จักจี้ตัวเองได้หรือเปล่า เรื่องน่าฉงนที่ต้องอ่าน !
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
การจักจี้ สัมผัสอันสุดฉงนที่โดนแล้วอดหัวเราะแทบไม่ได้ มาดูกันสิว่า จักจี้คืออะไร ทำไมเราต้องหัวเราะ แล้วเราสามารถจักจี้ตัวเองได้หรือไม่
การจักจี้ แค่พูดถึงบางคนก็ถึงกับผวาจนต้องมองซ้ายมองขวา เนื่องมาจากว่าหลาย ๆ คนนั้นเส้นตื้นมากเสียจนใครเข้าใกล้แทบไม่ได้เพราะกลัวว่าจะโดนแกล้ง แต่เคยสงสัยกันบ้างหรือเปล่าคะว่าทำไมคนเราต้องรู้สึกจักจี้ แล้วทำไมเราต้องหัวเราะเวลาถูกจักจี้ และทำไมเราถึงไม่สามารถจักจี้ตัวเองได้
ข้อสงสัยเหล่านี้จะหมดไปอย่างแน่นอนหากได้อ่านบทความนี้จนจบ ซึ่งกระปุกดอทคอมจะหยิบยกเอาเรื่องราวเกี่ยวกับความรู้สึกจักจี้มาฝากกัน ได้เวลาที่เราจะทำความเข้าใจกับร่างกายของเราให้ดีกันไปอีกขั้นหนึ่งแล้วล่ะจ้า แต่ก่อนที่เราจะไปดูกันว่าทำไมเราต้องหัวเราะเวลาถูกจักจี้ เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าความรู้สึกจักจี้นั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไร และทำไมเราถึงรู้สึกจักจี้ได้โดยแค่เพียงการถูกสัมผัสแค่เบา ๆ เท่านั้น
ความรู้สึกจักจี้เป็นสัมผัสชนิดหนึ่งที่ยังคงเป็นปริศนาทั้งทางพฤติกรรมและทางสรีระ ซึ่งการจักจี้นี้ เป็นเรื่องทีได้รับความสนใจมากตั้งแต่โบราณ เพราะไม่ว่าจะเป็น อาริสโตเติล (Aristotle), เพลโต (Plato), โสเครติส (Socrates), ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon), กาลิเลโอ (Galileo) หรือแม้แต่ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ก็ให้ความสนใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และแม้แต่ในปัจจุบันก็ยังคงได้รับการความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ ถึงกับมีการทดลองมากมายเพื่อหาความเชื่อมโยงของสมองกับการจักจี้ กระทั่งในปี 1897 นักจิตวิทยานามว่า G. Stanley Hall และ Arthur Allin ได้พบว่าการจักจี้นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
- Knismesis คือการจักจี้แบบแผ่วเบา การจักจี้ประเภทนี้มักไม่ทำให้หัวเราะ แต่จะทำให้รู้สึกคันแทน การจักจี้ประเภทนี้จะเกิดจากการถูกกระตุ้นระดับต่ำในบริเวณที่ไวต่อความรู้สึกของร่างกาย ซึ่งไม่ได้เกิดแค่เพียงถูกสัมผัสเบา ๆ เท่านั้น แต่ถ้าหากถูกกระแสไฟเบา ๆ มากระตุ้นยังบริเวณที่ไวต่อการสัมผัสก็อาจทำให้รู้สึกได้เช่นกัน
- Gargalesis คือ การจักจี้ด้วยความแรง แม้จะไม่แรงจนรู้สึกเจ็บแต่ก็จะทำให้การหัวเราะไม่หยุด การจักจี้วิธีนี้จะต้องถูกกระตุ้นด้วยแรงในระดับหนึ่ง และจะต้องกระตุ้นซ้ำ ๆ บริเวณที่ไวต่อความรู้สึกของร่างกายถึงจะทำให้เกิดการจักจี้ได้
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบอีกว่าการจักจี้ไม่ได้เกิดแค่กับเพียงมนุษย์เท่านั้น โดยการจักจี้แบบ Knismesis เกิดขึ้นได้ในสัตว์หลากหลายชนิด และอาจจะเกิดจากการที่ถูกแมลงหรือสัตว์ไต่ ส่วนการจักจี้แบบ Gargalesis ยังสามารถเกิดกับลิง และหนูเท่านั้น ส่วนอวัยวะที่ไวต่อความรู้สึกจักจี้มากที่สุดนั้นได้แก่ฝ่าเท้า ส่วนบริเวณอื่น ๆ ที่ไวต่อการจักจี้ก็ได้แก่ รักแร้ ด้านข้างลำตัว คอ เข่า บริเวณกระบังลม สะดือ และซี่โครง
ทำไมเราจึงต้องหัวเราะเวลาถูกจักจี้ ?
