คุณเคยไหม? ที่ตัดสินคนอื่นจากการที่ได้รู้จักหรือเห็นอย่างฉาบฉวย จนกลายเป็นความเข้าใจผิด จากกการที่ "ไม่รู้จริง"
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (บัณฑิตอาสาสมัคร) เป็นหลักสูตรที่เกิดจากแนวคิดของ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่เปิดการเรียนการสอนในธรรมศาสตร์ ย่างเข้าถึงปีที่ 48 เพื่อฝึกให้คนหนุ่มสาวได้รู้จักการใช้ชีวิตในถิ่นที่แตกต่าง ฝึกความอดทน ปรับตัว เรียนรู้จากชาวบ้านในชุมชน ด้วยการเข้าไปบำเพ็ญประโยชน์ หรือบางคนอาจมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะหาทางออกช่วยเหลือชาวบ้านหลังจากได้เข้าไปเรียนรู้และพบสภาพ ปัญหาที่เกิดขึ้น ผ่านการประสานงานโครงการ ผสมผสานความร่วมมือของคนในชุมชนเอง ที่จะทำให้ชุมชนเข้มแข็งและอยู่รอดได้ในสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายใต้การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดร่วมกัน
บทความสั้นๆ จากกลุ่มบัณฑิตอาสาสมัคร หรือเรียกสั้นๆ ว่า "บอ." (บอ - ออ) ที่จะบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของเขาและเธอ ระหว่างการใช้ชีวิตอยู่ในแบบ "บัณฑิตอาสาสมัคร" ร่วม 1 ปี จนกลายเป็นงานเขียนสั้นๆ สะท้อนชีวิตที่อาจจะดูแตกต่างจากสังคมเมืองไม่มากก็น้อย แต่เขาและเธอได้อะไรจากการได้เข้าไปสัมผัสจากประสบการณ์จริง ในพื้นที่จริง และกลับมาบอกเล่าความจริงและความรู้สึกในมุมมองของเขาและเธอ ให้คุณได้อ่านกัน...
"ก้าวข้าม..."
เป็นเวลากว่า 5 ปี หลังจากเรียนจบปริญญาตรีและทำงานในสิ่งที่ไม่เหมาะกับตัวเองเลย ก็ค้นพบทางเดินที่ดูเหมือนจะลงตัวกับตัวเองเสียที เมื่อได้เข้าไปพบเจอข่าวประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์อาสาสมัครแห่งหนึ่ง เกี่ยวกับ "บัณฑิตอาสาสมัคร" หลังจากที่ได้ศึกษารายละเอียดซ้ำไปซ้ำมาหลายรอบ ก็ตกลงปลงใจที่จะก้าวเข้ามาเป็นลูกศิษย์ของ อ.ป๋วย ให้ได้ ผลจากความพยายาม ท้ายที่สุดก็เข้ามาในรั้วบัณฑิตอาสาสมัครจนได้ สิ่งแรกที่ได้จากการเป็นบัณฑิตอาสาสมัคร ก็คือ การก้าวข้ามความกลัวที่จะละทิ้งสิ่งเดิม ๆ ซึ่งแม้สิ่งนั้นจะดูสมบูรณ์แบบในสายตาของใครหลายคนก็ตาม แต่ผมก็มั่นใจที่จะยกเอาคำว่า "ความสุข" มาไว้หน้าคำว่า "เงิน เกียรติยศ และชื่อเสียง" (นาทีนี้เอาช้างมาฉุดก็ไม่อยู่)
