รัฐบาลได้ประกาศอาชีพช่างไฟฟ้าเป็นสาขาอาชีพควบคุม ต้องปฏิบัติโดยช่างที่มีหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ
" หนังสือรับรองความรู้ความสามารถ "
คำๆนี้ เป็นคำที่ดูไม่มีเสน่ห์เอาเสียเลย สำหรับผู้ที่จบการศึกษา ปวช. ปวส. ทลบ. อสบ. คบ. วทบ. ทางด้านไฟฟ้า
ซึ่งแน่นอน สวนใหญ่ที่สอบถามกันและเกิดปัญหา ข้างคาใจกันพอสมควรว่า วุฒิการศึกษาที่ได้กล่าวมาข้างต้น ยังไม่สามารถรับรองความรู้ความสามารถของผู้ที่จบการศึกษาได้อีกหรือ
ทำไม ต้องมาสอบเอาหนังสือรับรองความรู้ความสามารถอีก ทั้งๆที่จบสายตรงมาแล้ว
กรณีอย่างนี้ ตามกฎหมายกำหนด ถ้าจบวุฒิการศึกษาที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ไม่มีหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ ก็ไม่สามารถปฎิบัติงานได้ ผิดกฎหมายทันที
อีกทั้งการสอบเพื่อรับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ ยังต้องไปสอบกับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
อันนี้ก็เป็นคำถามในใจขึ้นมาอีก ( คำถามในใจนะ คิดดังไม่ได้ ) ว่าทำไม ต้องไปสอบกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
เพราะว่า หลักสูตร กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีคุณภาพมากกว่า กรมอาชีวะศึกษา ?
เพราะว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีบุคลากรที่พร้อมกว่า กรมอาชีวะศึกษา ?
เพราะว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีเครื่องมือในการสอบพร้อมกว่า กรมอาชีวศึกษา ?
เพราะว่า กฎหมายกำหนดไว้แบบนี้ ( ผมว่าข้อนี้นะ คิดในใจอีกนั้นหละ )
แน่นอนครับเจ้านาย คิวสอบเต็มไปถึงปีหน้าโน้นหละ แล้วจะทำกันอย่างไรละทีนี้ ผิดกฎหมายกันแน่ๆ ต้องแอบทำ เพราะยังไม่ได้ใบอนุญาติมาและเขาจะบังคับใช้แล้ว
โอเค น้ำมาเยอะ
คิดกันในใจ
ในอนาคต ช่างไฟฟ้า และช่างอุตสาหกรรม สาขาอื่นๆ ก็จะเป็นสาขาวิชาที่ต้องควบคุมคุณภาพ
ทำไมเราไม่จัดตั้ง สภาวิชาชีพ ช่างอุตสาหกรรม ขึ้นมาละ ?
โดยจะต้องออกกฎหมาย พระราชบัญญัติช่างอุตสาหกรรม ขึ้นมา ( ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการ )
และ สภาวิชาชีพ ช่างอุตสาหกรรม เป็นผู้ออกใบอนุญาติในการประกอบอาชีพ ช่างอุตสาหกรรมควบคุม ประเภทต่างๆ
เพราะฉะนั้น ถ้าใครจะประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม ต้องมี ใบประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรมควบคุม
เช่น
ช่างอุตสาหกรรมควบคุม ( ไฟฟ้ากำลัง ปฎิบัติงาน ไฟฟ้าภายในอาคาร ไฟฟ้าภายนอกอาคาร )
ช่างอุตสาหกรรมควบคุม ( ไฟฟ้ากำลัง ปฎิบัติงาน ไฟฟ้าอุตสาหกรรม )
ช่างอุตสาหกรรมควบคุม (ไฟฟ้ากำลัง ปฎิบัติงาน ติดตั้งเครื่องปรับอากาศในบ้านพักอาศัย ขนาดไม่เกิน 5 ตัน )
แต่ถ้าทำงานกับไฟฟ้า แรงสูง
ช่างอุตสาหกรรมควบคุม (ไฟฟ้ากำลัง ปฎิบัติงาน ไฟฟ้าแรงดันสูง ไม่เกิน 24 KV )
เป็นต้น
ผมว่าอย่างนี้ จะดีกว่าไหมครับ แยกแยะหน้าที่ความชำนาญ ชัดเจน ยิ่งกว่ากฎหมายอีก
ถ้าเป็น แบบนี้ ผมว่า ผู้ที่จบ ปวช ปวส ทลบ อสบ คบ วทบ น่าจะเห็นด้วยแน่นอน
เพราะเขาสอบ วิศวกรรมควบคุมไม่ได้
แต่สามารถสอบ ช่างอุตสาหกรรมควบคุมได้ (ถ้าเกิดขึ้นจริง)
และ เพื่อนสมาชิกคิดว่าอย่างไรกันบ้างกับแนวคิดในการ จัดตั้งสภาวิชาชีพ ช่างอุตสาหกรรม
ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจำเป็นต้องมี สภาวิชาชีพ ช่างอุตสาหกรรม
" หนังสือรับรองความรู้ความสามารถ "
คำๆนี้ เป็นคำที่ดูไม่มีเสน่ห์เอาเสียเลย สำหรับผู้ที่จบการศึกษา ปวช. ปวส. ทลบ. อสบ. คบ. วทบ. ทางด้านไฟฟ้า
ซึ่งแน่นอน สวนใหญ่ที่สอบถามกันและเกิดปัญหา ข้างคาใจกันพอสมควรว่า วุฒิการศึกษาที่ได้กล่าวมาข้างต้น ยังไม่สามารถรับรองความรู้ความสามารถของผู้ที่จบการศึกษาได้อีกหรือ
ทำไม ต้องมาสอบเอาหนังสือรับรองความรู้ความสามารถอีก ทั้งๆที่จบสายตรงมาแล้ว
กรณีอย่างนี้ ตามกฎหมายกำหนด ถ้าจบวุฒิการศึกษาที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ไม่มีหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ ก็ไม่สามารถปฎิบัติงานได้ ผิดกฎหมายทันที
อีกทั้งการสอบเพื่อรับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ ยังต้องไปสอบกับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
อันนี้ก็เป็นคำถามในใจขึ้นมาอีก ( คำถามในใจนะ คิดดังไม่ได้ ) ว่าทำไม ต้องไปสอบกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
เพราะว่า หลักสูตร กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีคุณภาพมากกว่า กรมอาชีวะศึกษา ?
เพราะว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีบุคลากรที่พร้อมกว่า กรมอาชีวะศึกษา ?
เพราะว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีเครื่องมือในการสอบพร้อมกว่า กรมอาชีวศึกษา ?
เพราะว่า กฎหมายกำหนดไว้แบบนี้ ( ผมว่าข้อนี้นะ คิดในใจอีกนั้นหละ )
แน่นอนครับเจ้านาย คิวสอบเต็มไปถึงปีหน้าโน้นหละ แล้วจะทำกันอย่างไรละทีนี้ ผิดกฎหมายกันแน่ๆ ต้องแอบทำ เพราะยังไม่ได้ใบอนุญาติมาและเขาจะบังคับใช้แล้ว
โอเค น้ำมาเยอะ
คิดกันในใจ
ในอนาคต ช่างไฟฟ้า และช่างอุตสาหกรรม สาขาอื่นๆ ก็จะเป็นสาขาวิชาที่ต้องควบคุมคุณภาพ
ทำไมเราไม่จัดตั้ง สภาวิชาชีพ ช่างอุตสาหกรรม ขึ้นมาละ ?
โดยจะต้องออกกฎหมาย พระราชบัญญัติช่างอุตสาหกรรม ขึ้นมา ( ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการ )
และ สภาวิชาชีพ ช่างอุตสาหกรรม เป็นผู้ออกใบอนุญาติในการประกอบอาชีพ ช่างอุตสาหกรรมควบคุม ประเภทต่างๆ
เพราะฉะนั้น ถ้าใครจะประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม ต้องมี ใบประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรมควบคุม
เช่น
ช่างอุตสาหกรรมควบคุม ( ไฟฟ้ากำลัง ปฎิบัติงาน ไฟฟ้าภายในอาคาร ไฟฟ้าภายนอกอาคาร )
ช่างอุตสาหกรรมควบคุม ( ไฟฟ้ากำลัง ปฎิบัติงาน ไฟฟ้าอุตสาหกรรม )
ช่างอุตสาหกรรมควบคุม (ไฟฟ้ากำลัง ปฎิบัติงาน ติดตั้งเครื่องปรับอากาศในบ้านพักอาศัย ขนาดไม่เกิน 5 ตัน )
แต่ถ้าทำงานกับไฟฟ้า แรงสูง
ช่างอุตสาหกรรมควบคุม (ไฟฟ้ากำลัง ปฎิบัติงาน ไฟฟ้าแรงดันสูง ไม่เกิน 24 KV )
เป็นต้น
ผมว่าอย่างนี้ จะดีกว่าไหมครับ แยกแยะหน้าที่ความชำนาญ ชัดเจน ยิ่งกว่ากฎหมายอีก
ถ้าเป็น แบบนี้ ผมว่า ผู้ที่จบ ปวช ปวส ทลบ อสบ คบ วทบ น่าจะเห็นด้วยแน่นอน
เพราะเขาสอบ วิศวกรรมควบคุมไม่ได้
แต่สามารถสอบ ช่างอุตสาหกรรมควบคุมได้ (ถ้าเกิดขึ้นจริง)
และ เพื่อนสมาชิกคิดว่าอย่างไรกันบ้างกับแนวคิดในการ จัดตั้งสภาวิชาชีพ ช่างอุตสาหกรรม