จักจี้ตัวเองได้หรือเปล่า เรื่องน่าฉงนที่ต้องอ่าน !
จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์แห่งวิทยาลัยทือบิงเงิน (Tuebingen University) ในประเทศเยอรมนีพบว่า การจักจี้จะไปกระตุ้นส่วนของสมองที่ตอบสนองต่ออาการเจ็บปวด และการหัวเราะเพราะถูกจักจี้นั้นเป็นกลไกในการป้องกันตัวของมนุษย์วิธีหนึ่ง ซึ่งแม้ว่าการจักจี้จะไม่ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดจริง ๆ ในตอนแรก แต่หากถูกจักจี้ซ้ำ ๆ เป็นเวลานานก็อาจจะทำให้รู้สึกเจ็บได้
ทำไมจักจี้ตัวเองแล้วไม่หัวเราะ ?
สำหรับบางคนการถูกคนอื่นจักจี้แค่เพียงนิดเดียวก็อาจจะทำให้หัวเราะได้ไม่หยุด หรือไม่ก็เผลอตีกลับไปอย่างรุนแรง แต่เมื่อจักจี้ตัวเองกลับไม่รู้สึกอะไรเลย นั่นก็เป็นเพราะว่าการถูกจักจี้โดยคนอื่นเป็นสิ่งที่คนเราสมองของเราไม่รู้เนื้อรู้ตัวมาก่อน ทำให้ระบบประสาทและสมองถูกรบกวน แต่การจักจี้ตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่เราคนคิดล่วงหน้ามาก่อนแล้วจึงทำให้สมองจินตนาการภาพของการถูกจักจี้ก่อนที่จะลงมือทำจริง ทำให้ร่างกายปรับสภาพเตรียมพร้อมแล้ว เลยไม่รู้สึกจักจี้
โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลอนดอนก็ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยการใช้เครื่องมือ fMRI วัดระดับการทำงานต่าง ๆ ในสมองของอาสาสมัครในขณะที่ถูกผู้อื่นจักจี้ และตอนที่จักจี้ตัวเอง แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน พบว่า สมองในส่วนที่รับการสัมผัสจะทำงานสูงเมื่อถูกจักจี้ แต่ในสมองส่วนเกี่ยวของกับกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวอย่างเซรีเบลลัม (cerebellum) กลับไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
ในขณะเมื่ออาสาสมัครจักจี้ตัวเอง สมองในส่วนที่รับความรู้สึกกลับมีการทำงานที่ต่ำกว่าตอนที่ถูกผู้อื่นจักจี้ แต่กลับเป็นสมองในส่วน เซรีเบลลัม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จึงทำให้สรุปได้ว่าในตอนที่เราจักจี้ตัวเอง สมองได้สั่งการไปยังมือและเซรีเบลลัม เพื่อทำการวิเคราะห์ผลของการกระทำเอาไว้แล้ว เลยไม่ส่งผลให้รู้สึกจักจี้แล้วหัวเราะออกมาแต่อย่างใด
การจักจี้สำคัญอย่างไร ?
จักจี้ตัวเองได้หรือเปล่า เรื่องน่าฉงนที่ต้องอ่าน !
นักจิตวิทยามากมายเชื่อว่าการจักจี้นั้นถือเป็นการสร้างความผูกพันระหว่างบุคคลอย่างหนึ่ง อย่างการที่พ่อแม่จักจี้เด็กทารก ทำให้เด็กทารกหัวเราะ ยิ้มแย้ม และเกิดความผูกพันกับพ่อแม่ ส่วนการจักจี้ระหว่างเพื่อนนั้นก็เป็นการเล่นชนิดหนึ่งที่สร้างความผูกพันใกล้ชิดระหว่างกันและกัน แต่จะได้ผลก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายยินยอมและสนุกกับการจักจี้นี้
คงจะพอหายสงสัยกันแล้วใช่ไหมล่ะ ใครที่เคยลองจักจี้ตัวเองบ่อย ๆ ก็เลิกทำกันได้แล้วเนอะ เพราะยังไงก็คงไม่หัวเราะอย่างแน่นอน
เชื่อว่าทุกคนเคยผ่านประสบการณ์กันมา (มาแชร์กันหน่อย)
ว่าแล้วเรามาเล่นจั๊กจี้กันเถอะ 555+
จักจี้ตัวเองได้หรือเปล่า เรื่องน่าฉงนที่ต้องอ่าน !