การเข้ามาอยู่ใน ส.บอ. (สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ปัจจุบันคือวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์) เป็นช่วงเวลาที่เข้มข้น สำนักฯ ต้องให้ บอ. มีการเตรียมพร้อมก่อนจะลงมือทำอะไรเสมอ เพื่อให้ทุกวินาทีไม่สูญไปโดยเปล่าประโยชน์ เริ่มตั้งแต่แรกก็ต้องเข้ามาเตรียมตัวก่อนเป็น บอ. เข้ามาสัมผัสชีวิตและจิตวิญญาณ บอ. ตลอดจนเพื่อนพ้องร่วมรุ่นทั้ง 25 คน ผ่านด่านนี้สำเร็จก็เข้าสู่การเตรียมตัวขั้นสูง เริ่มตั้งแต่การฝึกปรือในตำรายุทธ์ต่าง ๆ อาจารย์ทุกท่านล้วนแต่เป็นเจ้ายุทธจักรทั้งสิ้น มีกลเม็ดเคล็ดวิชาที่ไม่ซ้ำแบบใคร ข่างเป็นโชคดีของผมเสียเหลือเกินที่ได้มาเป็นลูกศิษย์ เพราะในชีวิตการเล่าเรียนของผม มีน้อยครั้งนักที่รู้สึกว่าผู้เรียนเป็นเจ้าของวิชาเรียน ที่นี่ให้ผู้เรียนเป็นใหญ่ อาจารย์เป็นเพียงผู้คอยตะล่อมให้เป็นไปตามเกม ไม่มีกรอบมากนัก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีขอบเขต สำหรับผมนี่ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ต้องเริ่มเรียนรู้จากศูนย์ เวลา 3 เดือนจึงดูสั้นและรวดเร็วมาก วิทยายุทธ์ยังไม่ทันจะแข็งกล้าก็ต้องออกรบในสนามเสียแล้ว เดชะบุญที่ก่อนออกภาคสนาม มีการลองให้ฝึกใช้ความู้ทั้งหมดที่ร่ำเรียนมา ทำให้เห็นข้อดีและข้อด้อยในตัวเองหลาย ๆ อย่าง แต่สำหรับผมก็อาจจะไม่ทันแล้ว "คงไปตายเอาดาบหน้าแล้วกัน" ในชีวิตมีความโชคดีหลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นกับผม ตั้งแต่โชคดีที่ที่รู้จักบัณฑิตอาสาสมัคร โชคดีที่สอบติด โชคดีที่แม่บ่นน้อยมากเรื่องลาออกจากงาน โชคดีที่มาเรียนแล้วชอบ โชคดีที่สอบผ่าน และโชคดีที่ได้ออกภาคสนามในพื้นที่ที่เลือกไว้เป็นอันดับ 1 ก่อนลงพื้นที่จำได้ว่าหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบคือ "การเป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็ก ๆ" ซึ่งฟังดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายแต่ทำได้ยากจริง ๆ คิดอยู่นานว่าจะทำอย่างไรดี สุดท้ายก็ได้คำตอบว่าก็เป็นตัวของเราอย่างที่เป็นอยู่นี่แหละดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องดีหมดทุกด้านแต่ทุกด้านที่คิดว่าดีก็ให้ดีอย่างสม่ำเสมอ ใช้เวลาและประสบการณ์ที่ผ่านไปแต่ละวันเป็นบทเรียนสำหรับวันใหม่ การอยู่กับเด็กที่นี่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เวลากว่า 7 เดือน สอนให้ผมรู้ว่า การทำงานกับเด็กจะต้องมีสิ่งดังต่อไปนี้
1. ความรู้ (Knowledge) คือรู้เรื่องเกี่ยวกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการด้านร่างกายและอารมณ์ ความสนใจ อาหาร และอื่น ๆ จะได้แนะแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมให้แก่เด็ก ๆ ในเรื่องต่าง ๆ
2. ความเข้าใจ (Understand) ต้องเข้าใจว่าเด็กคืออะไร เด็กแต่ละคนมี IQ และ EQ ต่างกัน ที่สำคัญต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าครั้งหนึ่งเราก็เคยเป็นเด็กมาก่อนนะ
3. ใจกว้าง (Generous) เปิดรับทุกข้อคิดเห็น ทุกปัญหา ถึงแม้บางเรื่องจะดูไร้สาระสำหรับผู้ใหญ่ เพราะอย่างน้อยก็จะทำให้เด็กกล้าแสดงออกและมั่นใจในตนเอง แถมยังเชื่อใจเราด้วยว่าเราก็รับฟังความคิดเห็นของพวกเขา
