง ไซโอได เประเพณีนี้ได้เริ่มเข้ามาในปี 1956 ที่มาของชื่อเทศกาล อาโออิ ที่เรียกว่าเทศกาล ต้นฮอลลี่ฮอกนั้น สืบเนื่องมาจากการใช้ใบของต้นฮอลลี่ฮอกประดับตกแต่งงาน ใบของต้นฮอลลี่ฮอกนั้นครั้งหนึ่งได้ถือว่าเป็นเครืองรางคุ้มครองจากภัยธรรมชาติ ที่มาjapantravel.com