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
การจักจี้ สัมผัสอันสุดฉงนที่โดนแล้วอดหัวเราะแทบไม่ได้ มาดูกันสิว่า จักจี้คืออะไร ทำไมเราต้องหัวเราะ แล้วเราสามารถจักจี้ตัวเองได้หรือไม่
การจักจี้ แค่พูดถึงบางคนก็ถึงกับผวาจนต้องมองซ้ายมองขวา เนื่องมาจากว่าหลาย ๆ คนนั้นเส้นตื้นมากเสียจนใครเข้าใกล้แทบไม่ได้เพราะกลัวว่าจะโดนแกล้ง แต่เคยสงสัยกันบ้างหรือเปล่าคะว่าทำไมคนเราต้องรู้สึกจักจี้ แล้วทำไมเราต้องหัวเราะเวลาถูกจักจี้ และทำไมเราถึงไม่สามารถจักจี้ตัวเองได้
ข้อสงสัยเหล่านี้จะหมดไปอย่างแน่นอนหากได้อ่านบทความนี้จนจบ ซึ่งกระปุกดอทคอมจะหยิบยกเอาเรื่องราวเกี่ยวกับความรู้สึกจักจี้มาฝากกัน ได้เวลาที่เราจะทำความเข้าใจกับร่างกายของเราให้ดีกันไปอีกขั้นหนึ่งแล้วล่ะจ้า แต่ก่อนที่เราจะไปดูกันว่าทำไมเราต้องหัวเราะเวลาถูกจักจี้ เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าความรู้สึกจักจี้นั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไร และทำไมเราถึงรู้สึกจักจี้ได้โดยแค่เพียงการถูกสัมผัสแค่เบา ๆ เท่านั้น
ความรู้สึกจักจี้เป็นสัมผัสชนิดหนึ่งที่ยังคงเป็นปริศนาทั้งทางพฤติกรรมและทางสรีระ ซึ่งการจักจี้นี้ เป็นเรื่องทีได้รับความสนใจมากตั้งแต่โบราณ เพราะไม่ว่าจะเป็น อาริสโตเติล (Aristotle), เพลโต (Plato), โสเครติส (Socrates), ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon), กาลิเลโอ (Galileo) หรือแม้แต่ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ก็ให้ความสนใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และแม้แต่ในปัจจุบันก็ยังคงได้รับการความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ ถึงกับมีการทดลองมากมายเพื่อหาความเชื่อมโยงของสมองกับการจักจี้ กระทั่งในปี 1897 นักจิตวิทยานามว่า G. Stanley Hall และ Arthur Allin ได้พบว่าการจักจี้นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
- Knismesis คือการจักจี้แบบแผ่วเบา การจักจี้ประเภทนี้มักไม่ทำให้หัวเราะ แต่จะทำให้รู้สึกคันแทน การจักจี้ประเภทนี้จะเกิดจากการถูกกระตุ้นระดับต่ำในบริเวณที่ไวต่อความรู้สึกของร่างกาย ซึ่งไม่ได้เกิดแค่เพียงถูกสัมผัสเบา ๆ เท่านั้น แต่ถ้าหากถูกกระแสไฟเบา ๆ มากระตุ้นยังบริเวณที่ไวต่อการสัมผัสก็อาจทำให้รู้สึกได้เช่นกัน
- Gargalesis คือ การจักจี้ด้วยความแรง แม้จะไม่แรงจนรู้สึกเจ็บแต่ก็จะทำให้การหัวเราะไม่หยุด การจักจี้วิธีนี้จะต้องถูกกระตุ้นด้วยแรงในระดับหนึ่ง และจะต้องกระตุ้นซ้ำ ๆ บริเวณที่ไวต่อความรู้สึกของร่างกายถึงจะทำให้เกิดการจักจี้ได้
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบอีกว่าการจักจี้ไม่ได้เกิดแค่กับเพียงมนุษย์เท่านั้น โดยการจักจี้แบบ Knismesis เกิดขึ้นได้ในสัตว์หลากหลายชนิด และอาจจะเกิดจากการที่ถูกแมลงหรือสัตว์ไต่ ส่วนการจักจี้แบบ Gargalesis ยังสามารถเกิดกับลิง และหนูเท่านั้น ส่วนอวัยวะที่ไวต่อความรู้สึกจักจี้มากที่สุดนั้นได้แก่ฝ่าเท้า ส่วนบริเวณอื่น ๆ ที่ไวต่อการจักจี้ก็ได้แก่ รักแร้ ด้านข้างลำตัว คอ เข่า บริเวณกระบังลม สะดือ และซี่โครง
ทำไมเราจึงต้องหัวเราะเวลาถูกจักจี้ ?