4. ยุติธรรม (Justice) ปฏิบัติตนต่อเด้กทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อไม่สร้างความอิจฉาริษยาให้เกิดขึ้น ซึ่งข้อนี้เป็นเรื่องที่ยากมาก ผมเองบอกกับตัวเองก่อนมาว่าจะไม่สนิทกับเด็กคนไหนเป็นพิเศษ แต่แล้วก็ทำไม่ได้ เมื่อถูกชะตากับเด็กบางคนก็ยากที่จะไม่ลำเอียงในบางเรื่อง แต่ก็พยายามอย่างถึงที่สุดแล้วที่จะให้เกิดความอิจฉาริษยาในหมู่เด็ก ๆ น้อยที่สุด
5. ความอดทด (Patient) ข้อสุดท้ายนี้ดูเหมือนจะเป็นพื้นฐานในทุก ๆ ข้อ การอยู่กับเด็กกว่าร้อยคนต้องอดทนอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กพิเศษที่ขาดแคลนความรักและความเป็นครอบครัว
สรุปแล้วผมเรียกทั้งหมดนี้ว่า "กุ๊กแจ๊บ" มาจากการเอาอักษรตัวหน้าของทั้ง 5 คำมาเรียงต่อกันได้ "KUG-JP" ทุกก้าวย่างของ บอ. ที่ก้าวเดินต้องนำกลับมาคิดและทบทวนเสมอ ๆ ว่าส่งผลกระทบต่อสิ่งรอบข้างอย่างไร ณ วันที่ออกจากภาคสนามผมรู้ตัวว่าอาจไปไม่ถึงเป้าหมายหลักข้อหนึ่งของ บอ. คือเรียนรู้ชุมชนให้มาก ๆ แต่ความเป็นเด็กที่ผมสัมผัสในทุก ๆ วัน ก็เป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ที่สอนให้ผมตระหนักว่า ทุก ๆ วันที่พ้นผ่าน ผมก้าวข้ามสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่ดีหรือยัง
การมาอยู่ที่นี่สอนให้ผมรู้ว่าหากอยากเก่งด้านไหนต้องฝึกด้านนั้นให้มาก ๆ ถ้ามัวแต่นอนเพ้อฝันว่าตัวเองทำได้คงยากที่จะสำเร็จ โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นทักษะต้องอาศัยการฝึกฝน ตัวอย่างเช่น อยากพูดภาษาอังกฤษได้ ถึงแม้จะฟังรู้เรื่องแต่ถ้าไม่เคยอ้าปากพูด ไม่ว่าชาติไหน ๆ ก็คงไม่มีวันพูดได้ อยากรู้จักคนให้มาก ๆ ถ้าไม่เปิดตัวเองแล้วทักเขาก่อน ก็ยากที่เขาจะมาทักเรา หรืออยากได้ลูกเสือถ้าไม่เข้าถ้ำเสือฉกลูกมาจากแม่เสือ ก็คงได้แต่แมวที่ถูกย้อมลาย ทุก ๆ อย่าง ทุก ๆ เรื่องที่จะทำถ้ามีความกลัวเกิดขึ้น จงทลายให้พินาศแล้วก้าวข้ามความกลัวนั้นไปเสีย เพราะหลาย ๆ อย่างที่ผมกลัวพอได้เข้าสัมผัสจริง ๆ แล้วไม่เห็นจะน่ากลัวอย่างที่คิด คำว่า "กลัวที่จะคว้าโอกาส" ก็เท่ากับ "หมดโอกาส" ฉะนั้น จงอย่าให้ความกลัวมาบดบังสิ่งดี ๆ ในชีวิต ระยะเวลา 7 เดือนในชนบทที่ผ่านพ้น ได้บทเรียนมากมายกว่าอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นสิบ ๆ ปีเสียอีก มาถึงจุดนี้ผมก็ได้ก้าวข้ามความสงสัยมาอีกขั้นแล้วว่า ทำไม อ.ป๋วย ถึงต้องให้บัณฑิตมาอยู่บ้านนอก... เพราะนี่คือหนังสือเล่มใหญ่ที่ไม่มีตอนจบ
ธานินทร์ แสนทวีสุข บัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ 43 ปัจจุบันเป็นกระบวนกรสถาบันขวัญแผ่นดิน
"บัณฑิตอาสาสมัคร" 1 ปีแห่งการเรียนรู้ตนเองและสังคมพหุวัฒนธรรมจากประสบการณ์จริงในพื้นที่
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (บัณฑิตอาสาสมัคร) เป็นหลักสูตรที่เกิดจากแนวคิดของ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่เปิดการเรียนการสอนในธรรมศาสตร์ ย่างเข้าถึงปีที่ 48 เพื่อฝึกให้คนหนุ่มสาวได้รู้จักการใช้ชีวิตในถิ่นที่แตกต่าง ฝึกความอดทน ปรับตัว เรียนรู้จากชาวบ้านในชุมชน ด้วยการเข้าไปบำเพ็ญประโยชน์ หรือบางคนอาจมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะหาทางออกช่วยเหลือชาวบ้านหลังจากได้เข้าไปเรียนรู้และพบสภาพ ปัญหาที่เกิดขึ้น ผ่านการประสานงานโครงการ ผสมผสานความร่วมมือของคนในชุมชนเอง ที่จะทำให้ชุมชนเข้มแข็งและอยู่รอดได้ในสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายใต้การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดร่วมกัน
บทความสั้นๆ จากกลุ่มบัณฑิตอาสาสมัคร หรือเรียกสั้นๆ ว่า "บอ." (บอ - ออ) ที่จะบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของเขาและเธอ ระหว่างการใช้ชีวิตอยู่ในแบบ "บัณฑิตอาสาสมัคร" ร่วม 1 ปี จนกลายเป็นงานเขียนสั้นๆ สะท้อนชีวิตที่อาจจะดูแตกต่างจากสังคมเมืองไม่มากก็น้อย แต่เขาและเธอได้อะไรจากการได้เข้าไปสัมผัสจากประสบการณ์จริง ในพื้นที่จริง และกลับมาบอกเล่าความจริงและความรู้สึกในมุมมองของเขาและเธอ ให้คุณได้อ่านกัน...
"ก้าวข้าม..."
เป็นเวลากว่า 5 ปี หลังจากเรียนจบปริญญาตรีและทำงานในสิ่งที่ไม่เหมาะกับตัวเองเลย ก็ค้นพบทางเดินที่ดูเหมือนจะลงตัวกับตัวเองเสียที เมื่อได้เข้าไปพบเจอข่าวประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์อาสาสมัครแห่งหนึ่ง เกี่ยวกับ "บัณฑิตอาสาสมัคร" หลังจากที่ได้ศึกษารายละเอียดซ้ำไปซ้ำมาหลายรอบ ก็ตกลงปลงใจที่จะก้าวเข้ามาเป็นลูกศิษย์ของ อ.ป๋วย ให้ได้ ผลจากความพยายาม ท้ายที่สุดก็เข้ามาในรั้วบัณฑิตอาสาสมัครจนได้ สิ่งแรกที่ได้จากการเป็นบัณฑิตอาสาสมัคร ก็คือ การก้าวข้ามความกลัวที่จะละทิ้งสิ่งเดิม ๆ ซึ่งแม้สิ่งนั้นจะดูสมบูรณ์แบบในสายตาของใครหลายคนก็ตาม แต่ผมก็มั่นใจที่จะยกเอาคำว่า "ความสุข" มาไว้หน้าคำว่า "เงิน เกียรติยศ และชื่อเสียง" (นาทีนี้เอาช้างมาฉุดก็ไม่อยู่)
การเข้ามาอยู่ใน ส.