จักจี้ตัวเองได้หรือเปล่า เรื่องน่าฉงนที่ต้องอ่าน !
จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์แห่งวิทยาลัยทือบิงเงิน (Tuebingen University) ในประเทศเยอรมนีพบว่า การจักจี้จะไปกระตุ้นส่วนของสมองที่ตอบสนองต่ออาการเจ็บปวด และการหัวเราะเพราะถูกจักจี้นั้นเป็นกลไกในการป้องกันตัวของมนุษย์วิธีหนึ่ง ซึ่งแม้ว่าการจักจี้จะไม่ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดจริง ๆ ในตอนแรก แต่หากถูกจักจี้ซ้ำ ๆ เป็นเวลานานก็อาจจะทำให้รู้สึกเจ็บได้
ทำไมจักจี้ตัวเองแล้วไม่หัวเราะ ?
สำหรับบางคนการถูกคนอื่นจักจี้แค่เพียงนิดเดียวก็อาจจะทำให้หัวเราะได้ไม่หยุด หรือไม่ก็เผลอตีกลับไปอย่างรุนแรง แต่เมื่อจักจี้ตัวเองกลับไม่รู้สึกอะไรเลย นั่นก็เป็นเพราะว่าการถูกจักจี้โดยคนอื่นเป็นสิ่งที่คนเราสมองของเราไม่รู้เนื้อรู้ตัวมาก่อน ทำให้ระบบประสาทและสมองถูกรบกวน แต่การจักจี้ตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่เราคนคิดล่วงหน้ามาก่อนแล้วจึงทำให้สมองจินตนาการภาพของการถูกจักจี้ก่อนที่จะลงมือทำจริง ทำให้ร่างกายปรับสภาพเตรียมพร้อมแล้ว เลยไม่รู้สึกจักจี้
โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลอนดอนก็ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยการใช้เครื่องมือ fMRI วัดระดับการทำงานต่าง ๆ ในสมองของอาสาสมัครในขณะที่ถูกผู้อื่นจักจี้ และตอนที่จักจี้ตัวเอง แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน พบว่า สมองในส่วนที่รับการสัมผัสจะทำงานสูงเมื่อถูกจักจี้ แต่ในสมองส่วนเกี่ยวของกับกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวอย่างเซรีเบลลัม (cerebellum) กลับไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
ในขณะเมื่ออาสาสมัครจักจี้ตัวเอง สมองในส่วนที่รับความรู้สึกกลับมีการทำงานที่ต่ำกว่าตอนที่ถูกผู้อื่นจักจี้ แต่กลับเป็นสมองในส่วน เซรีเบลลัม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จึงทำให้สรุปได้ว่าในตอนที่เราจักจี้ตัวเอง สมองได้สั่งการไปยังมือและเซรีเบลลัม เพื่อทำการวิเคราะห์ผลของการกระทำเอาไว้แล้ว เลยไม่ส่งผลให้รู้สึกจักจี้แล้วหัวเราะออกมาแต่อย่างใด
การจักจี้สำคัญอย่างไร ?
จักจี้ตัวเองได้หรือเปล่า เรื่องน่าฉงนที่ต้องอ่าน !
นักจิตวิทยามากมายเชื่อว่าการจักจี้นั้นถือเป็นการสร้างความผูกพันระหว่างบุคคลอย่างหนึ่ง อย่างการที่พ่อแม่จักจี้เด็กทารก ทำให้เด็กทารกหัวเราะ ยิ้มแย้ม และเกิดความผูกพันกับพ่อแม่ ส่วนการจักจี้ระหว่างเพื่อนนั้นก็เป็นการเล่นชนิดหนึ่งที่สร้างความผูกพันใกล้ชิดระหว่างกันและกัน แต่จะได้ผลก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายยินยอมและสนุกกับการจักจี้นี้
คงจะพอหายสงสัยกันแล้วใช่ไหมล่ะ ใครที่เคยลองจักจี้ตัวเองบ่อย ๆ ก็เลิกทำกันได้แล้วเนอะ เพราะยังไงก็คงไม่หัวเราะอย่างแน่นอน
เชื่อว่าทุกคนเคยผ่านประสบการณ์กันมา (มาแชร์กันหน่อย)
ว่าแล้วเรามาเล่นจั๊กจี้กันเถอะ 555+