บอ. (สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ปัจจุบันคือวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์) เป็นช่วงเวลาที่เข้มข้น สำนักฯ ต้องให้ บอ. มีการเตรียมพร้อมก่อนจะลงมือทำอะไรเสมอ เพื่อให้ทุกวินาทีไม่สูญไปโดยเปล่าประโยชน์ เริ่มตั้งแต่แรกก็ต้องเข้ามาเตรียมตัวก่อนเป็น บอ. เข้ามาสัมผัสชีวิตและจิตวิญญาณ บอ. ตลอดจนเพื่อนพ้องร่วมรุ่นทั้ง 25 คน ผ่านด่านนี้สำเร็จก็เข้าสู่การเตรียมตัวขั้นสูง เริ่มตั้งแต่การฝึกปรือในตำรายุทธ์ต่าง ๆ อาจารย์ทุกท่านล้วนแต่เป็นเจ้ายุทธจักรทั้งสิ้น มีกลเม็ดเคล็ดวิชาที่ไม่ซ้ำแบบใคร ข่างเป็นโชคดีของผมเสียเหลือเกินที่ได้มาเป็นลูกศิษย์ เพราะในชีวิตการเล่าเรียนของผม มีน้อยครั้งนักที่รู้สึกว่าผู้เรียนเป็นเจ้าของวิชาเรียน ที่นี่ให้ผู้เรียนเป็นใหญ่ อาจารย์เป็นเพียงผู้คอยตะล่อมให้เป็นไปตามเกม ไม่มีกรอบมากนัก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีขอบเขต สำหรับผมนี่ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ต้องเริ่มเรียนรู้จากศูนย์ เวลา 3 เดือนจึงดูสั้นและรวดเร็วมาก วิทยายุทธ์ยังไม่ทันจะแข็งกล้าก็ต้องออกรบในสนามเสียแล้ว เดชะบุญที่ก่อนออกภาคสนาม มีการลองให้ฝึกใช้ความู้ทั้งหมดที่ร่ำเรียนมา ทำให้เห็นข้อดีและข้อด้อยในตัวเองหลาย ๆ อย่าง แต่สำหรับผมก็อาจจะไม่ทันแล้ว "คงไปตายเอาดาบหน้าแล้วกัน" ในชีวิตมีความโชคดีหลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นกับผม ตั้งแต่โชคดีที่ที่รู้จักบัณฑิตอาสาสมัคร โชคดีที่สอบติด โชคดีที่แม่บ่นน้อยมากเรื่องลาออกจากงาน โชคดีที่มาเรียนแล้วชอบ โชคดีที่สอบผ่าน และโชคดีที่ได้ออกภาคสนามในพื้นที่ที่เลือกไว้เป็นอันดับ 1 ก่อนลงพื้นที่จำได้ว่าหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบคือ "การเป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็ก ๆ" ซึ่งฟังดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายแต่ทำได้ยากจริง ๆ คิดอยู่นานว่าจะทำอย่างไรดี สุดท้ายก็ได้คำตอบว่าก็เป็นตัวของเราอย่างที่เป็นอยู่นี่แหละดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องดีหมดทุกด้านแต่ทุกด้านที่คิดว่าดีก็ให้ดีอย่างสม่ำเสมอ ใช้เวลาและประสบการณ์ที่ผ่านไปแต่ละวันเป็นบทเรียนสำหรับวันใหม่ การอยู่กับเด็กที่นี่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เวลากว่า 7 เดือน สอนให้ผมรู้ว่า การทำงานกับเด็กจะต้องมีสิ่งดังต่อไปนี้
1. ความรู้ (Knowledge) คือรู้เรื่องเกี่ยวกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการด้านร่างกายและอารมณ์ ความสนใจ อาหาร และอื่น ๆ จะได้แนะแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมให้แก่เด็ก ๆ ในเรื่องต่าง ๆ
2. ความเข้าใจ (Understand) ต้องเข้าใจว่าเด็กคืออะไร เด็กแต่ละคนมี IQ และ EQ ต่างกัน ที่สำคัญต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าครั้งหนึ่งเราก็เคยเป็นเด็กมาก่อนนะ
3. ใจกว้าง (Generous) เปิดรับทุกข้อคิดเห็น ทุกปัญหา ถึงแม้บางเรื่องจะดูไร้สาระสำหรับผู้ใหญ่ เพราะอย่างน้อยก็จะทำให้เด็กกล้าแสดงออกและมั่นใจในตนเอง แถมยังเชื่อใจเราด้วยว่าเราก็รับฟังความคิดเห็นของพวกเขา
4. ยุติธรรม (Justice) ปฏิบัติตนต่อเด้กทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อไม่สร้างความอิจฉาริษยาให้เกิดขึ้น ซึ่งข้อนี้เป็นเรื่องที่ยากมาก ผมเองบอกกับตัวเองก่อนมาว่าจะไม่สนิทกับเด็กคนไหนเป็นพิเศษ แต่แล้วก็ทำไม่ได้ เมื่อถูกชะตากับเด็กบางคนก็ยากที่จะไม่ลำเอียงในบางเรื่อง แต่ก็พยายามอย่างถึงที่สุดแล้วที่จะให้เกิดความอิจฉาริษยาในหมู่เด็ก ๆ น้อยที่สุด
5. ความอดทด (Patient) ข้อสุดท้ายนี้ดูเหมือนจะเป็นพื้นฐานในทุก ๆ ข้อ การอยู่กับเด็กกว่าร้อยคนต้องอดทนอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กพิเศษที่ขาดแคลนความรักและความเป็นครอบครัว
สรุปแล้วผมเรียกทั้งหมดนี้ว่า "กุ๊กแจ๊บ" มาจากการเอาอักษรตัวหน้าของทั้ง 5 คำมาเรียงต่อกันได้ "KUG-JP" ทุกก้าวย่างของ บอ. ที่ก้าวเดินต้องนำกลับมาคิดและทบทวนเสมอ ๆ ว่าส่งผลกระทบต่อสิ่งรอบข้างอย่างไร ณ วันที่ออกจากภาคสนามผมรู้ตัวว่าอาจไปไม่ถึงเป้าหมายหลักข้อหนึ่งของ บอ. คือเรียนรู้ชุมชนให้มาก ๆ แต่ความเป็นเด็กที่ผมสัมผัสในทุก ๆ วัน ก็เป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ที่สอนให้ผมตระหนักว่า ทุก ๆ วันที่พ้นผ่าน ผมก้าวข้ามสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่ดีหรือยัง
การมาอยู่ที่นี่สอนให้ผมรู้ว่าหากอยากเก่งด้านไหนต้องฝึกด้านนั้นให้มาก ๆ ถ้ามัวแต่นอนเพ้อฝันว่าตัวเองทำได้คงยากที่จะสำเร็จ โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นทักษะต้องอาศัยการฝึกฝน ตัวอย่างเช่น อยากพูดภาษาอังกฤษได้ ถึงแม้จะฟังรู้เรื่องแต่ถ้าไม่เคยอ้าปากพูด ไม่ว่าชาติไหน ๆ ก็คงไม่มีวันพูดได้ อยากรู้จักคนให้มาก ๆ ถ้าไม่เปิดตัวเองแล้วทักเขาก่อน ก็ยากที่เขาจะมาทักเรา หรืออยากได้ลูกเสือถ้าไม่เข้าถ้ำเสือฉกลูกมาจากแม่เสือ ก็คงได้แต่แมวที่ถูกย้อมลาย ทุก ๆ อย่าง ทุก ๆ เรื่องที่จะทำถ้ามีความกลัวเกิดขึ้น จงทลายให้พินาศแล้วก้าวข้ามความกลัวนั้นไปเสีย เพราะหลาย ๆ อย่างที่ผมกลัวพอได้เข้าสัมผัสจริง ๆ แล้วไม่เห็นจะน่ากลัวอย่างที่คิด คำว่า "กลัวที่จะคว้าโอกาส" ก็เท่ากับ "หมดโอกาส" ฉะนั้น จงอย่าให้ความกลัวมาบดบังสิ่งดี ๆ ในชีวิต ระยะเวลา 7 เดือนในชนบทที่ผ่านพ้น ได้บทเรียนมากมายกว่าอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นสิบ ๆ ปีเสียอีก มาถึงจุดนี้ผมก็ได้ก้าวข้ามความสงสัยมาอีกขั้นแล้วว่า ทำไม อ.ป๋วย ถึงต้องให้บัณฑิตมาอยู่บ้านนอก... เพราะนี่คือหนังสือเล่มใหญ่ที่ไม่มีตอนจบ
ธานินทร์ แสนทวีสุข บัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ 43 ปัจจุบันเป็นกระบวนกรสถาบันขวัญแผ่นดิน